Translate
หน้าเว็บ
- การบริหารในกองลูกเสือ
- ระเบียบข้อบังคับลูกเสือ
- ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
- หลักสูตรและการฝึกอบรม
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ตำแหน่งและคุณวุฒิผกก.ลส.
- หน่วยจิตอาสา
- หน่วยต้านภัยยาเสพติด
- หน่วยอาสา กกต.
- หน่วยพิทักษ์ป่า
- หน่วยมัคคุเทศน์
- หน่วยจราจร
- ลูกเสือดีเก่งสุข
- ลูกเสือมีจิตอาสา
- ลูกเสือมีเกียรติ
- ลูกเสือชาวบ้าน
- ชมรมลูกเสือ
- แผนจัดการเรียนรู้
- ขั้นตอนการสอนลูกเสือ
- พิธีเปิดประชุมกอง
- เพลง
- เกม
- วิธีและเทคนิคการฝึกอบรม10วิธี
- เรื่องสั้นที่เป็นคติ
- ระบบหมู่
- การจัดการค่าย
- SKILL
- การปฐมพยาบาล
- สังเกตจดจำ
- ระเบียบแถว
- กฏและคำปฏิญาณ
- นันทนาการ
- Gang Show
- พิธีรอบเสาธง
- ลูกเสือสำรอง
- ลูกเสือสามัญ
- ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
- ลูกเสือวิสามัญ
- ดาวดวงที่1
- ดาวดวงที่2
- ดาวดวงที่3
- ลูกเสือตรี
- ลูกเสือโท
- ลูกเสือเอก
- ลูกเสือโลก
- ลูกเสือชั้นพิเศษ
- ลูกเสือหลวง
- วิสามัญ1
- วิสามัญ2
- วิสามัญ3
- การตรวจประเมินขั้นที่5
- วันคล้ายวันสถาปนา
- วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
- คำกล่าวปราศัย
- บทความ
- เกี่ยวกับ
3 ตุลาคม 2562
2 ตุลาคม 2562
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา
การอภิปราย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.30-12.00น. โรงแรมริเวอร์ไซต์ บางพลัด กทม.
ขอบข่ายการนำเสนอรวม 4 ประเด็น
- ปัญหาของกิจการลูกเสือในภาพรวม คืออะไร ส่วนปัญหากิจการลูกเสือในสถานศึกษา อยู่ตรงไหนแน่ : ต้องแก้ให้ตรงจุด แก้ให้ทันเหตุการณ์
- วิธีแก้ไขมีแนวทางอย่างไร : ใครเป็นแก้ แก้ด้วยวิธีไหน มีตัวอย่างของคนอื่นหรือไม่
- จะขับเคลื่อนด้วยยุทธศาสตร์อย่างไร ให้งานเดิน
- หลักการจัดกิจกรรมลูกเสือที่เหมาะสม ทันสมัย
ประเด็นที่ 1. ปัญหาของกิจการลูกเสืออยู่ตรงไหนแน่ แก้ให้ตรงจุด แก้ให้ทันเหตุการณ์
– กิจกรรมลูกเสือมีมา 100ปี เป็นเรื่องดีแต่เก่าแล้ว เยาวชนรุ่นใหม่ไม่สนใจมากนัก มีสิ่งอื่นล่อใจเยาวชนเข้ามาแทน ผู้บริหารที่เก่งลูกเสือก็ทยอยเกษียณไป ผู้บริหารรุ่นใหม่ยังต้อเร่งพัฒนา หลักสูตรปรับตัวไม่ทัน เน้นเรื่องระเบียบวินัยมาก ยังขาดทักษะร่วมสมัย
ภาพลักษณ์กิจการลูกเสือในสายตาคนทั่วไป
• จุดแข็ง : ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตรที่เด็กต้องเรียน, ครอบคลุมพื้นที่, ให้โอกาสท้องถิ่น บนความหลากหลาย,ราคาถูก, ความร่วมมือทีมงาน
• จุดอ่อน : คุณภาพ , ความล้าสมัยของบุคลากรและเทคโนโลยี, หลักสูตร วิธีสอนยังเก่าไม่ ตรงความต้องการของเยาวชนรุ่นใหม่ , การเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารและสมาชิก, โครงสร้างการบริหารที่มีคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ สภาลูกเสือ และสำนักลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้การทำงานมีสองสายบังคับบัญชา ใครกันแน่เป็นผู้รับผิดชอบหากกิจการลูกเสือเกิดปัญหา
• ความเสี่ยง : สังคมเปลี่ยนแปลงเร็ว มีปัญหายาเสพติด สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ความยากจน วัฒนธรรม เทคโนโลยีการสื่อสาร โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้นมาก
