Translate

หน้าเว็บ

23 ธันวาคม 2562

ตำแหน่ง หน้าที่ต่าง ๆ


บทที่  4

ตำแหน่ง  หน้าที่ต่าง ๆ

ในการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ


                                ในการพาลูกเสือ-เนตรนารี ไปเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) ผู้กำกับหรือรองผู้กำกับลูกเสือจะต้องดำเนินการแต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ภายในค่ายพักแรม เพื่อมอบความรับผิดชอบในการพาลูกเสือ-เนตรนารี ไปเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) ดังนี้
1.             ผู้บังคับการค่ายลูกเสือ (ผู้อำนวยการ,อาจารย์ใหญ่,ครูใหญ่) รับผิดชอบลูกเสือทั้งหมด
เป็นประธานในการเปิด-ปิดการประชุมรอบเสาธงลูกเสือ
2.             รองผู้บังคับการค่ายลูกเสือ (ผู้ช่วยอำนวยการ,ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่,ผู้ช่วยครูใหญ่) รับ
ชอบโดยช่วยผู้บังคับการค่ายลูกเสือหรือปฏิบัติงานแทนถ้าผู้บังคับการค่ายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่
3.             ผู้กำกับกองลูกเสือ          ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามตำแหน่งทางลูกเสือได้รับเครื่องหมาย
วูดแบดจ์  2 -  3 – 4  ท่อน  รับผิดชอบลูกเสือในกอง
4.    รองผู้กำกับกองลูกเสือ    ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามตำแหน่งทางลูกเสือได้รับเครื่องหมาย    
                     วูดแบดจ์ 2 – 3 – 4  ท่อน  รับผิดชอบลูกเสือในกอง
                5.    ผู้กำกับลูกเสือ หมู่….(ชื่อหมู่)   ควบคุมดูแลลูกหมู่ให้ปฏิบัติงานในหน้าที่
                6.    รองผู้กำกับลูกเสือ หมู่….(ชื่อหมู่)   รับผิดชอบร่วมกับผู้กำกับในข้อ  5


บทบาทหน้าที่ของวิทยากรประจำหมู่


1.             แนะนำให้ลูกเสือทุกคนได้รู้จักสมาชิกภายในหมู่และนำลูกเสือเข้าที่พัก
2.             ปฐมนิเทศในหมู่ของตนเสนอแนะงานหน้าที่ภายในหมู่
3.             นำเข้าห้องเรียนทำพิธีเปิดในห้องประชุมและพิธีเปิดทางสากล
4.             เสนอแนะช่วยเหลือภายในหมู่ให้ทำงานร่วมกัน
5.             ช่วยเหลือเป็นรายบุคคลในกรณีที่จำเป็น
6.             ดูแลสุขภาพ   อนามัย   ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสวัสดิการต่าง ๆ
7.             ทำหน้าที่ที่ปรึกษาเสนอแนะทางด้านวิชาการ
8.             ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะวิทยากรประจำหมู่ และวิทยากรกองกลาง


การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบภายในหมู่ในการอยู่ค่ายพักแรม
                ตามที่การจัดลูกเสืออยู่ค่ายพักแรมเป็นหมู่ ๆ ให้มีการกินอยู่หลับนอน   ทำกิจกรรม 
เรียน   เล่นกีฬาร่วมกันภายในหมู่  เพื่อให้งานของหมู่ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  รวดเร็ว  ทันตามกำหนดเวลา  ผู้กำกับจะจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนออกไป  ทั้งนี้    เพื่อให้ทุกคนมีงานทำไม่มีผู้ใดว่างงาน   โดยปกติแล้วจะจัดแบ่งดังนี้
คนที่  1   ทำหน้าที่เป็นนายหมู่  รับผิดชอบดูแลทั่วไปแทนผู้กำกับ  คอยติดต่อประสานงานกับ
  หมู่อื่น กับผู้กำกับและกับบุคคลภายนอกซึ่งอาจมาเยี่ยมสมาชิกภายในกลุ่ม
คนที่  2   ทำหน้าที่รองนายหมู่   คอยช่วยเหลือนายหมู่ทุกกรณีไป      อาจทำหน้าที่แทนนายหมู่ขณะ
นายหมู่ไม่อยู่หรืออยู่แต่นายหมู่มีภารกิจต้องทำหน้าที่บางอย่างแทน  จึงให้รองนายหมู่ไป
                ประชุมแทน
คนที่  3   ทำหน้าที่พลาธิการ   คอยดูแลพัสดุ  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเบิกมาจากผู้กำกับหรือกองอำนวย-
                  การเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี ไม่ว่าบัญชีการเงิน  บัญชีวัสดุอุปกรณ์   ดูแลภายในที่พัก   จัดความ
                  เป็นระเบียบเรียบร้อยภายในที่พัก  เก็บรักษา    มีด    ขวาน   ไม้กวาด    กระป๋องน้ำ    เชือก 
                  และอื่น ๆ
คนที่  4   ทำหน้าที่เป็นคนครัว   คอยหุงข้าว  ปรุงอาหาร  จัดการเกี่ยวกับการประกอบอาหาร   เตาไฟ
                 หลุมเปียก หลุมแห้ง ที่วางจาน  ชาม  ให้เป็นระเบียบ
คนที่  5   ทำหน้าที่เป็นคนหาน้ำสำหรับประกอบอาหาร  น้ำดื่ม น้ำซักล้าง  ดูแลมิให้ขาดตกบกพร่อง 
คนที่  6   ทำหน้าที่เป็นคนหาเชื้อเพลิง   หาฟืน  เก็บฟืนให้มิดชิด  เวลาฝนตกจะได้ใช้ได้
คนที่  7   ทำหน้าที่ทั่วไป   ช่วยงานคนอื่น ๆ พัฒนาค่ายพัก กำจัดขยะมูลฝอย ทำที่ตากผ้า  และรั้วกั้น
                  ระหว่างค่าย  ดูแลบริเวณค่ายพักทั่ว ๆ ไป  เสมือนค่ายนั้นเป็นบ้าน  ต้องปรับปรุง  ตกแต่ง
                  พัฒนา
                การแบ่งหน้าที่นี้ หากมีสมาชิกมากกว่านี้ อาจจัดให้เป็นผู้ช่วยคนครัวอีกได้ แต่หากสมาชิกน้อยกว่านี้หน้าที่คนหาน้ำกับคนหาฟืนอาจเป็นคน ๆ เดียวกันได้  เมื่อจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเช่นนี้แล้ว ลูกเสือทุกคนจะไม่มีการว่างงาน  แม้ว่างานของผู้ใดเสร็จก่อน นายหมู่ก็จะให้ไปช่วยหน้าที่อื่นที่ยังไม่เสร็จก็ได้

คุณสมบัติของนายหมู่ลูกเสือกับการเป็นผู้นำในการเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม

                นายหมู่ลูกเสือ ควรมีความสามารถในการเป็นผู้นำ และสอบไล่ได้วิชาลูกเสือเอก ผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้แต่งตั้งนายหมู่ลูกเสือ โดยหารือลูกเสือในหมู่นั้น หรือผู้กำกับลูกเสือเลือกนายหมู่ลูกเสือเอง โดยหารือที่ประชุมนายหมู่ลูกเสือ

หน้าที่ของนายหมู่ลูกเสือ

1.             เป็นผู้นำของหมู่ลูกเสือ
2.             ช่วยเหลือผู้กำกับลูกเสือ และรองผู้กำกับลูกเสือ
3.             ฝึกอบรมลูกเสือในหมู่ของตน
4.             วางแผนปฏิบัติกิจกรรมของหมู่
5.             เป็นประธานที่ประชุมภายในหมู่ของตน
6.             เป็นผู้แทนหมู่ในที่ประชุมนายหมู่ลูกเสือ
7.             รับผิดชอบงานทะเบียน และงานธุรการในหมู่ของตน

คุณสมบัติของนายหมู่ลูกเสือ
1.             มีร่างกายแข็งแรง พลานามัยสมบูรณ์
2.             มีปฏิภาณและไหวพริบดี
3.             มีจิตใจมั่นคง หนักแน่น และเยือกเย็น
4.             มีวินัยในตนเอง
5.             มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
6.             มีความสนใจและศรัทธาในขบวนการลูกเสือ
7.             มีบุคลิกลักษณะดี
8.             มีความประพฤติดี สมควรเป็นตัวอย่างแต่ลูกเสืออื่น ๆ
9.             มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
10.      มีลักษณะการเป็นผู้นำที่ดี

