บทที่
1
โครงการนำลูกเสือเนตรนารีไปเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม)
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
ได้ให้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี อยู่ในหมวดกิจกรรม
ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา
สังกัดกระทรวงศึกษา-
ธิการ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทางร่างกาย
สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมือง
ดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า ความสงบสุข และความมั่นคง
ของประเทศชาติ
จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ของลูกเสือสามัญ
รุ่นใหญ่
2. มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือ การแก้ปัญหา และทักษะในการทำงาน
ร่วมกับผู้อื่น
3.
มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความกล้าหาญ อดทน เชื่อมั่นใจตนเอง มีระเบียบวินัย มีความ
สามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
4.
มีการพัฒนาตนเองเสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจ และพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ
จากจุดประสงค์ของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี จะเห็นได้ว่า กิจกรรมการเดินทางไกลและ
แรมคืน (พักแรม) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นหัวใจของการเรียนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี มุ่งเน้น
ที่จะให้ลูกเสือ-เนตรนารี
ได้ปฏิบัติตามจุดประสงค์ คือ สอนให้มีการสังเกต จดจำ รู้จักการแก้ปัญหา
ต่าง
ๆ อันที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังสอนให้ลูกเสือ-เนตรนารี เป็นผู้มีระเบียบวินัย
มีความอดทน
รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
รู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) ของกองลูกเสือโรงเรียนต่าง ๆ ที่จะพาลูกเสือ-เนตรนารี ไปปฏิบัติกิจกรรมการเดินทางไกลและแรมคืน
(พักแรม) ของแต่ละปีนั้น ผู้บังคับบัญชาลูกเสือหรือหัวหน้าหมวดกิจกรรม
จะต้องวางแผนการปฏิบัติงานประจำปี โดยการจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานของโรงเรียนไว้ถือเป็นแนวปฏิบัติ ดังตัวอย่างปฏิทินปฏิบัติงานประจำภาคเรียนที่2
ปฏิทินปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือ ภาคเรียนที่
2
วัน เดือน ปี กิจกรรม หมายเหตุ
1
พฤศจิกายน ปฐมนิเทศ และเรียนวิชาพิเศษ ให้ผู้กำกับลูกเสือเลือกวิชา
8
พฤศจิกายน เรียนวิชาพิเศษ พิเศษลูกเสือในข้อบังคับคณะ
15
พฤศจิกายน เรียนวิชาพิเศษ ลูกเสือแห่งชาติว่าด้วย การ
17
พฤศจิกายน ทำพิธีเข้าประชุมกองลูกเสือโลก ปกครองหลักสูตรและวิชา
22
พฤศจิกายน เรียนวิชาพิเศษ พิเศษลูกเสือสามัญ สามัญรุ่น-
29
พฤศจิกายน เรียนวิชาพิเศษ ใหญ่ (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2528
6
ธันวาคม เรียนวิชาพิเศษ
ตามลำดับนำมา
13
ธันวาคม เรียนวิชาพิเศษ สอนอย่างน้อย 2 วิชา จากวิชา
20
ธันวาคม เรียนวิชาพิเศษ พิเศษทั้งสิ้น 76 รายวิชา
27
ธันวาคม เรียนวิชาพิเศษ ชั้น ม.1 เรียนวิชาพิเศษ 2 วิชา
3
มกราคม เรียนวิชาพิเศษ ได้แก่ นักสะกดรอย,
10
มกราคม เรียนวิชาพิเศษ วิชานักธรรมชาติวิชา
17
มกราคม เรียนวิชาพิเศษ ชั้น ม.2 เรียนวิชาพิเศษ 2 วิชา
24
มกราคม เรียนวิชาพิเศษ โดยไม่ซ้ำกันวิชาพิเศษ
7
กุมภาพันธ์ เรียนวิชาพิเศษ ที่เรียนในชั้น ม.1
14
กุมภาพันธ์ เรียนวิชาพิเศษ ชั้น ม.3 เรียนวิชาพิเศษ 2 วิชา
21
กุมภาพันธ์ เรียนวิชาพิเศษ โดยไม่ซ้ำกันวิชา
23-25
กุมภาพันธ์ เดินทางไกลและแรมคืน วิชาพิเศษที่เรียนในชั้น ม.1-2
28
กุมภาพันธ์ สอบวิชาพิเศษ แต่ในชั้น ม.3 ที่สามารถสอน
วิชาพิเศษได้มากกว่า ชั้น ม.1-2
จากตัวอย่างการจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานจะเป็นได้ว่า ในวันที่ 23 – 25
กุมภาพันธ์
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะต้องนำลูกเสือ-เนตรนารี ไปเดินทางไกล และแรมคืน
(พักแรม) โดยให้เป็นไปตามปฏิทินปฏิบัติงาน
แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะต้องปฏิบัติ คือ
1. ประชุมผู้กำกับลูกเสือรองผู้กำกับลูกเสือเพื่อปรึกษาหาแนวทางที่จะนำลูกเสือ-เนตรนารี
ไปปฏิบัติกิจกรรม
การเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม)
2. บันทึกเสนอถึงหัวหน้าหมวดกิจกรรม
แจ้งให้ทราบว่าในปีนี้จะนำลูกเสือ-เนตรนารี ไปเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) เมื่อหัวหน้าหมวดกิจกรรมเห็นชอบก็ให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ที่เป็นหัวหน้ากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
จัดทำโครงการชี้แจงต่อผู้มีอำนาจอนุญาต คือ ผู้อำนวยการ,
อาจารย์ใหญ่, ครูใหญ่
แล้วแต่กรณี
3. ให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี จัดทำโครงการ การทำโครงการหาลูกเสือ-เนตรนารีไปเดินทางไกล
และแรมคืน (พักแรม) ให้ปฏิบัติ
ตามวิธีการเขียนโครงการต่าง
ๆ ให้เป็นไปตามสำดับขั้น ดังนี้
ตัวอย่างโครงการ
1.
