Translate

หน้าเว็บ

20 ตุลาคม 2561

การอภิปรายกลุ่ม

1. การอภิปรายกลุ่ม  (Group Discussion)

         การอภิปรายกลุ่มเป็นวิธีการฝึกอบรมอย่างหนึ่งที่สมาชิกภายในกลุ่มมีโอกาสทัดเทียมกัน
ในการแสดงความคิดเห็นโดยการอภิปรายโต้ตอบกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำหนดให้
เพื่อแสวงหาข้อยุติของเรื่องราวดังกล่าวนั้นอย่างไรก็ตามการอภิปรายกลุ่มจะต้องอยู่ภายใต้ภาวะของผู้นำ   
ดังนั้นการอภิปรายกลุ่มจึงมีลักษณะเด่นคือ
- เป็นวิธีการทางประชาธิปไตย
-การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมของสมาชิกเป็นแนวทางของการสร้างสรรค์การเรียนรู้ซึ่งกันและกันยิ่งขึ้น
-สถานการณ์ในการอภิปรายกลุ่มเป็นการสร้างเสริมการใช้ความคิดอย่างรอบคอบที่สุด
-วิธีการนี้จะสำเร็จได้ผลดีก็ต้องอาศัยความเข้าใจตามหลักการดังกล่าว
ประกอบกับความชำนาญของผู้นำกลุ่มในการอภิปรายด้วย

ภาระของผู้นำกลุ่ม
- แนะนำ  และเสนอหัวข้อสำคัญเพื่ออภิปราย
- กระต้น  ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
- ชี้แจง  วัตถุประสงค์ให้สมาชิกเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก่อน
- สรุป  ข้ออภิปรายให้สมาชิกทราบ
- ผู้นำกลุ่มที่เชี่ยวชาญจะต้องไม่สอนหรือสั่ง  แต่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือผู้ประสานการอภิปราย
- ผู้นำกลุ่มจะต้องรวมและดึงเอาความคิดจากสมาชิกของกลุ่มแทนการใช้ความคิด
ของตนเองการนำกลุ่มอภิปรายกลุ่ม
ตอนที่ 1  การเริ่มและบทนำ
-  จัดบรรยากาศให้เป็นประชาธิปไตย
        -  ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการอภิปราย ชี้แจงเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องเป็นภูมิหลังของหัวเรื่อง
- ชี้แจงความหมายหรือให้คำจำกัดความในวิธีการและคำศัพท์ต่างๆที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ตอนที่ 2  การเสนอเรื่อง การนำเรื่อง และการสรุปย่อหัวข้ออภิปราย
ข้อที่ 1  -การเสนอเรื่องอภิปราย
           -ใช้บทนำเข้าสู่เรื่อง เปิดโอกาสให้ถาม จัดคำถามให้เข้ารูปเรื่อง หากจำเป็นอาจตั้งคำถามให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายคิดแล้วตอบ
ขั้นที่ 2  -การแนะแนวการอภิปราย
       -สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างจริงจัง  พยายามอยู่เบื้องหลังการอภิปราย
ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นผู้นำ
             -ป้องกันไม่ให้ผูกขาดการอภิปรายโดยคนใดคนหนึ่ง  ต้องใช้ความชำนาญในการใช้คำถาม
เพื่อให้การอภิปรายดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง
ขั้นที่ 3  -การสรุปย่อแต่ละขั้นตอนหรือข้อเรื่องการอภิปราย
           -ชี้จุดและให้ความกระจ่างชัดแก่ข้อถกเถียงที่สำคัญๆแล้วสรุปผลการอภิปราย
ตอนที่ 3  การปิดการอภิปราย
ทบทวนวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวเนื่องกับการอภิปรายที่สรุปได้จากกลุ่มขยายข้อสำคัญของเรื่อง
แล้วเรียบเรียงเพิ่มเติมสิ่งที่ตกหล่นหรือบกพร่อง แสดงความขอบคุณต่อผู้เข้าร่วมอภิปรายแล้ว
ปิดการอภิปรายตามกำหนดเวลา
คำถามในการอภิปรายกลุ่ม
  คำถามเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแนะแนว การกระตุ้น และการให้ความแจ่มแจ้ง
ในการอภิปรายประโยชน์ของการใช้คำถาม
-เพื่อกระตุ้นความสนใจ เพื่อส่งเสริมแนวความคิด และเพื่อให้สมาชิกได้เข้าร่วมในการอภิปราย
-เพื่อรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาสาระสำคัญและสรุปผลของการอภิปราย
-เพื่อเปลี่ยนแนวโน้มของการอภิปราย เพื่อจำกัดหรือตั้งจุดจบในการอภิปราย
ประเภทของคำถาม
  คำถามที่มีประโยชน์และสามารถผลิตคำตอบนั้น  ไม่ใช่คำถามประเภทที่ตอบง่ายๆด้วยการใช้
คำว่า  “ใช่”หรือ”ไม่ใช่”
คำที่ควรใช้ในคำถามเช่น ใคร ทำไม อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร อะไร
1.  คำถามสำหรับนำเรื่อง  เป็นคำถามที่ใช้ถามในกลุ่มทั่วไป  ไม่เฉพาะเจาะจง เพื่อเปิดการอภิปราย
หรือกระตุ้นการอภิปราย  ผู้นำกลุ่มจะต้องตั้งคำถามให้รัดกุม  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายได้คิด
2.  คำถามระบุผู้ตอบ  เป็นคำถามโดยตรงระบุไปยังผู้ตอบด้วยการเรียกชื่อผู้ตอบ  
เพื่อให้บุคคลนั้นได้เข้าร่วมอภิปราย  เพื่อตัดการผูกขาดการอภิปราย เพื่อตัดการสนทนานอกเรื่อง
แล้วดึงความสนใจกลับเข้าสู่การอภิปรายเพื่อหันเหการอภิปรายเข้ามาสู่ จุดตามวัตถุประสงค์
3.  คำถามย้อนกลับและคำถามผ่าน  ผู้นำกลุ่มอภิปรายที่เชี่ยวชาญจะต้องไม่ตอบคำถามของสมาชิก
จากคำถามนั้นต้องการข้อมูลเพิ่มเติมและผู้นำกลุ่มเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะตอบได้
ในการหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม ผู้นำกลุ่มอาจย้อนคำถามไปยังผู้ถามหรือผ่านคำถามไปยังสมาชิกอื่น
        4.  คำถามติดตามผล  เป็นคำถามเพื่อให้การอภิปรายดำเนินไปถึงวัตถุประสงค์
ข้อควรคำนึง
“ถ้าต้องการคำตอบที่พอใจ ท่านต้องถามด้วยคำถามที่ดี”
“ทำจิตใจให้สงบไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นจงรักษาอารมณ์นั้นเอาไว้”


