Translate

หน้าเว็บ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ลูกเสือสำรอง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ลูกเสือสำรอง แสดงบทความทั้งหมด

17 สิงหาคม 2563

วันลูกเสือสำรอง Cub Day

5 สิงหาคม วันลูกเสือสำรอง Cub Day
เมื่อท่านลอร์ด เบเดน โพลเอลล์ พาเด็กไปทำการทดลองอยู่ค่ายพักแรม ณ เกาะบราวน์ซี เมื่อ ค.ศ. 1907 ซึ่งนับว่าเป็น จุดกำเนิดของการลูกเสือ และต่อมาท่านได้เขียนหนังสือ “การลูกเสือสำหรับเด็กชาย” (Scouting for boys) ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1908 ท่านได้ตั้งใจว่ากิจการลูกเสือนี้ได้เตรียมไว้ให้สำ หรับเด็กชายที่มีอายุ 11 ปีขึ้นไป และท่านก็ได้ประสบความสำเร็จ เมื่อกิจการลูกเสือได้แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศอังกฤษ และได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นมากมาย (Scout Troops) เวลาล่วงมาถึง 6 – 7 ปี ประมาณปี ค.ศ. 1914 ท่านได้พบว่า มีเด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 11 ปี นับเป็นพัน ๆ คน อยากจะมาเป็นลูกเสือบ้าง
ฉะนั้นเพื่อจะสนอง ความต้องการของเด็กเล็ก ๆ เหล่านั้นท่านจึงได้ทดลองตั้งกองลูกเสือสำหรับเด็กรุ่นเล็กขึ้น (Junior Boy Scout Troops) แต่ปรากฏว่าต้องล้มเหลวไปเพราะวิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกเสือ (Boy Scout) ไม่อาจตอบสนอง ความต้องการและวุฒิภาวะของเด็กเล็กได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้จัดให้มีการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือขึ้นที่ Imperial Head Quarters เมื่อปี ค.ศ. 1916 เพื่อปรึกษาหารือกันในเรื่องนี้ ในที่สุดสภาการลูกเสือ (Scout Council) ก็ได้อนุมัติให้มีการจัด ฝึกด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งความต้องการของเด็ก ๆ ในวัยนี้โดยให้เรียกเด็ก ๆ ในวัยนี้ว่า “ลูกหมาป่า” (Wolf Cubs) ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ท่านลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้เลือกวิธีการจากหนังสือ เรื่องป่าดงพงพี (The Jungle’s Story) ซึ่งแต่งโดยรัดยาร์ด คลิปปิ้ง มาเป็นภูมิหลังในการฝึกอบรม เนื่องจากเป็น พื้นฐานในการฝึกลักษณะนิสัยต่าง ๆ ก่อให้เกิดความสนใจและพอใจในเรื่องของธรรมชาติและกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่างการประพฤติปฏิบัติตัวที่ดีและไม่ดี รักการผจญภัย รักหมู่คณะ ให้มีระเบียบวินัย เล่นอย่างยุติธรรม และจิตใจสะอาด เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องของสังคมมนุษยชาติ
ท่าน บี. พี. ได้เป็นผู้กำหนด คำปฏิญาณและคติพจน์ “ทำดีที่สุด” ให้ลูกเสือสำรองได้ประพฤติปฏิบัติ ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1916 นั่นเอง ท่าน บี.พี. ได้จัดพิมพ์หนังสือ “คู่มือลูกเสือสำรอง” ขึ้น (The Wolf Cub Hand Book) โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจาก นางสาววีร่า บาเคลย์ (Miss Vira Barclay) หลังจากนั้นกิจการลูกเสือสำรองก็ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้มีการพิมพ์หนังสือ “คู่มือผู้กำกับ ลูกเสือสำรองและคู่มือของลูกเสือสำรอง” ขึ้นอีกหลายเล่ม ทำให้กิจการลูกเสือสำรองได้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง และได้แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้รับเอากิจการลูกเสือสำรองเข้ามา โดยได้จัดให้มีกำรฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้เบื้องต้น ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2501 ณ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จึงได้ถือเอาวันที่ 5 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันลูกเสือสำรอง กิจการของลูกเสือสำรองในระยะแรก ๆ เจริญอยู่ในหมู่โรงเรียนราษฎร์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาจึงได้ค่อย ๆ แพร่ขยายไปยังโรงเรียนในสังกัดของรัฐบาล เทศบาล และตามจังหวัดต่าง ๆ ตำมลำดับ ได้มีกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งของลูกเสือสำรองและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ สำรองเป็นที่สนุกสนานทุกปี ปัจจุบันกิจการลูกเสือสำรองได้เงียบเหงาลง ทั้งนี้เพราะขาดผู้นำทางการลูกเสือสำรอง ขาดแรงกระตุ้นจากผู้บริหารชั้นสูง ดินแดนแห่งความสมมติในหลักการและวิธีการของลูกเสือสำรองก็มลายหายสูญไป ต่อไปนี้จึงสมควรจะได้รับการฟื้นฟูให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก Sommart Sungkapun

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้