• โอกาส : มีองค์กรลูกเสือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ มีกิจกรรมระดับโลกและทวีปทำให้ตื่นตัวได้แลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาของการลูกเสือในสถานศึกษา ที่สำคัญขึ้นกับ ความเข้มแข็งของระบบบริหารของคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติและสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คุณภาพและจำนวนครูผู้สอน และการดึงความสนใจให้เข้าร่วมกระบวนการลูกเสือของเยาวชนคนรุ่นใหม่
ประเด็นที่ 2. วิธีแก้ไขมีแนวทางอย่างไร : ใครเป็นแก้ แก้ด้วยวิธีไหนมีตัวอย่างของคนอื่นหรือไม่
2.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาลูกเสือไทย ได้ถูกกำหนดไว้แล้วโดย นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ และคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ
1) พัฒนาระบบบริหารจัดการ มุ่งเน้นการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับลูกเสือ ปรับปรุงกฎระเบียบของลูกเสือ
2) พัฒนาบุคลากร โดยนโยบายของ ศธ.ให้ทุกโรงเรียนมีการจัดตั้งกองลูกเสือ และจัดกิจกรรมลูกเสือร่วมกับลูกเสือทั้งในและนอกระบบรวมทั้งลูกเสือชาวบ้าน
3) พัฒนาหลักสูตรคู่มือลูกเสือ เพื่อให้มีการบูรณาการร่วมกับหลักสูตรการใช้การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง
4) พัฒนาภาคีเครือข่ายจัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายทั้งในและนอกประเทศ และ
5) พัฒนาลูกเสือไทยไปสู่สากล แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งจะมีโครงการลูกเสือชายแดนใต้ โครงการลูกเสือในภาคีเครือข่ายต่าง ๆ
6) พัฒนาลูกเสือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Cyber Scout)
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มีหรือไม่มียุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ดีหรือไม่ดี แต่อยู่ที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เป็นจริงมากกว่าปัจจัยอื่น คำถามคือ ใครทำ ทำอย่างไร
ประเด็นที่ 3. จะขับเคลื่อนด้วยยุทธศาสตร์อย่างไร ให้งานเดิน
3.1 ปัญหาสำคัญของการจัดทำแผน และแปลงแผนสู่การปฏิบัติ
- ขาดความรู้ความเข้าใจเริ่มต้นก็เหมือนสิ้นสุด
- ขาดข้อมูลที่ถูกต้อง เห็นข้อมูลไม่เท่ากัน วิเคราะห์ก็คลาดเคลื่อน
- ขาดการเชื่อมโยง ขาดความสัมพันธ์ ประสิทธิภาพลดลง
- ขาดการมีส่วนร่วมความมุ่งมั่นในการผลักดันแผนลดทอน
- ขาดใจที่มุ่งมั่น พลังจะถดถอย ทำงานจะไม่ต่อเนื่อง
- ขาดสำนึกอัตโนมัติแผนรุกจะกลายเป็นรับ
- ขาดความคิดสร้างสรรค์เหมือนต่อสู้กับคมอาวุธด้วยมือเปล่า
3.2 ความล้มเหลว : แผนยุทธศาสตร์จะทำงานไม่ได้ผล หาก
- องค์กรกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ จะต้องแก้ปัญหาหนักที่เผชิญเฉพาะ จะไม่สนใจแผนเพื่อการพัฒนา
- ผู้นำองค์กรขาดความชำนาญการ หรือไม่นำพา ที่จะสร้างแผน หรือผลักดันแผน
3.3 การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
- เสนอ/ขอรับนโยบายจากรมว.ศธ.ในส่วนของลูกเสือให้ชัดๆ
- วางแนวทางการนำนโยบายของรมว.ศธ.สู่การปฏิบัติ
- จัดพิมพ์ตัวนโยบายแจก
- การทำความเข้าใจผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ
- การกำหนดยุทธศาสตร์และจัดสรรปัจจัยทรัพยากร
- การกำหนดมาตรฐาน/ตัวชี้วัด
- แนวทางกำกับให้นโยบายสู่การปฏิบัติ
- การรายงานความก้าวหน้าและความสำเร็จ
3.4 การกำกับติดตามงานตามนโยบาย
- ติดตามข้อมูลเพื่อรวบรวมและประเมินสถานการณ์ล่าสุดของประเทศ
- ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ ค้นหาจุดดีจุดล้มเหลว
