การบวงสรวง และ ถวายผลไม้ ร.๖
การจัดเครื่องบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ตามธรรมเนียมซึ่งถือปฏิบัติกันมักจะใช้เครื่องคู่ กล่าวคือ ของต่างๆ ซึ่งจัดถวายนั้น จัดเป็นจำนวนคู่ เช่น ไก่ต้ม ๒ ตัว หัวหมู ๒ หัว ส้ม ๒ พาน เป็นต้น การบวงสรวงเช่นนี้ ก็มักจะกระทำในพิธีการใหญ่ๆ ก่อนเริ่มงานชุมนุมลูกเสือ
สำหรับงานพิธีของลูกเสือ เช่น พิธีถวายราชสดุดี หรือการตั้งที่บูชาพระบรมรูปในการเข้าค่าย โดยปกติ ก็มักจะไม่มีการตั้งเครื่องสังเวย หรือตั้งพระกระยาหารถวาย
สำหรับก่อนการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ต่้างๆ ก็นิยมบวงสรวงก่อนเริ่มกิจกรรม ตั้งบูชาพระบรมรูปในการเข้าค่ายการฝึกอบรม อาจจะจัดผลไม้ 9 อย่างตามเหมาะสมที่เป็นมงคล ๙ อย่าง เช่น ส้ม แอปเปิล สาลี่ ทับทิม องุ่น ลิ้นจี่ กล้วย สับปะรด มะพร้าว
ให้นำของไหว้ทั้งหมดวางไว้บนพานหันหน้าเข้าหาบรมรูป จุดธูปเทียน พร้อมคำกล่าว...........
วันนี้วันดีมีการฝึกอบรม เราจะทำการขอขมากรรมแก่ท่าน หากมีสิ่งใดที่ได้ทำผิดพลาดไป ตั้งใจก็ดีไม่ตั้งใจก็ดี ทั้งที่รู้และไม่รู้ก็ดี ขอท่านเมตตาและอโหสิกรรมให้ และโปรดช่วยให้การฝึกอบรมเรียบร้อยด้วยดี (ขอพรต่างๆ ตามที่ใจปรารถนา)
ปักธูปเสร็จ........ รอจนธูปดับจนหมดแล้วค่อยทำการขอพร กล่าวคำลาของไหว้ และกล่าวขอนำผลไม้ ไปทานเพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและผู้เข้าฝึกอบรมต่อไป
พิธีการที่มีพระบรมรูป ก็มีแต่เพียงพวงมาลาและเครื่องนมัสการเท่านั้น
ย้อนกลับไปพิจารณาถึงพระราชจริยาวัตร
พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าแล้ว พระองค์มิได้โปรดที่จะเสวยน้ำจัณฑ์ อย่างเหล้า เหล้าขาว หรือบรั่นดีอยู่เสมอตลอดเวลา มีแต่เพียงเหล้าชนิดที่เรียกว่า ค๊อกเทล ถ้วยเล็กๆ ที่ทอดถวายก่อนเวลาเสวย เพื่อเรียกน้ำย่อยตามแบบแผนการรับประทานอาหารของชาวตะวันตก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเสด็จฯ ออกสนามฝึกเสือป่า หรือเดินทางไกล ไม่เคยที่จะเสวยเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เลย มีเพียงเวลาเสวยพระกระยาหาร หรือการเลี้ยงรับรองต่างๆ ก็จะทรงดื่มบ้างแต่พอสมควรเท่านั้น โดยปกติ ข้าราชบริพารบันทึกไว้ว่า เสวยน้ำแร่ น้ำชา เป็นส่วนมาก บุหรี่ ก็มักจะไม่ค่อยทรงพร่ำเพื่อ ซิการ์ ก็มักจะทรงในเวลาการเลี้ยงที่มีอาคันตุกะต่างประเทศเท่านั้น พระกระยาหารก็เสวยอาหารไทยธรรมดา เช่น ยำไข่ปลาดุก น้ำพริกมะขาม ผักสด เป็นต้น และเครื่องหวานไทย เช่น กระท้อนลอยแก้ว มะตูมน้ำกะทิ หรือผลไม้ที่จัดเตรียมอย่างปราณีต (เช่น มะปรางปอกขึ้นริ้ว น้อยหน่าคว้านเมล็ด มะม่วงปอกไม่มีรอยมีดจัดเป็นคำ เป็นต้น) หากเสวยพระกระยาหารไทย ก็เสวยอย่างไทยประทับราบกับพื้น ใช้พระหัตถ์ในการเสวย หากเสวยเครื่องฝรั่ง ก็เสวยอย่างฝรั่งถูกต้องตามแบบแผนไม่ผิดเพี้ยน (ข้อมูลจาก ๑๐๐ ปีการลูกเสือไทย 100 years of Thai Scouting)
ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของพี่น้องลูกเสือ ในการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างไร
คำถวายเครื่องราชสักการะ
พระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
อิมัสมิง ทิสาภาเค อัตถิ ฉัฏฐะมะหาราชา มะหิทธิโก อัมเห อะนุรักขะตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง โภชะนัง ปะริภุญชะตุ ฉัฏฐะมะหาราชา สัพพะโทสัง ขะมะตุ โนฯ
ข้าพระพุทธเจ้า…………………………….ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องสักการะ มีโภชนาหารอันประณีต ประกอบด้วยรสอันเลิศนี้ แด่สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระองค์โปรดแผ่บุญญาภินิหาร อภิบาลข้าพเจ้า และบริวารชนให้ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยพาล ปราศจากอุปสรรคนานาประการ โปรดประทานพร ให้ประสบสันติสุข สิริสวัสดิ์พิพัฒนาพร งอกงามไพบูลย์ในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดทุกเมื่อเทอญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น