ชื่อโครงการ
โครงการหาลูกเสือ-เนตรนารี เดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) ประจำปี
พ.ศ………………….
2.
หลักการและเหตุผล
ให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือบอกเหตุผลที่จะต้องนำลูกเสือ-เนตรนารี
ไปเดินทางไกล และแรมคืน (พักแรม)
3
วัตถุประสงค์
ให้บอกวัตถุประสงค์ของการเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม)
4. เป้าหมาย
ให้บอกเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้
5. วิธีดำเนินการ
ให้บอกถึงวิธีดำเนินการที่จะนำลูกเสือ-เนตรนารีไปเดินทางไกลและแรมคืน
6.
ระยะเวลาดำเนินการ
ให้บอกวันที่จะนำลูกเสือ-เนตรนารี
ไปเดินทางไกลและแรมคืน ว่าจะไปในวันทิ่
เท่าไร ต้นสัปดาห์ หรือปลายสัปดาห์
7.
งบประมาณ
ให้ประมาณการค่าใช้จ่ายในการไปเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) จะใช้งบประมาณเท่าไร
8.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ให้บอกว่าผลที่นำลูกเสือ-เนตรนารีไปเดินทางไกลเป็นอย่างไร
ประสบผลสำเร็จอย่างไร
9.
การประเมินผล
ให้ผู้บังคับบัญชาประชุมการประเมินผล และรายงานให้ผู้อำนวยการทราบ
10.
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ให้บอกว่าใครเป็นเจ้าของโครงการ ผู้กำกับลูกเสือ
หรือหัวหน้ากิจกรรมบอกให้ชัดเจน
11.
ผู้เห็นชอบโครงการ
ให้บอกสายงานที่จะต้องขอความเห็นชอบโครงการ เช่น หัวหน้าวิชการหัวหน้าหมวดกิจกรรม
12.
ผู้อนุมัติโครงการ
ได้แก่
ผู้อำนวยการลูกเสือ,โรงเรียน,อาจารย์ใหญ่, ครูใหญ่ เป็นผู้อนุมัติโครงการ
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ได้เสนอโครงการ
เพื่อขออนุมัติต่อผู้บริหารโรงเรียน
ได้แก่ ผู้อำนวยการ,อาจารย์ใหญ่ และครูใหญ่
ตามลำดับแล้วถึงจะดำเนินงานในขั้นที่จะนำลูกเสือ-เนตรนารี ไปเดินทางไกล
และแรมคืน (พักแรม)
และจะต้องออกไปสำรวจเส้นทางที่จะไปหาสถานที่ตั้งค่ายพักแรมแล้วนำมาเสนอขอความเห็นในคณะผู้บังคับบัญชา
ลูกเสือ โดยเขียนแผนที่แสดงเส้นทาง ระยะทาง
และสถานที่ตั้งค่ายพักแรม
ให้ที่ประชุมรับทราบต่อไป
ตัวอย่าง
การสำรวจเส้นทางการเดินทางไกล
เมื่อผู้บังคับบัญชาลูกเสือได้เสนอเส้นทางการเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) ให้ที่
ประชุมรับทราบและได้รับการอนุมัติให้นำลูกเสือ-เนตรนารี ไปเดินทางไกลได้ ในขั้นต่อไป
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือจะต้องปฏิบัติดังนี้
1.
ประชุมคณะผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เพื่อแบ่งหน้าที่ให้ปฏิบัติ
ขณะเดินทางไกล และแรมคืน (พักแรม)
2.
