Translate

หน้าเว็บ

23 ธันวาคม 2562

การเตรียมตัวการเดินทางไกลและแรมคืน


บทที่ 2
การเตรียมตัวการเดินทางไกลและแรมคืน

                การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อที่จะให้สัมฤทธิผลของการเรียนนั้น  ผู้กำกับจะต้องพิจารณานำลูกเสือ-เนตรนารี        ในกองของตนได้ออกไปปฏิบัติกิจกรรมการ
เดินทางไกลและแรมคืน  (พักแรม) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละครั้งจะนำลูกเสือ-เนตรนารีไปนั้นจะต้องมีการนอนค้างคืน อย่างน้อย  1  คืน  หรือ  2  คืน  แต่ผู้กำกับลูกเสือจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเดินทางไกล และแรมคืน (พักแรม)  ให้คณะผู้กำกับลูกเสือและลูกเสือได้ทราบถึง

วัตถุประสงค์ในการเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม)
1. เพื่อฝึกความอดทนอยู่ในระเบียบวินัยเสริมสร้างสุขภาพพลานามัย
2. เพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นซึ่งตรงกับความต้องการของลูกเสือ
3. เพื่อทดสอบวิชาลูกเสือและเรียนวิชาลูกเสือเพิ่มเติม
4. เพื่อสร้างเจตนารมณ์ความเป็นครอบครัวเดียวกัน
5. เพื่อรู้จักช่วยเหลือตัวเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
6. เพื่อฝึกให้เด็กให้ปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

การอยู่ค่ายพักแรม
                                ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะนำลูกเสือ-เนตรนารี           ในกองลูกเสือของตนไป
เดินทางไกลและแรมคืน    (พักแรม)   จะต้องให้ลูกเสือ-เนตรนารี   ได้รู้ความหมาย  ของการอยู่ค่าย
พักแรม  ดังนี้
                                การเดินทางไกล    หมายถึง    การให้ลูกเสือเดินทางไกลตามแผนที่ที่กำหนด   หรือเดินทางไกลไปตามคำสั่งอาจจะเป็นการเดินด้วยเท้าหรือยานพาหนะ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จักรยานหรือจักรยานยนต์  เป็นต้น
                                การอยู่ค่ายพักแรม    หมายถึง      การออกไปตั้งที่พักแรมหรือหยุดพักนอนแรมคืนชั่วคราว  เพื่อปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกเสือจากที่ตั้งกลุ่มกอง  ไปยังที่ใดที่หนึ่งที่ได้กำหนดไว้เพื่อฝึกอบรมหรือทดสอบความรู้ความสามารถในวิชาการลูกเสือให้สมบูรณ์ตามหลักสูตร
                                การอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ  เป็นกิจกรรมที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง  การฝึกอบรมให้เกิดการพัฒนาอยู่ค่ายพักแรม  ลูกเสือทุกคนควรจะได้เตรียมการล่วงหน้าในสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

1. การเตรียมตัวของลูกเสือ
การฝึกหัดการอยู่ค่ายพักแรม  การฝึกนี้ควรจะเริ่มตั้งแต่ฝึกปฏิบัติการประกอบ
อาหารฝึกการกางเต็นท์ การสร้างสุขาภิบาลภายในค่าย หรือแม้แต่การก่อไฟ และการปฐมพยาบาลเพื่อจะได้เกิดความชำนาญเมื่อเวลาไปอยู่ค่ายพักแรมจริง ๆ
                การศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ก่อนการไปอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารีควรจะได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งต่าง ๆ     เช่น     การศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี      และวัฒนธรรมของท้องถิ่นศึกษาการผูกเงื่อนต่าง ๆ การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการอยู่ค่ายพักแรม
การเตรียมพร้อมในเรื่องวัสดุอุปกรณ์อยู่ค่ายพักแรมการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารี    เป็นการใช้ชีวิตแบบชาวป่าในระยะหนึ่ง ซึ่งกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น นอนกับพื้นดินภายในเต็นท์ อุปโภคบริโภคด้วยสิ่งที่หาได้ง่าย ๆ นำพาไปสะดวกประกอบอาหารด้วยการต้ม ย่าง เผา  แต่การอยู่ค่ายพักแรมจะมีลักษณะเด่นชัดเป็นเอกลักษณ์ของลูกเสือ-เนตรนารี   ก็คือ    การทำกิจกรรม    การรักษาระเบียบวินัย  การสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับท้องถิ่น   และการอนุรักษ์ธรรมชาติ

