วัตถุประสงค์ของการลูกเสือ
แม้วัตถุประสงค์ของการลูกเสือจะพอเข้าใจกันดีบ้างแล้วสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการลูกเสือ ได้อ่านจากคู่มือผู้กำกับลูกเสือของคณะลูกเสืออเมริกัน (The Official Scoutmaster Handbook, Boy Scouts of America) มีคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงใคร่นำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
วัตถุประสงค์ของการลูกเสือ สรุปได้ 3 ประการ คือ
1. สร้างลักษณะนิสัย Building Character
2. ส่งเสริมการเป็นพลเมืองดี Fostering Citizenship
3. พัฒนาสมรรถนภาพทางใจ ศีลธรรมและร่างกาย Developing Mental, Moral, and Physical Fitness
ลักษณะนิสัย
คำว่า”นิสัย” หมายความว่า ความประพฤติที่เคยชิน “ลักษณะนิสัย” หมายถึง นิสัยใจคอ ดังนั้น การสร้างลักษณะนิสัยจึงหมายถึงการฝึกอบรมบ่มนิสัยใจคอเด็กให้เป็นคนดี เช่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ไม่เย่อหยิ่งหรืออวดดี
- เป็นผู้ที่ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
- รู้จักรักษาร่างกาย และแต่งกายให้สะอาดและสุภาพเรียบร้อยพอเหมาะแก่กาลเทศะ ซึ่งเป็นการแสดงว่า รู้จักนับถือตนเอง
- พัฒนาตนเองให้มีทักษะ หรือความชำนิชำนาญเป็นพิเศษในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ตนใฝ่ใจเป็นการใช้พลังและพัฒนาความสามารถตลอดจนความเชื่อมั่นในตนเอง
- รู้จักรักษาตนเองในเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
- สามารถวางแผนและใช้สติปัญญาแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน
- กล้าผจญกับสถานการณ์ที่ยุ่งยาก
- รู้จักรับผิดชอบในเรื่องที่ตนได้สัญญาไว้กับตนเองและผู้อื่น
- เป็นผู้มีศาสนาและปฏิบัติตามพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ
- เคารพศาสนาของผู้อื่นที่ไม่เหมือนกับของตน
ในเรื่องนี้ เราจะหวังให้เด็กทุกคนมีลักษณะนิสัยดังกล่าวข้างต้นอย่างสม่ำเสมอในทันทีทันใดมิได้ แต่ผู้กำกับลูกเสือก็ควรคำนึงถึงเรื่องต่างๆ เหล่านี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการฝึกอบรมลูกเสือในกองของตน
การเป็นพลเมืองดี
เด็กควรจะรู้หน้าที่ของตนที่พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น ต่อท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ และต่อรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่บริหารกิจการบ้านเมือง
ความมุ่งหมายของการลูกเสืออย่างหนึ่ง คือฝึกอบรมเด็กให้เกิดความรู้สึกว่า คนเราต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน และอาศัยซึ่งกันและกัน เด็กที่อยู่ในวัยลูกเสือนั้น เมื่อก่อนเป็นลูกเสือจะนึกถึงตนเองเป็นใหญ่ แต่เมื่อเข้าเป็นลูกเสือแล้วจะค่อยๆ มองเห็นว่า ในการดำรงชีวิตของตนเองจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่น และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่นในการอยู่ค่ายพักแรม เด็กจะได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์จากการไปพักแรมกับกลุ่มหรือหมู่ลูกเสือ โดยอาศัยกฎของลูกเสือและระเบียบต่างๆที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
การฝึกอบรมเด็กให้เป็นพลเมืองดีนี้ถ้าได้ผลสมความมุ่งหมาย จะสังเกตเห็นได้จากความประพฤติของเด็ก เช่นในเรื่องต่อไปนี้
- สำนึกถึงมรดกที่บรรพชนได้สร้างสมไว้ให้คนรุ่นหลัง และรู้สึกภูมิใจที่ตนเองได้เกิดมาเป็นคนไทย
- เข้าใจวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถชักชวนผู้อื่นให้ร่วมมือกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
- มีความเห็นอกเห็นใจ และสนใจในสภาพความเป็นอยู่ของผู้อื่น
- มีความรู้พอสมควรเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสภาพความเป็นอยู่ของบุคคลที่นับถือศาสนาหรือมีวัฒนธรรมไม่เหมือนกับตน
