Translate

หน้าเว็บ

แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

30 กันยายน 2561

ลูกเสือช่อสะอาด

ลูกเสือช่อสะอาด

               ด้วยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง ความร่วมมือในกิจการลูกเสือเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 เพื่อดำเนินการจัดทำหลักสูตร คู่มือ เอกสารประกอบ พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรในสังกัดได้เข้ารับการฝึกอบรมในความรู้ขั้นต่างๆ โดยเฉพาะหลักสูตรลูกเสือช่อสะอาด เพื่อเพิ่มบุคลากรทางการลูกเสือให้มีศักยภาพ สนับสนุนและส่งเสริมให้สถานศึกษาทั่วประเทศนำกระบวนการลูกเสือช่อสะอาด เข้าไปจัดฝึกอบรมให้กับนักเรียน นักศึกษา โดยเป็นหลักสูตรวิชาพิเศษ และ/หรือ หลักสูตรเฉพาะทาง ทุกปีการศึกษา และพัฒนาไปสู่การจัดตั้งหน่วยลูกเสือช่อสะอาดภายในสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในอนาคตต่อไป จึงกำหนดให้มีการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือช่อสะอาดทั้ง 4 ประเภท ให้แก่ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรอง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิสามัญ จึงขอเชิญชวนผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมการฝึกอบรม โดยสามารถกรอกใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ http://scoutnacc.blogspot.com (สโมสรลูกเสือสำนักงาน ป.ป.ช.) ด้านคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถดาวน์โหลดเอกสารด้านล่างนี้

https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=9348

23 ธันวาคม 2562

การเดินทางไกลและแรมคืน


บทที่ 3

การเดินทางไกลและแรมคืน  (พักแรม)

                ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะนำลูกเสือ-เนตรนารี  ไปปฏิบัติการเดินทางไกลและแรมคืน  (พักแรม)   ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรจะได้มีการประกอบพิธีการเพื่อเป็นศิริมงคล ให้กับกองลูกเสือ
ได้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ให้ผู้บังคับบัญชาจัดทำพิธีถวายราชสดุดีพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 6
โดยจัดเตรียม        ดังนี้
1.             สถานที่
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรจะจัดบริเวณหน้าเสาธงชาติ

2.             อุปกรณ์ที่จะทำพิธีถวายราชสดุดี
2.1          พระรูปหรือพระบรมฉายาลักษณ์  รัชกาลที่ 6
2.2          ธูป 1 ดอก
2.3          เทียน 1 เล่ม
2.4          พวงมาลัย (ชายเดียว) 1 พวงหรือช่อดอกไม้ 1 ช่อ
2.5          พานสำหรับพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้

3.             ลำดับขั้นตอนพิธีการถวายสักการะ
3.1          ผู้กำกับลูกเสือที่ทำหน้าที่พิธีกร  เรียกเข้าแถวตอนลึก หน้าพระบรมราชานุสรณ์
ห่างจากพระบรมราชานุสรณ์ 6 ก้าว
3.2          ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ เข้าแถวหน้ากระดาน หน้าแถวลูกเสือ
3.3          พิธีกร เชิญผู้บังคับการค่ายจุดธูปเทียน ถวายสักการะ พระบรมราชานุสรณ์
3.4          ผู้บังคับการค่ายเดินไปยืนหน้าพระบรมราชานุสรณ์  ถวายความเคารพ
              (วันทยาหัตถ์)
3.5          ผู้บังคับการค่ายรับพวงมาลัย และนำพวงมาลัย หรือช่อดอกไม้ไปวางไว้บนพาน
และรับเทียนชนวน จุดธูปเทียน เสร็จแล้ว ทำความเคารพ (วันทยาหัตถ์) นั่งลงคุกเข่าถวายบังคม 3 ครั้ง แล้วยืนขึ้น ทำความเคารพ  (วันทยาหัตถ์)  แล้วนั่งคุกเข่าถวายราชสดุดี
      3.6   พิธีกรสั่ง  เตรียมถวายราชสดุดี  ถอดหมวก   และถือหมวกด้วยมือซ้ายทุกคนก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว   คุกเข่าขวาลงกับพื้นตั้งเข่าซ้ายขึ้น   นั่งลงบนส้นเท้าขวา  
มือซ้ายที่ถือหมวกวางพาดบนเข่าซ้าย ลักษณะหงายมือขึ้น  งอพับเข้าหาตัวให้หน้าเสือของหมวกหันไปทางด้านขวามือ ก้มหน้า ลงเล็กน้อย มือขวาวางบนเข่าลักษณะคว่ำมือลง
      3.7   พิธีกร นำร้องเพลงราชสดุดี      ข้าลูกเสือ     ทุกคนรับพร้อมกันว่า  เชื้อไทยใจเคารพ     เมื่อร้องเพลงจบแล้วให้เงยหน้าขึ้น
                         3.8   เมื่อร้องเพลงราชสดุดีจบแล้ว พิธีกรสั่ง  ลุก   ทุกคนยืนขึ้น
3.9 พิธีกรสั่งกองแยก