 

2. อุปกรณ์อยู่ค่ายพักแรมที่ลูกเสือ-เนตรนารี   จะต้องเตรียมพร้อม  แบ่งออกได้ดังนี้

1.             อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
2.             อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง
3.             อาหารและยา
4.             อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ
1.  อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
1.             เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี    
2.              ชุดลำลอง
3.             ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัว,  ผ้าห่มกันหนาว
4.             เครื่องสำอาง (สบู่,หวี,กระจก,แปรงและยาสีฟัน)
5.             ไปฉายเดินทาง
6.             เชือกประจำตัว
7.             กระติกน้ำประจำตัว
8.             มีดประจำตัว
9.             อุปกรณ์การบริโภค (จาน, ช้อน, กระบอกน้ำ)
10.      สมุดบันทึก,ปากกา,ดินสอ
11.      รองเท้าแตะ
12.      ยากันยุงควรเป็นชนิดทา
13.      ยาประจำตัว
14.      เสื้อกันฝน
2.  อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง  ได้แก่
                1.  ธงประจำหมู่
                2.  เต็นท์บุคคล  และเต็นท์ประกอบงาน
                   3.  ภาชนะประกอบอาหารเท่าที่จำเป็น
                   4.  พลั่วสนาม หรือจอบ
5.  มีดถางหญ้า  หรือขวาน
6.  เชือกขนาดต่าง ๆ
                7.  เครื่องดนตรี       
                8.  ผ้าใบหรือผ้าพลาสติกกันแดดและรองนั่ง
                9.  ไม้ขีด, เทียนและเชื้อเพลิง
3.  อาหารและยาต่าง ๆ  (3 วัน  2  คืน) ได้แก่ ข้าวสาร
1.             อาหารกระป๋อง
2.             เนื้อสัตว์ที่รวน หรือ ย่างไว้แล้ว
3.             น้ำพริกที่ปรุงแล้ว
4.             น้ำปลาหรือเกลือ
5.             หัวหอม หัวกระเทียม พริก
6.             น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำส้ม
7.             ผัก ผลไม้
4. อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม อื่นๆ   เตรียมการแสดง
อุปกรณ์กิจกรรมชุมนุมรอบกองไฟ เสียง แสง โต๊ะ เก้าอี้ กองไฟ
อุปกรณ์กิจกรรมเสี่ยงภัย เชือกขนาดต่าง ๆ มีด ขวาน ค้อน ตะปู ไม้ไผ่
อุปกรณ์ทดสอบวิชาพิเศษ แผนที่เข็มทิศ เชือก บทเพลง เอกสารหนังสือคู่มือ
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการอยู่ค่ายพักแรม
มีด  มีดที่นำไปอยู่ค่ายพักแรมมี 2 ประเภท
มีดเล็ก  ได้แก่ มีดพกประจำตัว มีดที่ใช้ทำครัว
มีดใหญ่  ได้แก่  มีดโต๊ะ มีดดายหญ้า มีดพร้าถาง เป็นมีดที่มีความจำเป็นในการอยู่ค่ายพักแรมเป็นอย่างมาก
ขวาน  ขวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ขวานไทย  มีทั้งขวานใหญ่และขวานเล็ก
ขวานฝรั่ง  มีทั้งขบวนใหญ่และขวานเล็ก
จอบ  เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในการอยู่ค่ายพักแรม
ประโยชน์ใช้สอย  ใช้ในการปรับพื้นที่ ขุดตอไม้ ขุดรางระบายน้ำรอบเต็นท์ ขุดหลุมเปียก
หลุมแห้ง ขุดส้วม สร้างเตา
เสียม  เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่ง การใช้เช่นเดียวกับจอบ แต่ส่วนมากจะใช้ขุดหลุมเพียงอย่างเดียว
เลื่อย  เลื่อยที่มีอยู่หลายชนิด  เช่น
เลื่อยลันดา  ใช้ประโยชน์ในการเลื่อยกิ่งไม้ใหญ่ เลื่อยไม้ไผ่  เพื่อสร้างอุปกรณ์
การอยู่ค่ายพักแรม
                เลื่อยธนู  วิธีใช้เช่นเดียวกับเลื่อยลันดา

