Translate

หน้าเว็บ

การคาดคะเน

��การวัดความกว้างด้วยปีกหมวก

การคาดคะเน

...............................................................

การคาดคะเน  เป็นการประมาณค่าที่ใกล้เคียง  ไม่ว่าจะเป็นการคาดคะเน ระยะทาง  ขนาด  จำนวนและส่วนสูง โดยมีค่าผิดพลาด ไม่เกินร้อยละ 10  การคาดคะเนที่แม่นยำหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด   ขึ้นอยู่กับหลักการและวิธีการ ถ้ามีหลักการที่ดีและมีเวลาทดสอบเพียงพอ   การคาดคะเนก็จะใกล้เคียงความจริงมาก


1. ประโยชน์ของการคาดคะเน

1.สามารถกะประมาณสิ่งต่างๆ ได้โดยใกล้เคียง  เพื่อจะแก้ไขเหตุการณ์บางประการ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน

2.เป็นการฝึกหัดไหวพริบ เพื่อการหลบเลี่ยงอันตราย

3.ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ถูกต้องใกล้ความเป็นจริง


2. การรู้ส่วนต่างๆของร่างกาย 

  ลูกเสือเรียนรู้ว่าร่างกายตนเองว่าเป็นอย่างไร   ฝึกการสังเกตและจดจำ กว้างยาวเท่าไร    เพื่อเอาไว้ใช้แทนเครื่องมือมาตรฐานสำหรับวัด   การใช้อวัยวะในร่างกายช่วยวัด เช่น 1 คืบ เท่ากับ 12 นิ้ว    หรือ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร เป็นต้น

ตัวอย่างดังนี้

1.ความสูงเหยียดแขนเต็มที่

2.ความสูงเสมอศีรษะ

3.หนึ่งวา (กางแขนทั้งสองเหยียดเต็มที่เสมอไหล่)

4.ความยาวของศอกถึงปลายนิ้วกลาง

5.เกรียก (ความยาวของง่ามนิ้วจากปลายนิ้วหัวแม่มือ ถึงปลายนิ้วชี้)

6.ความกว้างของหัวแม่มือ

7.คืบ (ระยะหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อย)

8.ความยาวของฝ่าเท้า

9.ความสูงเสมอตา

10.ระยะก้าว จากปลายเท้าหลังถึงปลายเท้าหน้า

11.ระยะความยาวฝ่าเท้าทั้งสองต่อกัน

 

3. การกะระยะ

การกะระยะ  เป็นการคะเนระยะของวัตถุที่ห่างจากตัวเรา  โดยอาจคิดเป็นจำนวนก้าว 

ซึ่งการคะเนนี้ต้องอาศัย ประสบการณ์และทดสอบดูบ่อยๆจนเกิดความเคยชิน

เห็นลักษณะของบุคคลในระยะต่างๆ เช่น

1. เห็นปากเห็นตาชัดอยู่ในระยะ                                       50        เมตร

2. เห็นนัยน์ตาเป็นจุดอยู่ในระยะ                                       100      เมตร

3. เห็นแต่ดุมและเครื่องประดับที่เป็นเงาอยู่ในระยะ         200      เมตร

4. เห็นแต่ใบหน้าอยู่ในระยะ                                            250      เมตร

5. เห็นแต่ขาก้าวเดินอยู่ในระยะ                                        350      เมตร

6. เห็นแต่สีเสื้ออยู่ในระยะ                                               450      เมตร


4. การคาดคะเนระยะเทียบกับสัดส่วนของร่างกาย

  ลูกเสือทุกคนควรรู้ขนาดสัดส่วนร่างกายของตนโดยใช้ไม้บรรทัดวัดแล้วจดจำไว้ว่า ความสูงของ ผู้ใหญ่คนไทยโดยเฉลี่ย 150-170 เซนติเมตร

- ระยะ 1 วา ผู้ใหญ่ประมาณ  2 เมตร

- ระยะข้อศอกถึงปลายนิ้วกลาง  เท่ากับ 1 ศอก 50 เซนติเมตร

- ระยะระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วก้อย เท่ากับ 1 คืบ   25  เซนติเมตร

