หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
วิชาผู้พิทักษ์ป่า
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตร
และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
สารบัญ
๑. วิชาผู้พิทักษ์ป่า
หลักสูตร
(๑) สามารถบอกชื่อต้นไม้ต่างๆ ๒๐ ชนิด รู้จักประโยชน์ของไม้ชนิดต่างๆและรู้จัก
ไม้ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งสามารถบอกชื่อต้นไม้ได้ในระยะไกลพอสมควร
(๒) มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างของต้นไม้, การกินอาหาร, การหายใจ และ
การเจริญเติบโตของต้นไม้ยืนต้น
(๓) รู้จักอันตรายที่จะเกิดแก่ต้นไม้และป่าไม้ จากสิ่งต่อไปนี้ คือ ไฟไหม้,
แมลงต่างๆเชื้อโรค และสัตว์ต่างๆ กับทั้งสามารถอภิปรายถึงวิธีกำจัดอันตราย
ดังกล่าวข้างต้น
(๔) รู้จักการทำแปลงเพาะชำ, การย้ายต้นอ่อนที่เพาะชำไว้ไปปลูกในที่ใหม่ ซึ่งได้
จัดเตรียมไว้แล้ว ทั้งรู้วิธีบำรุงรักษาต้นไม้ให้อยู่ในสภาพอันดี
(๕) รู้จักโค่นและตกแต่งต้นไม้
๒. ชนิดและประโยชน์ของไม้
ไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 ประการ ตามแนวพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงผลกระทบจาการบุกรุกทำลายป่าไม้ของประเทศไทย
ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งพื้นที่ต้นน้ำลำธารเสื่อมโทรม
ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นปัญหา
ทุกข์ร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท พระองค์ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าไม้
ให้คืนกลับสู่สภาพธรรมชาติด้วยแนวทางผสมผสาน โดยการปลูกไม้ทดแทนควบคู่กับ
การพัฒนาอาชีพราษฎร ด้วยการวางแผนร่วมมือกันของทุกส่วนราชการ ในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่
ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อม
การปลูกไม้ 3 อย่างให้ประโยชน์ 4 ประการ ตามแนวพระราชดำรินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานพระราชดำริ ไว้เมื่อปี 2519 ณ หน่วยพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ว่าการปลูกไม้ 3 อย่าง คือไม้ผล ไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและ
สร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐและวิถีประชาในชุมชน
อันเป็นทฤษฎีการปลูกต้นไม้ลงในใจคน โดยการปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนให้ปลูกต้นไม้ลงแผ่นดิน
และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง
และในการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งพระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 11 ธันวาคม 2525 เพื่อศึกษาหารูปแบบในการพัฒนาที่เหมาะสมในพื้นที่ต้นน้ำลำธารนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริ
แนวทางในการปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ หรือไม้ผล ไม้สร้างบ้าน
และไม้ฟืน ซึ่งจะให้ประโยชน์ 4 ประการ คือ ได้ใช้สอยและเศรษฐกิจ ไม้ฟืน ไม้กินได้ และประการสุดท้าย
คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย
ประเภทไม้ 3 อย่างที่เหมาะสมแก่การใช้ปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นให้ช้ำ
พันธุ์ไม้ที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น เพราะเป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
