Translate

หน้าเว็บ

20 ตุลาคม 2561

การสอนแบบฐาน

6. การสอนแบบฐาน  (BASE METHOD)


 วิธีการสอนแบบฐานนี้  เป็นวิธีการสอนที่นิยมใช้และใช้มากในการจัดอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ  ขั้นความรู้เบื้องต้นและขั้นความรู้ขั้นสูง ผู้สอน (วิทยากร)ต้องมีความเข้าใจในจุดหมาย  (Aims) ของวิธีการสอนแบบนี้เป็นอย่างดีคือ วิธีการสอนแบบฐานนี้จะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดทักษะ และให้ความรู้เป็นสำคัญ มากกว่าการเปลี่ยนทัศนคติ
  ผู้สอนต้องพิจารณาเนื้อหาวิชาว่า  เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้หรือไม่  ด้วยเหตุว่าวิธีการสอนนี้จะต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้น  เนื้อหาวิชาต้องแบ่งออกเป็นแขนงวิชาย่อยๆได้ และอาจจะต้องใช้วิธีการสอนแบบอื่นเข้าร่วมด้วย  เป็นต้น
  ตัวอย่างเช่น  การสอน “วิชาการใช้เชือก” ซึ่งอาจแบ่งได้หัวข้อย่อยๆดังนี้
-การดูแลและเก็บรักษาเชือก
-การผูกเงื่อน
-การผูกแน่น
-การแทงเชือก
-การพันหัวเชือก
วิธีการ
1.จัดแบ่งหัวข้อวิชา และผู้รับผิดชอบ (วิทยากรประจำฐาน)
2.จัดฐานและอุปกรณ์ประกอบฐานให้พร้อมและมีคุณภาพดี ลักษณะของฐานควรอยู่ห่างกันพอควร ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
3.แบ่งผู้เข้ารับฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็กๆเท่าๆกัน จัดวงเวียนให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้รับความรู้ทุกๆฐาน และเท่าเทียมกัน
4.อาจจัดให้มีการวัดผลการฝึกอบรมภายในฐานการฝึกอบรม โดยวิทยากรประจำฐานเป็นผู้ดำเนินการหรือกระทำร่วมกลุ่มใหญ่ โดยวิทยากรผู้บรรยายก็ได้
ข้อดีและข้อจำกัด
1.การแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็กๆ ทำให้เกิดประสบการณ์โดยตรงและแจ่มชัดจากวิทยาการอย่างใกล้ชิดขึ้น
2.ข้อปัญหาและการอภิปรายจะได้บังเกิดผลดีเท่ากลุ่มใหญ่
3.ภาวะการสอนจะกระจายไปยังคระวิทยากนอย่างกว้างขวาง
4.คณะวิทยากรประจำฐานได้รับมอบงานอย่างจำกัด ทำให้สามารถจัดและกระทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น กับบุคคลที่มีจำนวนน้อยลงเช่นกัน
5.คณะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมมีโอกาสที่จะได้ศึกษาซึ่งกันและกัน และเป็นรายบุคคล
6.เนื้อหาวิชาบางวิชาอาจไม่เหมาะสมกับการใช้วิธีสอนแบบนี้ วิทยากรประจำฐานจะต้องเตรียมตัวเตรียมงานเป็นอย่างดี
ข้อควรคำนึง
1.ต้องจัดฐานให้เสร็จสมบูรณ์  มีความพร้อมและชัดเจนก่อนการฝึกอบรม
2.วิทยากรประจำฐานจะต้องเป็นบุคากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้าน ในงานของฐานอย่างแท้จริง
3.อุปกรณ์การฝึกอบรมในแต่ละฐานจะต้องมีให้ครบสมบูรณ์และมีคุณภาพด้วย
4.การดำเนินการสอนของวิทยากร  ในแต่ละฐานการฝึกอบรม จะต้องดำเนินการฝึกอบรมด้วยวิธีการสอนที่ดี  ต้องง่ายอย่างมีเหตุมีผล ปฏิบัติและวัดผลได้
5.ควรใช้เวลาในการฝึกอบรมในแต่ละฐานอย่างเหมาะสมและเท่าๆกัน
