Translate

หน้าเว็บ

21 ตุลาคม 2561

โครงการฝึกอบรมนายหมู่

งาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ  2553
( 1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2553 )

ชื่องาน/โครงการ    โครงการอบรมผู้นำเยาวชนในสถานศึกษาหลักสูตร  “ การฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือ ”
พันธกิจที่  2     เสริมสร้างให้นักเรียนเป็นคนดี  มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ในสังคม
ได้อย่างมีความสุข

แผนงาน     งานบริหารงานวิชาการ

สนองนโยบาย     มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน   ด้านบริหารและการจัดการศึกษามาตรฐาน
คุณภาพการศึกษา  ขอบข่ายด้านผู้เรียน  มาตรฐานที่ 1 ตัวชี้วัด  1.1 – 1.6

ลักษณะโครงการ     ใหม่

หลักการและเหตุผล
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช    ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันที่ 11 ธันวาคม 2512              มีใจความว่า    “ การลูกเสือนั้นเป็นกิจการที่ผู้ใหญ่จัดขึ้นสำหรับเด็ก เพื่อซักจูงและฝึกฝนให้เติบโตเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ และเป็นผู้สามารถเหมาะสมที่จะอยู่ในสังคม ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจและเป็นที่หวังว่า ต่อไปข้างหน้าลูกเสือจะเป็นคนสำคัญของชาติ คือจะเป็นผู้บริหารปกครองบ้านเมืองได้ ขอให้ลูกเสือทราบถึงสิ่งสำคัญในการปกครองไว้ว่า     ในบ้านเมืองนั้น  มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด  การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย  จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี  ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ  ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ”     ลูกเสือทุกคนจงหมั่นฝึกฝนตนเองให้มาก    เพื่อให้พร้อมและให้เหมาะแก่การภาระหน้าที่อันจะมีมาข้างหน้านั้น ” พระวรวงค์เธอ  พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ทรงให้ทัศนะการลูกเสือว่า    “วิชาลูกเสือคือวิชาจรรยาภาคปฎิบัติ Practical ethies นั้นเอง ”และนายอภัย จันทวิมล  ได้ให้ทรรศนะลูกเสือว่า “ การลูกเสือมีส่วนช่วยในการฝึกอบรมในโรงเรียน และสามารถอุดช่องโหว่ในหลายจุดซึ่งในบรรดาหลักสูตรทั่วไปไม่มี  กล่าวคือ การลูกเสือคือโรงเรียนสอนวิชาหน้าที่พลเมืองด้วยการใช้ความรู้ในเชิงพราน ”
นางกษมา   วรวรรณ ณ อยุธยา      ได้พูดถึงลูกเสือว่า ปัจจุบันจำนวนประชากรลูกเสือมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ   ในทุกประเทศ จึงควรมีการพัฒนาวิชาการเยาวชนหรือกิจกรรมลูกเสือให้น่าสนใจ  แท้จริงแล้วเด็กๆ สนใจกิจกรรมรูปแบบเดิมๆ เช่น การผจญภัย  และการเดินทางไกล ไม่จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเสริมมากนัก   แต่ควรมีแรงจูงใจ ให้ลูกเสือพัฒนาตนเองระดับ King Scout หรือมีคะแนนจากการทำความดี ซึ่งใช้ได้ในการเรียนต่อและทำงาน
จากพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช   ทรรศนะบุคลสำคัญเรื่องลูกเสือและการฝึกเยาวชนแล้ว จะเห็นได้ว่าการฝึกอบรมเยาวชน          ซึ่งเยาวชนเป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศชาติ การฝึกอบรมสามารถสร้างให้เยาวชนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ  มีความรับผิดชอบ รู้จักการร่วมทำกิจกรรมต่างๆของสังคมและประเทศในอนาคตได้ หน่วยงานทางการศึกษาจึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และจริยธรรม ปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นการพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงควบคู่ไปกับการพัฒนาจริยธรรม
ในปัจจุบันเยาวชนของชาติมีปัญหาที่สมควรได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษอยู่หลายประการ    โดยเฉพาะในด้านการสร้างเจตคติและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการดำรงความเป็นไทย ความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย    การพัฒนาบุคลิกภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันต่อสภาพแวดล้อมและสังคมที่ไม่พึงประสงค์ ตลอดจนปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม    ยุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเยาวชน โดยการฝึกอบรมโดยใช้วิธีการและกระบวนการทางลูกเสือ คือยึดคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ การเรียนรู้ด้วยการกระทำ    ใช้ระบบหมู่และกลุ่มย่อย การทดสอบความก้าวหน้าตามลำดับขั้น มีเครื่องหมายวิชาพิเศษ ฝึกอบรมตามความสนใจของผู้เรียน การใช้เพลง การเล่นและการเล่านิทาน  ประกอบในการฝึกอบรมลูกเสือ เน้นการฝึกทักษะการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ธรรมชาติศึกษา เป็นส่วนใหญ่
โดยการฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือนั้น     เป็นการสร้างผู้นำเยาวชนให้มีความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และจริยธรรม ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนทางวิชาการในโรงเรียน   ตลอดจนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้ได้ผู้นำเยาวชนที่เป็นต้นแบบที่ถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนเยาวชนในวัยเดียวกัน    รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักทำงานเป็นระบบหมู่ บำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่น มีความรักและความสามัคคี ความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย    เป็นผู้มีบุคลิกภาพ คุณธรรมและจริยธรรมงดงาม



