Translate

หน้าเว็บ

1 เมษายน 2565

เงื่อนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

เงื่อนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
********************************
เป็นวิชาทักษะและประสบการณ์พื้นฐานที่ลูกเสือสามารถนำไปสู่กิจกรรมบุกเบิกเพื่อสร้างสิ่งต่างๆ
 ให้เกิดความมั่นคง และใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
1. เงื่อนสำหรับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
เงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนผูกร่น เงื่อนผูกกระหวัดไม้ เงื่อนบ่วงสายธนู
เงื่อนผูกรั้ง เงื่อนประมง    เงื่อนผูกซุง เงื่อนปมตาไก่ เงื่อนตะกรุดเบ็ด
ถักวอกเกิ้ลหรือสายยงยศ
2. แบ่งวิธีการผูกเงื่อนไว้  3 ประเภท
1. ประเภท Hitch - ใช้สำหรับผูกเสาหลัก ใช้โยง  หรือยึด เช่น เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนกระหวัดไม้
2. ประเภท Bend - ใช้เชือก 2 เส้นมาผูกหรือต่อกัน   เช่น เงื่อนขัดสมาธิ
3. ประเภท Knot -ใช้เชือกเส้นเดียวผูกหรือต่อกัน   เช่น เงื่อนพิรอด                        
3. ขั้นตอนการผูก
        1. ทำตัวอย่างเป็นขั้นตอนขนาดใหญ่
        2. แยกผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ
        3. ใช้เชือกเส้นใหญ่เพื่อเห็นชัด
        4. ให้ทุกคนมีเชือกเป็นของตนเอง
        5. ถ้าต่อเชือก 2 เส้นควรใช้สีต่างกัน
        6. บอกชื่อ ประโยชน์  วิธีผูก
        7. ทำให้ดูช้า ๆ ทีละขั้นตอน
        8. ให้ทำตาม
        9. ทบทวนหลาย ๆ ครั้ง
        10. ให้ลงมือทำเอง
4. ข้อสำคัญในการผูกเงื่อน
1. ถูกต้อง
2. ใช้ให้เหมาะกับงาน
3. แน่น  แข็งแรง
4. ผูกเร็ว (เรียบร้อย)
5. สวยงาม
6. แก้ง่าย
       
เงื่อนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่   เป็นวิชาหนึ่งของเครื่องหมายลูกเสือโลก ทุกคนต้องปฏิบัติการผูกเงื่อนทั่วไป
และการผูกแน่นได้เพื่อนำความรู้ทักษะการผูกเงื่อน
ไปใช้ทำกิจกรรมในการสร้างค่ายพักแรม การปฏิบัติกิจกรรมอื่น ๆ และการบำเพ็ญประโยชน์
ชนิดของเชือก