- สำรวจจำนวนตามดัชนีความสำเร็จที่กำหนดไว้
- ออกไปตรวจสอบจุดเสี่ยง/ มีหน่วยรับเบาะแส
- จัดทำรายงาน/แฟ้มประวัติบุคคล/สถานศึกษา แล้วเผยแพร่
- สังเคราะห์แล้วนำเสนอระดับนโยบาย ให้เป็นแนวปฏิบัติและแก้ไข
3.5 ปัญหาที่ ลูกเสือพึงระวังคือ การกำหนดวิสัยทัศน์และวางยุทธศาสตร์แล้วไม่เกิดผลจริง
- ยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจน แปลความได้หลายอย่างไม่ตรงกัน ไม่มีการสร้างความเข้าใจ หรือเขียนด้วยภาษาเชิงเทคนิคมากเกินไป
- กำหนดยุทธศาสตร์แล้วนำสู่การปฏิบัติไม่ได้ เป็นไปได้ยาก หรือมาก จนไม่อาจปฏิบัติไม่ทัน
- ขาดการทำงานแบบร่วมบูรณาการทั้งองค์กร คือมีการแยกเป็นส่วนๆ
3.6 วิธีพัฒนายุทธศาสตร์ของลูกเสือที่จะมีประสิทธิภาพ
- กำหนดความเชื่อมโยงหากมีวัตถุประสงค์หลายตัว
- ต้องมีการจัดลำดับตามความสำคัญหรือตามกรอบเวลา
- และสื่อสารกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้วยวิธีการที่ง่ายและรวดเร็ว
- ขั้นลงมือทำโดยแปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนงาน แผนเงิน
- ทำลายอุปสรรคที่ขวางกั้น
- การกำกับติดตามประเมินผล ด้วยเทคนิคสมัยใหม่ คือเทคนิค Balanced Score Card ซึ่งเน้น วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อกำหนดจุดยืนร่วมกัน และ วิเคราะห์โอกาสการแข่งขัน
3.7 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกิจการลูกเสือที่จะขับเคลื่อนโครงการตามนโยบาย
- โครงสร้างการสั่งการจากหน่วยงานระดับกระทรวงสู่กรม
- การประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยฐานข้อมูลที่ทันสมัย
- การควบคุมตรวจสอบและนำผลไปแก้ไข
- การบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะผู้นำ ช่วยชี้แนะหรือสั่งการ
- การสร้างอิทธิพลจูงใจหรือความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ
3.8 ความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร
- ได้มาจากผลการทำงานที่มี คุณภาพ ประสิทธิภาพ และ ประหยัด
- ต้องสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยต้องดีกว่า เร็วกว่า และ ถูกกว่า
- ต้องพัฒนาพฤติกรรมหลักให้ได้ 4 อย่าง คือ
- วางกลยุทธ์ยอดเยี่ยม
- เอากลยุทธ์ออกปฏิบัติอย่างได้ผล
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งหวังผลสูงมีคุณภาพ และ
- มีโครงสร้างองค์กรที่เรียบง่าย
4. ต้องพัฒนาพฤติกรรมรอง 2 อย่างของคนในองค์กร ซึ่งสามารถเลือกได้จากปัจจัยสนับสนุน 4 ประการ ได้แก่
- มีคนเก่งมีพรสวรรค์อยู่แทบทุกกลุ่มงาน
- หัวหน้างานทุกระดับมีลักษณะผู้นำ
- มีการใช้นวัตกรรมใหม่ๆในการทำงาน หรือ
- รู้จักใช้เทคนิคในการขยายกิจการโดยการควบกิจการหรือหาหุ้นส่วนใหม่ๆมาร่วม
ประเด็นที่ 4. หลักการจัดกิจกรรมลูกเสือที่เหมาะสม ทันสมัย
4.1 ดูแนวจาก การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมของเยาวชน ระยะที่ ๑๐ โดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ สถาบันรามจิตติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1) ควรมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสำรวจสภาวการณ์สังคมเยาวชนที่เข้าถึงและเท่าทัน กรอบแนวคิดและเก็บข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจอย่างเพียงพอ
2) การขยายผลจากงานวิจัย เพื่อช่วยเปิดพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ๆสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่