3. การรู้จักเลือกเส้นทาง
                ลูกเสือจะต้องมีความรู้ในวิชาแผนที่ สามารถอ่านแผนที่ได้ โดยที่รู้ว่า   สัญลักษณ์   ภูเขา
แม่น้ำ   ทะเล   ลำคลอง   หนองบึง   โบสถ์   เป็นต้น

4. การเลือกสถานที่ตั้งค่าย
                ลูกเสือจะต้องรู้จักวิธีเลือกสถานที่ตั้งค่าย คือ ต้องเป็นที่ราบพอสมควรใกล้แหล่งน้ำไม่ห่างไกลหมู่บ้านมากนัก  เป็นบริเวณที่มีที่กว้างพอสมควร  อากาศถ่ายเทสะดวก  และสามารถประกอบกิจกรรมของวิชาลูกเสือได้เป็นอย่างดี  ถ้าเป็นไปได้ควรจะใกล้สถานที่ที่มีอาคารใหญ่พอที่จะเข้าไปอาศัยได้ถ้าเกิดมีฝนตกอย่างหนัก เช่น โรงเรียน หรือ ศาลาวัด เป็นต้น

5.   รู้จักการทำอุปกรณ์การเดินทางไกล
                ลูกเสือจะต้องมีความรู้ในการกางเต็นท์ รู้จักทำถุงต่าง ๆ สำหรับบรรจุอาหาร  ตลอดทั้งอุปกรณ์การอยู่ค่ายพักแรม เช่น เตาลอย เครื่องคว่ำถ้วยชาม ที่เก็บแก้วน้ำ และการตกแต่งค่ายพักแรม

6.   การรู้จักรักษาอนามัย และการใช้รองเท้า
                เรื่องสุขภาพอนามัย เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการเดินทางไกลจะต้องรักษาให้ดีการเดินทางมาเหนื่อย ๆ อย่าอาบน้ำโดยทันทีเป็นอันขาด
                การใช้รองเท้า      ในการเดินทางไกล      มีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรู้จักใช้ให้เหมาะกับลักษณะของพื้นที่   การเดินทางไกลในพื้นที่ราบเรียบ     ใช้รองเท้าผ้าใบได้     แต่ถ้าเดินทางไปใน
ในสถานที่ที่ภูมิประเทศขรุขระ  ต้องใช้รองเท้าที่มีพื้นแข็ง  เช่น  รองเท้าหนัง  เป็นต้น

ตัวอย่างคำสั่งการเดินทางไกล

จุดเริ่มต้น
                ให้ท่านนำสมาชิกในหมู่ของท่านไปตามลูกศรชี้ทิศทางจนถึงจุดที่ 1 และรายงานตัวต่อวิทยากรประจำฐานเพื่อปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย
                                                                                                               

จุดที่  1
ให้ท่านนำสมาชิกในหมู่ของท่านไปรับใบงานจากคนหาปลา


คนหาปลา
ให้ท่านนำสมาชิกในหมู่ของท่านเดินทางไปตามลูกศรชี้ทิศทางจนถึงจุดที่ 2 และรายงานตัวต่อวิทยากรเพื่อรับใบงานชุดต่อไป

***  ฐานบทบาทสมมุติลูกเสือไม่รายงาน   รับคำสั่งอย่างเดียว

จุดที่  2
ให้ท่านนำสมาชิกในหมู่ของท่านเดินทางไปตามลูกศรชี้ทิศทาง  จนถึงจุดที่  3  และรายงานตัวต่อวิทยากรประจำฐานเพื่อปฏิบัติกิจกรรมและรับใบงานชุดต่อไป


จุดที่  3
ให้ท่านนำสมาชิกในหมู่ของท่านเดินทางต่อไปตามลูกศรชี้ทิศทาง จนถึงจุดที่  4  และรายงานตัวต่อวิทยากรเพื่อปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย






หนังสืออ้างอิง
คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, สำนักงาน.  พลศึกษา, กรม. ฝ่ายฝึกอบรมลูกเสือแห่งชาติ.
คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้ชั้นสูง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
การศาสนา.  ..2522
สวาท  แดงประเสร็ฐ.  คู่มือเตรียมลูกเสือ-เนตรนารี วิสามัญ 1-2. กรุงเทพ : โรงพิมพ์พรานนก
การพิมพ์,  ..2531
กวี  พันธุ์เชาวน์ และคณะ. คู่มือลูกเสือ-เนตรนารี สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ..2535



















ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้