อยู่แล้ว ไม่เป็นการเสี่ยงต่อภาวะการรอดตายและการเจริญเติบโตเป็นและที่รู้จักของราษฎรในท้องถิ่นอย่างดี
พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูกไม้ป่าดังกล่าว ควรเป็นพื้นที่มีสภาพเสื่อมโทรม หรือเป็นบริเวณป่าเพื่อการพึ่งพึง
ของราษฎรที่อยู่บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้าน วิธีการปลูกก็ให้ปลูกเสริมในลักษณะธรรมชาติ โดยไม่จับต้นไม้เข้าแถว
ซึ่งการปลูกเสริมตามลักษณะธรรมชาติ เมื่อต้นไม้โตขึ้นก็จะมีสภาพเป็นป่าธรรมชาติ
โดยจะไม่มีลักษณะเป็นสวนป่าที่มีต้นไม้เรียงกันเป็นแถว
ไม้ 3 อย่าง
ลักษณะไม้ 3 อย่าง เป็นชนิดไม้ที่มีความสัมพันธุ์เกื้อกูลกับวิถีชีวิตยองชุมชนคือ
1. ไม้ใช้สอยและเศรษฐกิจ เป็นชนิดไม้ที่ชุมชนนำไปใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือน โรงเรือน เครื่องเรือน คอกสัตว์ เครื่องมือในการเกษตร เช่น เกวียน คันไถ ด้ามจอบ เสียมและมีด รวมทั้งไม้ที่สามารถนำมาเป็นเครื่องจักรสาน กระบุง ตะกร้า เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน และเมื่อมีพัฒนาการทางฝีมือก็สามารถจัดทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน นำไปจำหน่ายเป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งเรียกว่า เป็นไม้เศรษฐกิจของชุมชนได้แก่ มะขามป่า สารภี ช้อ ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่ซาง มะแฟน สัก ประดู่ กาสามปีก จำปี จำปา ตุ้ม ทะโล้ หมี่ ยมหอม กฤษณา นางพญาเสือโคร่ง ไก๋ คูณ ยางกราด กระถิน เก็ดดำ มะหาด ไม้เติม มะห้า มะกอกเกลื้อน งิ้ว ตีนเป็ด มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว บุนนาค ปีบ ตะแบก ตอง คอแลน รัง เต็ง แดง พลวง พะยอม ตะเคียน ฮักหลวง เป็นต้น
2. ไม้ฟืนเชื้อเพลิงของชุมชน ชุมชนในชนบทต้องใช้ไม้ฟืน เพื่อการหุงต้มอาหาร สร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว สุมควายตามคอก ไล่ยุง เหลือบ ริ้น ไร รวมทั้งไม้ฟืนในการนึ่งเมี่ยง และการ อบถนอมอาหาร ผลไม้บางชนิด ไม้ฟืนมีความจำเป็นที่สำคัญ หากไม่มีการจัดการที่ดี ไม้ธรรมชาติที่มีอยู่จะไม่เพียงพอในการใช้ประโยชน์ ความอัตคัดขาดแคลนก็จะเกิดขึ้น ดังนั้นการวางแผนการปลูกไม้โตเร็วขึ้นทดแทนก็จะทำให้ชุมชนมีไม้ฟืนใช้ได้อย่างเพียงพอ ได้แก่ ไม้หาด สะเอา เป้าเลือด มะกอกเกลื้อน ไม้เต้าหลวง กระท้อน ขี้เหล็ก ตีนเป็ด ยมหอม ลำไยป่า มะขม ดงดำ มะแขว่น สมอไทย ตะคร้อ ต้นเสี้ยว บุนนาค ตะแบก คอแลน แดง เต็ง รัง พลวง ติ้ว หว้า มะขามป้อม แค ผักเฮือด เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน กาสามปีก มันปลา นางพญาเสือโคร่ง มะมือ ลำไย รกฟ้า ลิ้นจี่
3. ไม้อาหารหรือไม้กินได้ ชุมชนดั้งเดิมเก็บหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติทั้งการไล่ล่าสัตว์เป็นอาหาร รวมทั้งพืชสมุนไพร อดีตแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอาหารเสริมสร้างพลานามัย การปลูกไม้ที่สามารถให้หน่อ ใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหารได้ก็จะทำให้ชุมชนมีอาหารและสมุนไพร ในธรรมชาติเสริมสร้างสุขภาพให้มีกินมีใช้อย่างไม่ขาดแคลน ได้แก่มะหาด ฮ้อสะพานควาย เป้าเลือด บุก กลอย งิ้ว กระท้อน ขี้เหล็ก มะขม มะแข่น สมอไทย ตะคร้อ เสี้ยว คอแลน ผักหวานป่า มะไฟ มะขามป้อม มะเดื่อ มะปีนดง เพกา แค สะเดา เมี่ยง มะม่วงป่า มะแฟน มะเม่า หวาย ดอกต้าง กระถิน ก่อเดือย หว้า กล้วย ลำไย มะกอกเกลื้อน มะระขี้นก ประคำดีควาย ตะคร้อ กระบก ผักปู่ย่า มะเฟือง แคหางด่าง ขนุน มะปราง มะหลอด คอแลน มะเม่า ส้มป่อย
