Translate

หน้าเว็บ

9 ตุลาคม 2562

พระยาหิรัญสูร

พระยาหิรัญสูร
  ท้าวหิรัญพนาสูร หรือ ท้าวหิรัญฮู เป็นเทพที่ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ (ประพฤติในทางที่ดีงาม)
คอยติดตามป้องกันภัยอันตรายไม่ให้มากล้ำกรายรัชกาลที่ 6 และข้าราชบริพารที่อารักขา
มีผู้เคยเห็นร่างท่านเป็นยักษ์ดุร้ายน่าเกรงขาม แต่ในยามปกติเล่ากันว่า ท่านท้าวหิรัญฮู
นั้นเป็นเทพที่มีรูปงามเลยทีเดียว รัชกาลที่ 6 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงสื่อกับบรรดา
"โอปปาติกะ" หรือ "วิญญาณ" ได้บ่อยครั้ง ซึ่งผู้เขียนเคยนำมาเล่าให้ฟังแล้วว่าครั้งหนึ่ง
พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นผู้ที่ตายแล้วมาหา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมา
จึงดูคล้ายกับว่าพระองค์ทรงมี "สัมผัสที่ 6" ในทางเร้นลับไม่น้อย




  ในเรื่องของ "ท้าวหิรัญพนาสูร" เทพผู้อารักขารัชกาลที่ 6 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสมัย ร.ศ. 126
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองลพบุรี
เมื่อครั้งที่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ในคืนวันเสด็จประพาสคืนหนึ่ง มีผู้ตามเสด็จท่านหนึ่ง
ได้มีนิมิตฝันประหลาดเห็นชายหุ่นล่ำสันใหญ่โตมาหา บอกว่าชื่อ "หิรัญ" เป็นอสูรชาวป่า
ที่มานี่จะมาบอกว่า ต่อแต่นี้เขาจะคอยตามเสด็จล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ไม่ว่าจะประทับอยู่ที่ใด
เขาจะคอยดูแลและระวังภัยไม่ให้เกิดขึ้นกับพระองค์ท่านได้ เมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงทราบเหตุการณ์ในฝัน
จึงทรงมีพระราชดำรัสให้จุดธูปเทียน จัดเตรียมอาหารเซ่นสังเวย "ท้าวหิรัญฮู"
ในป่าเมืองลพบุรีนั้นทันที และทุกครั้งไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปแห่งหนใด ในเวลาค่ำถึงยามเสวย
พระองค์จะมีพระราชดำรัสให้จัดอาหารเซ่นสังเวย "ท้าวหิรัญฮู" ทุกครั้งไป


และเมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ก็ยังทรงระลึกถึง "ท้าวหิรัญฮู" อยู่เสมอ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหลวงมาหล่อรูปท้าวหิรัญฮูด้วยทองสัมฤทธิ์ จากนั้นก็โปรดเกล้าฯ
ให้ข้าราชบริพารจัดเครื่องเซ่นสังเวย และเชิญ "ท้าวหิรัญฮู" เข้าสถิตในรูปหล่อนั้น พระราชนามให้ว่า
"ท้าวหิรัญพนาสูร" แต่งองค์ทรงเครื่องสวมชฎาแบบโบราณ มีไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ


มหาดเล็กคนสนิทของรัชกาลที่ 6 ผู้หนึ่ง คือ "จมื่นเทพดรุณทร" ท่านผู้นี้ได้เล่าให้ข้าราชบริพารฟังต่อ ๆ
กันมาว่า "ในหลวง (ร.6) ทรงเรียกท้าวหิรัญพนาสูรว่า "ตาหิรัญฮู" ซึ่งคนในวังสมัย ร.6 จะรู้ถึงกิตติศัพท์
ของ "ตาหิรัญฮู" ดีว่าสำแดงเดชและอภินิหารอย่างไรบ้าง จึงเล่ากันปากต่อปากเรื่อยมา
อย่างเรื่องแรกเกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปท้าวหิรัญพนาสูร
โดยให้พระยาอาทรธรศิลป์ (ม.ล.ช่วง กุญชร) เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีมิสเตอร์แกลเลตตี
นายช่างชาวอิตาเลี่ยนที่มาทำงานในกรมศิลปากรเป็นผู้หล่อ เมื่อหล่อเสร็จก็จะยกขึ้นตั้งบนฐาน
ในพระราชวังพญาไท มิสเตอร์แกลเลตตีก็เอาเชือกผูกคอท้าวหิรัญฮูชักรอกขึ้นไป
เสร็จแล้วมิสเตอร์แกลเลตตีก็ป่วยกะทันหันทำงานไม่ได้ เพราะคอเคล็ดโดยไม่รู้สาเหตุ
พอพระยาอาทรไปเยี่ยม ท่านพอจะรู้สาเหตุจึงบอกว่าคงเป็นเพราะเอาเชือกไปผูกคอรูปหล่อท้าวหิรัญฮู
ให้เอาดอกไม้ ธูป เทียนไปขอขมาเสีย เมื่อนายช่างชาวอิตาเลี่ยนทำตามคอที่เคล็ดจึงกลับมาเป็นปกติ
อย่างอัศจรรย์


  กับอีกเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับ "ท้าวหิรัญพนาสูร" ที่เล่ากันมา เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 6 สวรรคตแล้ว
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ต่อ วันหนึ่งพระองค์ได้เสด็จฯ
ตรวจรถยนต์พระที่นั่ง ซึ่งเป็นพระราชมรดก โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ
กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เสด็จไปด้วย กรมหมื่นฯ ท่านนี้ได้กราบทูลขอรถยนต์คันหนึ่ง
ซึ่งมีรูปท้าวหิรัญฮูติดอยู่ด้วย ซึ่งรัชกาลที่ 7
ก็พระราชทานให้ เล่ากันว่าเมื่อเอารถกลับไปไว้ที่วังสี่แยกหลานหลวง คืนนั้นก็นอนไม่หลับ
ได้ยินเสียงกุกกัก ๆ ในโรงเก็บรถทั้งคืน ครั้นลุกไปดูก็ไม่เห็นมีอะไร จึงคิดว่าอาจเป็นเสียงหนู
แต่ขณะที่กำลังคิดในทางที่ดีก็ต้องสะดุ้งสุดตัว เพราะจู่ ๆ ไฟในโรงรถก็เกิดสว่างจ้าขึ้นมาเฉย ๆ
ทั้ง ๆ ที่โรงรถปิดอยู่ จึงเรียกคนขับรถและมหาดเล็กไปช่วยกันดู แต่พอเปิดประตูโรงเก็บรถก็ต้องใจหาย
เป็นครั้งที่ 2 เพราะไม่มีใครอยู่ในนั้นเลย และยังน่าสงสัยที่เห็นรถจอดขวางโรง
ซึ่งแต่แรกไม่ได้จอดในลักษณะนี้ จึงต้องช่วยกันกลับรถจอดใหม่ จากนั้นรุ่งขึ้น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
ต้องจัดเครื่องเซ่นสังเวยท้าวหิรัญฮูเพื่อขอขมา และไม่กล้าใช้รถพระราชทานคันนั้นอีกเลย


ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้