- รู้จักแนวการบริหารส่วนท้องถิ่น และเข้าใจเรื่องราวซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำลังปฏิบัติอยู่
- เข้าใจและนับถือบุคคลในท้องถิ่นที่มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างกัน
- มีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่
- รู้จักใช้ทรัพย์สินของตนเองด้วยความระมัดระวังและเคารพสิทธิของผู้อื่น
- รู้จักหลีกเลี่ยงการเชิญชวนของเพื่อนในเรื่องการสูบบุหรี่ บริโภคยาเสพติด การเสพสุราเมรัยและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- พยายามแสวงหาช่องทางสำหรับการประกอบอาชีพ และงานอดิเรกของตนเอง
สมรรถภาพ
สมรรถภาพของคนเราอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
1. สมรรถภาพทางกาย Physical Fitness
2. สมรรถภาพทางใจ Mental Fitness
3. สมรรถภาพทางศีลธรรม Moral Fitness
4. สมรรถภาพทางอารมณ์ Emotional Fitness
สมรรถภาพทางกาย
เป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย การลูกเสือมีกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งกิจกรรมกลางแจ้งและกิจกรรมภายในอาคาร ที่เป็นการส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย เช่น
- ส่งเสริมสุขนิสัย คือกินอาหารเป็นเวลาอย่างเรียบร้อย ออกกำลังกายทุกวันและนอนหลับอย่างเพียงพอ
- ประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้กำลังกาย กล้ามเนื้อ และความอดทนพอสมควร
- ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายมีการประสานงานกัน
- รักษาน้ำหนักของตนให้อยู่ภายในขอบเขตที่สมควร คือไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป
สมรรถภาพทางใจ
หมายถึงสมรรถภาพทางสมอง ได้แก่การใช้สมองในทางที่ถูกที่ควร ข้อที่พึงสังเกตในเรื่องนี้คือ เด็กที่ฉลาดบางคนอาจใช้สมองของตนในเรื่องที่ไร้สาระ ตรงกันข้าม เด็กที่ไม่ฉลาดอาจทำงานได้ผลเพราะรู้จักใช้สมองและความอุตสาหะในการทำงานให้ได้ผลดีสมความคาดหมาย หรือเกินความคาดหมาย
เด็กที่สมรรถภาพทางสมอง คือ เด็กที่รู้จักใช้สมองให้เป็นประโยชน์ในการทำงานซึ่งจะสังเกตเห็นได้จาก
- ความกระฉับกระเฉง ว่องไว และมีไหวพริบ
- สามารถให้และรับข้อความต่างๆ เช่นสามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจ และสามารถเข้าใจเรื่องที่ผู้อื่นพูด
- รู้จักคิดและตัดสินใจอย่างถูกต้อง
- สามารถแก้ปัญหาโดยใช้สติปัญญาของตนเอง หรือโดยการศึกษาหาความรู้จากผู้อื่น
สมรรถภาพทางศีลธรรม
เรื่องนี้เป็นเรื่องยากกว่าเรื่องอื่นๆ เพราะความคิดของบุคคลไม่เหมือนกัน ดังนั้นเรื่องที่เห็นว่าถูกผิดชอบแล้วแต่พื้นเพ และการศึกษาอบรมของบุคคลแต่ละคน อย่างไรก็ดี การพิจารณาสมรรถภาพทางศีลธรรมของเด็กอาจสังเกตได้จากเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ เช่น
- เคารพสิทธิของผู้อื่น
- มีความเห็นอกเห็นใจในความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
- ยอมรับว่าผู้อื่นมีคุณค่าและศักดิ์ศรีเช่นเดียวกับตน
สมรรถภาพทางอารมณ์
การลูกเสือช่วยเด็กให้เข้าใจตนเองและรู้จักควบคุมอารมณ์ของตน กล่าวคือ
- รู้จักปรับตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่หรือที่กำลังเปลี่ยนไป
- สามารถบังคับใจตนเองและควบคุมอารมณ์ของตน
- เคารพตนเอง
- มีเจตนคติในทางสร้างสรรค์ และกระตือรือร้นในการประกอบคุณงามความดี
แม้วัตถุประสงค์ของการลูกเสือจะพอเข้าใจกันดีบ้างแล้วสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการลูกเสือ ได้อ่านจากคู่มือผู้กำกับลูกเสือของคณะลูกเสืออเมริกัน (The Official Scoutmaster Handbook, Boy Scouts of America) มีคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงใคร่นำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
วัตถุประสงค์ของการลูกเสือ สรุปได้ 3 ประการ คือ
1. สร้างลักษณะนิสัย Building Character
