Translate

หน้าเว็บ

18 ตุลาคม 2561

วิชานักสะสม

หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
วิชานักสะสม


ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตร
และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘















วิชานักสะสม

หลักสูตร
(๑) ทำการสะสมสิ่งของชนิดหนึ่งอย่างเรียบร้อย และจัดให้ถูกต้องตามระบบ
เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ เดือน
(๒) ลักษณะหรือเรื่องของการสะสมให้ลูกเสือเป็นผู้เลือก ตัวอย่างเช่น
ดวงตราไปรษณียากร หน้าไม้ขีดไฟ เงินตรา เปลือกหอย แมลง แร่ธาตุและ
วัตถุมงคล ฯลฯ
(๓) การสะสมต้องมีปริมาณพอสมควร ซึ่งจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ

แหล่งอ้างอิง
- ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘























การสะสม

การสะสม หมายถึง การเก็บรวบรวมสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง ไว้เป็นจํา นวนมาก
ซึ่งการเก็บรวบรวมสิ่งของนั้น จะเป็นการเก็บตั้งแต่หนึ่งชิ้น  และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โดยการเก็บนั้นจะเกิดจากการชอบหรือแรงบันดาลใจ ของผู้เก็บรวบรวมสิ่งของนั้นๆ
โดยสิ่งของที่เก็บรวบรวมหรือที่สะสมนั้น   มีความหมายต่อผู้ที่เก็บรวบรวมทั้งสิ้น
เช่น การสะสมของเล่น การสะสม  พระเครื่อง การสะสมแสตมป์ เป็นต้น

ที่มาภาพ https://teen.mthai.com/variety/73284.html

1. การสะสมตราไปรษณียากร
ตราไปรษณียากร ได้แก่ ดวงตราไปรษณียากร รอยประทับจาก
เครื่องประทับไปรษณียากร ดวงตราไปรษณียากรที่พิมพ์บนไปรษณีบัตร หรือ
จดหมายไปรษณีย์อากาศ  ตราไปรษณียากรยังไม่มีรอยประทับใดๆ ใช้ในการชําระค่าไปรษณียากร
หรือค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ได้ เราจะซื้อตราไปรษณียากรได้จากที่ทํา การ
ไปรษณีย์ ที่ทําการไปรษณีย์โทรเลข ที่ทําการไปรษณีย์อนุญาต ที่รับส่งไปรษณีย์
และรับจํา หน่ายตราไปรษณียากรตามราคาที่ระบุไว้ ในการจ่าหน้าซองจดหมาย
และใช้ตราไปรษณียากร ควรแบ่งพื้นที่หน้าซองออกเป็นส่วนๆ เพื่อใช้ประโยชน์
ต่างๆ กัน  ดวงตราไปรษณียากร หรือที่เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “แสตมป์” นั้น
นอกจากจะใช้ผนึกบนซองจดหมาย บนห่อ หรือบนซองไปรษณียภัณฑ์ และ
พัสดุไปรษณีย์แล้ว ยังเป็นที่นิยมสะสมกันอย่างแพร่หลาย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดํา รัส
ไว้ในคํา นํา หนังสือตํา นานไปรษณีย์ไทย พ.ศ. 2379 - 2486 ของนายอาณัฐชัย
รัตตกุล ว่า
“ผู้ใหญ่มักจะสนับสนุนให้เด็กๆ สะสมแสตมป์ เพราะจะช่วยให้เด็ก
เป็นคนประณีต รู้จักความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม แสตมป์ที่สะสมจาก
ต่างประเทศทํา ให้รู้จักชื่อประเทศต่างๆ นอกจากนั้นภาพที่พิมพ์อยู่บนแสตมป์
ยังให้ความรู้รอบตัวอีกหลายด้าน”
ดังนั้น การสะสมแสตมป์จึงเป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจและมีประโยชน์
นอกจากเราจะนิยมสะสมดวงตราไปรษณียากร หรือแสตมป์ (Stamp)
แล้ว ยังมีผู้นิยมสะสมรอยประทับบนแสตมป์ไปรษณียบัตร ตลอดจนจดหมาย
ไปรษณีย์อากาศรุ่นต่างๆ ดังนั้น นอกจากการสะสมแสตมป์ให้ครบชุด เราอาจจะ
สะสมและศึกษาตราไปรษณียากรในรูปแบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบ

