Translate

หน้าเว็บ

27 กุมภาพันธ์ 2565

บทเรียนที่๗สัญญาณไฟจราจรและสัญญาณนกหวีด

 บทเรียนที่ ๗

  ชื่อวิชา สัญญาณไฟจราจร สัญญาณจราจรและสัญญาณนกหวีด (๑) (๒) (๓)  เวลา ๒๔๐ นาที

ขอบข่ายรายวิชา

๑. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

๒. สัญญาณไฟจราจร สัญญาณจราจรและสัญญาณนกหวีดในการจราจร

จุดหมาย

  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

การใช้สัญญาณไฟจราจร มีทักษะในการใช้สัญญาณจราจรโดยใช้สัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด

วัตถุประสงค์

  เมื่อจบบทเรียนนี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมควรจะสามารถ

๑. บอกสัญญาณไฟจราจร สัญญาณจราจร และสัญญาณนกหวีดได้อย่างถูกต้อง

๒. อธิบายพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ได้อย่างถูกต้อง

๓. ฝึกปฏิบัติการใช้สัญญาณมือสัญญาณนกหวีดในการจราจรได้

๔. ดำเนินการจัดการจราจรโดยใช้สัญญาณมือสัญญาณนกหวีดได้

วิธีสอน/กิจกรรม

คาบที่ ๑

  ๑. นำเข้าสู่บทเรียน ๔๐ นาที เพลง/เกม

  ๒. บรรยายประกอบสื่อและวีดีทัศน์ เรื่องพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ๕๐ นาที

พ.ศ. ๒๕๒๒ การใช้สัญญาณไฟจราจร สัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด ในการจราจร

คาบที่ ๒

  อธิบาย สาธิตและฝึกภาคปฏิบัติการใช้สัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด ๙๐ นาที

ในการจราจร

คาบที่ ๓

  ๑. ฝึกทบทวนและทดสอบการใช้สัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด ๕๐ นาที

 ในการจราจร

  ๒. สรุปบทเรียน ๑๐ นาที

สื่อการสอน

๑. เพลง/เกม

๒. วีดีทัศน์เกี่ยวกับการจราจร

๓. Power Point เรื่อง การใช้สัญญาณไฟ สัญญาณมือ สัญญาณนกหวีดและเครื่องหมายจราจร

๔. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

การประเมินผล

๑. วิธีการวัดผล 

๑.๑ การทดสอบ

๑.๒ การปฏิบัติกิจกรรม

๒. เกณฑ์การประเมิน

๒.๑ ทดสอบผ่านร้อยละ ๖๐

๒.๒ ฝึกปฏิบัติสัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด

เอกสารอ้างอิง/แหล่งข้อมูล

๑. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ 

๒. คำสั่ง กองบังคับการตำรวจจราจร ที่ ๓๐๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557


ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้