2. ส่งเสริมการเป็นพลเมืองดี Fostering Citizenship
3. พัฒนาสมรรถนภาพทางใจ ศีลธรรมและร่างกาย Developing Mental, Moral, and Physical Fitness
ลักษณะนิสัย
คำว่า”นิสัย” หมายความว่า ความประพฤติที่เคยชิน “ลักษณะนิสัย” หมายถึง นิสัยใจคอ ดังนั้น การสร้างลักษณะนิสัยจึงหมายถึงการฝึกอบรมบ่มนิสัยใจคอเด็กให้เป็นคนดี เช่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ไม่เย่อหยิ่งหรืออวดดี
- เป็นผู้ที่ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
- รู้จักรักษาร่างกาย และแต่งกายให้สะอาดและสุภาพเรียบร้อยพอเหมาะแก่กาลเทศะ ซึ่งเป็นการแสดงว่า รู้จักนับถือตนเอง
- พัฒนาตนเองให้มีทักษะ หรือความชำนิชำนาญเป็นพิเศษในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ตนใฝ่ใจเป็นการใช้พลังและพัฒนาความสามารถตลอดจนความเชื่อมั่นในตนเอง
- รู้จักรักษาตนเองในเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
- สามารถวางแผนและใช้สติปัญญาแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน
- กล้าผจญกับสถานการณ์ที่ยุ่งยาก
- รู้จักรับผิดชอบในเรื่องที่ตนได้สัญญาไว้กับตนเองและผู้อื่น
- เป็นผู้มีศาสนาและปฏิบัติตามพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ
- เคารพศาสนาของผู้อื่นที่ไม่เหมือนกับของตน
ในเรื่องนี้ เราจะหวังให้เด็กทุกคนมีลักษณะนิสัยดังกล่าวข้างต้นอย่างสม่ำเสมอในทันทีทันใดมิได้ แต่ผู้กำกับลูกเสือก็ควรคำนึงถึงเรื่องต่างๆ เหล่านี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการฝึกอบรมลูกเสือในกองของตน
การเป็นพลเมืองดี
เด็กควรจะรู้หน้าที่ของตนที่พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น ต่อท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ และต่อรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่บริหารกิจการบ้านเมือง
ความมุ่งหมายของการลูกเสืออย่างหนึ่ง คือฝึกอบรมเด็กให้เกิดความรู้สึกว่า คนเราต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน และอาศัยซึ่งกันและกัน เด็กที่อยู่ในวัยลูกเสือนั้น เมื่อก่อนเป็นลูกเสือจะนึกถึงตนเองเป็นใหญ่ แต่เมื่อเข้าเป็นลูกเสือแล้วจะค่อยๆ มองเห็นว่า ในการดำรงชีวิตของตนเองจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่น และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่นในการอยู่ค่ายพักแรม เด็กจะได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์จากการไปพักแรมกับกลุ่มหรือหมู่ลูกเสือ โดยอาศัยกฎของลูกเสือและระเบียบต่างๆที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
การฝึกอบรมเด็กให้เป็นพลเมืองดีนี้ถ้าได้ผลสมความมุ่งหมาย จะสังเกตเห็นได้จากความประพฤติของเด็ก เช่นในเรื่องต่อไปนี้
- สำนึกถึงมรดกที่บรรพชนได้สร้างสมไว้ให้คนรุ่นหลัง และรู้สึกภูมิใจที่ตนเองได้เกิดมาเป็นคนไทย
- เข้าใจวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถชักชวนผู้อื่นให้ร่วมมือกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
- มีความเห็นอกเห็นใจ และสนใจในสภาพความเป็นอยู่ของผู้อื่น
- มีความรู้พอสมควรเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสภาพความเป็นอยู่ของบุคคลที่นับถือศาสนาหรือมีวัฒนธรรมไม่เหมือนกับตน
- รู้จักแนวการบริหารส่วนท้องถิ่น และเข้าใจเรื่องราวซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำลังปฏิบัติอยู่
- เข้าใจและนับถือบุคคลในท้องถิ่นที่มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างกัน
- มีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่
- รู้จักใช้ทรัพย์สินของตนเองด้วยความระมัดระวังและเคารพสิทธิของผู้อื่น
- รู้จักหลีกเลี่ยงการเชิญชวนของเพื่อนในเรื่องการสูบบุหรี่ บริโภคยาเสพติด การเสพสุราเมรัยและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- พยายามแสวงหาช่องทางสำหรับการประกอบอาชีพ และงานอดิเรกของตนเอง