ผู้กำกับลูกเสือได้ทำพิธีถวายราชสดุดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ลูกเสือ-เนตรนารี ได้
ออกเดินทางไกล โดยให้ปล่อยไปทีละหมู่ ส่วนหมู่ที่เหลือที่ยังไม่ได้ออกเดินทางไกล  ก็ให้ผู้กำกับได้เล่าเรื่องสั้นหรือให้ลูกเสือหมู่ที่จะออกเดินทางเป็นหมู่ที่ 2 ให้ออกมานำร้องเพลงเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากนั้นก็ให้ผู้กำกับได้ปล่อยลูกเสือได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับหมู่ที่ 1 – 2  โดยปล่อยออกเดินทางให้ห่างกันหมู่ละ 5 นาที  และให้ผู้กำกับลูกเสือได้กำชับให้ลูกเสือ เนตรนารี ได้ปฏิบัติ
ตามข้อควรปฏิบัติขณะเดินทางไกล  ดังนี้

                               

ข้อควรปฏิบัติขณะเดินทางไกล

1.             เดินเป็นระบบหมู่ตามตำแหน่งไม่ทิ้งระยะห่างเกินไป
2.             เดินตามกฎจราจร
3.             ขณะเดินไม่ส่งเสียงเอะอะ ไม่พูดจาหยาบคาย
4.             ไม่เก็บ  เด็ด  ทำลายพืช  หรือยุแหย่สัตว์เลี้ยงของทางบ้าน
5.             รักษาเวลาเดินสม่ำเสมอ ขนาด 4 กม./ชั่วโมง  (นาทีละ  75  ก้าว)
6.             ผ่านหมู่บ้าน ฝูงชน ต้องระมัดระวังระเบียบวินัย
7.             ไม่รับประทานอาหารหรือขบเคี้ยวขณะเดิน
8.             จะหยุดหรือออกนอกแถวต้องขออนุญาตนายหมู่
9.             สำรวจอุปกรณ์ตนเองอยู่เสมอ
10.      ไม่สูบบุหรี่ขณะเดินทาง
11.       เหงื่อออกมากควรดื่มน้ำชา  น้ำเกลือ
เมื่อลูกเสือ-เนตรนารี เดินทางไกลถึงสถานที่ตั้งค่ายพักแรมแล้วให้ผู้กำกับ
ลูกเสือ-เนตรนารี ได้ดำเนินการเปิดค่ายพักแรม   ดังนี้
                               



พิธีเปิดค่ายการเดินทางไกลและแรมคืนลูกเสือ

                หลังจากลูกเสือเดินทางถึงที่ตั้งค่ายและพักผ่อนพอสมควรแล้ว
1.             ผู้กำกับลูกเสือที่ได้รับหมอบหมาย  (พิธีกร)  เรียกลูกเสือเข้าแถวเป็นรูปครึ่งวงกลมหน้าเสาธง
2.             พิธีกรเชิญผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ เข้าแถวหลังเสาธง
3.             หมู่บริการเข้าประจำที่  เตรียมชักธง  สวดมนต์
4.             พิธีกรสั่ง  กองตรง  เคารพธงชาติ  วันทยาวุธ  ชักธงเสร็จแล้วหมู่บริการวิ่งเข้าประจำที่เดิมพิธีกรสั่ง  เรียบอาวุธ  แล้วหมู่บริการนำสวดมนต์
5.             พิธีกรสั่ง  ตามระเบียบพัก  แล้วเชิญผู้บังคับการค่ายให้โอวาท
6.             ผู้บังคับการค่ายออกมายืนหน้าเสาธง พิธีกรสั่ง  กองตรงวันทยาวุธ   ผู้บังคับการต้องทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่ง   เรียบอาวุธ  ตามระเบียบพัก
7.             ผู้บังคับการค่ายให้โอวาทกล่าวเปิดค่ายจบแล้ว พิธีกรสั่ง       กองตรงวันทยาวุธ 
ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่ง    เรียบอาวุธ    ตามระเบียบพัก
                8.   พิธีกรนัดหมาย  เสร็จแล้วสั่ง  กองตรง   กองแยก

