Translate

หน้าเว็บ

20 ตุลาคม 2561

การประชุมกลุ่มย่อย

2. การประชุมกลุ่มย่อย (BUZZ GROUP )

     การจัดการฝึกอบรมโดยทั่วไปนั้น  ในบางโอกาสอาจจะต้องแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มเล็กๆ 3-6 คน    เพื่ออภิปรายปัญหาในช่วงเวลาอันจำกัด 2-3 นาที แต่ละกลุ่มอาจพิจารณาคนละเรื่องหรือเรื่องเดียวกันแต่คนละประเด็นก็ได้  มีลักษณะเป็นการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างไม่เป็นทางการหรือพิธีรีตองมากนัก หัวข้อที่จะพิจารณาเป็นหัวข้อเล็กๆ หรือปัญหาง่ายๆ การประชุมกลุ่มย่อยนี้ช่วยให้ผู้เข้ารับฝึกอบรมที่ไม่ยอมแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมใหญ่ได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมมากขึ้น  และการหลอมความคิดจากการประชุมกลุ่มย่อยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นความคิดของกลุ่มใหญ่ก็อาจกระทำได้

     ในกรณีของการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ถ้าไมมีแบบสอบถามไปล่วงหน้า วิธีการนี้อาจช่วยได้เช่นกันเพราะจะทำให้ผู้ให้การอบรมรู้และเข้าใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ดียิ่งขึ้น
วิธีการ
     1.  แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 3-6 คน อาจมีการเลือกประธานและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ต่อกลุ่มสำหรับการประชุมก็ได้
   2. ก่อนแยกกลุ่มไปประชุมกัน  วิทยากรผู้บรรยายพึงต้องอธิบายให้จัดแจ้งถึงเรื่องและวิธีการที่กลุ่มจะได้ประชุมกัน แต่ละกลุ่มอาจมอบงานอย่างเดียวกันหรือที่แตกต่างกันตามหัวข้อที่ต้องการได้  ตัวอย่างเช่น
ต้องการพิจารณาปัญหาง่ายๆ  อาจให้อภิปรายในหัวข้อปัญหาเรื่องบทบาทของนายหมู่
ต้องการขจัดข้อขัดแย้งในข้อปัญหาระหว่างสมาชิก  อาจให้อภิปรายเรื่องเกณฑ์อายุของผู้กำกับลูกเสือที่เหมาะสม  ต้องการให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ ในเวลาอันจำกัด อาจหยิบยกปัญหาให้อภิปราย  เรื่องผู้กำกับจะศึกษาและเข้าใจคนวัยรุ่น (ลูกเสือวิสามัญ ) ได้อย่างไร
     3. ในขณะที่กลุ่มย่อยปฏิบัติการอยู่  วิทยากรผู้บรรยายต้องคอยจับตาดู ถ้ามีกลุ่มไหนไม่เข้าใจประเด็นต่างๆให้เข้าช่วยแนะนำได้ทันที
     4. เมื่อทุกกลุ่มทำงานเสร็จแล้ว  อาจจัดให้ร่วมประชุมใหญ่ เพื่อให้มีการอภิปรายซักถาม  หรือหล่อหลอมความคิดจากกลุ่มย่อย ให้เป็นความคิดของกลุ่มใหญ่ในกรณีที่เป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
        5.วิทยากรสรุปผลและแนะนำเพิ่มเติม
สถานที่
        โดยปกติการประชุมกลุ่มย่อยนี้  จะกระทำรวมกันอยู่ในห้องประชุมใหญ่ทุกกลุ่ม  ไม่มีความจำเป็นต้องแยกออกแม้จะมีเสียงรบกวนจากกลุ่มข้างเคียงบ้าง  แต่การกระทำในช่วงเวลาจำกัดนี้ ก็อาจขจัดตัวแปรอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประชุมของแต่ละกลุ่มได้
ข้อดีข้อจำกัด
     1. เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้ประชุมอภิปราย ทำให้บรรยากาศจะเป็นกันเองและการอภิปรายก็จะได้แนวคิดหลายแง่หลายประเด็นเช่นกัน
     2. วิธีการนี้ช่วยให้ระสบผลสำเร็จในการพิจารณาปัญหาง่ายๆ ช่วยขจัดข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิก  นอกจากเป็นการส่งเสริมโอกาสการแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ภายในเวลาอันจำกัดอีกด้วย
     3. เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะอีกประเด็นหนึ่งที่กิจการลูกเสือต้องการ
     4. การให้ความรู้ใหม่ๆ วิธีการนี้นั้นอาจไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควรสำหรับกิจการลูกเสือ  การทำงานระบบกลุ่ม ( Working Group ) จะให้โอกาสความสัมฤทธิ์ผลได้ดีกว่า
แหล่งอ้างอิง
- คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นผู้ช่วยผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้