- เดินก้าวหนึ่ง ประมาณ   70  เซนติเมตร

- เดิน 100 ก้าวได้ระยะทางราว 70 เมตร

- เดิน 10,000 ก้าว ได้ระยะทางราว 7 กิโลเมตร

- เดินบนที่ราบอย่างไม่รีบ 1 กม ประมาณ  1,600 ถึง 1,900  ก้าว

- เดินบนที่ราบ 1 กม.  ใช้เวลาราว 10-15   นาที

- เดินบนที่ราบ ในเวลา 1 ชั่วโมง  4-6  กิโลเมตร

- หัวใจเต้น 75 ครั้งต่อนาที (เร็วกว่าวินาทีเล็กน้อย) 

- ทดสอบวัดระยะก้าวตนเอง ในระยะ10 เมตร เราเดินได้ 14 ก้าว  แสดงว่าเราเดิน1ก้าว ประมาณ   71  เซนติเมตร (10/12)

- ระยะ20 เมตร เราเดินได้ 29 ก้าว  แสดงว่าเราเดิน1ก้าว ประมาณ  69 เซนติเมตร (20/25)

 

5. การคาดคะเนน้ำหนัก

  การคาดคะเนน้ำหนัก เป็นการใช้สายตาหรือแรงที่ใช้ในการยกวัตถุเพื่อคาดคะเนน้ำหนักของวัตถุนั้น โดยผู้ที่มีประสบการณ์ในการชั่งน้ำหนักมากกว่าจะมีโอกาสในการคะเนน้ำหนักได้ตรงหรือใกล้เคียงกับน้ำหนักจริงมากกว่า 

  การคาดคะเนน้ำหนักนี้จะได้ผลใกล้เคียงต้องหมั่นฝึกหัด  และสังเกตเปรียบเทียบกับของ

ที่มีน้ำหนักแน่นอน  โดยฝึกเป็นประจำจะเกิดความชำนาญ  และสามารถคาดคะเนได้ถูกต้อง

กิจกรรมที่ทำโดยฝึกคาดคะเนน้ำหนัก   เริ่มจากสุ่มเลือกแผ่นป้ายภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักชนิดต่างๆ  ให้ลูกเสือทายได้ถูกต้องก่อนจะได้รับคะแนน  

ลูกเสือสังเกตภาพเครื่องชั่งน้ำหนักชนิดต่างๆ  และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการนำไปใช้และการเลือกวัตถุที่เหมาะสมกับเครื่องชั่งชนิดต่างๆ

ลูกเสือทายน้ำหนักของเพื่อน 2 คน โดยใครที่สามารถทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดจะได้รับคะแนน

ลูกเสือร่วมกันอภิปรายในประเด็นเราจะทราบน้ำหนักที่แท้จริงของเพื่อนได้อย่างไร

เหตุใดแต่ละคนจึงทายน้ำหนักของเพื่อนแตกต่างกัน

เราจะเรียกความแตกต่างของน้ำหนักที่ชั่งได้และน้ำหนักที่คาดคะเนว่าอย่างไร

ลูกเสือทำกิจกรรมคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งต่างๆ ที่กำหนด ได้แก่ กระเป๋านักเรียน พจนานุกรม กล่องของเล่น ฯลฯ แล้วร่วมกันชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ   ด้วยเครื่องชั่งสปริงเพื่อหาความคลาดเคลื่อนของแต่ละคน

 

6. การคาดคะเนด้วยการกะส่วน

  การกะระยะ    เป็นการคะเนระยะของวัตถุที่ห่างจากตัวเรา  โดยอาจคิดเป็นจำนวนก้าว 

ซึ่งการคะเนนี้ต้องอาศัย ประสบการณ์และทดสอบดูบ่อยๆจนเกิดความเคยชิน

ลักษณะของบุคคลในระยะต่างๆ

1. เห็นปากเห็นตาชัดอยู่ในระยะ                                       50        เมตร

2. เห็นนัยน์ตาเป็นจุดอยู่ในระยะ                                       100      เมตร

3. เห็นแต่ดุมและเครื่องประดับที่เป็นเงาอยู่ในระยะ         200      เมตร

4. เห็นแต่ใบหน้าอยู่ในระยะ                                            250      เมตร

5. เห็นแต่ขาก้าวเดินอยู่ในระยะ                                        350      เมตร