2. การสะสมพระเครื่อง
การสะสมพระ หรือเล่นพระ จะต้องมีองค์ประกอบ ๔ ถึง คือ ต้อง เงินถึง
บุญถึง ตาถึง และ ใจถึง หมายถึง
องค์ประกอบแรกต้อง เงินถึง คือ ต้องมีเงินก่อน เพราะพระเครื่องเป็นวัตถุมงคลที่มีราคาค่างวดสูง
องค์ประกอบที่สอง บุญถึง คือ มีบุญวาสนาได้พบพระแท้ องค์ประกอบที่สาม
ตาถึง คือ ต้องดูพระเป็น หากดูพระไม่เป็น ต้องดูเจ้าของพระให้เป็น และองค์ประกอบสุดท้าย
ใจถึง คือต้องกล้าที่จะจ่ายเงิน ตามที่เจ้าของพระต้องการ ถึงจะมีสิทธิได้ครอบครองพระ
หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน ๔ อย่างนี้แล้ว ก็หมดสิทธิ์หมดจะได้ครอบครองพระ
นี่คือ ปรัชญาในการสะสมพระเครื่องพระบูชา ที่ยึดถือกันมานานปี
ที่มาภาพ http://xn--42cg3buvwecdb4ic7a5dvb7jyf.com/?p=54


แนวทางเก็บสะสมพระแบบมือสมัครเล่นหรือมือใหม่
ยุคสมัยนี้วงการนักนิยมสะสมพระเครื่องก้าวหน้าก้าวไกล ด้วยอุปกรณ์ไฮเทค ที่ให้การเข้าถึง
สังคมและวงการพระเครื่องดูง่ายดาย สะดวกสะบายกว่ารุ่นเก่ามากมายลูกหลานเด็กเล็กวัยรุ่นหนุ่มสาว
พกกล้องส่องพระ ถือแท็บเล็ต เดินสนามพระกันจ้าละหวั่นแผงพระเดี๋ยวนี้มีสาวๆหน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มพราว
มานั่งขายพระกันมากมายบ่งบอกให้รู่ว่าวงการพระเครื่องยังเฟื่องฟูเอาการทีนี้เรามาดูกันว่าหากเราจะเก็บ
สะสมพระ เราควรเริ่มและมีวิธีเก็บอย่างไร ( เอาแบบมือสมัครเล่น)
1.ต้องรู้จักตรวจสอบราคาความเคลื่อนไหว ไม่ว่าพระเก่าพระใหม่ที่เราสนใจ ให้มีข้อมูลที่แน่นๆหน่อย
หาดูตามอินเทอร์เน็ต หรือกระดานประมูลต่างๆ พระใหม่ก็ดูหน้ากระดานจองพระใหม่
2.ต้องไม่โลภมาก และคิดให้รอบครอบค่อยเป็นค่อยไป ต้องเช่าให้ได้ พระแท้เท่านั้น
ซึ่งถ้าซื้อพระเก่า ต้องซื้อกับผู้ที่เชื่อถือได้ หรือประมูลจากเว็ปไซต์แล้วส่งตรวจสอบ
แต่ถ้าดูเป็นจนมีความชำนาญก็ลุยโลด

วิธีเก็บสะสมพระแบบมือสมัครเล่นให้เก็บแบบนี้
1. เช่าซื้อแต่ละครั้งเช่าเข้าเป็นเซ็ต เซ็ตละ 3 องค์ (สามชุด)
2.เมื่อมีโอกาสขายได้กำไร + 20% ให้ขายออกทันที 2 ชุด เก็บไว้ 1 ชุด
ตัวอย่าง
ซื้อพระเข้า 1 เซ็ท 3 องค์ 3000 บาท องค์ละ 1000 บาท
เมื่อมีคนมาขอซื้อในราคาบวก 20 % ขายออกทันที 2 ชุด ก็จะได้เงินมา เท่ากับ 2400 บาท
กำไร 400 บาท องค์ที่เหลือราคาเช่าเข้ามา 1000 บาท ได้กำไรสององค์ที่แล้ว 400 บาท
เท่ากับองค์ที่เหลือทุนแค่ 600 บาท  เอาเก็บขึ้นดอยไว้ก่อนก็ได้ เพราะต้นทุนเราถูกจากเขาขายพันนึง
เราซื้อได้ 600 เอง ซึ่งหากให้สวยงามละก็ ขาย 2 องค์ให้ได้ทุนคืน แล้วกับองค์ที่เหลือแบบได้เปล่าไว้
จะสุดยอดมากๆ จะเห็นว่า หากเราซื้อพระเพื่อสะสม แล้วเราซื้อมาเป็นเซ็ต เราขายสองส่วน
เพื่อเก็บส่วนที่เหลือไว้ ทำให้ต้นทุนที่เราเก็บ ลดลง เราก็จะเก็บพระแบบมีแบบแผน
มีต้นทุนที่ถูกกว่าคนอื่นที่ไม่ทำเหมือนเรา
3.การซื้อเข้าในครั้งต่อไปก็ทำเหมือนเดิมไปเรื่อยๆ เราก็จะมีพระแท้ต้นทุนถูกเก็บไว้
มากมาย เมื่อถึงเวลาคับขัน ต้องขาย เราก็จะได้เปรียบ เพราะเรามีต้นทุนถูกกว่าคนอื่น