ประเภทของผู้เข้าร่วมอภิปราย
1.  ประเภทขัดแย้งโต้เถียง
-ผู้นำกลุ่มต้องเงียบ  อย่าเกี่ยวข้อง
-แต่ใช้กลวิธีระงับการผูกขาดการอภิปราย
2.  ประเภทให้ความร่วมมือ
-ประเภทนี้มีประโยชน์ในการอภิปราย
-ต้องยอมรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของเขา
-และให้เขามีโอกาสได้เสนอบ่อยๆ
3.  ประเภทตรัสรู้
-ประเภทนี้ต้องปล่อยให้สมาชิกในกลุ่มช่วยจัดการเอง
4.  ประเภทพูดมาก
-ผู้นำกลุ่มต้องใช้ชั้นเชิงเพื่อหยุดการพูด
-หรือจำกัดเวลาในการพูด
5.ประเภทขี้อาย
-ต้องถามด้วยคำถามง่ายๆ
-สร้างความมั่นใจในตัวเอง
-ยกย่องเมื่อมีโอกาส
6.ประเภทไม่ร่วมมือ “ไม่ยอมรับ”
-ให้โอกาสแสดงความคิดเห็น เก็บเอาความรู้และประสบการณ์มาใช้ให้เป็นประโยชน์
7.ประเภทหนังหนาไม่สนใจ
-ต้องถามเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับงานของเขา
-แล้วให้เขาชี้แจงถึงงานที่เขาสนใจ
8.ประเภทหัวสูง
-อย่าวิพากษ์วิจารณ์
-ใช้เทคนิค “ถูกต้อง...แต่”ในการโต้ตอบ
9.ประเภทตั้งปัญหา
-ประเภทนี้พยายามขุดหลุมดักผู้นำกลุ่ม
-ต้องใช้วิธีการผ่านคำถามไปยังสมาชิกกลุ่ม




แหล่งอ้างอิง
- คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้