ถ้านายหมู่มีอาวุธคนเดียว

หมายเหตุ             ให้พิธีกรสั่ง  เคารพธงชาติ  ตรง  แล้วนายหมู่ที่มีพลองให้ทำวันทยาวุธ คนอื่นให้
                                ยืนตรง  ผู้บังคับบัญชาที่อยู่หลังเสาธงให้ทำความเคารพท่าวันทยาหัตถ์
                                หลังจากทำพิธีเปิดค่ายพักแรมแล้ว ผู้กำกับลูกเสือได้ให้ลูกเสือ-เนตรนารี แต่ละหมู่ได้ดำเนินการสร้างค่ายพักแรม โดยให้แต่ละหมู่เริ่มดำเนินการกางเต็นท์ ยิ่งในปัจจุบันนี้เป็นลักษณะเต็นท์สำเร็จรูป ฉะนั้นผู้กำกับลูกเสือควรให้ลูกเสือ-เนตรนารี ได้รู้จักวิธีการกางเต็นท์และเก็บเต็นท์สำเร็จรูปดังนี้









พิธีปิดการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ
                หลังจากลูกเสือได้รื้อเต็นท์ เก็บอุปกรณ์เครื่องหลังเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พอถึงเวลา ผู้กำกับที่ได้รับมอบหมาย   (พิธีกร)   จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.             พิธีกรสั่งเข้าแถวเป็นรูปครึ่งวงกลมหน้าเสาธง
2.             พิธีกรเชิญ ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ เข้าแถวหลังเสาธง
3.             พิธีกรเชิญผู้บังคับการค่ายให้โอวาทครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ  (ปัจฉิมโอวาท)
4.             ผู้บังคับการค่ายออกมายืนหน้าเสาธง  พิธีกรสั่ง  กองตรง  วันทยาวุธ  ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่ง   เรียบอาวุธ   ตามระเบียบพัก
5.             ผู้บังคับการค่ายให้โอวาท เสร็จแล้วพิธีกรสั่ง     กองตรง  วันทยาวุธ   ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่งเรียบอาวุธ  เตรียมสวดมนต์  หมู่บริการนำสวดมนต์, สงบนิ่ง
6.             พิธีกรสั่ง  หมู่บริการ  ชักธงชาติลงจากยอดเสา  พิธีกรสั่ง   เคารพธงชาติ  (ไม่ต้องสั่งตรงเพราะลูกเสืออยู่ในลักษณะแถวตรงอยู่แล้ว)
7.             หมู่บริการชักธงชาติลงจากยอดเสาให้ชายธงอยู่เหนือศรีษะ  (ไม่ต้องเป่านกหวีด เพราะทุกคนได้เห็นทั่วถึงกัน)
8.             พิธีกรเชิญผู้กำกับ รองผู้กำกับ เข้าแถวเป็นรูปวงกลมร่วมจับมือโดยเอามือขวาวางทับมือซ้าย จับมือซ้ายขวา   กับเพื่อน

9.             พิธีกรนำร้องเพลงสามัคคีชุมนุม 1 จบ เมื่อร้องเพลงจบแล้ว ปล่อยมือให้ลูกเสือกลับเข้าแถวเหมือนเดิม
10.      พิธีกรเชิญผู้กำกับ รองผู้กำกับ เดินไปจับมือกับลูกเสือและให้ลูกเสือคนอื่น ๆ ช่วยร้องเพลง   ก่อนจะจากกันไป   และลูกเสือก็เดินจับมือตามผู้กำกับจนครบทุกคน แล้วให้หมู่แรกมาเข้าแถวรูปครึ่งวงกลมเหมือนเดิม
11.      พิธีกรนำร้องเพลง  ลาก่อนเพื่อนที่รัก  และคณะ  ให้ร้อง 3 จบ  เที่ยวแรกให้ลูกเสือยืนอยู่กับที่ เที่ยวที่ 2 ให้ลูกเสือทุกคนเริ่มเดินถอยหลังช้า ๆ เที่ยวที่ 3  ให้ลูกเสือทุกคนยกมือขึ้นโบกพร้อมเดินถอยหลังและแยกย้ายกันกลับ
12.      พิธีกรสั่งให้ลูกเสือแต่ละหมู่เดินทางกลับ





