Translate

หน้าเว็บ

1 เมษายน 2565

นักบุกเบิก

หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
วิชานักบุกเบิก


ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตร
และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘






















วิชานักบุกเบิก


หลักสูตร
(๑) เข้าใจลักษณะสำคัญของชนิดและขนาดต่างๆของเชือกที่คนทำขึ้น และ
พันธุ์ไม้ชนิดต่างๆที่อาจใช้เป็นเชือก เช่น หวาย, ป่าน ปอ, กก, เถาวัลย์ ฯลฯ
รู้จักวิธีขดและรักษาเชือก ตลอดจนวิธีประเมินกำลังและลักษณะของเชือก
(๒) สามารถดูแลความปลอดภัยอย่างมั่นใจในการใช้เชือก เชือก เข้าใจอันตรายที่
อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของผู้นำ, การไม่รักษาวินัย, การใช้เครื่องมือ
ที่ผิดพลาดหรือเกินกำลัง และการผูกเงื่อนเชือกที่ไม่ถูกต้อง
เข้าใจอันตรายฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นเนื่องจากเชือกขาด หรือคลายเกลียว
(๓) เข้าใจและสามารถแสดงวิธีใช้สมอบกที่เหมาะสมแก่โครงการ, สถานที่ และ
ที่ดินต่างๆรวมทั้งพื้นดินที่ซุยหรือเฉอะแฉะ
(๔) สามารถแสดงความชำนาญในการผูกเงื่อน, การผูกแน่น, การแทงเชือก และ
การพันหัวเชือกในระหว่างการเดินทางระยะสั้น แต่ต้องใช้เทคนิคต่างๆในการ
บุกเบิกตามสถานการณ์ ดังที่กรรมการผู้สอบกำหนดให้อย่างน้อย ๓ ใน ๔
ของสถานการณ์เหล่านี้ จะต้องทำให้สำเร็จเป็นที่พอใจ โดยใช้เทคนิคที่ถูกต้อง
และไม่ชักช้าจนเกินไป
หมายเหตุ ควรจัดอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการบุกเบิกวางไว้
อย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ลูกเสือเลือกใช้สิ่งที่ตนต้องการโดยเสรี
ในการจัดทำโครงการบุกเบิก ลูกเสือจะต้องเป็นผู้จัดทำด้วยตนเองโดยตลอด
แต่ผู้อื่นอาจช่วยถือหรือดึงสิ่งต่างๆได้ในเมื่อได้รับคำขอร้องจากลูกเสือ
(๕) แสดงบทบาทสำคัญ โดยมิใช่หัวหน้า ในการจัดทำโครงการบุกเบิกของหมู่
ลูกเสือโครงการหนึ่ง ซึ่งกรรมการสอบเลือกให้หมู่ลูกเสือเป็นผู้ดำเนินการ
จัดทำ
(๖) เป็นผู้นำของหมู่ในการจัดทำตามโครงการบุกเบิกที่ตนร่างขึ้นเอง โดยมิได้รับ
ความช่วยเหลือจากผู้ใด แบบโครงการนี้จะต้องมีภาพประกอบและแบบจำลอง,
มีมาตราส่วน, วิธีดำเนินงาน, รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับบรรดาเครื่องใช้ที่
จำเป็น และกำหนดเวลาปฏิบัติงานโดยประมาณ



หมายเหตุ
๑. ลูกเสือมีอิสระในการเลือกชนิด หรือปัญหาของโครงการแต่อาจขอคำ
แนะนำจากกรรมการสอบได้
๒. โครงการก่อสร้างตามข้อ (๕) และ (๖) ต้องเป็นชนิดต่างๆกัน คือ แพ,
หอคอย, เสากระโดง, สะพาน, ปั้นจั่น ฯลฯ และมีขนาดพอสมควรเหมาะที่จะ
ใช้ทักษะในการเทคนิคของการบุกเบิก

จุดประสงค์

๑. เพื่อให้ลูกเสือสามารถใช้และเก็บเชือก สมอบกได้
๒. เพื่อให้ลูกเสือรู้จักพันธุ์ไม้ที่ใช้แทนเชือกได้
๓. เพื่อให้ลูกเสือสามารถผูกเงื่อนที่ใช้ในการบุกเบิกและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
๔. เพื่อให้ลูกเสือสามารถจัดทำโครงการที่ลูกเสือหมู่อื่นเขียนไว้ได้
๕. เพื่อให้ลูกเสือสามารถแสดงบทบาทผู้นำในการเขียนโครงการบุกเบิกและปฏิบัติตามโครงการที่เขียนได้
เนื้อหาสาระ
         วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาบุกเบิก
๑. ชนิดและวิธีประเมินกำลังเชือก
๒. วิธีการขดและเก็บรักษาเชือก
๓. วิธีทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้เชือก
๔. ลักษณะการใช้สมอบกชนิดต่าง ๆ
๕. ความรู้เกี่ยวกับเงื่อนต่อไปนี้
- ผูกประกบ ๒,๓                     - ผูกทแยง - ผูกกากบาท
-การพันหัวเชือก                     -การแทงเชือก                  -การแทงกลับ
-การต่อเชือก                         - บ่วงตา          
๖. การเขียนโครงการบุกเบิก



แหล่งอ้างอิง
- ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
- https://docs.google.com/document/d/1mlHxPDxHDPPmk1-fCm0O68vPG9C1yo3Iyo1_XdLBiTc

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้