1. เชือกป่าน ทำจากต้นเฮมม์ สีเหลือง เส้นใยหยาบ แข็ง
ผูกง่ายไม่เหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับน้ำ นิยมชุบน้ำมันจึงเรียกว่า เชือกน้ำมัน
เมื่อชุบน้ำแล้วกำลังงานจะน้อยลงกว่าเดิม
2. เชือกกาบมะพร้าว ทำจากกาบมะพร้าว มีน้ำหนักเบา
ลอยน้ำได้เหมาะหรับใช้ในน้ำ ไม่อมน้ำ นิยมใช้โยงเรือ
กำลังงานน้อยกว่าเชือกมนิลาที่มีขนาดเท่ากัน
3. เชือกมนิลา ทำจากต้นมนิลามีมากในประเทศฟิลิปปินส์ สีค่อนข้างขาว
อ่อนตัวดี มีกำลังมากกว่าเชือกป่าน นิยมใช้เป็นเชือกรอก ทำฐานผจญภัยและในการบุกเบิก
ถ้าใช้ในที่แห้งจะทนดี แต่ถ้าเปียกน้ำบ่อย ๆ จะขาดง่าย
4. เชือกปอ เป็นเชือกทำจากปอกระเจาในประเทศไทย เหมาะสำหรับใช้งานชั่วคราวบนบกเช่น
ขันชะเนาะ นั่งร้านเป็นต้น ต้องเก็บรักษาให้ดี ระวังทิ้งไว้
มอด และปลวกกัดกินทำให้ขาดง่าย
5. เชือกด้าย เป็นเชือกที่ทำจากด้ายดิบ มีสีขาวสะอาด อ่อนนิ่ม
ขดม้วนง่าย ไม่มีมอด หรือปลวกอาศัย ใช้ทำแห หรือใช้งานในร่มไม่ถูกแดด
6. เชือกไนลอน เป็นเชือกที่ทำจากสารสังเคราะห์ มีความทนทานและเหนียวมาก
มีความยืดหยุ่นมากกว่าเชือกชนิดอื่น ๆ ผูกยากเพราะคลายตัวง่าย
ถ้าดึงมากเชือกยืดได้ เหมาะใช้งานในน้ำ ห้ามอยู่ใกล้ความร้อน หรือใกล้ไฟ
7. เชือกลวดหรือลวดสลิง ลักษณะคล้ายเชือก แต่ทำจากเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีควั่น
เป็นเกลียวมีน้ำหนังและกำลังมาก มีราคาแพงและเกิดสนิมได้ง่าย เหมาะสำหรับยึดเกาะ
โครงสร้างสูงเช่น ใช้ยึดทำฐานผจญภัยถาวร ยึดเสาโทรทัศน์
หรือหอคอย เป็นต้น มีหลายขนาดให้เลือก
ขนาดของเชือก
ขนาดเชือก.jpg
เชือกมีหลายขนาด ให้วัดตามความหนา หรือเส้นผ่าศูนย์กลาง มีความหน้าตามที่เราเลือกใช้งาน
ให้เหมาะสม   มีขนาดตั้งแต่ 1 มิลิเมตร เป็นต้นไป

การระวังรักษาเชือก
1.เมื่อซื้อเชือกมาแล้วให้พันหัวเชือกให้เรียบร้อย กันเกลียวเชือกคลายตัว
2.ขณะใช้เชือกพยายามอย่าให้เชือกเปียกน้ำ (ยกเว้นเชือกที่ผูกหรือใช้ในน้ำ)
3. ให้ใช้ผ้าเก่ารองรับระหว่างเชือกกับเชือก หรือระหว่างเชือกกับวัตถุอื่นที่จุด ผูกหรือจุดเสียดสี
4. หลังจากใช้เชือกแล้ว ควรตรวจเชือกให้ละเอียด ถ้ามีจุดชำรุดต้องซ่อมหากเชือกเปียกชื้น
ต้องผึ่งลมให้แห้งสนิทก่อนเก็บ และถ้าเป็น ไปได้ ควรแขวนไว้
การเก็บเชือก
หลังจากใช้เชือกแล้วให้เก็บเชือกร้อยไว้ที่เข็มขัด ห้อยม้วนเชือกลงด้านข้างตัว เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม
ขั้นที่ 1 ทบเชือก 3 ครั้ง เพื่อแบ่งเป็น 8 ส่วน ถือไว้ด้วยมือซ้าย 3ส่วน อีก5 ส่วนที่เหลือปล่อยลงเอาไว้สำหรับพันรอบ
ขั้นที่ 2 เอาเชือกส่วนยาวที่เหลือ 5ส่วน พันรอบเชือกที่ถือไว้ด้วยมือซ้าย
โดยเริ่มพันถัดจากบ่วงหัวประมาณ 1 นิ้ว พันให้แน่นจนตลอดจะเหลือปลายเชือกให้สอดปลายเชือกนั้นเข้าไปในบ่วงท้าย
ขั้นสุดท้าย ดึงบ่วงหัว จนบ่วงท้ายรัดปลายเชือกที่สอดไว้แน่น