ลักษณะการเป็นผู้นำของนายหมู่ลูกเสือ
                1.   การวางแผน   หมายถึง  การสร้างความประทับใจในทางที่ดีงาม  ในเรื่องการแต่งเครื่องแบบลูกเสือ   ความประพฤติ   ท่าทาง  และการปฏิบัติตนต่าง ๆ    ให้เป็นที่นิยมของผู้อื่นตลอดเวลา
                2.   ความกล้าหาญ   ความกล้าหาญเป็นคุณลักษณะทางจิตใจอย่างหนึ่ง       ที่มีความรู้สึกต่อความกลัวภัยอันตราย  หรือเหตุวิกฤต   แต่สามารถทำให้บุคคลกล้าเผชิญกับภัยอันตราย   หรือวิกฤติ
นั้น ๆ  ด้วยความสุขุมเยือกเย็น และมั่นคง
                3.   ความรู้  หมายถึง  มีความรู้  ความเข้าใจ และทักษะในวิชาลูกเสือเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายหมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ต้องสอบไล่ได้วิชาลูกเสือเอก
                4.   ความจงรักภักดี   ที่มีต่อประเทศชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และขบวนการลูกเสือ
                5.   ความเด็ดขาด  คือ  ความสามารถในการตกลงใจทันทีทันใด และแสดงข้อตกลงใจนั้นได้อย่างชัดแจ้ง  และหนักแน่น มั่นคง
                6.   ความอดทน   คือ  ลักษณะขีดความสามารถทั้งทางกายและทางจิตใจ ที่สามารถทนต่อความยากลำบาก และความเหน็ดเหนื่อย
                7.   ความกระตือรือร้น   คือ  การแสดงออกถึงความสนใจอย่างจริงใจ ต่อการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
                8.   ความริเริ่ม   คือ  ความสามารถในการพิจารณาเห็นว่าสิ่งใดควรกระทำ และเริ่มหาหนทางปฏิบัติ
                9.   ความเป็นผู้เชื่อถือได้   คือ  การปฏิบัติงานโดยถูกต้องแน่นอนสม่ำเสมอ    และมีความซื่อสัตย์ต่อผู้บังคับบัญชา และผู้เกี่ยวข้อง  จนเป็นที่ไว้ใจได้
                10.   ความยุติธรรม   คือ  คุณสมบัติของความเป็นผู้ไม่มีอคติ  และมีความเที่ยงตรงในการปกครองบังคับบัญชา
                11.   ความไม่เห็นแก่ตัว   คือ  การหลีกเลี่ยงการหาความสะดวกสบายส่วนตัว  หรือหาประโยชน์ส่วนตัวจากความเดือดร้อนของผู้อื่น
                12.   กาลเทศะ   หมายถึง  ความสามารถในการปฏิบัติตนกับบุคคลอื่น โดยไม่ให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจ

หน้าที่ของหมู่บริการ
                ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี สิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับลูกเสือจะต้องปฏิบัติ  คือแต่งตั้งหมู่บริการประจำวันเพื่อมอบหมายหน้าที่ไว้ให้บริการในด้านต่าง ๆ โดยผู้กำกับจะแต่งตั้งหมู่บริการไว้วันละ 1 หมู่  หรือ 2 หมู่  หรือ ตามความเหมาะสม ส่วนหน้าที่บริการที่หมู่ลูกเสือแต่ละหมู่จะต้องปฏิบัติ คือ
                1.   ชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา   เวลา 08.00 .    และชักธงลงจากยอดเสาธง     เวลา  18.00 .
1.             ทำหน้าที่นำสวดมนต์ประจำวัน
2.             ทำความสะอาดที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ  ห้องส้วม  ห้องเรียน  บริเวณรอบเสาธง ฯลฯ
3.             ทำหน้าที่ช่วยเหลือจัดอุปกรณ์ เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรมตามที่ผู้กำกับลูกเสือกำหนด
4.             จัดสถานที่ชุมนุมรอบกองไฟ  จัดโปรแกรมการแสดงจัดทำพุ่มฉลาก   และพวงมาลัย
ทำความสะอาดบริเวณชุมนุมรอบกองไฟ




หนังสืออ้างอิง
-         คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ,  สำนักงาน.  พลศึกษา,  กรม.  คระกรรมการฝ่ายฝึกอบรมลูกเสือแห่งชาติ.  คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ..2522.
-         สวาท  แดงประเสริฐ. คู่มือเตรียมลูกเสือ-เนตรนารี วิสามัญ 1-2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พรานนกการพิมพ์,  ..2531



ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้