สมรรถภาพ
สมรรถภาพของคนเราอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
1. สมรรถภาพทางกาย Physical Fitness
2. สมรรถภาพทางใจ Mental Fitness
3. สมรรถภาพทางศีลธรรม Moral Fitness
4. สมรรถภาพทางอารมณ์ Emotional Fitness
สมรรถภาพทางกาย
เป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย การลูกเสือมีกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งกิจกรรมกลางแจ้งและกิจกรรมภายในอาคาร ที่เป็นการส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย เช่น
- ส่งเสริมสุขนิสัย คือกินอาหารเป็นเวลาอย่างเรียบร้อย ออกกำลังกายทุกวันและนอนหลับอย่างเพียงพอ
- ประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้กำลังกาย กล้ามเนื้อ และความอดทนพอสมควร
- ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายมีการประสานงานกัน
- รักษาน้ำหนักของตนให้อยู่ภายในขอบเขตที่สมควร คือไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป
สมรรถภาพทางใจ
หมายถึงสมรรถภาพทางสมอง ได้แก่การใช้สมองในทางที่ถูกที่ควร ข้อที่พึงสังเกตในเรื่องนี้คือ เด็กที่ฉลาดบางคนอาจใช้สมองของตนในเรื่องที่ไร้สาระ ตรงกันข้าม เด็กที่ไม่ฉลาดอาจทำงานได้ผลเพราะรู้จักใช้สมองและความอุตสาหะในการทำงานให้ได้ผลดีสมความคาดหมาย หรือเกินความคาดหมาย
เด็กที่สมรรถภาพทางสมอง คือ เด็กที่รู้จักใช้สมองให้เป็นประโยชน์ในการทำงานซึ่งจะสังเกตเห็นได้จาก
- ความกระฉับกระเฉง ว่องไว และมีไหวพริบ
- สามารถให้และรับข้อความต่างๆ เช่นสามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจ และสามารถเข้าใจเรื่องที่ผู้อื่นพูด
- รู้จักคิดและตัดสินใจอย่างถูกต้อง
- สามารถแก้ปัญหาโดยใช้สติปัญญาของตนเอง หรือโดยการศึกษาหาความรู้จากผู้อื่น
สมรรถภาพทางศีลธรรม
เรื่องนี้เป็นเรื่องยากกว่าเรื่องอื่นๆ เพราะความคิดของบุคคลไม่เหมือนกัน ดังนั้นเรื่องที่เห็นว่าถูกผิดชอบแล้วแต่พื้นเพ และการศึกษาอบรมของบุคคลแต่ละคน อย่างไรก็ดี การพิจารณาสมรรถภาพทางศีลธรรมของเด็กอาจสังเกตได้จากเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ เช่น
- เคารพสิทธิของผู้อื่น
- มีความเห็นอกเห็นใจในความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
- ยอมรับว่าผู้อื่นมีคุณค่าและศักดิ์ศรีเช่นเดียวกับตน
สมรรถภาพทางอารมณ์
การลูกเสือช่วยเด็กให้เข้าใจตนเองและรู้จักควบคุมอารมณ์ของตน กล่าวคือ
- รู้จักปรับตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่หรือที่กำลังเปลี่ยนไป
- สามารถบังคับใจตนเองและควบคุมอารมณ์ของตน
- เคารพตนเอง
- มีเจตนคติในทางสร้างสรรค์ และกระตือรือร้นในการประกอบคุณงามความดี
บทสรุป
การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังกล่าวข้างต้น จะต้องใช้เวลาฝึกอบรมนานพอสมควร การประกอบกิจกรรมเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้ง เช่นการเดินทางไกล การเล่นเกมหรือการประชุม เหล่านี้ แม้จะเป็นประโยชน์บ้างแต่ก็ยังไม่ก่อให้เกิดลักษณะนิสัย ความเป็นพลเมืองดีและสมรรถภาพในเรื่องต่างๆ เป็นการถาวร สมความมุ่งหมายอันแท้จริงของการลูกเสือ อย่างไรก็ดีผู้กำกับลูกเสือควรเอาใจใส่และหมั่นฝึกอบรมลูกเสือในกองของตนอย่างสม่ำเสมอ ตามหลักการดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เด็กที่เป็นลูกเสือให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และเป็นกำลังของชาติบ้านเมืองสืบไป
อนึ่ง ผู้กำกับลูกเสือควรจะถือว่าการลูกเสือเป็นการศึกษา และเป็นเรื่องสนุก คู่มือผู้กำกับลูกเสือของของคณะลูกเสืออเมริกัน เสนอแนะให้ใช้หลักสองประการในการวินิจฉัยกิจกรรมของลูกเสือกล่าวคือ
Is it fun for the boys ? If it is not , it is not Scouting.
