Translate

หน้าเว็บ

แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

4 พฤศจิกายน 2565

การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ

เครื่องแบบลูกเสือ



การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ
กางเกง ชายกางเกงขาสั้น
ผ้าผูกคอ    ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด  (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เชียงราย,เชียงใหม่,น่าน,พะเยา,แพร่ 
 ,แม่ฮ่องสอน,ลำปางและลำพูน ใช้ผ้าผูกคอสีชมพูบานเย็น  
ด้านหลังใช้เป็นตราของจังหวัด  จังหวัดแพร่ รูปม้ายืนมีพระธาตุช่อแฮ่อยู่บนหลัง ข้อมูลผ้าผูกคอตามสังกัดเขตการศึกษาในอดีต,  ข้อมูลตราจังหวัดทั่วประเทศ ) 
     

หมวก
     ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สวมหมวกทรงอ่อน(เบเรต์) สีเลือดหมู
ป้ายชื่อ
     ทุกคนต้องติดป้ายชื่อที่เหนือกระเป๋าข้างขวาเมื่อแต่งเครื่องแบบครบ เขียนชื่อ-สกุล
เครื่องหมายหมู่ ใช้อนุโลมตามเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง  
     สำรอง  ใช้ผ้าสีเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ติดแขนซ้ายให้มุมแหลมอยู่ด้านบน  
     สามัญและผู้นำ  ใช้ริบบิ้นสีเป็นแถบยาว 
     สามัญรุ่นใหญ่   ใช้เครื่องหมายสี่เหลี่ยมแถบสีติดที่ไหล่

เครื่องหมายนายหมู่  
     สำรอง  ใช้แถบผ้าสีเหลือง กว้าง 1 ซม. ยาวรอบแขนเสื้อและรองนายหมู่ข้างซ้าย ให้แถบแรกห่าง
จากปลายแขนเสื้อ 5 ซม. แถบที่ 2 ห่างจากแถบแรก 1 ซม. นายหมู่ใช้ 2 แถบ รองนายหมู่ใช้  1 แถบ   
     สามัญและผู้นำ  ใช้แถบผ้าสีขาว กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  
     สามัญรุ่นใหญ่  ใช้แถบผ้าสีเลือดหมู่ กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  นายหมู่ 2 แถบ รองนายหมู่ 1 แถบ พลาธิการใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภทติดเช่นเดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย
     วิสามัญ    ใช้สีแดงลักษณะเช่นเดียวกับสามัญ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย นายหมู่ใช้ 2 แถบ
รองนายหมู่  ใช้  1 แถบ    (ดูกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ) 
เครื่องหมายพลาธิการ 
     ใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภท รูปสี่เหลี่ยมเช่น
เดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย


การตั้งชื่อหมู่และสีประจำหมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
1. หมู่ศรีอินทราทิตย์             สีน้ำเงินแก่ / สีเหลือง                     
2. หมู่รามคำแหง                   สีเขียว / สีขาว
3. หมู่อู่ทอง                            สีแดง / สีเหลือง
4. หมู่บรมไตรโลกนาถ         สีน้ำเงิน/สีแดง
5. หมู่พระมหาจักรพรรดิ      สีดำ / สีเหลือง
6. หมู่สุริโยทัย                        สีขาว/เขียว
7. หมู่นเรศวร                         สีน้ำตาล / สีเหลือง
8. หมู่เอกาทศรถ                   สีน้ำตาล / สีขาว
9. หมู่ปราสาททอง                สีฟ้า / สีเหลือง
10. หมู่พระนารายณ์             สีเหลือง / สีดำ
11. หมู่โกษาปาน                   สีเขียว/สีเหลือง
12. หมู่โกษาเหล็ก                 สีเขียวแก่/สีฟ้า
13. หมู่พันท้ายนรสิงห์          สีเหลือง / สีน้ำเงินแก่
14. หมู่พระเจ้าตาก                สีแดง / สีน้ำเงิน
15. หมู่พระพุทธยอดฟ้า       สีฟ้า / สีขาว
16. หมู่เทพกษัตรีย์                สีขาว/สีฟ้า
17.หมู่ศรีสุนทร                      สีเขียวแก่/สีแดง

