เงื่อนผูกแน่น
ประกอบด้วยเงื่อนผูกกากบาท ผูกทแยง และผูกประกบ
การผูกกากบาท (Square Lashing )
วิธีผูก เอาไม้หรือเสามาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาท (กางเขน ) เอาเชือกผูกตะกรูดเบ็ดที่เสาอันตั้งใต้เสาอันขวาง
เอาปลายเชือก แต่งงานกับตัวเชือก รูป๑ เอาเชือกอ้อมใต้เสาอันขวางทางด้านขวา ( ซ้ายก่อนก็ได้ )
ของไม้ตั้งดึงขึ้นเหนือไม้อันขวางพันอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งไปทาง
ซ้ายของไม้อันตั้ง ดึงเชือกอ้อมมาทางด้านหน้าพันลงใต้ไม้อันขวาง ดึงอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งผ่านมาทางด้านขวา
ซ้ายของไม้อันตั้ง ดึงเชือกอ้อมมาทางด้านหน้าพันลงใต้ไม้อันขวาง ดึงอ้อมไปด้านหลังไม้อันตั้งผ่านมาทางด้านขวา
ของไม้อันตั้งดึงเชือก ขึ้นพาดบนไม้อันขวางทางขวาไม้อันตั้งแล้วพันตั้งต้นใหม่เหมือนเริ่มแรก
ทุกรอบต้องดึงให้เชือกตึง เรียงเส้นเชือกให้เรียบด้วย แล้วพันวนเรื่อย ๆ ไปประมาณ ๓ - ๔ รอบ
(หรือเส้นเชือกด้านกลังชิดกัน ) จึงพันหักคอไก่ ๒ - ๓ รอบ แล้วเอาปลายเชือกผูกตะกรุดเบ็ดที่
ไม้อันขวาง ( คนละอันกับขึ้นต้นผูก)
การผูกทแยง (Diagonal Lashnig)
การผูกทแยง เป็นการผูกไม้ให้ติดกัน ใช้กลางเชือกพันขึ้นต้นด้วยเงื่อนผูกซุง แล้วพันเชือกให้ทแยงมุมไขว้กัน
ในมุมตรงกันข้าม จบลงด้วยเงื่อนพิรอดที่ไม้ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้แล้วหักคอไก่
ประโยชน์
1. ใช้ในงานก่อสร้าง
2. ใช้ค้ำหรือยันเพื่อป้องกันมิให้ล้ม
มีหลายชนิด เช่น ผูกประกบสอง ผูกประกบสาม ผูกประกบสี่ ผูกประกบ 2 ใช้สำหรับต่อไม้
หรือเสา 2 ต้นเข้าด้วยกัน เริ่มผูกด้วยเงื่อนผูกซุงที่ไม้หลัก จบหรือลงด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่ไม้ที่นำมาต่ออีกอันหนึ่ง
ตัวอย่างผูกกากบาท
ตัวอย่างผูกประกบ2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น