Translate

หน้าเว็บ

29 สิงหาคม 2562

CPR

CPR (CARDIO PULMONARY RESUSCITATION)

การช่วยเหลือผู้ป่วยหยุดหายใจ

        เหตุฉุกเฉิน เหตุการณ์ที่เราต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า   บ้างครั้งมิได้ตั้งตัว

อาจะเป็นขณะตอนที่เราทำงาน หรือเดินทางไปพบเจอเหตุการณ์ในชีิวิตประจำวัน  

เมื่อเราพบเจอผู้ป่วยที่รอขอความช่วยเหลือ  ผู้ป่วยที่มีชีวิตกำลังแขวนอยู่บนเส้นด้าย   

ลมหายใจรวยรินอ่อนบาง หัวใจเต้นเบาจนแทบจะหยุดเต้น    ผู้ป่วยที่รอความหวัง

ให้ผู้ที่มีความรู้มีทักษะมาช่วยชีวิตเขาได้  ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์    

แต่ท่านก็สามารถช่วยชีวิตคนเหล่านี้ได้จากการCPRการปั๊ม

หัวใจ

  เมื่อพบเหตุฉุกเฉิน เหตุการณ์ที่เราต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าใช้ 5ปช่วยชีวิต

( ป1- ประเมิน, ป2-ปลุก, ป3-ประกาศ, ป4-ปั๊ม, ป5-เป่า)

CPR คืออะไร?

       เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะหยุดหายใจ หรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้น

 ให้กลับมาหายใจ หรือลมหายใจไหลเวียนได้ตามปกติ     พื้นฐานของการทำ CPR 

อยู่ที่ C-A-B (อัพเดทในปี 2010 จาก A-B-C) ได้แก่

C – COMPRESSION กดหน้าอก เพื่อนวดหัวใจภายนอก

A – AIRWAYS เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง โดยการตั้งศีรษะของผู้ป่วยให้ตรง

 แล้วเชยคางขึ้นเล็กน้อย

B – BREATHING ช่วยหายใจด้วยการประกบปาก แล้วเป่าลมเข้าไป

    ความสำคัญของการทำ CPR ตอนนี้อยู่ที่การปั๊มหัวใจที่ต้อง  ทำให้ถูกต้อง 

และทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนไปเกิน 4 นาที สมองอาจเสียหายได้


เมื่อไรถึงควรทำ CPR?

       เราสามารถเข้าไปทำ CPR ให้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อนหรือหยุดหายใจ

หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว เช่น จมน้ำ หัวใจวาย 

สำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ อุบัติเหตุต่างๆ


การใช้ 5ป ช่วยชีวิต

( ประเมิน, ปลุก, ประกาศ, ปั๊ม, เป่า)

1. ประเมิน  ประเมินสถานการณ์อย่างมีสติ

  ตรวจดูความปลอดภัยบริเวณรอบๆ ตัวผู้ป่วย เช่น มีของแหลมคม มีกระแสไฟฟ้า

 มีน้ำมัน มีไฟ หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ หรือไม่ ถ้าดูไม่ปลอดภัย อย่าเพิ่งเข้าไป 

หรือเรียกกู้ภัยมาช่วยเหลือ

2. ปลุก ปลุกเรียกผู้ป่วย

    หากสถานที่รอบๆ ผู้ป่วยปลอดภัยดี ให้เข้าไปหาผู้ป่วยทำการยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติ

จริง โดยการตีที่ไหล่แล้วเรียกด้วยเสียงดัง 4-5 ครั้ง หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัวอยู่ หายใจเองได้ 

ให้จับนอนตะแคง ไม่ทำ CPR ขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติ

3. ประกาศ   โทรแจ้ง 1669 

หากไม่ได้สติ ไม่ลืมตาจริงๆ และหยุดหายใจ ให้รีบโทรหา 1669 เช่นกัน

 แจ้งทีมงานว่าผู้ป่วยไม่ได้สติ หยุดหายใจ ให้นำเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิด

อัตโนมัติ หรือ AED มาด้วย

4. ปั๊ม   เริ่มCPR

  เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่ง

ตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) 

และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร 

ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที   สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลงได้

5. เป่า กดหน้าอกสลับกับการเป่าปากช่วยหายใจ

ควรทำ CPR ต่อไปเรื่อยๆ อาจกดหน้าอกสลับกับการเป่าปากช่วยหายใจได้ 

โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับมาเป่าปากช่วยหายใจ 2 ครั้ง

 เมื่อไรควรหยุดทำ CPR?

ควรทำ CPR ไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมกู้ภัย หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่จะมา 

แล้วเข้าช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED อีกครั้ง ก่อนนำส่งโรงพยาบาล


ทำไมถึงทำ CPR ไม่สำเร็จ?

อาจเป็นเพราะกดหน้าอกเบาไป ช้าไป กดไม่ตรงจุด หรือเข้าไปช่วยเหลือ

เพื่อทำการปั๊มหัวใจช้าเกินไปตั้งแต่แรกอย่างไรก็ตาม ระหว่างการทำ CPR 

เราควรเรียกคนมาช่วย รีบโทร 1669 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่เร็วที่สุด 

หากสามารถนำส่งโรงพยาบาลด้วยตัวเองได้ ก็สามารถทำ CPR ระหว่าง

นำส่งโรงพยาบาลได้เช่นกัน


แหล่งอ้างอิง

http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=654

https://docs.google.com/document/d/1JVtK9IF9956wfxlwpFRqcMYh_EJyTHGzVhkcA8Eqhnc




ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้