6. เห็นแต่สีเสื้ออยู่ในระยะ                                               450      เมตร

 

7. การคาดคะเนความสูง   

  เป็นการคาดคะเนความสูงของสิ่งที่เราไม่สามารถวัดความสูงจากวัตถุได้   เช่นต้นไม้  หรือตึก วิธีการคือ  ให้ลูกเสือคนหนึ่งที่ทราบส่วนสูงแล้ว  ไปยืนตรงโคนต้นไม้ที่จะวัด  แล้วให้ลูกเสืออีกคนหนึ่งที่จะวัดส่วนสูง ไปยืนห่างจากต้นไม้พอสมควร  เหยียดแขนขึ้นเสมอไหล่ในมือจับแท่งดินสอหรือปากกา  ให้หัวแม่มือทำหน้าที่กะระยะ ตรงเท้าของลูกเสือที่ยืนอยู่ที่ต้นไม้นั้น  ใช้ตามองปลายดินสอหรือปากกา ผ่านไปบนศีรษะของลูกเสือที่ยืนเป็นหุ่น แล้วขยับแขนยกปลายดินสอขึ้นไป  ให้แนวโคนดินสอตรงปลายนิ้วหัวแม่มือ ต่อกันกับระดับปลายดินสอ  ทำเช่นนี้จนถึงยอด ก็จะได้จำนวนของดินสอ  ให้เอาไปคูณความสูงของลูกเสือที่ยืนอยู่โคนต้นไม้  ก็จะเป็นความสูงของต้นไม้  

  ความสูงของต้นไม้  = ความสูงของลูกเสือ x จำนวนเท่าของดินสอ

 

8. การคาดคะเนความสูงด้วยการวัดเงา

  วิธีวัดเงาใช้พลองปักห่างจากต้นไม้พอสมควร  ให้ตั้งฉากกับพื้นดินแล้ววัดความยาวของเงาไม้พลอง ดูว่ายาวเท่าไร เอาความยาวของเงาไม้พลอง ไปวัดเงาของต้นไม้จากโคนต้นไม้ไปจนถึงยอดของเงาต้นไม้  ได้กี่เท่าเอาความยาวของ ไม้พลองคูณ ก็จะได้ความสูงของต้นไม้

(ไม้พลองมีความยาว 150 เซนติเมตร  หรือ 1.5 เมตร)

  ความสูงของต้นไม้ = ความยาวของพลองจริง x จำนวนเท่าของเงาที่วัดได้


9. การคาดคะเนความสูงด้วยการล้มเงา

วิธีล้มเงา (วิธีของคนตัดไม้)  

1.ใช้มือขวาจับดินสอหรือปากกาให้นิ้วหัวแม่มือจับดินสอ ในลักษณะที่สามารถเลื่อนนิ้วหัวแม่มือได้

2.เหยียดแขนตรงเสมอบ่า ยกดินสอขึ้น เลื่อนนิ้วหัวแม่มือให้ปลายนิ้วหัวแม่มือตรงกับโคนต้นไม้ปลายดินสอให้ตรงกับยอดไม้

3.เสร็จแล้วพลิกดินสอลงให้ขนานกับพื้น ให้โคนดินสอยังคงอยู่ที่โคนต้นไม้  

ปลายดินสอตั้งฉากกับต้นไม้  ให้ลูกเสืออีก คนหนึ่งเดินจากโคนต้นไม้ ไปยืนตรงจุดที่ตรงกับปลายดินสอ

4.วัดระยะจากโคนต้นไม้  ถึงที่ลูกเสือยืนโดยใช้ไม้พลอง คือระยะความสูงของต้นไม้ (ไม้พลองมีความยาว 150 เซนติเมตร )


10. วิธีวัดความสูงด้วยน้ำโคลน 

    เอาภาชนะใส่น้ำโคลน  วางให้ห่างจากต้นไม้ที่จะวัดความสูงพอสมควร  ให้ลูกเสือยืนห่างออกมาในด้านตรงข้ามกับต้นไม้  และอยู่ห่างภาชนะในระยะที่พอเหมาะ  ให้ระยะของภาชนะถึงเท้าห่างเท่ากับระยะเท้ากับตา และให้มองเห็นเงาของยอดไม้อยู่ตรงกลางขันพอดี  ถ้าไม่เห็นให้เลื่อนภาชนะให้พอดีให้มองเห็นยอดไม้ได้  ให้วัดระยะจากภาชนะถึงโคนต้นไม้ ได้เท่าไร  คือ ความสูงของต้นไม้

