Translate

หน้าเว็บ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บุกเบิก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บุกเบิก แสดงบทความทั้งหมด

1 เมษายน 2565

เงื่อนผูกแน่น

เงื่อนผูกแน่น
      ประกอบด้วยเงื่อนผูกกากบาท  ผูกทแยง และผูกประกบ

การผูกกากบาท (Square Lashing )
 วิธีผูก   เอาไม้หรือเสามาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาท (กางเขน ) เอาเชือกผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันตั้งใต้เสาอันขวาง
เอาปลายเชือก  แต่งงานกับตัวเชือก รูป๑ เอาเชือกอ้อมใต้เสาอันขวางทางด้านขวา ( ซ้ายก่อนก็ได้ )
ของไม้ตั้งดึงขึ้นเหนือไม้อันขวางพันอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งไปทาง
ซ้ายของไม้อันตั้ง ดึงเชือกอ้อมมาทางด้านหน้าพันลงใต้ไม้อันขวาง ดึงอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งผ่านมาทางด้านขวา
ของไม้อันตั้งดึงเชือก   ขึ้นพาดบนไม้อันขวางทางขวาไม้อันตั้งแล้วพันตั้งต้นใหม่เหมือนเริ่มแรก
ทุกรอบต้องดึงให้เชือกตึง เรียงเส้นเชือกให้เรียบด้วย แล้วพันวนเรื่อย ๆ  ไปประมาณ ๓ - ๔ รอบ
(หรือเส้นเชือกด้านกลังชิดกัน ) จึงพันหักคอไก่ ๒ - ๓ รอบ แล้วเอาปลายเชือกผูกตะกรุดเบ็ดที่
ไม้อันขวาง ( คนละอันกับขึ้นต้นผูก)


การผูกทแยง (Diagonal Lashnig)

การผูกทแยง เป็นการผูกไม้ให้ติดกัน ใช้กลางเชือกพันขึ้นต้นด้วยเงื่อนผูกซุง แล้วพันเชือกให้ทแยงมุมไขว้กัน

ในมุมตรงกันข้าม จบลงด้วยเงื่อนพิรอดที่ไม้ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้แล้วหักคอไก่
ประโยชน์
         1. ใช้ในงานก่อสร้าง
         2. ใช้ค้ำหรือยันเพื่อป้องกันมิให้ล้ม


การผูกประกบ  
มีหลายชนิด เช่น ผูกประกบสอง ผูกประกบสาม ผูกประกบสี่  ผูกประกบ 2 ใช้สำหรับต่อไม้
หรือเสา 2 ต้นเข้าด้วยกัน เริ่มผูกด้วยเงื่อนผูกซุงที่ไม้หลัก จบหรือลงด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่ไม้ที่นำมาต่ออีกอันหนึ่ง



ตัวอย่างผูกกากบาท


ตัวอย่างผูกประกบ2




ทักษะลูกเสือ1(เงื่อน)

ทักษะลูกเสือ1(เงื่อน)

นักบุกเบิก

หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
วิชานักบุกเบิก


ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตร
และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘






