    แนวการสอนแบบฐานนี้  อาจนำไปใช้กับผู้เข้าฝึกอบรมที่มีจำนวนมากๆก็ได้เช่นกัน  และวิธีการจัดการฝึกอบรมอีกวิธีหนึ่งก็อาจทำได้เช่นกัน คือ นำบุคคลกลุ่มใหญ่ที่เริ่มต้นเรียนที่ฐานหนึ่งแล้วดำเนินต่อไปเป็นฐาน 2-3 จนครบทุกฐานแล้วนำมารวมกันและซักถามปัญหาในขั้นสรุปและประเมินผลได้  และถ้าเห็นควรจะให้มีการปฏิบัติกิจกรรมยามว่างก็กระทำได้เช่นกัน
    วิธีการระบบฐานนี้  เคยไดรับความสำเร็จมาแล้วในการสอนวิชาต่อไปนี้
-งานเชือก
-การผลิตอุปกรณ์การอยู่ค่ายพักแรม
-การสะกดรอย
-การคาดคะเน
-การฝึกประสาทและอนุมาน
-การอยู่ค่ายพักแรม
และการฝึกอบรมที่อาจไม่ประสบผลสำเร็จด้วยดีอย่างมีคุณภาพนั้น  บางวิชาที่เคยกระทำแล้วคือวิชา
-ประวัติของการลูกเสือ
-คำปฏิญาณและกฎ
-โครงสร้างคณะลูกเสือแห่งชาติ
บทสรุป
    ในการฝึกอบรมโดยใช้ระบบฐานนี้จะต้องมีการเตรียมการในด้านตัวคณะผู้ให้การฝึกอบรมเป็นพิเศษ  พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการจัดฐานและสถานที่ให้เหมาะสม การสอนหรือวิธีการฝึกอบรมควรเป็นวิธีการง่าย  ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน แต่ก็ต้องอาศัยบุคลากรจำนวนมากมาร่วมงาน
การสอนแบบฐาน
ระบบฐาน
    เป็นวิธีการเสริมสร้างการให้ความรู้ในทางตรง  ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ
1.ช่วยให้สมาชิกเข้าใจในแง่ปัญหาและเนื้อหาวิชาได้ดี
2.ช่วยให้สมาชิกได้ซักถามหรืออภิปรายได้อย่างอิสระ
3.ช่วยให้สมาชิกรับการถ่ายทอดทอดความรู้อย่างกว้างขวางและเกิดทักษะ
การปฏิบัติเกี่ยวกับระบบฐาน
1.จัดวิชาให้เหมาะสม
2.ผู้ประจำฐานมีความรู้และมีการเตรียมการล่วงหน้า
3.เครื่องมือ  อุปกรณ์ ต้องพร้อมในสภาพใช้การได้ดี
4.ที่ตั้งฐานแต่ละฐานต้องเหมาะสม  มีระยะทางเท่ากัน และมีพื้นที่พอเพียงในการจัดฐานเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนซึ่งกันและกัน
5.ต้องรักษาเวลาในการเข้ารับการฝึกอบรมตามฐานให้ตรงต่อเวลา
วิธีการเข้าฐาน
    การฝึกอบรมได้แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นหมู่หรือกลุ่มอยู่แล้ว  การเข้าฐานให้จัดสมาชิกแต่ละหมู่หรือกลุ่มได้หมุนเวียนไปได้ทุกฐานๆละ 1 หมู่ หรือกลุ่ม หรือ2 หมู่ หรือกลุ่ม
ก. ผู้เข้าฐานมีอาวุธ (ไม้พลองหรือไม้ง่าม) ทุกคน เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มการฝึกตามระบบฐาน (ใช้สัญญาณนกหวีดเป่ายาว 1 ครั้ง ไม่ควรใช้อาวุธปืนเพราะอาจเกิดอันตรายและไม่ประหยัด) วิ่งไปเข้าฐานตามที่กำหนด เข้าแถวรูปหน้ากระดาน  โดยนายหมู่ยืนอยู่หน้าวิทยากรผู้ประจำฐาน ห่างจากวิทยากรประมาณ 3 ก้าวเมื่อเข้าแถวเรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่ง “หมู่...ตรง” (บอกชื่อหมู่) “วันทยา-วุธ” เฉพาะนายหมู่เรียบอาวุธ