ประโยชน์ 4 ประการ
ไม้ 3 อย่าง เมื่อปลูกไปแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ 4 ประการ คือ
1. ในสภาพปัจจุบันป่าไม้ลดลงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ดังนั้น เมื่อมีการปลูกไม้ที่มีความเหมาะสมและมีคุณสมบัติที่ดีเพื่อการใช้สอยและสามารถนำมาใช้เสริมสร้างอาชีพได้ โดยมีการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมและดูแลรักษาก็จะทำให้มีไม้ไว้ใช้สอยอย่างไม่ขาดแคลน และจะไม่สร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และหากมีการปลูกในปริมาณที่มากพอ ชุมชนก็สามารถนำมาเสริมสร้างอาชีพได้ ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมให้มีความอยู่ดีกินดีขึ้น
2.ไม้ฟืนเป็นวัสดุเชื้อเพลิงพื้นฐานของชุมชนหากชุมชนไม่มีไม้ฟืนไว้สนับสนุนกิจกรรมครัวเรือนชุมชนจะต้องเดือดร้อนและสิ้นเปลืองเงินทอง เพื่อการจัดหาแก๊สหุงต้มหรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดหาวัสดุเชื้อประเภทอื่น ๆ
3. พืชอาหารและสมุนไพรรวมทั้งสัตว์แมลง ที่ชุมชนสามารถเก็บหาได้จากธรรมชาติจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าปลอดสารพิษ อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งมีปริมาณเกินกว่าที่ต้องการแล้วยังสามารถใช้เป็นสินค้าเสริมสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย
4. เมื่อมีการปลูกไม้เจริญเติบโตเป็นพื้นที่ขยายมากเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเสริมคุณค่าป่าด้วยพันธุ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดความหลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร
๔. โครงสร้างของต้นไม้และการเจริญเติบโต
พืช มีรูปร่างลักษณะและหน้าที่ของส่วนต่างๆ แตกต่างกัน ทั้งขนาด และที่อยู่ เรามารู้จักกับส่วนประกอบภายนอกของพืช ซึ่งได้แก่ ราก ลาต้น ใบ ดอก และผล แต่ละส่วนของพืชนั้นทาหน้าที่แตกต่างกัน
ราก ทาหน้าที่ ยึดลาต้น ดูดน้าและธาตุอาหาร
ลาต้น ทาหน้าที่ ชูกิ่งก้าน และใบ
ใบ ทาหน้าที่ สร้างอาหาร
ดอก ทาหน้าที่ สืบพันธุ์
ผล ทาหน้าที่ ขยายพันธุ์
ราก คือส่วนของพืชที่อยู่ในดิน มีหน้าน้าที่ยึดเกาะกับดินช่วยให้ลาต้นตั้งอยู่ได้โดยไม่ล้ม นอกจากนั้น มีหน้าที่ดูดน้าและแร่ธาตุจากดินเพื่อนามาเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลาต้นให้เจริญงอกงาม ดังนั้น พืชทุกต้นจึงต้องมีราก รากบางชนิดรับประทานได้เช่น แครอท มันเทศ มันฝรั่ง เป็นต้น
รากแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รากแก้วและรากฝอย
รากแก้ว มีขนาดรากใหญ่จากฐานล่างจากลาต้นมีรากเล็กๆ แตกออกไปโดยรอบ
รากฝอย ขนานเท่าๆ กัน แตกออกจากฐานล่างของลาต้นที่จุดเดียวกัน
ลำต้น คือส่วนที่โผล่พ้นจากดินขึ้นมา มีหน้าที่นาอาหารและน้าไปหล่อเลี้ยงทุกส่วนของพืช เป็นส่วนที่ช่วยชูกิ่ง ก้าน และใบ
ใบ ใบพืชส่วนมากมีสีเขียว ใบมีหน้าที่หายใจ คายน้า และช่วยปรุงอาหารให้พืช ใบพืชประกอบไปด้วยส่วนสาคัญ คือ
ขอบใบ เป็นส่วนรอบๆ ใบทั้งหมด
แผ่นใบ เป็นแผ่นใบทั้งหมด
เส้นใบ เป็นเส้นเล็กๆ ที่แตกจากก้านใบ