บทบาหน้าที่ความรับผิดชอบภายในหมู่ คือ
     1.  นายหมู่
     2.  รองนายหมู่
     3.  พลาธิการ
     4.  คนครัว
     5.  ผู้ช่วยคนครัว
     6. คนหาน้ำ
     7.  คนหาฟืน
     8.  ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือทั่วไป

         ( อัตรากำลังของหมู่เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษ ฯลฯ   หมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จัด 4 – 8 คน  หมู่ลูกเสือวิสามัญ 4 – 6 คน   จัดกลุ่ม-กอง จัดกองละ 2-6 หมู่  ในหนึงกลุ่ม มี 4กองเป็นต้นไป)

รวบรวมโดย.... นายวีระชัย  จันทร์สุข
วุฒิทางลูกเสือ  L.T.

2 พฤศจิกายน 2565

หลักสูตรและการฝึกอบรม

 


****************************
🌌หลักสูตรเงื่อนเชือก สพฐ.


*********************************************
🌌หลักสูตรหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ




13 สิงหาคม 2563

ปฐมนิเทศ ม.1

ปฐมนิเทศ

1. เปิดประชุมกอง (ชักธงข้ึน, สวดมนต์, สงบนิ่ง, ตรวจ, แยก)
2. เกม / เพลง
3. กิจกรรมการเรียนการสอน
     - ผู้กำกับปฐมนิเทศ ชี้แจงวัตถุประสงคก์ารจัดกิจกรรม
     - จัดหมู่ลูกเสือ แบ่งกลุ่ม กองให้เรียบร้อย
     - ชี้แจงแนวปฏิบตัิในการจัดกิจกรรม
     - ซักถามปัญหาและสรุปร่วมกัน
4. เล่าเรื่องส้ัน
5. ปิดประชุมกอง (นัดหมาย, ตรวจ, ชักธงลง, เลิก)

วัตถุประสงค์ หลักการสำคัญ และวิธีการของลูกเสือ
          การลูกเสือ เป็นขบวนการทางการศึกษาสำหรับเยาวชน ที่มีวัตถุประสงค์จะสร้างบุคลิกภาพ และพัฒนาการทางสังคมให้กับเยาวชนเพื่อให้เป็นพลเมืองดีของประเทศโดยใช้วิธีการของลูกเสือ 
- ยึดมั่นในกฎและคำปฏิญาณ (Scout Promise and Laws) 
- การเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by Doing)
- เน้นการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง  (Outdoor Activities) 
- การใช้ระบบหมู่  (Patrol System) 

- และความก้าวหน้าของบุคคล โดยใช้หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ (Proficiency Badges)

วัตถุประสงค์ลูกเสือของคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ

          เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้
          (1) ให้มีนิสัยในการสังเกตจดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
          (2) ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
          (3) ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
          (4) ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่างๆตามความเหมาะสม
          (5) ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ

เครื่องแบบลูกเสือ




การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ
กางเกง ชายกางเกงขาสั้น
ผ้าผูกคอ    ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด  (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เชียงราย,เชียงใหม่,น่าน,พะเยา,แพร่ 
 ,แม่ฮ่องสอน,ลำปางและลำพูน ใช้ผ้าผูกคอสีชมพูบานเย็น  
ด้านหลังใช้เป็นตราของจังหวัด  จังหวัดแพร่ รูปม้ายืนมีพระธาตุช่อแฮ่อยู่บนหลัง ข้อมูลผ้าผูกคอตามสังกัดเขตการศึกษาในอดีต,  ข้อมูลตราจังหวัดทั่วประเทศ ) 
     