ชนิดและประโยชน์ของเงื่อน
เงื่อน คือ การผูกเชือกกับเชือก หรือเชือกกับวัตถุอื่น หรือทำให้เกิดบ่วงหรือปมในเชือกเส้นเดียวกัน
เงื่อนแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะเพื่อใช้ประโยชน์อย่างใดก็ได้ และสามารถแยกเงื่อนตามประเภทการใช้งานได้ดังนี้
1. ประเภทต่อเชือกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการต่อเชือกให้ยาวขึ้น คือ เงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิ เงื่อนประมง เงื่อนยายแก่ เงื่อนนายพราน
2. ประเภททำบ่วง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับคล้องหรือสวมกับหลักเสา สัตว์ หรือคน คือ เงื่อนเก้าอี้ เงื่อนคนลาก เงื่อนสายนกหวีด
3. ประเภท ผูกกับวัตถุ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับผูกให้แน่น ใช้รั้งให้ตึงหรือ
ดึงให้แน่น คือเงื่อนผูกซุง เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนกระหวัดไม้ เงื่อนผูกประกบ เงื่อนผูกทแยง เงื่อนกากบาท เงื่อนเงื่อนผูกรั้ง
4. ประเภทใช้ถักและแทง ได้แก่ ถักสายนกหวีด ถักลูกโซ่หลายชั้น ถักเกลียวกลม แทงบ่วง ถักวอกเกิล
เงื่อนพิรอด
(Reef Knot หรือ Square Knot)

เงื่อนพิรอดเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์มากในชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2ข้างเข้าด้วยกันด้วยเงื่อนนี้จะแน่นมากแต่ก็แก้ออกได้ง่าย
เงื่อนเมื่อต่อแล้วปมจะไม่นูนจนเกินไป ผูกได้หลายวิธี เชือกที่ผูกต้อง
เป็นเส้นเชือกที่มีขนาดเท่ากันมีความเหนียวเท่ากัน
ประโยชน์
1. ใช้เชือกต่อ 2 เส้น มีขนาดเท่ากัน และเหนี่ยวเท่ากัน
2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัสดุต่างๆ
3. ใช้ผูกเชือกผูกรองเท้า (ผูกเงื่อนพิรอด กระตุกปลาย 2 ข้าง)
4. ใช้ในการปฐมพยาบาล เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้าทำสลิงคล้องคอ ใช้ผูกปลายเชือกกากบาทญี่ปุ่น
5. ใช้ต่อผ้าเพื่อให้ความยาวตามต้องการในกรณีที่ไม่มีเชือก เช่น ต่อผ้าปูที่นอน
ใช้ช่วยคนในยามฉุกเฉินเมื่อเวลาเกิดเพลิงไหม้ และใช้ผ้าพันคอลูกเสือต่อกัน เพื่อช่วยคนที่ติดอยู่บนที่สูง
และใช้ผูกโบว์ เป็นต้น
เงื่อนขัดสมาธิ
Sheet Bend
เงื่อนขัดสมาธิ เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกันโดยใช้เส้นใหญ่เป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด
ประโยชน์
1. ใช้ล่ามสัตว์เลี้ยงไว้กับหลัก
2. ใช้ต่อเชือกซึ่งมีขนาดต่างกัน
3. ใช้ต่อเส้นด้าย เส้นไหมทอผ้า ใช้ต่อระหว่างลวดและเชือกได้
เงื่อนกระหวัดไม้
Half Hitch
เงื่อนกระหวัดไม้ใช้สำหรับผูกสัตว์เลี้ยง  ผูกเรือ ผูกแพไว้กับหลัก แต่ไม่สามารถหมุนรอบได้เหมือนเงื่อนบ่วงสายธนู
 เงื่อนกระหวัดไม้นี้ถ้าดึงจะยิ่งแน่นขึ้น
ประโยชน์
1. ใช้สำหรับผูกเรือ ผูกแพไว้กับหลัก
2. ใช้สำหรับผูกรอกต่าง ๆ
3. ใช้เป็นเงื่อนแรกในเงื่อนผูกซุง
4. ใช้เป็นเงื่อนบุกเบิก
เงื่อนบ่วงสายธนู
Bowline
เงื่อนบ่วงสายธนูเป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่
ประโยชน์
1. ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้ารัดกับหลัก เหมาะสำหรับการผูกล่าม
เพราะสามารถหมุนรอบได้
2. ใช้เป็นบ่วงคล้องช่วยคนตกน้ำ เพราะเงื่อนชนิดนี้จะไม่รูดเข้าหาตัวคนที่เราช่วย
3. ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้ได้
4. ใช้คล้องคันธนู
เงื่อนตะกรุดเบ็ด
Cleve Hitch
เงื่อนตะกรุดเบ็ด เป็นเงื่อนผูกแน่นแต่แก้ง่าย ใช้ในการผูกของ ผูกเสารั้ว ผูกหลัก ผูกตอม่อ ในการสร้างสะพาน
ทำหอคอย ผูกเบ็ด
ประโยชน์
1. ใช้แขวนรอก
2. ผูกเชือกกับสมอเรือ
3. ใช้ผูกขอเบ็ดตกปลา
เงื่อนประมง
Fisherman's Knot
เงื่อนประมง  เป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เงื่อนหัวล้านชนกัน
ประโยชน์
1. ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเล็ก
2. ใช้ต่อเชือกสองเส้นที่มีขนาดเดียวกัน
3. ผูกคอขวดแยมสำหรับเป็นที่ถือหิ้ว
4. ใช้ลากจูง ต่อเชือกขนาดใหญ่ที่ลากจูง
5. ใช้ต่อเชือกด้าย ด้ายทอ สายเบ็ด ใช้ต่อเชือกกันเป็นเกลียว
6. ผูกสายไฟทำกับระเบิด
เงื่อนผูกซุง
A Timber Hitch
เงื่อนผูกซุง เป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับผูกสิ่งของต่าง ๆ ให้แน่น เป็นเงื่อนที่มีลักษณะพิเศษคือผูกง่าย
แต่เป็นเงื่อนที่ยิ่งดึงยิ่งแน่น ยิ่งดึงแรงมากเท่าไรก็ยิ่งแน่นมากขึ้นเท่านั้น
ประโยชน์
1. ใช้ผูกกับวัตถุที่เป็นท่อนยาว ๆ เช่น ท่อนซุง เสา เพื่อใช้ลาก
2. ใช้ผูกกับหินแทนสมอเรือ หรือใช้ผูกหินแทนสมอบกก็ได้
3. ใช้เป็นเชือกเริ่มต้นในการผูกทแยง
4. ใช้ผูกกับหินเพื่อใช้แทนสมอเรือ
เงื่อนผูกรั้ง
Tarbuck Knot
เงื่อนผูกรั้ง ใช้ผูกแทนสายเต็นท์ยึดเสาธงเพื่อกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้ เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงและหย่อนได้ตามต้องการ
ประโยชน์
1. ใช้ยึดเสาเต็นท์ เสาธง สมอบก
2. ใช้ผูกกับห่วงต่าง ๆ
เงื่อนปมตาไก่

