Translate

หน้าเว็บ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แสดงบทความทั้งหมด

16 ตุลาคม 2561

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับลูกเสือ

---------------------------------------------------------------------------

เข็มสมนาคุณลูกเสือ (สำหรับผู้มีอุปการคุณแก่วงการลูกเสือ)

  เข็มสมนาคุณ เป็นรูปหน้าเสือประกอบวชิระ มี ๔ ชั้น คือ

    

ชั้นที่พิเศษ ทำด้วยทองประดับเพชร ให้แก่ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินช่วยเหลือกิจการลูกเสือ

 ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป 

ชั้นที่ ๑ ทำด้วยทอง ให้แก่ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินช่วยเหลือกิจการลูกเสือ ตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาท 

แต่ไม่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท 

ชั้นที่ ๒ ทำด้วยนาก ให้แก่ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินช่วยเหลือกิจการลูกเสือ ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาท 

แต่ไม่ถึง ๕๐,๐๐๐ บาท

ชั้นที่ ๓ทำด้วยเงิน ให้แก่ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินช่วยเหลือกิจการลูกเสือ ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาท 

แต่ไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท

 






เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ (สำหรับลูกเสือ)

  เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์มีลักษณะเป็นรูปกลมรีมีขนาดกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร

ยาว ๓.๒ เซนติเมตร พื้นลงยาสีตามชั้นของเข็ม ริมขอบนอกเป็นสีทอง ตรงกลางมีรูปเฟลอร์เดอลีส์

ทำด้วยโลหะสีทอง มีอักษรสีทองจารึกคำว่า “ลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์” โค้งอยู่ใต้เฟลอร์เดอลีส์

ตามตัวอย่างแนบท้ายข้อบังคับนี้   เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์มีสามชั้น คือ

ชั้นที่หนึ่ง พื้นสีแดง  ชั้นที่สอง พื้นสีขาว  ชั้นที่สาม พื้นสีน้ำเงิน

* เข็มบำเพ็ญประโยชน์  ให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวาเหนือกระเป๋า 

  ข้อ ๗ เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ชั้นที่สามจะมอบให้แก่ลูกเสือผู้มีคุณลักษณะครบทั้งห้าข้อ

ดังต่อไปนี้

  (๑) เป็นลูกเสือมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(๒) บำเพ็ญตนเป็นลูกเสือที่ดีสมควรเป็นตัวอย่างแก่ลูกเสืออื่น ๆ

(๓) ช่วยเหลือบิดามารดาหรือผู้ปกครองในกิจการต่าง ๆ เป็นอย่างดีโดยสม่ำเสมอ

(๔) ช่วยเหลือกิจการลูกเสือของกองลูกเสือของตนเป็นอย่างดีโดยสม่ำเสมอ

(๕) บำเพ็ญประโยชน์เป็นที่ประจักษ์ต่อโรงเรียนของตนหรือต่อผู้อื่น หรือกิจการที่เป็น

สาธารณประโยชน์

ข้อ ๘ เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ชั้นที่สองจะมอบให้แก่ลูกเสือผู้มีคุณลักษณะครบทั้งสองข้อ

ดังต่อไปนี้

(๑) ได้รับเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ชั้นที่สามมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(๒) นับตั้งแต่ได้รับเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ชั้นที่สามมาแล้วได้บำเพ็ญตนตามคุณลักษณะที่

ได้กำหนดไว้ในข้อ ๗ (๒) (๓) (๔) (๕) และบำเพ็ญประโยชน์อย่างดีเป็นที่ประจักษ์ต่อโรงเรียนของตน

หรือต่อผู้อื่น หรือกิจการที่เป็นสาธารณประโยชน์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

ข้อ ๙ เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ชั้นที่หนึ่งจะมอบให้แก่ลูกเสือผู้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ได้รับเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ชั้นที่สองมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(๒) นับแต่ได้รับเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ชั้นที่สองมาแล้วได้บำเพ็ญตนตามคุณลักษณะ

ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ ๗ (๒) (๓) (๔) (๕) และบำเพ็ญประโยชน์อย่างดียิ่งเป็นที่ประจักษ์ต่อโรงเรียน

ของตนหรือต่อผู้อื่น หรือกิจการที่เป็นสาธารณประโยชน์โดยต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

ข้อ ๑๐ การขอเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ให้มีเกณฑ์จำนวนลูกเสือที่จะขอได้ ดังนี้

(๑) จำนวนลูกเสือตั้งแต่สิบสองคนขึ้นไปแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยคนให้มีสิทธิขอได้หนึ่งเข็ม

(๒) จำนวนลูกเสือเกินกว่าหนึ่งร้อยคน ให้มีสิทธิขอได้ในอัตราส่วนลูกเสือร้อยคนต่อหนึ่งเข็ม

เศษตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปมีสิทธิขอเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเข็ม

ข้อ ๑๑ วิธีการขอเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ เมื่อลูกเสือผู้ใดมีคุณลักษณะตามเกณฑ์

