3. การระดมสมอง (BRAINSTORMING)
เทคนิคนี้ เปิดโอกาสให้คนภายในกลุ่มได้เสนอความคิดอย่างเสรี เพื่อแก้ปัญหาหรือปรับปรุงสิ่งหนึ่งสิ่งใด กิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด โดยปราศจากข้อจำกัดหรือกฎเกณฑ์ใดๆทั้งสิ้น ไม่มีการอภิปรายหรือประเมินผลความคิดเห็นนั้นในระหว่างการเสนอความคิด ซึ่งอาจจะกระทำได้ภายหลังการระดมสมองสิ้นสุดลง
เลขานุการต้องบันทึกความคิดเห็นไว้ทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงข้อถูกผิด ดี-ไม่ดี เหมาะสม-ไม่เหมาะสม ควร-ไม่ควร ความคิดเห็นทุกอย่างจะต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มทั้งสิ้น และผู้เข้าร่วมระดมสมองจะต้องไม่หัวเราะเยาะหรือเย้ยหยันความคิดเห็นใดๆ แม้ความคิดนั้นจะเป็นความคิดที่มีลักษณะประหลาดก็ตาม
การขัดแย้งต่อความคิดที่ถูกเสนอจะไม่เกิดขึ้น แต่สามารถที่จะขยายเพิ่มเติมโดยคนอื่นได้ และบุคคลที่จะเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมนั้น จะต้องกล่าวคำว่า “ ผมเห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ.และขอเสริมว่า ”
นอกจากนี้ คำถามที่ใช้ในการระดมสมอง ไม่ควรเลือกคำถามที่ต้องการคำตอบยาว เพราะเราต้องการความคิดเห็นในสิ่งที่จะทำ (What) ส่วนวิธีการที่จะทำอย่างไร (How) นั้น ควรจะได้รับพิจารณาภายหลังลองฝึกระดมสมอง
ถ้าท่านยังไม่เคยทำการระดมสมองมาก่อน ขอให้ลองฝึกระดมสมอง 10 นาที โดยใช้หัวเรื่องที่ง่ายไม่มีความสำคัญอะไร เช่น “เราจะปรับปรุงเสื้อลูกเสืออย่างไรดี” ผลของการระดมสมองนี้จะเป็นเครื่องชี้ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นความสำคัญของการใช้วิธีนี้ ความคิดเห็นมากมาย 30-50 ความคิด เกิดขึ้นจากสมาชิกภายในเวลาจำกัด
วิธีการ
1. เตรียมสถานที่ขนาดพอเหมาะกับจำนวนคน จัดที่นั่งเป็นรูปวงกลมรีก็ได้ ให้สมาชิกทุกคนเห็นหน้ากัน
2. แบ่งกลุ่มสมาชิกมีขนาด 6-8 คน ให้มีประธานและเลขานุการกลุ่ม ถ้าเห็นว่าเลขานุการกลุ่มคนเดียวอาจจดไม่ทัน ก็อาจเพิ่มเลขานุการขึ้นอีกหนึ่งคนก็ได้
3. ประธานจะต้องอธิบายให้สมาชิกทราบหัวข้อสาระสำคัญ กติกาเงื่อนไขต่างๆ และเวลาที่กำหนด ( ไม่ควรเกิน 15 นาที )
4. เริ่มดำเนินการ
- ประธานถามเป็นรายคนตามลำดับอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว
- ทุกคนต้องตอบเมื่อถูกถาม
ถ้ามีคำตอบให้ตอบ
ถ้าไม่มีคำตอบให้กล่าวคำว่า “ผ่าน”
ถ้าต้องการเสริมคำพูดผู้อื่น ให้ใช้คำว่า ( Hitch hike ) “ผมเห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ...และขอเสริมว่า...”
-ประธานจะถามต่อไปจนครบรอบที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และต่อไปจนสมาชิกบอก “ผ่าน” หมดทุกคนแสดงว่า สมาชิกหมดความคิดเห็นแล้ว
- ประธานและเลขานุการ อาจจะเพิ่มความคิดเห็นลงไปในท้ายนี้ได้
5. หลังจากการระดมสมองแล้ว กลุ่มจะใช้เวลาอีช่วงหนึ่งสำหรับพิจารณา วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าข้อเสนอทั้งหมด โดยวิธีรวบรวมข้อที่ใกล้เคียงกัน และอาจเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตัดข้อที่ไม่เหมาะสมทิ้งไป
6. สรุปและรับรองผลของกลุ่ม เพื่อเสนอหรือนำไปใช้ต่อไป
การประมวลความคิด
1. ให้กระทำหลังจากการประชุมระดมสมองแล้ว
2. ควรตั้งกรรมการประมวลผล 2-3 คน ที่ใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ระดมสมอง ( เพื่อพิจารณาความคิดเป็นรายๆไป )
3. การประมวลผลอาจจะกระทำในเวลาอื่น หรือสถานที่ใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องกระทำทันที
4. วิธีการแรกต้องตัดความคิดที่คาดว่าเป็นไปไม่ได้ทิ้ง
5.จัดรวมเอาความคิดเห็นที่ใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน
6.ความคิดเห็นที่เหลือจากการกลั่นกรองแล้ว อาจนำไปใช้กับการศึกษาในขั้นต่อไปได้ ควรเก็บความคิดนี้ไว้เพราะความคิดเห็นที่ไร้ค่าในเวลานี้อาจมีคุณค่ายิ่งในโอกาสต่อไป
ข้อดีข้อจำกัด
1. เป็นการสร้างงานในระบบกลุ่ม
2. เปิกโอกาสสมาชิกให้ยอมรับความคิกเห็นซึ่งกันและกัน
3. ช่วยให้เกิดแนวความคิดใหม่และสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
4. เร้าความสนใจของสมาชิกและไม่สิ้นเปลือง
5. ข้อเสนอแนะจำนวนมาก อาจมีคุณค่าน้อย
6. ถูกจำกัดเรื่องขนาดของกลุ่มและเวลา
7. ไม่สามารถพิจารณาปัญหาที่กว้างมากนัก
ข้อควรคำนึง
1. ชื่อของผู้เสนอความคิดเห็นนั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ฉะนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบันทึกชื่อผู้เสนอความคิดเห็นไว้ ถือว่าเป็นความคิดเห็นจากกลุ่ม
2. ประธานจะเป็นผู้ตัดสินการวิจารณ์ วิเคราะห์ หรือประเมินความคิดเห็นใดๆ ไม่ให้มีการยืดเยื้อและจะต้องกระตุ้นให้สมาชิกผู้ร่วมระดมสมองได้ใช้ความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ไม่ไขว้เขวออกนอกทาง
3. เวลาเป็นสิ่งสำคัญ ต้องการกำหนดแน่นอน อาจตั้งผู้รักษาเวลาเพื่อแจ้งเมื่อหมดเวลาก็ได้
บทสรุป
ความสำเร็จของการระดมสมอง จะได้มาความคิด เพราะ
1. ผู้ร่วม ( สมาชิกกลุ่ม ) ต่างมีความรู้ทั่วๆปเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องที่จะนำมาระดมสมอง
2. ความคิดหลายๆความคิด เมื่อรวมกันจะจัดเข้าสู่เป้าหมายย่อมมีข้อดีมากกว่าความคิดเดียว
3. คนขี้อายอาจมีความคิดดี และไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุมใหญ่ แต่เขาก็ยินดีและยินยอมในกลวิธีนี้
4. การระดมสมอง ถือว่าเป็นภาคปฏิบัติของการทำงานเป็นหมู่มาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น