วิชานักบุกเบิก


หลักสูตร
(๑) เข้าใจลักษณะสำคัญของชนิดและขนาดต่างๆของเชือกที่คนทำขึ้น และ
พันธุ์ไม้ชนิดต่างๆที่อาจใช้เป็นเชือก เช่น หวาย, ป่าน ปอ, กก, เถาวัลย์ ฯลฯ
รู้จักวิธีขดและรักษาเชือก ตลอดจนวิธีประเมินกำลังและลักษณะของเชือก
(๒) สามารถดูแลความปลอดภัยอย่างมั่นใจในการใช้เชือก เชือก เข้าใจอันตรายที่
อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของผู้นำ, การไม่รักษาวินัย, การใช้เครื่องมือ
ที่ผิดพลาดหรือเกินกำลัง และการผูกเงื่อนเชือกที่ไม่ถูกต้อง
เข้าใจอันตรายฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นเนื่องจากเชือกขาด หรือคลายเกลียว
(๓) เข้าใจและสามารถแสดงวิธีใช้สมอบกที่เหมาะสมแก่โครงการ, สถานที่ และ
ที่ดินต่างๆรวมทั้งพื้นดินที่ซุยหรือเฉอะแฉะ
(๔) สามารถแสดงความชำนาญในการผูกเงื่อน, การผูกแน่น, การแทงเชือก และ
การพันหัวเชือกในระหว่างการเดินทางระยะสั้น แต่ต้องใช้เทคนิคต่างๆในการ
บุกเบิกตามสถานการณ์ ดังที่กรรมการผู้สอบกำหนดให้อย่างน้อย ๓ ใน ๔
ของสถานการณ์เหล่านี้ จะต้องทำให้สำเร็จเป็นที่พอใจ โดยใช้เทคนิคที่ถูกต้อง
และไม่ชักช้าจนเกินไป
หมายเหตุ ควรจัดอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการบุกเบิกวางไว้
อย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ลูกเสือเลือกใช้สิ่งที่ตนต้องการโดยเสรี
ในการจัดทำโครงการบุกเบิก ลูกเสือจะต้องเป็นผู้จัดทำด้วยตนเองโดยตลอด
แต่ผู้อื่นอาจช่วยถือหรือดึงสิ่งต่างๆได้ในเมื่อได้รับคำขอร้องจากลูกเสือ
(๕) แสดงบทบาทสำคัญ โดยมิใช่หัวหน้า ในการจัดทำโครงการบุกเบิกของหมู่
ลูกเสือโครงการหนึ่ง ซึ่งกรรมการสอบเลือกให้หมู่ลูกเสือเป็นผู้ดำเนินการ
จัดทำ
(๖) เป็นผู้นำของหมู่ในการจัดทำตามโครงการบุกเบิกที่ตนร่างขึ้นเอง โดยมิได้รับ
ความช่วยเหลือจากผู้ใด แบบโครงการนี้จะต้องมีภาพประกอบและแบบจำลอง,
มีมาตราส่วน, วิธีดำเนินงาน, รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับบรรดาเครื่องใช้ที่
จำเป็น และกำหนดเวลาปฏิบัติงานโดยประมาณ



หมายเหตุ
๑. ลูกเสือมีอิสระในการเลือกชนิด หรือปัญหาของโครงการแต่อาจขอคำ
แนะนำจากกรรมการสอบได้
๒. โครงการก่อสร้างตามข้อ (๕) และ (๖) ต้องเป็นชนิดต่างๆกัน คือ แพ,
หอคอย, เสากระโดง, สะพาน, ปั้นจั่น ฯลฯ และมีขนาดพอสมควรเหมาะที่จะ
ใช้ทักษะในการเทคนิคของการบุกเบิก

จุดประสงค์

๑. เพื่อให้ลูกเสือสามารถใช้และเก็บเชือก สมอบกได้
๒. เพื่อให้ลูกเสือรู้จักพันธุ์ไม้ที่ใช้แทนเชือกได้
๓. เพื่อให้ลูกเสือสามารถผูกเงื่อนที่ใช้ในการบุกเบิกและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
๔. เพื่อให้ลูกเสือสามารถจัดทำโครงการที่ลูกเสือหมู่อื่นเขียนไว้ได้
๕. เพื่อให้ลูกเสือสามารถแสดงบทบาทผู้นำในการเขียนโครงการบุกเบิกและปฏิบัติตามโครงการที่เขียนได้
เนื้อหาสาระ
         วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาบุกเบิก
๑. ชนิดและวิธีประเมินกำลังเชือก
๒. วิธีการขดและเก็บรักษาเชือก
๓. วิธีทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้เชือก
๔. ลักษณะการใช้สมอบกชนิดต่าง ๆ
๕. ความรู้เกี่ยวกับเงื่อนต่อไปนี้
- ผูกประกบ ๒,๓                     - ผูกทแยง - ผูกกากบาท
-การพันหัวเชือก                     -การแทงเชือก                  -การแทงกลับ
-การต่อเชือก                         - บ่วงตา          
๖. การเขียนโครงการบุกเบิก