ก้านใบ เป็นท่อยาวตั้งแต่ขั้วใบจรดปลายใบ
ดอก คือ ส่วนที่มีสีสันสวยงาม มีสี รูปร่าง ขนาด จานวนกลีบ และกลิ่นที่แตกต่างกัน ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอม บางชนิดมีกลิ่นเหม็น การที่ดอกไม้มีสีสันสวยงาม เพราะทาหน้าที่ล่อแมลงให้มาช่วยผสมพันธุ์ จากนั้นดอกจะกลายเป็นผล
กลีบเลี้ยง เป็นชั้นนอกสุดมีสีเขียว
กลีบดอก เป็นส่วนที่มีสีสันสวยงาม
เกสรตัวผู้ อยู่ชั้นในสุดของดอก
เกสรตัวเมีย อยู่ชั้นในสุดของดอก
ผล คือ ส่วนที่เจริญเติบโตมาจากดอก ผลของพืชเราเรียกว่า ผลไม้ ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน ผลไม้ที่สุกมี สีแดง เช่น แอปเปิล ตาลึง และ ที่มีสีเขียวเหลือง เช่น แตงโม ส้มโอ บางชนิดมีผิวที่ขรุขระ เช่น มะกรูด มะระ บางชนิดมีรสหวาน เช่น ลาไย แตงโม บางชนิดมีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะไฟ เป็นต้น
ตัวอย่างของผลไม้ชนิดต่างๆ
ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่า พืช ประกอบด้วย ราก ลาต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด พืชแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันไป พืชมีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์มาก เช่น ใช้รับประทานเป็นอาหาร ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค ใช้ทาเครื่องเรือน
๕. อันตรายที่จะเกิดแก่ต้นไม้และป่าไม้
ภยันตรายจากมนุษย์ที่ป่าไม้ได้รับ อาจจำแนกออกได้ตามลำดับของความรุนแรง และความเสียหายได้ดังนี้
๑. การโค่นล้ม เผาผลาญป่าไม้ ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา อันเป็นต้นลำธาร ของแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แควป่าสัก ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นการกระทำของชาวไทยภูเขา ซึ่งแยกเป็นเผ่าใหญ่ๆ อยู่ ๖-๗ เผ่า มีจำนวนซึ่งไม่เคยสำรวจไว้แน่นอนประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ - ๗๐๐,๐๐๐ คน และบางส่วนเป็นการกระทำของชาวไทยพื้นราบ ซึ่งไม่มีที่นาในพื้นที่ราบเพียงพอสำหรับปลูกข้าว จึงได้บุกรุกขึ้นบนเขาเพื่อทำไร่เลื่อนลอย
บริเวณที่ถูกบุกรุกโค่นเผาทำลาย
บริเวณที่ถูกบุกรุกโค่นเผาทำลาย
จากการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ทางภาคพื้นดิน ซึ่งกรมป่าไม้ได้ดำเนินการไว้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๘- ๒๕๐๑ และตรวจสอบจากภาพถ่ายทางอากาศ ที่ได้ถ่ายทำไว้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๔๙๗ ปรากฏว่า ร้อยละ ๗๐ ของป่าดงดิบ ซึ่งอยู่ตามทางภาคเหนือ ได้ถูกโค่น เผาทำลายไป หากนับถึงในปัจจุบันนี้แล้วความเสียหายของป่าไม้ทางภาคเหนือ จากการทำไร่เลื่อนลอย ก็จะต้องขยายวงกว้างออกไปอีกมากมายหลายเท่าตัว
๒. การบุกรุกโค่นเผาป่าไม้ในพื้นที่ที่ใกล้เส้นทางคมนาคม ทั้งที่เป็นที่ราบ และเนินเขา เพื่อทำไร่มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งลุกลามไปทั่วทุกภาคของประเทศโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมระหว่างที่ดินกับการเพาะปลูก
ป่าพรุที่ถูกโค่นทำลาย
ป่าพรุที่ถูกโค่นทำลาย