หมวก
     ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สวมหมวกทรงอ่อน(เบเรต์) สีเลือดหมู
ป้ายชื่อ
     ทุกคนต้องติดป้ายชื่อที่เหนือกระเป๋าข้างขวาเมื่อแต่งเครื่องแบบครบ เขียนชื่อ-สกุล
เครื่องหมายหมู่ ใช้อนุโลมตามเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง  
     สำรอง  ใช้ผ้าสีเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ติดแขนซ้ายให้มุมแหลมอยู่ด้านบน  
     สามัญและผู้นำ  ใช้ริบบิ้นสีเป็นแถบยาว 
     สามัญรุ่นใหญ่   ใช้เครื่องหมายสี่เหลี่ยมแถบสีติดที่ไหล่

เครื่องหมายนายหมู่  
     สำรอง  ใช้แถบผ้าสีเหลือง กว้าง 1 ซม. ยาวรอบแขนเสื้อและรองนายหมู่ข้างซ้าย ให้แถบแรกห่าง
จากปลายแขนเสื้อ 5 ซม. แถบที่ 2 ห่างจากแถบแรก 1 ซม. นายหมู่ใช้ 2 แถบ รองนายหมู่ใช้  1 แถบ   
     สามัญและผู้นำ  ใช้แถบผ้าสีขาว กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  
     สามัญรุ่นใหญ่  ใช้แถบผ้าสีเลือดหมู่ กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  นายหมู่ 2 แถบ รองนายหมู่ 1 แถบ พลาธิการใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภทติดเช่นเดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย
     วิสามัญ    ใช้สีแดงลักษณะเช่นเดียวกับสามัญ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย นายหมู่ใช้ 2 แถบ
รองนายหมู่  ใช้  1 แถบ    (ดูกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ) 
เครื่องหมายพลาธิการ 
     ใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภท รูปสี่เหลี่ยมเช่น
เดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย


การตั้งชื่อหมู่และสีประจำหมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
1. หมู่ศรีอินทราทิตย์             สีน้ำเงินแก่ / สีเหลือง                     
2. หมู่รามคำแหง                   สีเขียว / สีขาว
3. หมู่อู่ทอง                            สีแดง / สีเหลือง
4. หมู่บรมไตรโลกนาถ         สีน้ำเงิน/สีแดง
5. หมู่พระมหาจักรพรรดิ      สีดำ / สีเหลือง
6. หมู่สุริโยทัย                        สีขาว/เขียว
7. หมู่นเรศวร                         สีน้ำตาล / สีเหลือง
8. หมู่เอกาทศรถ                   สีน้ำตาล / สีขาว
9. หมู่ปราสาททอง                สีฟ้า / สีเหลือง
10. หมู่พระนารายณ์             สีเหลือง / สีดำ
11. หมู่โกษาปาน                   สีเขียว/สีเหลือง
12. หมู่โกษาเหล็ก                 สีเขียวแก่/สีฟ้า
13. หมู่พันท้ายนรสิงห์          สีเหลือง / สีน้ำเงินแก่
14. หมู่พระเจ้าตาก                สีแดง / สีน้ำเงิน
15. หมู่พระพุทธยอดฟ้า       สีฟ้า / สีขาว
16. หมู่เทพกษัตรีย์                สีขาว/สีฟ้า
17.หมู่ศรีสุนทร                      สีเขียวแก่/สีแดง

บทบาหน้าที่ความรับผิดชอบภายในหมู่ คือ
     1.  นายหมู่
     2.  รองนายหมู่
     3.  พลาธิการ
     4.  คนครัว
     5.  ผู้ช่วยคนครัว
     6. คนหาน้ำ
     7.  คนหาฟืน
     8.  ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือทั่วไป

         ( อัตรากำลังของหมู่เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษ ฯลฯ   หมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จัด 4 – 8 คน  หมู่ลูกเสือวิสามัญ 4 – 6 คน   จัดกลุ่ม-กอง จัดกองละ 2-6 หมู่  ในหนึงกลุ่ม มี 4กองเป็นต้นไป)


รวบรวมโดย.... นายวีระชัย  จันทร์สุข
วุฒิทางลูกเสือ  L.T.