แล้วก้าวไปข้าง 1 ก้าว (ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยาวุธแล้วรายงานว่า “หมู่...พร้อมที่จะดีรับการฝึกแล้วครับ (ค่ะ)”จากนั้นนายหมู่เรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม (ก้าวเท้าซ้ายถอยหลัง 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยาวุธ แล้วสั่ง “เรียบ-อาวุธ”  “ตามระเบียบ,พัก”เริ่มฝึกอบรมในฐาน ตามคำแนะนำของวิทยากรประจำฐาน เมื่อหมดเวลาจะได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดหรือประทัด (เป่ายาว 1 ครั้งหรือเสียงประทัด 1 ครั้ง) ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว 2 ครั้งหรือเสียงประทัด 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง “หมู่...ตรง” “วันทยา-วุธ” นายหมู่กล่าวขอบคุณวิทยากรผู้ประจำฐานด้วยคำว่า “หมู่...ขอบคุณครับ (ค่ะ) ”(นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไปข้างหน้า) จากนั้นสั่ง “เรียบ-อาวุธ”  “ขวา-หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป
ข. ผู้เข้าฐานมีอาวุธเฉพาะนายหมู่   เมื่อนายหมู่นำหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวหน้าวิทยากรประจำฐานเรียบร้อยแล้ว  นายหมู่สั่ง “หมู่...ตรง” นายหมู่ทำวันทยาวุธ
และเรียบอาวุธ แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว  ทำวันทยาวุธ (การรายงานเช่นเดียวกันกับมีอาวุธทั้งหมู่)  แล้วเรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม ทำวันทยาวุธแล้วเรียบอาวุธ และสั่ง
“ตามระเบียบ,พัก”  เริ่มฝึกอบรมในฐานตามคำแนะนำของวิทยากรประจำฐาน เมื่อหมดเวลาจะยินเสียงสัญญาณนกหวีดหรือประทัด (เป่ายาว 1 ครั้งหรือประทัด 1 ครั้ง)  ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดหรือประทัด 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง “หมู่...ตรง” นายหมู่ทำวันทยาวุธ นายหมู่กล่าวขอบคุณวิทยากรประจำฐานด้วยคำว่า   “หมู่...ขอขอบคุณครับ (ค่ะ)” (นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไปข้างหน้า) นายหมู่ทำเรียบอาวุธ “ขวา-หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป
ค. ผู้เข้าฐานไม่มีอาวุธ   เมื่อนายหมู่นำหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวหน้าวิทยากรผู้ประจำฐานเรียบร้อยแล้วนายหมู่สั่ง “หมู่...ตรง” นายหมู่ทำวันทยหัตถ์แล้วลดมือลง
ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ทำวันทยหัตถ์ แล้วรายงานเช่นเดียวกันกับ ข้อ ก.  และ ข. เสร็จแล้วถอยหลังเข้าที่เดิม ทำวันทยหัตถ์ ลดมือลงและสั่ง “ตามระเบียบ พัก”
    เมื่อได้ยินสัญญาณหมดเวลา 1 ครั้ง  ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย และเมื่อได้ยินสัญญาณ 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง  “หมู่...ตรง” นายหมู่ทำวันทยหัตถ์ และกล่าวขอบคุณวิทยากรประจำฐานลดมือลงแล้วสั่ง “ขวา-หัน ตามข้าพเจ้า” แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป
หมายเหตุ  1.ในกรณีที่เข้าฐานมากกว่าหนึ่งหมู่ให้มีการรายงานทุกหมู่
                 2.วิทยากรประจำบานรับความเคารพโดยการทำวันทยหัตถ์ตอบโดยตลอด  รอจนกระทั่งนายหมู่กลับเข้าที่สั่งหมู่ เรียบอาวุธ หรือลดมือลงจากการทำวันทยหัตถ์ จึงเอามือลง

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้