3. การสะสมเหรียญ (เหรียญสะสม)
ไม่ว่าจะเป็นเหรียญสะสมเหรียญที่ระลึก เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
ทั้งยุคเก่าและยุคปัจจุบัน เป็นที่นิยมกว้างขวางมากขึ้นในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะการสะสมเหรียญกษาปณ์
ในยุคปัจจุบันเท่านั้น เพราะการสะสมเหรียญในยุคก่อนจะต้องศึกษาหาความรู้อีกมาก รวมทั้งราคาสูง
และมีของปลอมอยู่มากด้วย เหรียญในปัจจุบันพอจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

ที่มาภาพ  https://pantip.com/topic/32445184

1. เหรียญกษาปณ์ คือ เหรียญที่มีราคาอยู่บนหน้าเหรียญ ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน คือ เหรียญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีราคา 1/5/10/25/50 สตางค์ 1/2/5/10 บาท
1.2 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก คือ เหรียญที่ผลิตขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง ๆ มีหลายราคาตั้งแต่
1 สตางค์ ถึง 16,000 บาท และมีทั้งชนิดไม่ขัดเงา และ ขัดเงา(รวม หนาพิเศษ/โฮโลแกรม/ลงสี)
2. เหรียญที่ระลึก คือ เหรียญที่ผลิตขึ้นในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ไม่มีราคาบนเหรียญ ใช้ชำระหนี้ไม่ได้
เราควรกำหนดเป้าหมายไว้ก่อนว่าจะสะสมเหรียญอะไรบ้าง แล้วจึงหาซื้อหาแลกให้ครบ
เหรียญที่เหมาะกับการเริ่มต้นสะสมคือเหรียญ 10 บาท โลหะสองสี และเหรียญ 20 บาท นิเกิล
เพราะเป็นเหรียญรุ่นใหม่ยังออกมาไม่นานและจำนวนผลิตค่อนข้างมาก หาได้ไม่ยากนัก
ราคาก็ไม่สูงด้วย เมื่อเก็บสะสมได้ครบแล้วก็ลองหาเหรียญ 1 บาท 2 บาท และ 5 บาท
ซึ่งเป็นชุดที่ไม่มีการออกเหรียญใหม่มากว่าสิบปีแล้ว แต่ละชุดราคาก็ไม่สูงนัก
จากนั้นค่อยเล็งไปที่เหรียญ 10 บาท นิเกิล ซึ่งมีหลายเหรียญที่หายากและราคาสูง
คงต้องค่อย ๆ เก็บสะสมตามกำลัง แต่ถ้ามีทุนทรัพย์มากพอซื้อเป็นชุดได้ก็จะถูกกว่าตามเก็บทีละเหรียญ
ที่สำคัญต้องแลกเหรียญออกใหม่เก็บไว้ก่อน จะได้ไม่ต้องตาหาทีหลังอีก
    การสะสมเหรียญเงินและเหรียญทองคำ ต้องใช้เงินสูงมาก ถ้าจะสะสมควรเริ่มจากเหรียญออกใหม่ที่แลกได้ในราคาจ่ายแลกก่อน แล้วจึงค่อยตามหาเหรียญอื่น ๆ ตามกำลังต่อไปส่วนเหรียญขัดเงา นอกจากผลิตน้อย
หายาก ราคาสูงแล้ว ยังเก็บรักษายากกว่าเหรียญไม่ขัดเงาอีกด้วย แต่เหรียญขัดเงาก็มีความสวยงามกว่า
สำหรับเหรียญหมุนเวียน ส่วนใหญ่ก็ยังมีราคาไม่สูงนัก เนื่องจากจำนวนผลิตมาก ก็ค่อย ๆ
เก็บจากเหรียญที่ผลิตใหม่ก่อน แล้วค่อยตามหาเหรียญเก่า ๆ ต่อไปอย่าลืมว่าเหรียญใหม่ ๆ
มีออกมาอยู่เรื่อย ๆ และ เราอาจจะเจอเหรียญที่ตามหาได้ทุกเมื่อ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ ออมเงินเผื่อไว้เป็นการล่วงหน้าเสมอ