23 ธันวาคม 2562

การเดินทางไกลและแรมคืน


บทที่ 3

การเดินทางไกลและแรมคืน  (พักแรม)

                ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะนำลูกเสือ-เนตรนารี  ไปปฏิบัติการเดินทางไกลและแรมคืน  (พักแรม)   ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรจะได้มีการประกอบพิธีการเพื่อเป็นศิริมงคล ให้กับกองลูกเสือ
ได้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ให้ผู้บังคับบัญชาจัดทำพิธีถวายราชสดุดีพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 6
โดยจัดเตรียม        ดังนี้
1.             สถานที่
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรจะจัดบริเวณหน้าเสาธงชาติ

2.             อุปกรณ์ที่จะทำพิธีถวายราชสดุดี
2.1          พระรูปหรือพระบรมฉายาลักษณ์  รัชกาลที่ 6
2.2          ธูป 1 ดอก
2.3          เทียน 1 เล่ม
2.4          พวงมาลัย (ชายเดียว) 1 พวงหรือช่อดอกไม้ 1 ช่อ
2.5          พานสำหรับพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้

3.             ลำดับขั้นตอนพิธีการถวายสักการะ
3.1          ผู้กำกับลูกเสือที่ทำหน้าที่พิธีกร  เรียกเข้าแถวตอนลึก หน้าพระบรมราชานุสรณ์
ห่างจากพระบรมราชานุสรณ์ 6 ก้าว
3.2          ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ เข้าแถวหน้ากระดาน หน้าแถวลูกเสือ
3.3          พิธีกร เชิญผู้บังคับการค่ายจุดธูปเทียน ถวายสักการะ พระบรมราชานุสรณ์
3.4          ผู้บังคับการค่ายเดินไปยืนหน้าพระบรมราชานุสรณ์  ถวายความเคารพ
              (วันทยาหัตถ์)
3.5          ผู้บังคับการค่ายรับพวงมาลัย และนำพวงมาลัย หรือช่อดอกไม้ไปวางไว้บนพาน
และรับเทียนชนวน จุดธูปเทียน เสร็จแล้ว ทำความเคารพ (วันทยาหัตถ์) นั่งลงคุกเข่าถวายบังคม 3 ครั้ง แล้วยืนขึ้น ทำความเคารพ  (วันทยาหัตถ์)  แล้วนั่งคุกเข่าถวายราชสดุดี
      3.6   พิธีกรสั่ง  เตรียมถวายราชสดุดี  ถอดหมวก   และถือหมวกด้วยมือซ้ายทุกคนก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว   คุกเข่าขวาลงกับพื้นตั้งเข่าซ้ายขึ้น   นั่งลงบนส้นเท้าขวา  
มือซ้ายที่ถือหมวกวางพาดบนเข่าซ้าย ลักษณะหงายมือขึ้น  งอพับเข้าหาตัวให้หน้าเสือของหมวกหันไปทางด้านขวามือ ก้มหน้า ลงเล็กน้อย มือขวาวางบนเข่าลักษณะคว่ำมือลง
      3.7   พิธีกร นำร้องเพลงราชสดุดี      ข้าลูกเสือ     ทุกคนรับพร้อมกันว่า  เชื้อไทยใจเคารพ     เมื่อร้องเพลงจบแล้วให้เงยหน้าขึ้น
                         3.8   เมื่อร้องเพลงราชสดุดีจบแล้ว พิธีกรสั่ง  ลุก   ทุกคนยืนขึ้น
3.9 พิธีกรสั่งกองแยก


ผู้กำกับลูกเสือได้ทำพิธีถวายราชสดุดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ลูกเสือ-เนตรนารี ได้
ออกเดินทางไกล โดยให้ปล่อยไปทีละหมู่ ส่วนหมู่ที่เหลือที่ยังไม่ได้ออกเดินทางไกล  ก็ให้ผู้กำกับได้เล่าเรื่องสั้นหรือให้ลูกเสือหมู่ที่จะออกเดินทางเป็นหมู่ที่ 2 ให้ออกมานำร้องเพลงเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากนั้นก็ให้ผู้กำกับได้ปล่อยลูกเสือได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับหมู่ที่ 1 – 2  โดยปล่อยออกเดินทางให้ห่างกันหมู่ละ 5 นาที  และให้ผู้กำกับลูกเสือได้กำชับให้ลูกเสือ เนตรนารี ได้ปฏิบัติ
ตามข้อควรปฏิบัติขณะเดินทางไกล  ดังนี้