3) การทำงานเชิงรุกต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่าย เช่น สถานศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน
4) ต้องมีการขับเคลื่อนเชิงประเด็น ที่น่าจะสร้างกระแสรณรงค์ทางสังคม เช่น ท้องทิ้งแท้ง ความมีระเบียบวินัย จิตอาสา และการวิพากษ์และการมีส่วนร่วมทางการเมือง"
4.2 ดูแนวจากสสส. ซึ่งเดินแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก เผยกระแสเยาวชนตอบรับดี ผ่าน กิจกรรมเชิงบูรณาการ ผ่านดนตรี กีฬา วัฒนธรรมพื้นบ้าน และโซเชียล เน็ตเวิร์ก
โดยมีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และองค์กรอิสระ ตลอดจนปราชญ์พื้นบ้าน เข้าร่วมสนับสนุนให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชน นำไปถ่ายทอดยังคนในครอบครัว และชุมชนใกล้เคียงได้ ถือเป็นแนวทางสกัดกั้นคนรุ่นใหม่เข้าสู่วงจรที่ไม่ดี
โดยให้เยาวชน ส่งผลงานเข้ามาเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมเวิร์กช็อป ให้ความรู้เชิงลึก เพื่อพัฒนาให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ทักษะต่างๆ และนำไปต่อยอดในชีวิต ทำให้เใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักทำงานเพื่อสังคม พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงผลงาน ทั้งในชุมชนตัวเอง และส่วนกลาง เช่น โครงการละครสำหรับเยาวชน
จัดกิจกรรมผ่านทางโซเชียล เน็ตเวิร์ก (Social Network) ซึ่งเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ที่เยาวชนรุ่นใหม่ให้ความนิยม โดยโซเชียล เน็ตเวิร์ก จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงพฤติกรรมและความต้องการของวัยรุ่นได้มากขึ้น โดยกิจกรรมที่มีการนำเสนอผ่านโซเชียล เน็ตเวิร์ก เช่น รับน้องปลอดเหล้าอย่างไร
4.3 เรียนรู้วิธีกระตุ้นให้เยาวชน รุ่นใหม่ สนใจอาชีพเกษตรกรผ่านกระบวนการ “กลุ่มยุวเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร
- เริ่มจากปรับปรุงระบบข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
- พัฒนาการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาทุกระดับ
- พัฒนาหลักสูตรตามวัย ให้ความสำคัญกับหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
- สนับสนุนกิจกรรมสร้างชื่อเสียงและเสริมรายได้ มีการส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม และจะพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติ
- บูรณาการและขยายเครือข่ายการพัฒนางานยุวเกษตรกร
- จัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรใน โรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษา
- สร้างความร่วมมือกับสถาบัน/องค์กรพัฒนาทั้งในและต่างประเทศ
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายใหม่
- สร้างความเข้มแข็งให้ยุวเกษตรกร
- สร้างประสบการณ์เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น
- ขับเคลื่อนให้เป็นมืออาชีพ
- พัฒนาศักยภาพ การวางแผนและการจัดการธุรกิจ การใช้ไอที (IT) ระบบการผลิต การเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก วิสาหกิจชุมชน และเข้าถึงแหล่งทุน
4.4 ยุทธศาสตร์การเตรียมเยาวชนสู่อนาคต โดย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย เสนอยุทธศาสตร์การเตรียมเยาวชนสู่อนาคต ต้องวิเคราะห์และคาดการณ์ถึงสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงที่จะกระทบต่อเยาวชน
- กระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ธุรกิจ Fast food เทป ภาพยนตร์ คอนเสิร์ต แฟชั่น เฟื่องฟู ขณะที่คุณค่าแบบไทยเริ่มสูญหาย เยาวชนต้องเลือกรับ กลั่นกรองและใช้สื่อและเทคโนโลยีได้
- เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ยุคการค้าเสรี มีการแข่งขันเข้มข้นและรุนแรง ต้องการศักยภาพของคนที่มีทักษะสูง
- สภาพสังคมไทยยังมีลักษณะขยายตัวแบบขาดดุลยภาพ มีความยากจนและความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาแรงงานเด็กและปัญหายาเสพติด
- แม้ว่าเด็กไทยมีโอกาสการศึกษามากขึ้น แต่ขาดความคิดริเริ่ม ขาดทักษะการปรับตัว ขาดความรับผิดชอบ ขาดเจตคติการทำงานร่วมกัน และขาดสำนึกความเป็นไทย
ต้องกำหนด
“วิสัยทัศน์ของการพัฒนาเยาวชนในอนาคต"
1) การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
– ปฎิรูปหลักสูตรให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารมวลชน เรียนรู้จากการสื่อสาร ๒ ทางระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
– คิดวิเคราะห์เหตุผล แก้ปัญหาตนเองและสังคมได้ เรียนให้รู้จักคิดด้วยตัวเอง ไปเรียนต่อด้วยตนเองได้
– มีทักษะและโลกทัศน์สากลเข้าใจและสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมโลกได้
– ทักษะในการทำงานเป็นทีมและคุณค่าแบบไทย
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพอนามัย ส่งเสริมให้เยาวชนออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดนตรี เพื่อคลายเครียด มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย พฤติกรรมบริโภคยาที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงยาเสพติด บุหรี่ สุรา
3) ยุทธศาสตร์พัฒนาจิตใจและวัฒนธรรม เลือกรับและกลั่นกรองสื่อและข้อมูลที่เข้ามาได้อย่างเหมาะสม การใช้หลักธรรมของศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจ
๔) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของครอบครัวและชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เยาวชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมสำหรับเยาวชนที่ด้อยโอกาส
ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา คือ ต้องร่วมมือ ร่วมใจ ทำกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และศึกษาและรับรู้ข้อมูลจากภายนอก โดยผสมผสานหรือยึดถือค่านิยมและจุดเด่นของสังคมไทยไว้
4.5 เรียนรู้จาก การสร้างผู้ประกอบการ – ต้นแบบจากยุโรป กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
มาตรการ “สร้างเยาวชนผู้ประกอบการ – สร้างอนาคตยุโรป”
– ความพยายามที่จะปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการให้กับเยาวชนยุโรปผ่านทางระบบการศึกษา เพื่อให้มีหัวทางธุรกิจ มองเห็นโอกาส มั่นใจในตัวเอง กล้าคิด กล้าเสี่ยง และกล้าทำ พร้อมจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เพราะเอสเอ็มอี ช่วยกระตุ้นการสร้างนวัตกรรมและการเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจ
“การมีความสามารถส่วนตัวในการเปลี่ยนความคิด (Idea) ให้เป็นการกระทำ (Action)” หรือการ “คิดได้ ทำได้” หรือ “คิดเป็น ทำเป็น”
โดยใช้วิธีที่หลากหลาย ไม่ใช่สอนเพียงตำราวิชาสังคม แต่สอดแทรกในวิชาอื่น จัดกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น จัดโครงการให้นักเรียนขายของในโรงเรียน เป็นต้น