แม้ภยันตรายชนิดนี้จะมีความเสียหายน้อยกว่า การทำลายป่าประเภทแรกก็ตาม แต่ต้นไม้มีค่า เช่น ไม้สัก ยาง ประดู่ แดง ตะเคียนทอง ฯลฯ หลายล้านต้น ซึ่งควรจะทำออกไปใช้ประโยชน์ ได้ถูกเผาทำลายเป็น เถ้าถ่านไปเป็นจำนวนมาก เพราะพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ที่ถูกบุกรุกเป็นป่าสงวนหรือเตรียมการสงวนของรัฐ ราษฎรหรือนายทุนผู้บุกรุกป่าจึงไม่นำพาที่จะบำรุงดิน ให้สมบูรณ์ คงใช้การเพาะปลูกแบบสุกเอาเผากิน ผลิตผลของพืชไร่ก็จะดีอยู่เพียง ๒ - ๓ ปีแรก ครั้นแล้ว ก็ลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ในที่สุดก็ไม่สามรถ จะใช้เพาะปลูกได้อีก เพราะดินจืดหรือมีวัชพืชปกคลุม หนาแน่น จึงไปบุกรุกโค่นเผาทำลายป่าไม้แห่งอื่นต่อไป
สภาพป่าที่ถูกโค่นทำลาย
สภาพป่าที่ถูกโค่นทำลาย การกระทำดังกล่าว นอกจากทำให้ประเทศต้องสูญเสียต้นไม้มีค่า โดยถูกเผาผลาญลงเป็นเถ้าถ่านหลายล้านต้นต่อปีแล้ว ยังทำให้ความสมบูรณ์ของดิน ทั้งในด้านเคมี และฟิสิกส์เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เป็นอาณาบริเวณกว้างขวางขึ้นเป็นลำดับด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะมีรายได้จากพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ปีละหลายพันล้านบาท แต่ก็เท่ากับได้ส่งต้นทุนของดินอันล้ำค่าในรูปของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ออกไปปีละหลายสิบล้านต้น เพื่อแลกกับเครื่องจักรกล รถยนต์ เครื่องสำอาง หรือแม้แต่เนื้อ นม เนย ในที่สุด ผืนแผ่นดินไทยก็จะเหลืออยู่แต่เพียงหิน กรวด ทราย ที่ใช้เพาะปลูกไม่ได้
๓. การลักตัดไม้ เพื่อทำฟืน เผาถ่าน เป็นอันตรายที่ป่าไม่ได้รับ จากการตัดโค่นไม้ เพื่อทำฟืน หรือเผาถ่านนี้ นับว่ามีความร้ายแรงรองจากสองประเภทแรก อย่างไรก็ดี หากคำนึงถึงความเสียหายที่มีต่อดิน และน้ำในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายแล้ว ก็นับว่ารุนแรงมาก เพราะการลักตัดไม้ประเภทนี้กระทำกับต้นไม้ทุกชนิดทุกขนาด ทั้งยังขุดเอาส่วนโคน หรือตอ และรากไม้ที่อยู่ในดินขึ้นมาตัดทอนแล้วเผาเป็นถ่านอีกด้วย จนทำให้ป่าราบเรียบเป็นหน้ากลอง ประกอบกับป่าไม้ประเภทนี้เป็นป่าแดง หรือป่าเต็งรังที่มีดินเลว และแห้งแล้งมากเมื่อถูกทำลายลงแล้ว ก็เป็นการยากอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงพื้นที่ที่เสียหายให้ใช้ในการเพาะปลูก หรือปลูกป่าได้ดี เมื่อทอดทิ้งไว้นานปี ที่ดินถูกแดดเผา และถูกฝนกัดชะดินก็จะเสื่อมโทรมลง จนกลายเป็นพื้นที่ที่รกร้างอันไร้ค่า มีสภาพประดุจทะเลทราย
สภาพป่าที่ถูกโค่นทำลาย
สภาพป่าที่ถูกโค่นทำลาย
๔. การลักตัดไม้มีค่า เพื่อทำการค้า แปรรูป หรือใช้สอยส่วนตัว ความเสียหายชนิดนี้มีน้อยกว่าสามประเภทแรก เพราะไม้ส่วนใหญ่ที่ถูกลักตัด มักเป็นไม้มีค่าที่มีขนาดโตพอสมควรที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้คงเหลือต้นไม้ที่มีค่าน้อย หรือขนาดรองๆ ลงไป ไว้ให้เจริญเติบโต หรือสืบขยายพันธุ์ต่อไป ไม้ที่ลักตัดออกมาก็จะจำหน่ายเป็นสินค้า หรือแปรรูปเอาไปสร้างอาคารบ้านเรือน โดยที่รัฐบาลจะไม่ได้ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่า ซึ่งนับว่าดีกว่าการโค่นแล้วเผาทำลาย