หนังสืออ้างอิง
-                   คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ,  สำนักงาน.  พลศึกษา,  กรม.  คระกรรมการฝ่ายฝึกอบรม
ลูกเสือแห่งชาติ.  คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ..2522.
-                   สวาท  แดงประเสริฐ. คู่มือเตรียมลูกเสือ-เนตรนารี วิสามัญ 1-2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พรานนก
การพิมพ์,  ..2531





17 ตุลาคม 2561

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ม.2

หลักสูตรลูกเสือชั้นพิเศษ (ม.2)
  • ปฐมนิเทศลูกเสือ
  • ฝึกทบทวนระเบียบแถว
  • การฝึกเดินสวนสนาม
  • หน้าที่พลเมือง
  • สิ่งแวดล้อม
  • การเดินทางสำรวจ
  • การแสดงออกทางศิลปะ
  • สมรรถภาพทางกาย


แนวการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ












แนวการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
========================================================
จุดประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ
ช่วยสร้างสรรค์สังคม มีความเจริญก้าวหน้าความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติจึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฎิบัติตามคำปฎิญาณ กฎและคติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือ การแก้ปัญหาและทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความกล้าหาญอดทน เชื่อมั่นในตนเองมีระเบียบ มีวินัย มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณะประโยชน์ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ

หลักสูตรลูกเสือชั้นพิเศษ

มีวิชาพื้นฐาน 8 วิชา   เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดด้านละ 3 ซม. พื้นสีกากี ภายในเป็นรูปช่อชัยพฤกษ์สีขาว 2 ช่อ โค้งเข้าหากัน ปลายช่อชัยพฤกษ์ มีตราเครื่องหมายหัวลูกศรสีขาว ระหว่างช่อชัยพฤกษ์มีหน้าเสือสีทอง เครื่องหมายนี้ติดที่กึ่งกลางกระเป๋าเสื้อข้างขวา  ลูกเสือที่จะประดับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษจะต้อง โดยปกติลูกเสือจะสอบได้เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษภายใน
ระยะเวลา 1 ปี หลังจากได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลก







แผนการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และคาบเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิชา เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
========================================================

ภาคเรียนที่ 1 คาบ ภาคเรียนที่ 2 คาบ
ปฐมนิเทศ(เครื่องแบบ,การ ปฐมนิเทศ 1
ทำความเคารพ ,ระเบียบแถว) 1 นักแสดงการบันเทิง 2 – 3
หน้าที่พลเมือง                 2 - 3 นักกรีฑา 4 – 5         
สิ่งแวดล้อม 4 - 5 นักผจญภัย 6 – 7
การเดินทางสำรวจ                         6 - 7 แผนที่ทหารและเข็มทิศ 8 – 10
การแสดงออกทางศิลปะ                 8 - 9 นักดาราศาสตร์ 11 – 13
สมรรถภาพทางกาย 10 - 11 นักธรรมชาติวิทยา 14 – 15
กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ 12-13 นักสะกดรอย 16 – 17
อุดมคติ 14 - 15 สอบภาคทฤษฎี 18
บริการ 16 - 18
เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ 19 - 20
รวม 20 รวม 18

หมายเหตุ   1. การสอบภาคปฏิบัติใช้เวลานอกคาบเรียน
    2. ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2528 หมวด 2 (เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ) ข้อ 2 กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าเกณฑ์ได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษจะต้องสอบวิชาพื้นฐานระดับลูกเสือชั้นพิเศษได้ 5 วิชา คือ วิชาการเดินทางสำรวจ วิชาบริการ และวิชาอื่นอีก 3 วิชา ซึ่งลูกเสือเป็นผู้เลือก
      3. ระเบียบแถวเป็นการฝึกความพร้อมของลูกเสือ ไม่ใช่วิชาในหมวดวิชาลูกเสือชั้นพิเศษ
      4. ภาคเรียนที่ 2 เป็นแผนการเรียนวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ตามข้อบังคับฯ 76 วิชา