กำหนดวัน เวลา ที่จะออกเดินทาง
3.
ทำหนังสือขออนุญาตผู้ปกครองลูกเสือ-เนตรนารี
ในบางครั้ง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี
อาจจะนำลูกเสือ-เนตรนารีไปเดินทางไกลและ
แรมคืน (พักแรม) ในต่างอำเภอหรือต่างจังหวัด ให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ
ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ.2509 ข้อที่ 274 การเดินทางไกลของลูกเสือ ต้องได้รับความยินยอมจาก
ผู้ปกครองของลูกเสือ-เนตรนารี
นอกจากได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองแล้ว
จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการที่สังกัด และจากเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ แล้วแต่กรณี (รายละเอียดภาคผนวก)
ในระหว่างการนำลูกเสือ-เนตรนารี ไปเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) แต่ละครั้งนั้น
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ หรืออาจารย์ที่รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือควรจะได้มีการฝึกอบรม
เพื่อทบทวน
วิชา ตามหลักสูตรหรือทดสอบไปด้วยจะเกิดประโยชน์แก่ลูกเสือ-เนตรนารี เป็นอย่างมาก เมื่อนำไปเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) จะไม่ทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากลูกเสือ-เนตรนารี มีประสบการณ์ในการฝึกหัดปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ มาแล้ว
ตัวอย่าง ตารางกิจกรรมประจำวัน
วันที่ 1
เวลา 07.00
– 08.00 น. ลูกเสือ-เนตรนารี ผู้กำกับ พร้อมกันที่โรงเรียน
08.00 – 12.00 น. การเดินทางไกล (ภาคปฏิบัติ)
12.00 – 13.00 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 13.30 น. รายงานการเดินทางไกล
13.00 – 15.00 น. สร้างค่ายที่พัก
15.00 – 16.00 น. ชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา
พิธีถวายราชสดุดี เปิดค่าย
16.00 – 18.00 น. ประกอบอาหาร
17.00-18.00 น. พิธีกรประจำวันประชุมนายหมู่ลูกเสือ
ผู้บังคับการค่ายพักแรมประชุมผู้กำกับลูกเสือ
18.00 – 18.10 น.
ชักธงชาติลง รับประทานอาหารเย็น
19.00 – 21.00 น. ผจญภัย
21.00 น. สวดมนต์
นอน
วันที่ 2
เวลา
06.00 –06.30 น. กายบริหาร
06.30 – 07.30 น. รับประทานอาหารเช้า
07.30 – 08.00 น. รับตรวจ
08.00 – 09.00 น. ประชุมกองรอบเสาธง
09.00 – 10.00 น. วิชาการอนุรักษ์ธรรมชาติ
10.00
– 12.00 น. วิชาบุกเบิก – ทฤษฎี – ปฏิบัติ
12.00 – 13.00 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. วิชาแผนที่และเข็มทิศ
14.00 – 15.00 น. วิชาการปฐมพยาบาล
15.00 – 16.00 น. ทบทวนสัญญาณต่าง ๆ ทบทวนชุมนุมรอบกองไฟ
16.00 – 18.00 น. ประกอบอาหาร
17.00 - 18.00 น. พิธีกรประจำวันประชุมนายหมู่ลูกเสือ
ผู้บังคับการค่ายพักแรมประชุมผู้กำกับลูกเสือ
18.00 – 19.00 น ชักธงชาติลง รับประทานอาหารเย็น
19.00 – 21.00 น. การแสดงรอบกองไฟ
21.00 น สวดมนต์ นอน
วันที่ 3
เวลา
06.00 –06.30 น. กายบริหาร
06.30 – 07.30 น. รับประทานอาหารเช้า
07.30 – 08.00 น. รับตรวจ
08.00 – 09.00 น. ประชุมกองรอบเสาธง
09.00 – 11.00 น. รื้อค่ายพัก เตรียมตัวเดินทางกลับ
11.00 – 12.00 น. ทำพิธีปิดค่ายพักแรม
12.00 – 13.00 น. พัก รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 น. เดินทางกลับ
หนังสืออ้างอิง
ศึกษาธิการ, กระทรวง.
วิชาการ, กรม. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521
(แก้ไขปรับปรุง
พ.ศ.2533) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. พ.ศ.2533
อดุล สุวรรณมล. การเดินทางไกลและแรมคืน.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ลาดพร้าว. พ.ศ.2528
คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, สำนักงาน. พลศึกษา, กรม. ฝ่ายวิชาการกองการลูกเสือ.
คู่มือการฝึกอบรมลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้เบื้องต้น, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาสนา,
พ.ศ.2522
รศ.ดร.วีระพล สุวรรณนันต์. หลักและเทคนิคการวางแผน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทประยูรวงค์
จำกัด, พ.ศ.2526