เงื่อนปมตาไก่ใช้ขมวดหัวเชือกที่ไม่ใหญ่นัก ถ้าต้องการให้ปมใหญ่ก็ขมวดหลายครั้ง
มีชื่อเรียกว่าปมไก่
ประโยชน์
1. ใช้ผูกปลายเชือกให้เป็นปมเพื่อที่จะได้ถือ หรือหิ้วได้ถนัด
2. ใช้ผูกแทนกันหัวเชือกชั่วคราว
การผูกทแยง
Diagonal Lashnig
การผูกทแยง เป็นการผูกไม้ให้ติดกัน ใช้กลางเชือกพันขึ้นต้นด้วยเงื่อนผูกซุง แล้วพันเชือกให้ทแยงมุมไขว้กัน
ในมุมตรงกันข้าม จบลงด้วยเงื่อนพิรอดที่ไม้ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้แล้วหักคอไก่
ประโยชน์
         1. ใช้ในงานก่อสร้าง
         2. ใช้ค้ำหรือยันเพื่อป้องกันมิให้ล้ม
การผูกประกบ
Sheer Lashnig or Round Lashnig
การผูกประกบ   มีหลายชนิด เช่น ผูกประกบสอง ผูกประกบสาม ผูกประกบสี่  
ผูกประกบ 2 ใช้สำหรับต่อไม้หรือเสา 2 ต้นเข้าด้วยกัน
เริ่มผูกด้วยเงื่อนผูกซุงที่ไม้หลัก จบหรือลงด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่ไม้ที่นำมาต่ออีกอันหนึ่ง




ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้