วัตถุประสงค์
  1. เพื่อฝึกอบรมพัฒนาผู้นำเยาวชนเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่“นายหมู่ลูกเสือ”
  2. เพื่อพัฒนาผู้นำเยาวชนให้มีความสามัคคี รู้จักบทบาทหน้าที่ รักหมู่คณะ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือสังคม
  3. เพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
  4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำเยาวชน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักการแก้ปัญหาและปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
  5. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นำเยาวชนได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง เสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตให้กับตนเอง
  6. เพื่อฝึกให้รู้จักเสียสละ และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม


เป้าหมาย  
ด้านปริมาณ
      นายหมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนลองวิทยาและโรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่บริการ                        ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 จำนวน 8 หมู่ หมู่ละ 8 นาย รวมจำนวน 64 นาย
ด้านคุณภาพ
1.  รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ แบ่งงานกันทำและรับผิดชอบร่วมกัน
2.  มีความสามัคคีพร้อมเพรียง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3.  เพื่อสร้างเสริมทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.  รู้จักหน้าที่และการปฏิบัติงานของนายหมู่ลูกเสือ

พื้นที่ดำเนินการ
โรงเรียนลองวิทยา   และโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ

ระยะเวลาดำเนินการ  
ระหว่างวันที่  28 - 30 ตุลาคม  2552

การดำเนินการ
ขั้นตอน/กิจกรรม
ระยะดำเนินการ
งบประมาณ
ขั้นการเตรียมการ
  1. สำรวจจำนวนลูกเสือ ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม/เตรียมการ
  2. จัดทำโครงการฝึกอบรม
  3. เตรียมโครงการขออนุมัติจากโรงเรียน

กันยายน 2552
กันยายน 2552
กันยายน 2552

ขั้นดำเนินการ
  1. เสนอโครงการต่อโรงเรียน
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
  3. สรุปจำนวนลูกเสือ ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม
  4. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
  5. ดำเนินงานตามโครงการ

กันยายน 2552 มิถุนายน 2553
มิถุนายน 2553
กรกฏาคม 2553
กรกฏาคม 2553

ขั้นติดตามผล
  1. สำรวจข้อมูลความสำเร็จของการฝึกอบรมหลักสูตร           “นายหมู่ลูกเสือ”
  2. สรุปผล  ประเมินผล
  3. รายงานการฝึกอบรมต่อโรงเรียน

สิงหาคม 2553

สิงหาคม 2553
สิงหาคม  2552


เนื้อหาสาระ  ( การฝึกอบรมในโครงการ )
1.  กลุ่มสัมพันธ์,การบันเทิงในกองลูกเสือ
2.  บทบาทของนายหมู่ลูกเสือ
3.  การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานของกองลูกเสือ
4.  วินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
5.  ทักษะภาคปฏิบัติวิชาลูกเสือ (บุกเบิก-เครื่องยึดเหนี่ยว)
6.  การสาธิตการอยู่ค่ายพักแรม
  1. คำปฏิญาณและกฏของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
  2. การผจญภัย
  3. การวางแผนกำหนดการ
  4. การบริหารหมู่ลูกเสือ และกองลูกเสือ
  5. กิจการลูกเสือโลกและลูกเสือไทย
  6. แผนที่-เข็มทิศ ,การเดินทางไกล
  7. ความรับผิดชอบและทักษะของภาวะการเป็นผู้นำหมู่
  8. เกมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
  9. การชุมนุมรอบกองไฟ

งบประมาณ 5,000  บาท
รายละเอียดประกอบการเสนอของบประมาณ
ลำดับที่
รายการ
จำนวนเงิน
1
ค่าเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่ม วิทยากรและนายหมู่ลูกเสือ จำนวน 64  คนๆ
-
2
จัดซื้อวัสดุฝึกงานภาคปฏิบัติ เช่น พิธีเปิด-ปิด   จัดทำฐานผจญภัย, จัดหารางวัลชนะเลิศแต่ละ กิจกรรมของผู้เข้าฝึกอบรม,  เครื่องหมายวิชาพิเศษ
5,000


หน่วยงานรับผิดชอบ  
กิจกรรมลูกเสือ , ฝ่ายปกครองโรงเรียน

ผู้รับผิดชอบโครงการ  
นายวีระชัย     จันทร์สุข
  ผู้กำกับ , รองผู้กำกับโรงเรียนลองวิทยา


การประเมินผล
1.  สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เข้ารับการฝึกอบรม
2.  ใช้แบบประเมินผล  การฝึกปฏิบัติจากการอบรม รายงานผลการฝึกอบรมต่อโรงเรียน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นายหมู่ลูกเสือ จำนวน 64   คน มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เพิ่มขึ้น
  2. นายหมู่ลูกเสือ จะเป็นผู้มีระเบียบวินัย ทั้งต่อตนเองและสังคม
  3. นายหมู่ลูกเสือทุกคนเป็นผู้รู้จักการเสียสละ และบำเพ็ญประโยชน์แก่ส่วนรวม


































ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้