สำหรับความเสียหายที่ป่าไม้สักได้รับนั้น ปรากฏ ตามผลการสำรวจของดร.เอฟ.เลิตช์ (Dr.F.Loetsch) ผู้เชี่ยวชาญแห่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสห- ประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๐ ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๙๘ ไม้สักได้ถูกลักลอบตัดฟัน ประมาณ ปีละ ๒๑๘,๖๐๐ ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๒ ล้านบาท ส่วนไม้ชนิดอื่น นอกจากไม้สักหรือที่เรียกว่า ไม้กระยาเลยนั้น ปีหนึ่งๆ จะถูกลักตัดฟันนับ อีกปีละหลายแสนต้น หากถือตัวเลขจากจำนวนไม้ลักตัด ที่เจ้าหน้าที่ยึดไว้ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น ต้นไม้ใหญ่ ถูกลักตัดทิ้งไว้ในป่า
ต้นไม้ใหญ่ ถูกลักตัดทิ้งไว้ในป่า
ส่วนภยันตรายตามธรรมชาติ เช่น ไฟป่า แมลง และโรคพืชนั้น ต่างประเทศมีการป้องกันปราบปรามอย่างจริงจัง ส่วนประเทศไทยภัยเหล่านี้แทบจะมองไม่เห็น การป้องกัน และแก้ไขอยู่ในวงจำกัด เช่น ทำเฉพาะส่วนป่าไม้มีค่าบางแห่ง และศัตรูพืชบางชนิด ทั้งนี้ เพราะมีงบประมาณจำกัดมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อป่าปลูกเพิ่มมากขึ้น อันตรายเหล่านี้จะเพิ่มความรุนแรงขึ้น จึงควรเตรียมการป้องกัน กำจัด และปราบปรามให้จริงจังยิ่งขึ้น
๖. การทำแปลงเพาะชำและวิธีบำรุงรักษาต้นไม้ให้
การปลูก
ต้นไม้ที่นำมาปลูกส่วนใหญ่มักจะบรรจุในถุงพลาสติกให้ใช้มีดกรีดถุงออก ควรระวังคือ อย่าให้รากของต้นไม้ได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก เสร็จแล้ววางต้นไม้ลงในหลุมที่ขุดให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นกับรากอยู่เสมอกับระดับขอบหลุม แล้วกลบหลุมด้วยดินผสมที่เตรียมไว้สำหรับปลูกหรือใช้ดินที่ขุดขึ้นจากหลุมที่เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยดี อย่าใช้ดินเหนียวที่แน่นหรือดินที่มีกรวดหินมาก ๆ กลบหลุม เพราะจะเป็นปัญหาทำให้รากต้นไม้เจริญเติบโตได้ไม่ดี เมื่อกลบหลุมเสร็จแล้วใช้เท้าเหยียบดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษใบไม้หญ้าหรือฟางมาคลุมรอบโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการกัดเซาะของน้ำในขณะรดน้ำต้นไม้ หาไม้หลักซึ่งมีความสูงมากกว่าต้นไม้พอประมาณมาปักข้าง ๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้อย่างหลวม ๆ เพื่อช่วยในการทรงตัวของต้นไม้และป้องกันลมพัดโยก เมื่อปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่มและถ้าเป็นไปได้ควรรดน้ำวันละครั้ง จนต้นไม้ตั้งตัวได้ กรณีที่ปลูกเป็นพื้นที่มากๆ ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ขณะฝนตกหรือหลังฝนตกใหม่ ๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำต้นไม้ ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ การรดน้ำควรรดน้ำให้ชุ่ม ถ้าต้องการทราบว่าได้รดน้ำเพียงพอแล้วหรือไม่ ให้ทดลองขุดดินดูว่าน้ำซึมลง
ไปถึงบริเวณรากต้นไม้หรือยัง ถ้ารดน้ำน้อยไปน้ำจะซึมลงไปไม่ถึงบริเวณรากต้นไม้ การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้า ควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการถากถาง และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี 1 เมตร ปีละ 2 ครั้ง ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
6. การดูแลบำรุงรักษา
หลังจากได้ปลูกต้นไม้แล้วผู้ปลูกควรคำนึงถึงอันตรายที่อาจจะเกิดกับต้นไม้ในระยะเริ่มแรกที่มีขนาด
เล็กยังตั้งตัวไม่ได้ เช่น อันตรายจากสัตว์เลี้ยง ยานพาหนะต่าง ๆ หากปลูกจำนวนน้อยอาจทำคอกป้องกัน
หรืออาจทำรั้วกั้นเป็นแนวไว้ได้ สำหรับต้นไม้บางชนิดที่ต้องการความเอาใจใส่มากตั้งตัวได้ยากควรจะมีการ