แหล่งอ้างอิง
- ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
- https://docs.google.com/document/d/1mlHxPDxHDPPmk1-fCm0O68vPG9C1yo3Iyo1_XdLBiTc

11 เมษายน 2563

วิธีการเก็บเชือก

วิธีการเก็บเชือก

วิธีการเก็บเชือก มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

ขั้นที่ 1 แบ่งเชือกออกเป็น 8 ส่วน ใช้มือซ้ายจับ เชือกแล้วทบเชือก 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งให้เชือกยาวเท่ากับ 1 ใน 8 ส่วน เชือกที่เหลืออีก 5 ใน 8 ส่วน ปล่อยไว้สำหรับพัน

ขั้นที่ 2 เอาเชือกที่เหลือ 5 ใน 8 ส่วน พันรอบ  เชือกที่ทบไว้ โดยเริ่มพันถัดจากปลายบ่วง (ข) เข้ามาประมาณ 1  นิ้ว เมื่อพันจบเหลือปลายเชือกให้สอดปลายเชือกนั้นเข้าในบ่วง

ขั้นที่ 3 ดึงบ่วง (ข) เพื่อรั้งบ่วง (ก) ให้รัดปลาย  เชือกที่สอดไว้จนแน่นเป็นอันเสร็จ

การรักษาเชือก มีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

  1) ระวังรักษาเชือกให้แห้งเสมอ อย่าให้เปียกชื้น เพื่อป้องกันเชื้อรา

  2) การเก็บเชือก ควรขดเก็บเป็นวง มัดให้เรียบร้อย เก็บให้ห่างไกลจากมด แมลง

หนู หรือสัตว์อื่น ๆ และควรแขวนไว้ ไม่ควรวางไว้กับพื้น

  3) อย่าให้เชือกผูกรั้ง เหนี่ยว ยึดหรือลาก ฉุดของหนักเกินกำลังเชือก

  4) ขณะใช้งาน อย่าให้เชือกลากครูด หรือเสียดสีกับของแข็ง จะท าให้เกลียวของ

เชือกสึกกร่อนและขาดง่าย

  5) ก่อนเอาเชือกผูกมัดกับต้นไม้ กิ่งไม้หรือของแข็ง ควรเอากระสอบพันรอบ

ต้นไม้หรือกิ่งไม้ก่อน และเชือกที่ใช้งานเสร็จแล้วจะต้องระวังรักษา ดังนี้

  (1) เชือกที่เลอะโคลนเลนหรือถูกน้ าเค็ม เมื่อเสร็จงานแล้ว ต้องชำระล้าง

ด้วยน้ำจืดให้สะอาด แล้วผึ่งให้แห้ง ขดมัดเก็บไว้กับขอหรือบนที่แขวน

  (2) เชือกลวดเมื่อเสร็จงาน ต้องรีบทำความสะอาด ล้างด้วยน้ำจืด เช็ดให้แห้ง

แล้วผึ่งแดดจนแห้งสนิท แล้วเอาน้ ามันจาระบี หรือยากันสนิมชโลมทาให้ทั่ว จึงเก็บให้เรียบร้อย

  (3) ปลายเชือกที่ถูกตัด จะต้องเอาเชือกเล็ก ๆ พันหัวเชือกเพื่อป้องกันเชือก

คลายเกลียว


รวบรวมและเรียบเรียงโดย...

นายวีระชัย   จันทร์สุข

วุฒิทางลูกเสือ L.T.


เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้