5. การสาธิต (DEMONSTRATION)
คือการแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับประสบการณ์ตรง โดยปกติในการฝึกอบรมผู้บังคบบัญชาลูกเสือนั้น การสาธิตช่วยเสริมสร้างทักษะในวิชาการลูกเสือเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีก็อาจช่วยส่งเสริมการสร้างทักษะในด้านอื่นได้เช่นกัน
การสาธิตไม่เหมาะที่จะให้การฝึกอบรมกับกลุ่มบุคคลกลุ่มใหญ่
วิธีการ
1. การเตรียมการสาธิต
ก. วางแผนให้การสาธิตเป็นธรรมชาติมากที่สุด ถึงแม้ว่าท่านจะไม่มีทักษะในเรื่องนั้นได้อย่างที่ท่านใช้จริงก็ตาม
ข. รวบรวมและตระเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อม
ค. คำนึงถึงผู้เรียนและความรู้ที่เกี่ยวกับทักษะที่เขามีอยู่ ทั้งคำนึงถึงรายละเอียดที่ท่านควรใช้ให้ผู้เรียนด้วย
ง. พิจารณาเรื่องให้ตลอดหรืออาจต้องบันทึกไว้สั้นๆ ว่ามีอะไรบ้างที่จำเป็นที่จะอธิบายให้ทราบถึงการกระทำนั้นๆ
จ. ฝึกซ้อมการสาธิตตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ จนแน่ใจว่าท่านจะแสดงการสาธิตได้อย่างคล่องแคล่ว
ฉ. ถ้าเป็นการสาธิตที่ยาวและใช้เวลานาน ควรเขียนเค้าโครงการสาธิตไว้เป็นข้อๆ
2. การสาธิต
ก. อธิบายให้ผู้เรียนฟังโดยย่อ ชี้จุดสำคัญที่ต้องสนใจเป็นพิเศษ
ข. จัดอัตราความเร็วของการสาธิตให้เหมาะสมกับความยากง่ายในการเรียนรู้ตามลำดับ ขั้นตอนและควรเริ่มต้นอย่างช้าๆไปจนจบ
ค. ต้องคอยสังเกตปฏิกิริยาของผู้เรียน และเสริมใส่รายละเอียดเรื่องที่จะเรียนและการกระทำให้เหมาะสมกับปฏิกิริยานั้น
ง. ถ้าจำเป็นควรสาธิตซ้ำในตอนที่เห็นว่ายากหรือสำคัญ และควรจะปฏิบัติในขณะที่กำลังสาธิตอยู่เป็นตอนๆไป หรือจะทำเมื่อสาธิตจบเรื่องแล้วก็ได้
จ. ถ้าท่านบอกผู้ดูการสาธิตว่าวิธีใดผิด ท่านจะต้องบอกเขาด้วยว่าวิธีใดเป็นวิธีที่ถูก ทั้งนี้ก่อนและหลังจากที่ท่านบอกว่าวิธีใดผิด
3. สรุปการสาธิต
ก. ทบทวนขั้นสำคัญต่างๆ ตามลำดับก่อนหลัง
ข. ให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ซักถาม และได้ทดลองปฏิบัติโดที่มีท่านเป็นผู้แนะนำ
ข้อดีข้อจำกัด
1. ขั้นตอนการทดลองหรือแสดง สามารถยืดหยุ่นได้ ซึ่งบางขั้นตอนจำเป็นต้องกระทำอย่างละเอียดหรือทำซ้ำอีกครั้งก็ได้
2. วิธีการนี้ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในการฝึกอบรมได้ดี
3. วิทยากรที่ดีจะต้องเตรียมและซ้อมมาก และเวลาสาธิตต้องกระทำอย่างระมัดระวังยิ่งขึ้นอีก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมพึงพอใจต่อบทเรียน
4. วิธีนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมกลุ่มเล็กมากกว่า ด้วยขีดจำกัดมากมาย
5. ต้องมีการชี้แจงวัตถุประสงค์และจุดที่สำคัญ มิฉะนั้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาจไขว้เขวได้
6. วิธีนี้เหมาะสมกับกิจกรรมหรือเนื้อหาบางอย่างเท่านั้น ไม่อาจใช้กับทุเนื้อหาได้
บทสรุป
1. ผู้สิตที่ดีจะต้องมีความเชี่ยวชาญ ทั้งความรู้และวิธีการสาธิต และอาจกระทำร่วมกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลร่วมกันได้ ข้อสำคัญต้องไม่ผิดพลาด
2.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาจซักถามได้ในส่วนที่ตนสนใจเป็นพิเศษ
3. อุปกรณ์ต้องพร้อมทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนสถานที่ที่เหมาะสมด้วย
ภูมิหลังวิชา
การสาธิตเป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เห็นของจริง โดยอาจแสดงให้เห็นถึงวิธีการขั้นตอนของการสอนแบบสาธิต เช่น การสอนการผูกเงื่อน การสอนการผูกแน่น เป็นต้น เหมาะที่จะใช้กับกลุ่มเล็กๆ การสอนแบบสาธิตนี้ใช้ได้กับผู้เข้ารับการอบรมทุกระดับทุกประเภทและตามปกติแล้วการสอนแบสาธิตนี้จะใช้ร่วมกับวิธีการสอนแบบอื่นๆ เช่น การบรรยาย การทดลองปฏิบัติ การอภิปรายเป็นต้น
งานภาคปฏิบัติ
- เตรียมการสาธิต
- สาธิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น