บังแดดให้ในระยะที่ตั้งตัวไม่ได้ อย่างไรก็ตามการปลูกต้นไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลบำรุงรักษาที่ดีจากผู้ปลูกมากพอสมควร
– ภายหลังการปลูกต้นไม้โดยปกติควรรดน้ำติดต่อกันทุกวันในเวลาเย็นอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจให้ลดลงเป็นวันเว้นวัน หรือ 2 วัน ครั้งจนสังเกตเห็นต้นไม้ตั้งตัวได้
การพรวนดินใส่ปุ๋ยและการกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นตัวการที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้าควรมีการกำจัดวัชพืชโดยการ ถากถาง และพรวนดินรอบโคนต้นไม้ในรัศมี 1 เมตร ปีละ 2 ครั้ง ในขณะพรวนดินถ้ามีปุ๋ยวิทยาศาสตร์จะโรยรอบ ๆ โคนต้นประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วรดน้ำหรือใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มเติมก็ได้
การตรวจดูแลต้นไม้และฉีดยาป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตลอดจนระวังไฟ โดยปกติต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ย่อมถูกแมลง โรค เห็ด รา รบกวนเป็นธรรมดา การเจริญเติบโตของต้นไม้โดยธรรมชาติมีความแข็งแรงอยู่ในตัวพอสามารถสู้ต้านทานกับโรค แมลงและเห็ดราต่าง ๆ ได้ดีพอสมควร หากผู้ปลูกช่วยบำรุงรักษาต้นไม้ให้ถูกวิธี ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้รวดเร็วมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะต่อต้านอันตรายจากสิ่งเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการหมั่นตรวจตราดูแลโรค แมลงที่เกิดกับต้นไม้ และใช้ยาฉีดกำจัดได้ทันเหตุการณ์ในกรณีที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ จะต้องมีการระวังไฟ ควรมีการแผ้วถางวัชพืชปีละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย และทำแนวป้องกันไฟล้อมรอบ ถ้าหากปลูกเป็นแนวยาว เช่น ตามแนวถนนต้องกำจัดวัชพืชที่จะเป็นเชื้อเพลิงในช่วงปลายฤดูฝน หรือก่อนเข้าฤดูแล้งตลอดแนวทาง การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้อย่างเอาใจใส่ และการปลูกต้นไม้จะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่การป้องกันให้ต้นไม้พ้นจากอันตรายจากไฟและอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทั้งปวง
๗. การโค่นและตกแต่งต้นไม้
การตัดแต่งกิ่งไม้ ทำให้กิ่งใหม่แตกมากมายกว่าเดิม ลำต้นผุเป็นโพรงกิ่งหักได้ง่ายหากต้องการ
จำกัดความสูง การตัดแต่งต้นไม้ ให้โปร่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเสียหายจากลมแรงและพายุ
ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม แต่ความจริงแล้วเราสามารถตัดแต่งกิ่งต้นไม้เล็กๆ น้อยๆ
ได้ตลอดทั้งปีตามความเหมาะสม
การ ตัดแต่งต้นไม้ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงฤดูหนาว ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือน
กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะที่ต้นไม้พักตัว (สังเกตว่าต้นไม้จะเริ่มผลัดใบ) และเก็บสะสมอาหารเตรีย
สำหรับการแตกยอดใบใหม่ในฤดูกาลถัดไป
วัตถุประสงค์ของการตัดแต่งต้นไม้
ตัดแต่งเพื่อความสวยงาม ลดความแน่นทึบของทรงพุ่ม อันเป็นสาเหตุทำให้อับแสง อับลม
แถมยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง โดยเริ่มตัดจากกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ เปราะบาง มีแนวโน้มฉีกขาดและ
