รายวิชาที่ ๑.๓ การสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง
เวลา ๖๐ นาที
........................................................
ขอบข่ายวิชา
๑. หน้าที่ของพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒. การสร้างจิตสำนึก และวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
จุดหมาย
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองสำหรับลูกเสือจิตอาสา
พระราชทาน
วัตถุประสงค์ เมื่อจบบทเรียนนี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ
๑. ระบุวิธีการสร้างจิตสำนึกของลูกเสือจิตอาสาพระราชทานในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้
๒. ระบุความสัมพันธ์ระหว่างกิจการลูกเสือจิตอาสาพระราชทานกับความเป็นพลเมืองได้
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ฝึกและปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนด
สำหรับรายวิชา การสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง มีขั้นตอนการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้
๑. ขั้นนำ
ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
๒. ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
๒.๑ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชมวิดีทัศน์เพลง “พลเมืองเป็นใหญ่”
๒.๒ บรรยายเรื่อง “เราจะสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองให้กับลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
ได้อย่างไร” โดยวิทยากร ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และประธาน
คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
๒.๓ การเสวนา เรื่อง “เราจะสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองให้กับลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
ได้อย่างไร” โดยวิทยากรนำการเสวนา : ดร. ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
- คณะผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย ลูกเสือและเนตรนารี
๓. ขั้นสรุปและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
- ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ “เราจะสร้างจิตสำนึกความเป็น
พลเมืองให้กับลูกเสือจิตอาสาพระราชทานได้อย่างไร” คนละไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ A4 และส่งความคิดเห็นให้
ผู้อำนวยการฝึกหรือวิทยากรประจำกลุ่ม โดยผู้อำนวยการฝึกหรือวิทยากรประจำกลุ่มจะสรุปความคิดเห็นของ
ทุกคน จำนวน ๑ หน้า รวบรวมส่งไปยังสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรมต่อไป
- ทั้งนี้ หลังจบการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ผู้บริหารจัดการฝึกอบรมได้จัดให้มี
ระบบ ZOOM หรืออื่น ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน
สื่อการฝึกอบรม
- สื่อบุคคล
- วิดีทัศน์ เพลง “พลเมืองเป็นใหญ่”
- เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค
- เครื่องรับโทรทัศน์ หรือ เครื่องฉายโปรเจคเตอร์/ จอโปรเจคเตอร์
- ชุดเครื่องเสียงและลำโพง
ขั้นการประเมินผล
๑. ประเมินจากการมีส่วนร่วมรายบุคคล และการสะท้อนความคิดเห็น
๒. ประเมินจากการรายงานผลงานกลุ่ม
๓. อื่น ๆ ถ้ามี
สื่อประกอบอื่นๆ
รวบรวมและเรียบเรียงโดย…นายวีระชัย จันทร์สุข
รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์
วุฒิทางลูกเสือ L.T.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น