หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
วิชาอุตุนิยมวิทยา
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตร
และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
วิชานักอุตุนิยมวิทยา
หลักสูตร
(๑) ทำบันทึกประจำวันเกี่ยวกับเรื่องลมฟ้าอากาศ จากการสังเกตด้วยตนเองเป็น
เวลาอย่างน้อย ๑ เดือนในบันทึกนั้น อย่างน้อยให้กล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้
-กำลังและทิศทางของลม -ชนิดและปริมาณของเมฆ
-ลมฟ้าอากาศ -อุณหภูมิ
-ความกดอากาศ -ปริมาณน้ำฝน
(๒) เข้าใจประโยชน์ และหลักในการทำงานของเครื่องมือต่อไปนี้กับให้สร้าง
เครื่องมือแบบง่ายๆขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด
-เทอร์โมมิเตอร์ -บาโรมิเตอร์
-เครื่องบันทึกแสงแดด (Sunshine Recorder)
-แอนิโมมิเตอร์ (Anemometer) -เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน
(๓) เข้าใจวิธีทำและสามารถอ่านแผนที่อากาศ
(๔) เข้าใจคำต่อไปนี้ และให้แสดงแผนผังประกอบคำอธิบายด้วย
-ความชื้นสัมพันธ์ -จุดน้ำค้าง
-ไอโซบาร์ -มิลลิบาร์
-ไอโซเทอม -แนวปะทะของอากาศเย็น
-แนวปะทะของอากาศอุ่น
จุดประสงค์
1. เพื่อให้ลูกเสือเขียนบันทึกประจำวันเกี่ยวกับสภาพอากาศได้
2. เพื่อให้ลูกเสือรู้จักและสามารถสร้างเครื่องมือวัดสภาพอากาศอย่างง่ายได้
3. เพื่อให้ลูกเสือสามารถทำและอ่านแผนที่อากาศได้
4. เพื่อให้ลูกเสือเข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของคำศัพท์ในวิชาอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้นและแสดงแผนผังประกอบคำอธิบายได้
เนื้อหาสาระ
วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักอุตุนิยมวิทยา
1. ความรู้เกี่ยวกับ
- กำลังและทิศทางของลม - อุณหภูมิ
- ความกดอากาศ - ชนิดและปริมาณของเมฆ
- ปริมาณน้ำฝน - ลมฟ้าอากาศ
2. ประโยชน์และหลักในการทำงานของเครื่องมือต่อไปนี้
- เทอร์โมมิเตอร์ - บาโรมิเตอร์
- แอนิโมมิเตอร์ เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน
-เครื่องบันทึกแสงแดด (Sunshine Recorder)
3. แผนที่อากาศ
4. ความหมายของคำต่อไปนี้
- จุดน้ำค้าง - ความชื้นสัมพันธ์หรือความชื้นสัมพัทธ์
-ไอโซบาร์ - มิลลิบาร์
-ไอโซเทอม - แนวปะทะของอากาศเย็น
-แนวปะทะของอากาศอุ่น
หมายเหตุ ลูกเสือจะได้เรียนเนื้อหาบางตอนในวิชาอุตุนิยมวิทยาจากวิชาวิทยาศาสตร์มาแล้ว สามารถจะนำมาบูรณาการกันได้กับวิชาอุตุนิยมวิทยา
ข้อ ๓ นักอุตุนิยมวิทยา
แหล่งอ้างอิง
- ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
(ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๒๘
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น