ที่กำหนดไว้ ให้ผู้กำกับกองลูกเสือหรือผู้กำกับกลุ่มลูกเสือรับรองคุณลักษณะของลูกเสือตามข้อ ๗ ข้อ ๘

และข้อ ๙ และให้ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน หรือหัวหน้าหน่วยลูกเสือนั้นเป็นผู้เสนอขอผ่านต้นสังกัด

จนถึงผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด เพื่อเสนอต่อเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ  



เครื่องราชอิสริยภรณ์อันเป็นสิริยิ่ง รามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ

  เครื่องราชอิสริยภรณ์อันเป็นสิริยิ่ง รามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่พระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับเหรียญลูกเสือสดดี ชั้นที่ ๑ และเป็นผู้มีอุปการคุณช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี นับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ ๑ 

*  เครื่องราชอิสริยภรณ์อันเป็นสิริยิ่ง รามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ เหรียญลูกเสือสดุดี พระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์    เมื่อผู้ได้รับพระราชทาน วายชนม์ ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก

  

เหรียญลูกเสือสรรเสริญ
(สำหรับผู้ที่มีความดี ความชอบในวงการลูกเสือ)

ชั้นที่ ๑ มีเฟอร์เดอลีล์ ทำด้วยโลหะเงิน ประดับที่แพรแถบ ๒ ดอกในแนวนอน 

ชั้นที่ ๒ มีเข็มหน้าเสือ ทำด้วยโลหะเงิน ประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลาง ในแนวดิ่ง ๑ เข็ม 

ชั้นที่ ๓ ไม่มีเข็มวชิระและเข็มหน้าเสือประดับที่แพรแถบ 

หลักเกณฑ์การขอเหรียญลูกเสือสรรเสริญ  

   ชั้นที่ ๑  จะพระราชทานแก่ผู้ที่มีความดี ความชอบ ซึ่งได้ทำการรักษาความปลอดภัยหรือสันติสุขเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัติริย์ หรือได้ช่วยชีวิตผู้ที่ตกอยู่ในอันตราย ทั้งนี้โดยตนเองได้ฝ่าอันตราย จนถึงขนาดที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญนี้ หรือตนเองได้ประสบอันตราย ถึงทุพพลภาพ หรือถึงเสียชีวิต 

  ชั้นที่ ๒ จะพระราชทานแก่ผู้ที่มีความดีความชอบ ซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ที่ตกอยู่ในอันตราย โดยตนเองได้รับอันตรายหรือฝ่าอันตราย หรือแก่ผู้ซึ่งได้ทำความดีความชอบในข้อต่อไปนี้ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ครั้ง และในแต่ละข้อไม่น้อยกว่า ๑๐ ครั้ง 

๑.ช่วยเหลือผู้ได้รับความทุกข์ยากลำบากที่ควรช่วย 

๒.ช่วยเหลือหรือป้องกันผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่นให้พ้นอันตราย 

๓.ช่วยสัตว์ให้พ้นจากการทรมานหรือพ้นทุกขเวทนา 

๔ทำการปฐมพยาบาล. 

๕.ช่วยเหลือราชการ 

๖.ช่วยเหลือกิจการอันเป็นสาธารณกุศล 

๗.ช่วยเหลือผู้ปกครองหรือช่วยเหลือเพื่อนบ้าน 

๘.ช่วยเหลือกิจการต่างๆของโรงเรียนหรือของที่ทำงานซึ่งไม่ใช่หน้าที่ตามปกติ 

ชั้นที่ ๓ จะพระราชทานแก่ผู้ที่มีความดีความชอบซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้ตกอยู่ในอันตรายแม้เพียงครั้งเดียว หรือแก่ผู้ที่ได้ทำความดีความชอบตามเกณฑ์สำหรับชั้นที่ ๒ ทุกข้อรวมกันไม่น้อยกว่า ๕๐ ครั้ง และในแต่ละข้อไม่น้อยกว่า ๕ ครั้ง 


เหรียญลูกเสือสดุดี  (สำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)

  เหรียญลูกเสือสดุดี เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ เจ้าหน้าที่ลูกเสือ และบุคคลอื่น บรรดาที่มีอุปการะคุณถึงขนาด หรือที่ได้อุทิศกำลังกายกำลังความคิด ในการประกอบกิจให้บังเกิดคุณประโยชน์แก่การลูกเสือ เหรียญสดุดีมี ๓ ชั้น ดังนี้ 

ชั้นที่ ๑ มีเข็มวชิระ ทำด้วยโลหะเงิน ประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลางในแนวดิ่ง ๑ เข็ม 

ชั้นที่ ๒ มีเข็มหน้าเสือ ทำด้วยโลหะเงิน ประดับที่แพรแถบตรงกึ่งกลาง ในแนวดิ่ง ๑ เข็ม 

ชั้นที่ ๓ ไม่มีเข็มวชิระและเข็มหน้าเสือประดับที่แพรแถบ


เหรียญลูกเสือยังยืน
(สำหรับบุคลากรทางการลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี 15 ปี )