หักได้ง่าย เมื่อทรงพุ่มโปร่งบางขึ้น ก็จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากลมพายุ แสงแดดสามารถส่องลงมา
ยังพุ่มที่อยู่ด้านล่างได้อย่างทั่วถึงบำรุงรักษากิ่งที่เสียหายจากโรคหรือแมลงเข้าทำลายจนกิ่งแห้งตาย
กิ่งที่หักจนเหลือตอ หรือฉีกขาดจากแรงลม หากปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ อาจเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง
เช่น ปลวก ต่อ แตน ทำให้เกิดผลเสียอื่นๆตามมา บังคับทิศทางการเจริญเติบโตของต้นไม้ เช่น
ป้องกันไม่ให้กิ่งก้านยื่นออกไปยังอาคารที่อยู่ใกล้เคียง
หลบเลี่ยงสิ่งกีดขวางอย่างเสาไฟฟ้า หลังคา หรือระแนงของระเบียงชั้นสอง โดยสามารถควบคุมลักษณะ
ทรงพุ่มได้ตามต้องการ เช่น อยากให้ต้นเจริญเติบโตในส่วนของยอด ให้ตัดกิ่งด้านข้างออก
หรืออยากให้พุ่มแตกออกด้านข้าง ก็ตัดส่วนยอดทิ้ง
ช่วยกระตุ้นให้ออกดอกและผลตามฤดูกาล ทั้งยังช่วยสร้างความสมดุลให้ต้นไม้
โดยเฉพาะต้นที่มีการเจริญเติบโตทางใบมาก การตัดแต่งกิ่งออกบ้างจะช่วยให้สัดส่วนของอาหารที่สะสม
อยู่ในต้นไม้อยู่ในระดับที่เหมาะกับการออกดอกและผล นอกจากนี้การเลือกตัดกิ่งที่ไม่จำเป็น กิ่งที่แห้งตาย
และกิ่งที่เป็นโรคออก จะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวเร็วหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต
แต่งกิ่ง1
ลักษณะของกิ่งที่สมควรตัดทิ้ง
กิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง เป็นกิ่งที่เจริญเติบโตแยกจากส่วนของกิ่งใหญ่ตอนล่าง ลักษณะชี้ตั้งตรง
ไม่โผล่ออกมานอกพุ่มใบ หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นภาระในอนาคต เพราะลำต้นจะส่งอาหารไปเลี้ยงกิ่งอื่นๆ
ที่จำเป็นต่อการให้ดอกให้ผล เท่ากับว่าต้องแบ่งอาหารมาให้กิ่งกระโดงด้วยบางส่วน
หน่อหรือกิ่งโคนต้น กิ่งที่แตกออกมาบริเวณส่วนล่างของโคนต้น ควรตัดทิ้งเช่นกัน
ง่ามกิ่ง ที่บริเวณปลายกิ่งขนาดย่อย
กิ่งคดงอ เป็นกิ่งที่คดโค้งอยู่ภายในพุ่ม มีลักษณะอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากได้รับแสงไม่เพียงพอ
จึงควรตัดทิ้งกิ่งที่ฉีกหักคาต้น ถ้ากิ่งที่ฉีกหักคาต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป
ควรตัดทิ้ง แล้วตกแต่งแผลด้วยการทาปูนแดงหรือสีน้ำมันให้ทั่ว เพื่อป้องกันเชื้อรา แต่งกิ่ง3
เทคนิคการตัดกิ่งไม้ขนาดใหญ่
(A) เลื่อยด้านล่างของกิ่งห่างจากลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร โดยตัดให้ลึกประมาณครึ่งหนึ่ง
ของความหนาของกิ่ง เพื่อความปลอดภัยควรผูกเชือกไว้ที่กิ่งกับลำต้น ป้องกันการหล่นลงมาใส่ผู้ทำงาน
ที่อยู่ด้านล่าง
(B) ตัดด้านบนให้ห่างจากรอยเดิมประมาณ 10 เซนติเมตรตามภาพ
(C) ครั้งสุดท้ายตัดให้ชิดลำต้น โดยให้รอยตัดตั้งฉากกับกิ่ง แผลจากการตัดต้องเรียบ ไม่เป็นแอ่ง
เพราะอาจเกิดน้ำขังจนเป็นเชื้อรา อย่าลืมทาปูนแดงหรือสีน้ำมันทุกครั้งหลังการตัดแต่งกิ่งที่เกิดแผล
แหล่งอ้างอิง
- ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
- http://irrigation.rid.go.th/rid1/HongKhrai/3tree.html
- http://www.baanlaesuan.com/29790/maintenance/tree/
- http://kanchanapisek.or.th/kp6/index2.php
- https://scoutshare.blogspot.com/2018/10/blog-post_75.html
- https://scoutshare.blogspot.com/2018/10/youtube_20.html