จัดโครงการร่วมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมระหว่างชาติสมาชิก เช่น การจัดแข่งขันด้านการประดิษฐ์และออกแบบ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับเด็ก
4.6 หาเครือข่ายทำงานร่วมกัน เช่น สพฐ ร่วมกับ สสส เพื่อหาแนวร่วมและรูปแบบทำงานใหม่ที่ทันสมัย
วิเคราะห์ว่าเยาวชนไทยยังขาดทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการตัดสินใจ และทักษะในการเผชิญกับปัญหา น่าจะการสอดแทรกกิจกรรมทักษะการใช้ชีวิตในวิชาลูกเสือ 5 ด้าน คือ
- กิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาตนเอง
- กิจกรรมโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
- กิจกรรมโครงการเพื่อช่วยเหลือชุมชน
- กิจกรรมโครงการเพื่อช่วยเหลือชาติบ้านเมือง และ
- กิจกรรมโครงการเพื่อช่วยเหลือโลก
4. 7 ตัวอย่างกิจกรรมเยาวชนคนรุ่นใหม่ของหน่วยงานอื่นๆที่ทันสมัย
- การสนทนาระหว่างศิลปินกับเยาวชนรุ่นใหม่
- โครงการ ค่ายผู้นำเด็ก และ เยาวชน คนรุ่นใหม่
- สานฝันเยาวชน 5 ภูมิภาค ต้นแบบเรียนรู้งานพระราชดำริ
- นิทรรศการผลงานเยาวชนสร้างสรรค์สังคมโครงการ Young Social Activator
- กลุ่มเยาวชนโลกสีเขียวได้มีโอกาสปฏิบัติการและเรียนรู้อีกครั้ง โดยร่วมกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จัดค่ายอบรมผู้นำเยาวชนเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- เด็กรุ่นใหม่รู้ทันบุหรี่
- เยาวชนคนรุ่นใหม่ใส่ใจขับขี่ปลอดภัย
- ค่าย "คนรุ่นใหม่ สู้ภัยสุรา"
- ลูกเสืออาสา กกต. เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย – สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
4.8 เรียนรู้จากหลักวิชาการของจิตแพทย์ การสร้างวัยรุ่นให้มีคุณภาพ (ข้อมูลจากน.พ.สุริยะเดว ทรีปาตี http://www.search-institute org/assets)
4.8.1 คุณลักษณะการทำงานด้านเยาวชนที่มองคุณค่าเป็นที่ตั้ง (Positive youth-based)
- วัยรุ่นเป็นวัยที่มีพลังความคิดสร้างสรรค์และมีศักยภาพมาก
- ค้นหาปัจจัยเสริมหรือจุดบวกของวัยรุ่น ครอบครัวและแหล่งชุมชน
- ให้ความสำคัญกับการมีกิจกรรมร่วมมากกว่า
- สร้างการส่งเสริมคุณภาพไว้เป็นเกราะป้องกันจากภาวะเสี่ยง
- การมีส่วนร่วมกิจกรรมต่อชุมชนที่ชัดเจน
- มองการแก้ปัญหาแบบบูรณาการโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น
- การแก้ปัญหาได้โดยการสร้างทางออกที่หลากหลายแก่เยาวชน
- ดำเนินการได้ตามชุมชนท้องถิ่นทุกแห่งตามทรัพยากรที่มีในพื้นที่
- สื่อให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชน และครอบครัว
- สร้างแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบและยั่งยืน
4.8.2 ข้อมูลจากสถาบันวิจัยของสหรัฐ
เริ่มทำวิจัยมาตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปัจจุบันใช้หลักการ 3 ข้อ และตัวชี้วัดปัจจัยพัฒนา 40 ข้อ
- ครอบครัวเข้มแข็ง+ เยาวชนแข็งแรง ช่วยลดปัญหาสังคมได้
- การดูแลป้องกันสุขภาพทั้งปัจจัยภายในและสังคมของวัยรุ่น
- การให้ความรู้ ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ จนถึง
ภาพความสำเร็จของนักเรียนจาก 7 หมวด 40 ตัวชี้วัด
หมวด 1 ได้รับการสนับสนุน
- ครอบครัวสนับสนุน
- สื่อสารเชิงบวกในครอบครัว
- มนุษย์สัมพันธ์บุคคลทั่วไป
- มีเพื่อนบ้าน
- บรรยากาศโรงเรียนดี
- พ่อแม่ดูแลการเรียน
หมวด 2 ได้รับบทบาทสำคัญ
7. ผู้ใหญ่ในชุมชนเห็นคุณค่า
8. ได้รับมอบทำกิจกรรมเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
9. บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
10. รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย
หมวด 3 มีผลงานตามความคาดหวัง
11. ครอบครัวมีวินัย
12. โรงเรียนมีวินัย
13. ชุมชนแวดล้อมมีวินัย
14. ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี
15. กลุ่มเพื่อนเป็นแบบอย่างที่ดี
16. รู้จักใช้ใช้เวลา
17. ทำกิจกรรมสร้างสรรค์
18. ร่วมกิจกรรมทั่วไป
19. ร่วมกิจกรรมศาสนา
20. ใช้เวลาเป็นสุขที่บ้าน
หมวด 4 มุ่งมั่นเรียนรู้
21. มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
22. เอาใจใส่การเรียน
23. ทำการบ้าน
24. ผูกพันกับโรงเรียน
25. รักอ่านหนังสือ
หมวด 5 สร้างคุณค่าให้ตนเอง
26. ช่วยเหลือผู้อื่น
27. รักความยุติธรรมไม่แบ่งชนชั้น
28. มีจุดยืนชัดเจน
29. ซื่อสัตย์
30. มีความรับผิดชอบ
31. มีวินัยตนเองไม่ทำเรืองเสี่ยง
หมวด 6 สามารถอยู่ร่วมในสังคม
32. รู้จักวางแผนและตัดสินใจ
33. ทักษะในการคบเพื่อน
34. ทักษะเชิงวัฒนธรรม
35. ทักษะในการปฏิเสธ
36.ทักษะแก้ความขัดแย้ง
หมวด 7 ทัศนะเชิงบวกต่อตนเอง
37. ควบคุมตนเองได้
38. รู้สึกตัวเองมีศักดิ์ศรี
39. รู้สึกชีวิตมีความหวัง
40. มีเป้าหมายในชีวิตที่ดี
4.8.3 หลักการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน
- เคารพความคิดของเยาวชน
- เสนอทางเลือกที่หลากหลาย
- กิจกรรมท้าทายและสนุก
- มีประโยชน์ได้สาระเกิดการเรียนรู้
- ได้ฝึกทักษะสังคม
- รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
- รู้สึกปลอดภัย
4.9 การสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จของการส่งเสริมและพัฒนาลูกเสือในสถานศึกษา น่าจะลองใช้ตัวขี้วัดที่สร้างขึ้นมาให้เหมาะกับลูกเสือไทย เช่นตัวอย่าง
11 ตัวชี้วัด ให้สถานศึกษาประเมินตนเองในความสำเร็จของการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ
- ตัวชี้วัดตัวที่ 1 มีกิจกรรมส่งเสริมให้ลูกเสือมีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน
- ตัวชี้วัดตัวที่ 2 มีจัดการเรียนการสอนคุณธรรมให้ครอบคลุมทั้งการคิด พฤติกรรมที่ลงมือกระทำ และเกิดเป็นความรู้สึก
- ตัวชี้วัดตัวที่ 3 ใช้วิธีส่งเสริมแบบบูรณาการให้เกิดความคิดในเชิงบวก
- ตัวชี้วัดตัวที่ 4 สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกเสือที่อบอุ่น
- ตัวชี้วัดตัวที่ 5 สร้างโอกาสการเรียนรู้เชิงคุณธรรมให้แก่ลูกเสือ
- ตัวชี้วัดตัวที่ 6 การสอนทุกกิจกรรมให้สอนอย่างมีความหมาย สอดแทรกคุณธรรม และให้เกียรติลูกเสือ
- ตัวชี้วัดตัวที่ 7 กระตุ้นให้ลูกเสือเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
- ตัวชี้วัดตัวที่ 8 กระตุ้นผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกคนเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์
- ตัวชี้วัดตัวที่ 9 สร้างกิจกรรมลูกเสือในการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม
- ตัวชี้วัดตัวที่ 10 ขอความร่วมมือผู้ปกครองและชุมชน สนับสนุนการทำดีของลูกเสือ
- ตัวชี้วัดตัวที่ 11 การประเมินความสำเร็จของกองลูกเสือของสถานศึกษาให้ประเมินจากพฤติกรรมของลูกเสือ
28 กันยายน 2562
ชุมนุมลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาดสัมพันธ์ เทิดไท้องค์ราชัน
ภาคเหนือ
https://sites.google.com/view/boyscout-north/
https://m.facebook.com/northjamboree
ภาคกลาง
http://gg.gg/scoutjammid
เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เช...