Translate

หน้าเว็บ

13 ตุลาคม 2561

ประเภทของลูกเสือ


ประเภทของลูกเสือ
ลูกเสือ คือใคร
               ลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle) วิธีการ (Method) และวัตถุประสงค์ (Purpose) ของการลูกเสือ (Scouting) อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า ลูกเสือมี 4 ประเภท คือ สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับลูกเสือที่เป็นหญิง อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้หมายถึง ลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย
ประเภทของลูกเสือ
         1.   ลูกเสือสำรอง (Cub Scout)  อายุ 8 – 11 ปี
               คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do Our Best)
         2. ลูกเสือสามัญ (Scout)  อายุ 11 – 16 ปี
               คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be prepared)
         3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 14 – 18 ปี
               คติพจน์: มองไกล (Look wide)
         4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover)    อายุ 16 - 25 ปี
               คติพจน์: บริการ (Service)
หลักการสำคัญของลูกเสือ 4 ประเภท ประกอบด้วย
1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout)
 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3
            กองลูกเสือสำรอง    ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 หมู่ และไม่เกิน 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 4 – 6 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย
            คติพจน์    ทำดีที่สุด” (Do Your Best)
            คำปฏิญาณ ข้าฯ สัญญาว่า
                        ข้อ 1 ข้าฯ จะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                        ข้อ 2 ข้าฯ จะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
          
  กฎของลูกเสือสำรอง
                        ข้อ 1 ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่
                        ข้อ 2 ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง
             การเคารพ
                        วิธีแสดงความเคารพมี 2 วิธี คือ
                        1. แสดงความเคารพเป็นบุคคล ลูกเสือจะสวมหมวกหรือมิได้สวมหมวกทำวันทยาหัตถ์ 2 นิ้ว คือยกมือขวาขึ้น แยกนิ้วชี้กับนิ้วกลางออกเหยียดตรงรูปตัว V แล้วแตะนิ้วที่กระบังหมวกต่อขอบหมวก
                        2. แสดงความเคารพเป็นหมู่ คือ การทำแกรนด์ฮาวล์
1.         ลูกเสือสามัญ (Scout) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
กองลูกเสือสามัญ
ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 - 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 6 – 8 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนาย
หมู่ด้วย
       คติพจน์    จงเตรียมพร้อม” (Be prepared)
       คำปฏิญาณ ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า - “On my honour, I promise
                  ข้อ 1 ข้า ฯ จะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ - to do my duty to my country, to religion and to the monarch
                  ข้อ 2 ข้าฯ จะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ - to help other people at all times
                  ข้อ 3 ข้าฯ จะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ - and to obey the Scout Law”
         กฎของลูกเสือสามัญ
                   1. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ (A scout’s honor is to be trusted.)
                   2. ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ (A scout is loyal.)
                   3. ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น (A scout’s duty is to be useful to help others.)
                   4. ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก (A scout is a friend to all and a brother to every other scout.)
                   5. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย (A scout is courteous.)
                   6. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ (A scout is a friend to animal.)
                   7. ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ (A scout obeys orders of his parents, Patrol Leader and Scoutmaster without question.)
                   8. ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก (A scout smiles and whistles under all difficulties.)
                   9. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ (A scout is thrifty.)
                  10. ลูกเสือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ (A scout is clean in thought, word and deed.)
               การเคารพ วิธีแสดงความเคารพมี 2 วิธี คือ
                           1. วันทยาหัตถ์ เป็นท่าแสดงความเคารพส่วนบุคคลขณะอยู่ตามลำพัง การทำวันทยาหัตถ์ ให้ยกมือขวาขึ้น นิ้วหัวแม่มือกดนิ้วก้อยไว้ เหยียดนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางชิดกัน ให้ข้อสุดท้ายของปลายนิ้วชี้แตะที่ขอบหมวกปีก ประมาณตรงหางคิ้วขวา ถ้าสมหมวกทรงอ่อน (แบร์เร่ต์) ถ้ามิได้สวมหมวก ใช้ปลายนิ้วชี้แตะที่หางคิ้วขวา ถ้าอยู่ในแถว ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จะเป็นผู้หรือผู้สั่ง เช่นแถวตรง
                            2. วันทยาวุธ หรือเคารพท่าพลอง เป็นการแสดงความเคารพเมื่อลูกเสือถือไม้พลอง
                                     2.1 เมื่ออยู่กับที่ ลูกเสือต้องอยู่ในท่าเลียบอาวุธ คือ อยู่ในท่ายืนตรง ถือไม้พลองด้วยมือขวา โคนไม้พลองอยู่ชิดกับเท้าขวาที่โคนนิ้วก้อย จับไม้พลองให้อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ อีก 4 นิ้ว จับไม่พลองเฉียงลงไปข้างล่าง นิ้วเรียงชิดติดกัน ปลายไม้พลองอยู่ในร่องไหล่ขวา ตั้งตรงแนบลำตัว เมื่อผู้บังคับบัญชาบอก วันทยาวุธให้ยกมือซ้าย (เช่นเดียวกับการแสดงรหัส) ขึ้นแตะที่ไม้พลอง ให้แขนซ้ายอยู่เสมอแนวระดับไหล่ทั้งสองข้าง เมื่อเลิกทำความเคารพ ผู้บังคับบัญชาจะบอก เรียบ อาวุธให้ลูกเสือลดแขนซ้ายลงมาอยู่ที่เดิมโดยเร็ว
                                     2.2 เมื่อเดินในท่าแบกพลอง ให้ลดมือซ้ายจับที่พลองเหยียดลงมาชิดกับตัว แล้วยกมือขวาท่าแสดงรหัสลูกเสือไปแตะพลอง ให้คว่ำฝ่ามือลงข้างล่างและให้แขนขวาอยู่เสมอแนวระดับไหล่ทั้งสองข้าง ในขณะทำความเคารพ ให้มองดูผู้รับการเคารพ
3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout)   ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
                 กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่     ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 หมู่ ไม่เกิน 6 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 4 – 8 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่
                 คติพจน์   มองไกล” (Look wide)
                 คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่     คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เป็นเช่นเดียวกับลูกเสือสามัญ
4. ลูกเสือวิสามัญ     ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 (หรือระดับชั้นอาชีวศึกษา อุดมศึกษา)
                กองลูกเสือวิสามัญ
                          ประกอบด้วยลูกเสือวิสามัญอย่างน้อย 10 คน และไม่เกิน 40 คน โดยจะแบ่งออก เป็นชุดหรือหมู่ ตามความต้องการก็ได้ และควรมีลูกเสือวิสามัญชุดหรือหมู่ละ 4 - 6 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่
                คติพจน์  บริการ” (Service)
                คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือวิสามัญ       คำปฏิญาณ กฎ และการเคารพของลูกเสือวิสามัญ เป็นเช่นเดียวกับลูกเสือสามัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้