การกำหนดการสอนหน่วยกิจกรรมลูกเสือ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
สัปดาห์ที่
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
เวลา/คาบ
1
1.ปฐมนิเทศ
   1.1 การจัดการเรียนการสอน
   1.2 การแต่งกาย
1
2-3
2.หน้าที่พลเมือง
  2.1 ประวัติการลูกเสือไทย
  2.2  วิธีดำเนินการของขบวนการลูกเสือ
2
4-5
3.สิ่งแวดล้อม
   3.1 ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
   3.2 วิธีการอนุรักษ์สัตว์ – พืช
   3.3 การอนุรักษ์ธรรมชาติ
2
6-7
4.การเดินทางสำรวจ
   4.1 หลักในการเดินทางสำรวจด้วยการเดินเท้า
   4.2 การจัดอาหารและอุปกรณ์เวชภัณฑ์
   4.3 การทำแบบรายงานสำรวจ
2
8-9
5.การแสดงออกทางศิลปะ
 5.1 ศิลปการแสดง
 5.2 ทัศนศิลป์และการวาดภาพ
 5.3 การปั้น
 5.4 การถ่ายภาพ
 5.5 การประดิษฐ์ – การแกะสลัก
 5.6 การช่าง
 5.7 ศิลปทางอักษรศาสตร์ศิลปการวิจารณ์
2











สัปดาห์ที่
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
เวลา/คาบ
10-11
6. สมรรถภาพทางกาย
   6.1 มาตรฐานการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
   6.2 ความหมายชนิดและโทษของสิ่งเสพย์ติด
2
12-13
7. กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ
   7.1 แนวทางในการเลือกปฏิบัติกิจกรรม
   7.2 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติกิจกรรม
2
14-15
8.อุดมคติ
  8.1 คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
  8.2  ศีล 5 และศีล 8
 8.3  อาราธนาศีล-ธรรม-พระปริตร
  8.4  หลักสำคัญในพระพุทธศาสนา
 8.5  กิจกรรมที่ใช้สติปัญญา
 8.6  กิจกรรมวิทยาการ
2
16-18
9.บริการ
   9.1 ความหมายของชุมชน การบริการและการพัฒนาชุมชน
   9.2 กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน
   9.3 การบริการชุมชนตามกฎของลูกเสือ
  9.4 การปฐมพยาบาล
3
19-20
การประดับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
2

รวม
20













กำหนดการสอนหน่วยกิจกรรมลูกเสือ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
สัปดาห์ที่
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
เวลา/คาบ
21
1.ปฐมนิเทศ
   1.1 การเรียนเพื่อรับเครื่องหมายวิชาพิเศษ
   1.2 การเรียนเพื่อรับเครื่องหมายสายยศ
1
22-23
2.วิชานักแสดงบันเทิง
  2.1 วางแผนจัดการบันเทิง
  2.2 เตรียมจัดโปรแกรมบันเทิง
2
24 - 25
3.นักกรีฑา
   3.1 ออกกำลังกาย้วยวิธีต่างๆได้
         - วิ่งระยะสั้น
         - วิ่งระยะกลาง
         - วิ่งกระโดดสูง
2
26 - 27
4.วิชานักผจญภัย
         - การเดินทางไกลแรมคืน
         - ว่ายน้ำ
         - กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
         - การไต่เชือก
2
















สัปดาห์ที่
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
เวลา/คาบ
28 - 30
5. แผนที่ทหาร /เข็มทิศ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่
กำหนดที่ตั้งลงบนแผนที่ด้วยพิกัด
การใช้เข็มทิศ
3
31 - 33
6.วิชานักดาราศาสตร์
      - ดาวและกลุ่มดาว
      - เครื่องมือ,หอดูดาว
      - กิจกรรมมนุษย์ในอวกาศ
   
3
34 - 35
7. นักธรรมชาติวิทยา
ความรู้เรื่องธรรมชาติ
โครงงานธรรมชาติศึกษา
2
36 - 37
8. นักสะกดรอย
การสะกดรอย
นักสะกดรอย
2
38 - 39
ทดสอบความรู้วิชาพิเศษ
2

รวม
40

ได้ได้รับเครื่องหมายสายยงยศลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

ในภาคเรียนที่ 2 ของปีที่ 1  (ชั้น ม.1) ลูกเสืออาจได้รับสายยงยศได้  โดยจะต้อง
1. สอบได้เครื่องหมายลูกเสือโลก
2. สอบได้วิชาพิเศษ  “นักผจญภัย”
3. สอบได้วิชาพิเศษวิชาต่อไปนี้ อีก 2 วิชา คือ นักดาราศาสตร์, นักอุตุนิยมวิทยา, การจัดการค่าย พักแรม, ผู้พิทักษ์ป่า, นักเดินทางไกล, หัวหน้าคนครัว, นักบุกเบิก, นักสะกดรอย, นักธรรมชาติวิทยา
4. ต้องถักสายยงยศ (สายหนัง)  ได้ด้วยตัวเอง


Google Doc

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้