หาซื้อเหรียญได้ที่ไหน
สำนักกษาปณ์มีบริการ จำหน่ายเหรียญที่ระลึก หน่วยงานแลกเหรียญ

ราคาตลาดของเหรียญ
พอจะแบ่ง "ราคา" ออกได้เป็น
ราคาหน้าเหรียญ คือราคาที่ปรากฎอยู่บนเหรียญ เป็นมูลค่าที่กฎหมายรับรองให้ใช้ชำระหนี้ได้
ราคาจ่ายแลก คือราคาที่ทางราชการนำออกให้ประชาชนแลก โดยปกติจะจ่ายแลกในราคาหน้าเหรียญ
ยกเว้นเหรียญขัดเงา จะจ่ายแลกในราคาสูงกว่าราคาหน้าเหรียญ แต่ก็ใช้ชำระหนี้ได้เพียงราคาหน้าเหรียญเท่านั้น
ราคาตลาด คือราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด มักจะมีราคาสูงกว่าราคาจ่ายแลก
ราคาที่แสดงไว้ เป็นราคาตลาดโดยประมาณเท่านั้น ราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ลองนำราคาต่อชุด หารด้วย จำนวนเหรียญในชุด จะได้ราคาขายปลีกต่อเหรียญโดยประมาณ
ราคาขายปลีกของแต่ละเหรียญมักขึ้นกับจำนวนผลิต
เหรียญที่ผลิตปี 2525 ถึง 2530 มักมีจำนวนผลิตน้อย ราคาจึงสูงกว่าปีอื่น ๆ
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 1 บาท 16 แบบ ราคาประมาณ 300 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 2 บาท 41 แบบ ราคาประมาณ 300 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 5 บาท 16 แบบ(ไม่รวม สยามินทร์) ราคาประมาณ 800 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 10 บาท นิเกิล 46 แบบ ราคาประมาณ 3,500 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 10 บาท นิเกิล ขัดเงา 33 แบบ ราคาประมาณ 22,000 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 10 บาท สองสี 54 แบบ(รวม 50 ปี สนง.วิจัยฯ) ราคาประมาณ 900 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 20 บาท นิเกิล 46 แบบ(รวม 9 รอบนักษัตร สมเด็จย่า) ราคาประมาณ 1,500 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 20 บาท นิเกิล ขัดเงา 39 แบบ(รวม 9 รอบนักษัตร สมเด็จย่า) ราคาประมาณ 13,000 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 50 บาท นิเกิล 5 แบบ(รวม 100 ปี นายเรือ) ราคาประมาณ 350 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 50 บาท นิเกิล ขัดเงา 1 แบบ ราคาประมาณ 800 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 100 บาท นิเกิล 2 แบบ ราคาประมาณ 300 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 100 บาท นิเกิล ขัดเงา 2 แบบ ราคาประมาณ 1,200 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 5 บาท 50 พรรษา ในหลวง "สยามินทร์" ราคาประมาณ 700 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 5 บาท 75 ปี ลูกเสือโลก ราคาประมาณ 400 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 10 บาท 75 ปี ลูกเสือโลก ราคาประมาณ 600 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 10 บาท ปีต้นไม้ ราคาประมาณ 1000 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 20 บาท 100 ปี หอสมุดฯ ราคาประมาณ 350 บาท
ขอบเหรียญ

แหล่งอ้างอิง
- ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
- http://pramoonpraonline8.blogspot.com
- http://www.royalthaimint.net
- หนังสือเหรียญกษาปณ์ไทย พ.ศ. 2550 โดย วีรชัย สมิตาสิน

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้