                               

ข้อควรปฏิบัติขณะเดินทางไกล

1.             เดินเป็นระบบหมู่ตามตำแหน่งไม่ทิ้งระยะห่างเกินไป
2.             เดินตามกฎจราจร
3.             ขณะเดินไม่ส่งเสียงเอะอะ ไม่พูดจาหยาบคาย
4.             ไม่เก็บ  เด็ด  ทำลายพืช  หรือยุแหย่สัตว์เลี้ยงของทางบ้าน
5.             รักษาเวลาเดินสม่ำเสมอ ขนาด 4 กม./ชั่วโมง  (นาทีละ  75  ก้าว)
6.             ผ่านหมู่บ้าน ฝูงชน ต้องระมัดระวังระเบียบวินัย
7.             ไม่รับประทานอาหารหรือขบเคี้ยวขณะเดิน
8.             จะหยุดหรือออกนอกแถวต้องขออนุญาตนายหมู่
9.             สำรวจอุปกรณ์ตนเองอยู่เสมอ
10.      ไม่สูบบุหรี่ขณะเดินทาง
11.       เหงื่อออกมากควรดื่มน้ำชา  น้ำเกลือ
เมื่อลูกเสือ-เนตรนารี เดินทางไกลถึงสถานที่ตั้งค่ายพักแรมแล้วให้ผู้กำกับ
ลูกเสือ-เนตรนารี ได้ดำเนินการเปิดค่ายพักแรม   ดังนี้
                               



พิธีเปิดค่ายการเดินทางไกลและแรมคืนลูกเสือ

                หลังจากลูกเสือเดินทางถึงที่ตั้งค่ายและพักผ่อนพอสมควรแล้ว
1.             ผู้กำกับลูกเสือที่ได้รับหมอบหมาย  (พิธีกร)  เรียกลูกเสือเข้าแถวเป็นรูปครึ่งวงกลมหน้าเสาธง
2.             พิธีกรเชิญผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ เข้าแถวหลังเสาธง
3.             หมู่บริการเข้าประจำที่  เตรียมชักธง  สวดมนต์
4.             พิธีกรสั่ง  กองตรง  เคารพธงชาติ  วันทยาวุธ  ชักธงเสร็จแล้วหมู่บริการวิ่งเข้าประจำที่เดิมพิธีกรสั่ง  เรียบอาวุธ  แล้วหมู่บริการนำสวดมนต์
5.             พิธีกรสั่ง  ตามระเบียบพัก  แล้วเชิญผู้บังคับการค่ายให้โอวาท
6.             ผู้บังคับการค่ายออกมายืนหน้าเสาธง พิธีกรสั่ง  กองตรงวันทยาวุธ   ผู้บังคับการต้องทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่ง   เรียบอาวุธ  ตามระเบียบพัก
7.             ผู้บังคับการค่ายให้โอวาทกล่าวเปิดค่ายจบแล้ว พิธีกรสั่ง       กองตรงวันทยาวุธ 
ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่ง    เรียบอาวุธ    ตามระเบียบพัก
                8.   พิธีกรนัดหมาย  เสร็จแล้วสั่ง  กองตรง   กองแยก

ถ้านายหมู่มีอาวุธคนเดียว

หมายเหตุ             ให้พิธีกรสั่ง  เคารพธงชาติ  ตรง  แล้วนายหมู่ที่มีพลองให้ทำวันทยาวุธ คนอื่นให้
                                ยืนตรง  ผู้บังคับบัญชาที่อยู่หลังเสาธงให้ทำความเคารพท่าวันทยาหัตถ์
                                หลังจากทำพิธีเปิดค่ายพักแรมแล้ว ผู้กำกับลูกเสือได้ให้ลูกเสือ-เนตรนารี แต่ละหมู่ได้ดำเนินการสร้างค่ายพักแรม โดยให้แต่ละหมู่เริ่มดำเนินการกางเต็นท์ ยิ่งในปัจจุบันนี้เป็นลักษณะเต็นท์สำเร็จรูป ฉะนั้นผู้กำกับลูกเสือควรให้ลูกเสือ-เนตรนารี ได้รู้จักวิธีการกางเต็นท์และเก็บเต็นท์สำเร็จรูปดังนี้









พิธีปิดการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ
                หลังจากลูกเสือได้รื้อเต็นท์ เก็บอุปกรณ์เครื่องหลังเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พอถึงเวลา ผู้กำกับที่ได้รับมอบหมาย   (พิธีกร)   จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.             พิธีกรสั่งเข้าแถวเป็นรูปครึ่งวงกลมหน้าเสาธง
2.             พิธีกรเชิญ ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ เข้าแถวหลังเสาธง
3.             พิธีกรเชิญผู้บังคับการค่ายให้โอวาทครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ  (ปัจฉิมโอวาท)
4.             ผู้บังคับการค่ายออกมายืนหน้าเสาธง  พิธีกรสั่ง  กองตรง  วันทยาวุธ  ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่ง   เรียบอาวุธ   ตามระเบียบพัก
5.             ผู้บังคับการค่ายให้โอวาท เสร็จแล้วพิธีกรสั่ง     กองตรง  วันทยาวุธ   ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว พิธีกรสั่งเรียบอาวุธ  เตรียมสวดมนต์  หมู่บริการนำสวดมนต์, สงบนิ่ง
6.             พิธีกรสั่ง  หมู่บริการ  ชักธงชาติลงจากยอดเสา  พิธีกรสั่ง   เคารพธงชาติ  (ไม่ต้องสั่งตรงเพราะลูกเสืออยู่ในลักษณะแถวตรงอยู่แล้ว)
7.             หมู่บริการชักธงชาติลงจากยอดเสาให้ชายธงอยู่เหนือศรีษะ  (ไม่ต้องเป่านกหวีด เพราะทุกคนได้เห็นทั่วถึงกัน)
8.             พิธีกรเชิญผู้กำกับ รองผู้กำกับ เข้าแถวเป็นรูปวงกลมร่วมจับมือโดยเอามือขวาวางทับมือซ้าย จับมือซ้ายขวา   กับเพื่อน

9.             พิธีกรนำร้องเพลงสามัคคีชุมนุม 1 จบ เมื่อร้องเพลงจบแล้ว ปล่อยมือให้ลูกเสือกลับเข้าแถวเหมือนเดิม
10.      พิธีกรเชิญผู้กำกับ รองผู้กำกับ เดินไปจับมือกับลูกเสือและให้ลูกเสือคนอื่น ๆ ช่วยร้องเพลง   ก่อนจะจากกันไป   และลูกเสือก็เดินจับมือตามผู้กำกับจนครบทุกคน แล้วให้หมู่แรกมาเข้าแถวรูปครึ่งวงกลมเหมือนเดิม
11.      พิธีกรนำร้องเพลง  ลาก่อนเพื่อนที่รัก  และคณะ  ให้ร้อง 3 จบ  เที่ยวแรกให้ลูกเสือยืนอยู่กับที่ เที่ยวที่ 2 ให้ลูกเสือทุกคนเริ่มเดินถอยหลังช้า ๆ เที่ยวที่ 3  ให้ลูกเสือทุกคนยกมือขึ้นโบกพร้อมเดินถอยหลังและแยกย้ายกันกลับ
12.      พิธีกรสั่งให้ลูกเสือแต่ละหมู่เดินทางกลับ





หนังสืออ้างอิง
-                   คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ,  สำนักงาน.  พลศึกษา,  กรม.  คระกรรมการฝ่ายฝึกอบรม
ลูกเสือแห่งชาติ.  คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ..2522.
-                   สวาท  แดงประเสริฐ. คู่มือเตรียมลูกเสือ-เนตรนารี วิสามัญ 1-2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พรานนก
การพิมพ์,  ..2531





เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้