  เหรียญลูกเสือยั่งยืน มีลักษณะเป็นเหรียญเงินรูปหกเหลี่ยมตัวเหรียญหมุนได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.3 เซนติเมตร มีมุมแหลมอยู่ด้านบนติดกับห่วงห้อยร้อยแพรแถบมีขอบสองชั้น ด้านหน้ากลางเหรียญมีหน้าเสือประกอบวชิระทำเป็นลายดุน ภายในกรอบเป็นวงกลม ยกระดับพ่นทรายด้าน 

  ด้านหลังเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืน” อยู่บนพื้นพ่นทรายด้าน ด้านบนแพรแถบเป็นเข็มกลัดมีลักษณะเป็นแถบโลหะสีเงิน ภายในมีข้อความว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ล้อมด้วยรูปเกลียวเชือกผูกเป็นปมเงื่อนพิรอด แพรแถบกว้าง 3 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงกว้าง 11 มิลลิเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีดำกว้าง 3 มิลลิเมตร ถัดจากริ้วสีดำเป็นริ้วสีขาวกว้าง 2 มิลลิเมตร และริ้วสีเหลืองอยู่ริมแพรแถบกว้าง 4.5 มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย

เงื่อนไขการรับพระราชทาน

  เหรียญลูกเสือยั่งยืนเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการให้แก่บุคลากรทางการลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี (15 ปี) ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำงานด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดความเสียหาย ก่อให้เกิดผลดีต่อกิจการลูกเสือ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด 











Bronze Wolf Award

เหรียญสดุดีลูกเสือโลก (บุคคลซึ่งกระทำคุณงามความดีแก่การลูกเสือ)

Bronze Wolf ซึ่งเป็นรางวัลเดียวที่มอบโดยคณะกรรมการลูกเสือโลก 

ให้กับบุคคลที่กระทำประโยชน์ และคุณงามความดีอย่างดีเยี่ยมให้กับ

การลูกเสือในช่วงแรกเริ่มของการพัฒนากิจการลูกเสือ ลอร์ด เบเดน โพเวลส์ 

ริเริ่มการมอบรางวัล Silver Wolf ให้กับบุคคลซึ่งกระทำคุณงามความดีแก่

การลูกเสือ แต่รางวัล Silver Wolfเป็นรางวัลที่มอบจากการสมาคมลูกเสืออังกฤษเท่านั้น

         ในปี พ.ศ. 2467 คณะกรรมการลูกเสือโลก ได้ตัดสินใจว่าคณะกรรมการลุกเสือโลก

จะต้องมีรางวัลที่ออกในนามของตัวเอง จึงขออนุญาตจาก ลอร์ดเบเดน โพเวลส์ 

ผู้ซึ่งต้องการที่จะกำหนดจำนวนของการมอบรางวัล และการเสนอของคณะกรรมการลูกเสือโลก

ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

         การสนทนาเรื่องรางวัลมีการเริ่มขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2475 และก็ได้ ข้อสรุป 

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2477 คณะกรรมการลูกเสือโลกได้อนุมัติ การมอบรางวัล Bronze Wolf 

อย่างเป็นทางการวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ที่กรุง StockHolm ประเทศสวีเดน

 และได้ประทานรางวัล Bronz Wolf จากการเสนอของ นายเวอเทอต์ เฮดด์ ครั้งแรกให้แก่ ลอร์ด เบเดน โพเวลส์

         ในการที่จะทำให้การมอบรางวัลสมเกียรติ คณะกรรมการลูกเสือโลกได้จำกัดจำนวนการมอบรางวัล

ให้แก่บุคคล 2 คน ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ถึงกระนั้นการมอบรางวัลก็ยิ่งมีน้อยกว่าคือมีการมอบรางวั

 แค่ 12 ครั้ง จากปี พ.ศ. 2474 ถึงปี 2498

         เนื่องจากการลูกเสือเจริญมากขึ้น การมอบรางวัลก็มีมากขึ้นด้วย ระหว่างปี 2498 ถึง 2545

 มีการมอบรางวัลมากถึง 308 ครั้ง ทางคณะกรรมการลูกเสือโลกได้กำหนดว่าการมอบรางวัล 1 ครั้ง

ต่อจำนวนสมาชิกทั่วโลก 2,000,000 คน 


ลูกเสือไทยที่ได้รับ Bronze Wolf Award

พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พ.ศ. 2514 นายอภัย จันทวิมล

พ.ศ. 2519 นายจิตร ทังสุบุตร

พ.ศ. 2525 นายกอง วิสุทธารมณ์

พ.ศ. 2531 นายเพทาย อมาตยกุล

พ.ศ. 2533 นายแพทย์บุญสม มาร์ติน

พ.ศ. 2539 นางสุมน สมสาร

พ.ศ. 2540 นายสุธรรม พันธุศักดิ์

พ.ศ. 2551 นายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุลย์



ที่มา

- สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

- http://oknation.nationtv.tv/blog/warrisa/2015/02/20/entry-2

- https://www.scout.org/news-and-stories/list

- https://scoutshare.blogspot.com/2018/10/blog-post_52.html

- https://docs.google.com/document/d/1tksQsBS0x0nH3i4-B4KuFIm-hYTT8vwWiJKNTyonIyc


เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้