Is it educational ? Does it lead boys to one or more of Scouting aims ? It may be run, but if it lacks this sense of purpose, it is not Scouting.
ซึ่งอาจแปลเป็นไทยพอได้ความว่า “กิจกรรมนั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็กหรือมิใช่ ถ้ามิใช่ กิจกรรมนั้นก็ไม่ใช่การลูกเสือ
กิจกรรมนั้นเป็นการศึกษาหรือมิใช่ กิจกรรมนั้นนำเด็กไปสู่วัตถุประสงค์ของการลูกเสือข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อหรือไม่ กิจกรรมนั้นอาจเป็นเรื่องสนุก แต่ถ้าไม่นำไปสู่วัตถุประสงค์ของการลูกเสือ กิจกรรมนั้นก็ไม่ใช่การลูกเสือ”
การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังกล่าวข้างต้น จะต้องใช้เวลาฝึกอบรมนานพอสมควร การประกอบกิจกรรมเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้ง เช่นการเดินทางไกล การเล่นเกมหรือการประชุม เหล่านี้ แม้จะเป็นประโยชน์บ้างแต่ก็ยังไม่ก่อให้เกิดลักษณะนิสัย ความเป็นพลเมืองดีและสมรรถภาพในเรื่องต่างๆ เป็นการถาวร สมความมุ่งหมายอันแท้จริงของการลูกเสือ อย่างไรก็ดีผู้กำกับลูกเสือควรเอาใจใส่และหมั่นฝึกอบรมลูกเสือในกองของตนอย่างสม่ำเสมอ ตามหลักการดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เด็กที่เป็นลูกเสือให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และเป็นกำลังของชาติบ้านเมืองสืบไป
อนึ่ง ผู้กำกับลูกเสือควรจะถือว่าการลูกเสือเป็นการศึกษา และเป็นเรื่องสนุก คู่มือผู้กำกับลูกเสือของของคณะลูกเสืออเมริกัน เสนอแนะให้ใช้หลักสองประการในการวินิจฉัยกิจกรรมของลูกเสือกล่าวคือ
Is it fun for the boys ? If it is not , it is not Scouting.
Is it educational ? Does it lead boys to one or more of Scouting aims ? It may be run, but if it lacks this sense of purpose, it is not Scouting.
ซึ่งอาจแปลเป็นไทยพอได้ความว่า “กิจกรรมนั้นเป็นเรื่องสนุกสำหรับเด็กหรือมิใช่ ถ้ามิใช่ กิจกรรมนั้นก็ไม่ใช่การลูกเสือ
กิจกรรมนั้นเป็นการศึกษาหรือมิใช่ กิจกรรมนั้นนำเด็กไปสู่วัตถุประสงค์ของการลูกเสือข้อหนึ่งข้อใดหรือหลายข้อหรือไม่ กิจกรรมนั้นอาจเป็นเรื่องสนุก แต่ถ้าไม่นำไปสู่วัตถุประสงค์ของการลูกเสือ กิจกรรมนั้นก็ไม่ใช่การลูกเสือ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น