Translate

หน้าเว็บ

20 ตุลาคม 2561

การศึกษารายกรณี

7. การศึกษารายกรณี  (CASE STUDY)

    การศึกษารายกรณีเป็นกลวิธีการฝึกอบรมวิธีหนึ่ง ในกระบวนการฝึกวิชาผู้กำกับลูกเสือหรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับสูง  ในการให้การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนั้น ไม่ว่าเป็นระดับใดก็ตาม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นบุคคลที่มีอายุและมีอาชีพอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า  “ผู้ใหญ่” กลวิธีการฝึกอบรมนี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีวิธีหนึ่ง
    การศึกษารายกรณีเป็นการศึกษาจากเรื่องราวที่ได้จัดทำขึ้นไว้เป็นอย่างดีอาจนำมาจาดเรื่องจริงๆหรือเรื่องที่แต่งขึ้นอย่างมีเป้าหมาย  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไดพิจารณาวิเคราะห์และตัดสินใจ สรุปและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นจริงมากที่สุด
    การศึกษารายกรณีเป็นกลวิธีที่ดีและเหมาะสมสำหรับการให้การศึกษาสำหรับผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก  มีจุดหมาย (Aim) คือ การให้โอกาสแก่สมาชิกผู้เข้าการฝึกอบรมทุกคนได้ศึกษา แลกเปลี่ยนแนวความคิดซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการพัฒนา สติปัญญา ทักษะ และทัศนคติได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วิธีการ
1.วิทยากรจะต้องมอบหมายเรื่อง(Case) ให้แก้กลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ศึกษา และต้องระบุให้ชัดเจนด้วยว่าการศึกษาวิเคราะห์นั้น ต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ใด และต้องการผลแค่ไหน
2.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องร่วมกันพิจารณาถึงปัญหาที่แท้จริงของเรื่อง  และอะไรคือสาเหตุปัญหานั้นๆ
3.นำเอาสาเหตุต่างๆมาพิจารณาเป็นรายข้อ  แล้วตัดสินใจเลือกปัญหาที่แท้จริงและแนวทางการแก้ปัญหานั้นๆภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นจริงที่สุด
    การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง (Case) นี้ จะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำและช่วยเหลือโดยวิทยากรประจำกลุ่มอยู่ตลอดเวลา และวิทยากรประจำกลุ่มก็ควรจะช่วยแนะนำแนวทาง ให้สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรมในกลุ่ม สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ตรงตามจุดประสงค์ และสามารถเข้าใจความสัมพันธ์และปฏิกิริยาขององค์ประกอบ (Factors) ต่างๆที่มีในตามสภาพหรือเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณา
ข้อดีและข้อจำกัด
1.ช่วยให้สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรม  สามารถฝึกหัดตัดสินใจและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบถูกต้องแม่นยำ ภายใต้สภาพการณ์ที่เหมาะสม
2.ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างกลุ่มสมาชิกเป็นการสร้างเสริมข้อคิดและแนวปฏิบัติตลอดจนการวางตนได้อย่างเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
3.เปิดโอกาสให้สมาชิก ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกันได้อย่างอิสระและเข้าใจปัญหาได้หลายแง่มุม ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง
ข้อควรคำนึง
1.ในกรณีเรื่อง (Case) ที่นำมาให้ศึกษา หากไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยหรือไม่เหมาะสมกับผู้ใหญ่อาจไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
2.วิทยากรประจำกลุ่มจะต้องได้รับการคัดเลือกเป็นอย่างดี  และเข้าใจกลวิธีการศึกษารายกรณีอย่างแจ่มชัด
3.กลวิธีนี้ควรใช้เวลา ในการศึกษาและอภิปรายระหว่าง 30-45 นาที
4.ต้องให้โอกาสสมาชิกคิดและแสดงความคิดเห็น ทุกคนเป็นอิสระ
ในการให้การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนั้น  วิทยากรจะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า กำลังดำเนินการสอนหรือให้การฝึกอบรมผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่ไม่ได้เรียนรู้ด้วยความเชื่อถือเช่นเด็ก แต่จะเรียนเมื่อเขาได้เห็นคุณค่าและประโยชน์จาการศึกษา  ดังนั้น ถ้าให้โอกาสแก่สมาชิก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีส่วนร่วมอย่างสนุกสนาน จะเกิดประโยชน์อย่างมากในการใช้เทคนิค  หรือกลวิธีการสอนแบบการศึกษารายกรณี

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้