 

11. การคาดคะเนความสูง การทำนิ้วเป็นฟุต

  วิธีทำนิ้วเป็นฟุต เป็นการวัดความสูงอีกแบบหนึ่ง  ให้เอาไม้พลองของลูกเสือวัดจากโคนต้นไม้ออกไป  11 ช่วงพลอง เอาพลองปักลงให้ตั้งฉากกับพื้น  จากโคนไม้พลองให้วัดต่อออกมาอีก 1 ช่วงพลอง ให้ลูกเสืออีกคนหนึ่งนอนราบกับพื้นตรงจุดที่วัดต่อออกมา  แล้วมองผ่านไม้พลองขึ้นไปให้ตรงกับยอดไม้ 

ให้ลูกเสือที่ถือไม้พลองเอามือจับตรงจุดที่ตรงกับยอดไม้พอดี  แล้ววัดความยาวจากพื้นดินโคนไม้พลองถึงตรงที่ลูกเสือใช้มือจับ   วัดได้กี่นิ้วเปลี่ยนหน่วยนิ้วเป็นฟุต  ก็จะได้ความสูงของต้นไม้เป็นฟุตนั่นเอง   (ถ้าลูกเสือต้องการเปลี่ยนฟุตเป็นเซนติเมตรก็คูณด้วย 30 อีกครั้ง) 

 

12. วัดความกว้างคลอง ด้วยปีกหมวก(ของหมวกปีก)

1.สวมหมวกให้ตรง ยืนตัวตรง สายตามองไปฝั่งตรงข้าม  ก้มหน้าลงให้ริมขอบปีกหมวกอยู่บนที่หมายริมฝั่งตรงข้าม ให้แนวสายตามองผ่านริมปีกหมวกพอดีจรดริมฝั่ง (เอากำปั้นยันคางไว้ไม่ให้เคลื่อนที่)

2.หันตัวช้าๆกับไปตามฝั่ง  ให้สายตาผ่านริมขอบหมวกออกไป (พยายามอย่าให้คอเคลื่อนที่)  ให้ลูกเสืออีกคนไปยืนจุดฝังที่เรายืนอยู่  ตรงจุดที่ริมขอบหมวกจรดอยู่  หลังจากนั้นวัดระยะจากที่ยืนไปถึงลูกเสืออีกคนหนึ่งด้วยไม้พลอง   ระยะที่ได้จึงเป็นเป็นความกว้างของแม่น้ำหรือคลองที่วัด

 

13. วัดความกว้างของคลอง (หลักคณิตศาสตร์เส้นขนาน สามเหลี่ยมด้านเท่า)

1.กำหนดจุดที่ 1 ตรงริมฝั่ง (จุด B)  ที่ฝั่งตรงข้าม ให้กำหนดที่หมายที่สังเกตเห็นได้ง่าย (จุด A)

2.เดินจากจุดที่ 1 (จุด B) ให้ตั้งฉากกับแนวที่หมายไว้  ระยะทางประมาณ 20 ก้าว ให้ปักหลักที่ 2 (จุด C)

3.จากจุดที่ 2 (จุด C) เดินต่อไปอีก 20 ก้าว  ปักหลักที่ 3 (จุด D)

4.จากหลักที่ 3 เดินเข้ามาในฝั่งให้เป็นแนวตั้งฉาก  จนมองเห็นจุดที่ 2 (จุด C) เป็นเส้นตรงเดียวกับจุดหมายที่สังเกตไว้ในฝั่งตรงข้าม(จุด A)    ให้ปักหลักที่ 4 (จุด E)

5.วัดระยะระหว่างหลักที่ 2 กับหลักที่ 4 ได้เท่าไร  ก็จะเป็นความกว้างของคลอง  (DE= AB)

 

แนะนำเรียนรู้การคาดคะเน ใช้วิธีการสอนแบบฐาน

รวบรวมและเรียบเรียงโดย...

นายวีระชัย   จันทร์สุข

วุฒิทางลูกเสือ L.T.



ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้