การสวมบทบาท (ROLE PLAY)
กลวิธีการให้การฝึกอบรม เรื่อง “การสวมบทบาท”เป็นกลวิธีหนึ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ฝึกการวิเคราะห์และประเมินผลบทบาทจากการแสดงของสมาชิกที่อยู่ในรูปลักษณะของการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมในการทำงานของมนุษย์ผู้แสดงจะต้องพยายามแสดงออกทางอารมณ์ทุกด้าน ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย
วิธีการ
1. เลือกเรื่องราวและสถานการณ์ที่มีความหมายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2. เลือกผู้แสดง ( ใช้หลักการอาสาสมัคร )
3. เตรียมการแสดง ( โดยให้เวลาสำหรับแสดง 2-3 นาที ) เตรียมอารมณ์ เพื่อเน้นบทบาทและความรู้สึกของตัวละครที่สมมติขึ้น ไม่ใช่อารมณ์ของตนเอง
4. “แสดง”ต้องให้เกิดความประทับใจในพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับบทและสถานการณ์ขณะที่สมมุติขึ้น
5. ดำเนินการอภิปรายและซักถาม ( เริ่มจากการซักถามผู้แสดงถึงความรู้สึกและอารมณ์ของตัวละครที่ถูกกำหนดขึ้นในการสวมบทบาท )
6. ให้โอกาสกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อภิปราย ภายใต้การควบและปรึกษาของวิทยากรประจำกลุ่มโดยโยงข้อวินิจฉัยต่างๆ เข้ากับงานของเขาเพราะความสำเร็จของการสวมบทบาทนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้แสดงและผู้ดู
ข้อดีข้อจำกัด
1.เปิดโอกาสให้สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้และศึกษาพฤติกรรมในการทำงานของมนุษย์
2. เป็นการฝึกทักษะการแก้ปัญหาจากประสบการณ์ตรง
3.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสวินิจฉัยบทบาทและอารมณ์ของตัวละครด้วยประสบการณ์ของตัวเองได้ถูกต้อง
4. การจัดสรรประสบการณ์จากการสวมบทบาทให้เกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนได้มีโอกาสนั้นจะต้องใช้เวลาและเนื้อหาสาระมากเป็นพิเศษ
ข้อควรคำนึง
การแสดงบทบาทสมมติ ( Role Play )นั้น ผู้แสดงจะต้องแสดงด้วยวิญญาณของบทบาทที่ได้รับมอบหมายโดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์ ไม่ใช่แสดงในอารมณ์ของตนเอง และผู้แสดงต้องคิดเสมอว่าตนเป็นทูตของบทละครที่จะให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้บทบาทและอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดให้
วิธีการนี้เหมาะที่จะนำไปใช้กับการสอนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นผู้ใหญ่มากเพราะเป็นแนวทางการมอบเรื่องและบทบาทให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมแสดงความคิดที่เป็นผลจากบทบาทที่ถูกสมมติให้แสดงขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางอีกทางหนึ่งที่ผู้สอนจะได้ใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์ต่อ
บทสรุป
การสวมบทบาทเป็นวิธีการให้การฝึกอบรมอย่างหนึ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้บทบาทและอารมณ์ของตัวละคร ภายใต้สภาวการณ์ที่กำหนดไว้แล้วนำข้อคิดต่างๆมาอภิปราย พิจารณาและวินิจฉัยเข้ากับงานและบทบาทของตนเอง เพื่อจัดเป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อไป
ข้อเสนอแนะบางประการ
เมื่อผู้แสดงๆจบแล้ว อาจมีการอภิปรายและซักถามผู้แสดงเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แยกแยะอารมณ์ของผู้แสดงแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร และผู้แสดงเกิดความรู้สึกอย่างไร ทำไมจึงต้องแสดงเช่นนั้น ( ผู้แสดงต้องตอบ ) ด้วยความเป็นจริง ไม่ใช่อารมณ์ที่อยู่ภายใต้จิตสำนึกของตนเอง เป็นอารมณ์ที่เกิดจากบทบาทของตัวละครที่ได้รับมอบหมาย
ตัวอย่างบทบาท ในวิชาการสวมบทบาท
ให้คณะวิทยากรสาธิต
เนื้อเรื่องเป็นการแสดงถึงปัญหาที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่อาจนำมาใช้ให้เข้ากับงานของลูกเสือ
จุดมุ่งหมายของการแสดงการสวมบทบาทเรื่องนี้
เพื่อเปิดโอกาสให้มีการวินิจฉัยปฏิกิริยาของผู้ดูที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้แสดง
บทนำเรื่อง
นายสามารถ เป็นหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด และนางสาวต้อยติ่ง เป็นเสมียนในสำนักงานฯ มาแล้ว 15 ปี เนื่องจากงานลูกเสือมีปริมาณเพิ่มและมากขึ้น ต้อยติ่งเพียงคนเดียวไม่สามารถที่จะทำงานได้สำเร็จไปได้ด้วยดีสามารถจึงได้จัดหาคนมาช่วยอีกหนึ่งคนคือ นายสมศักดิ์ และในระยะแรกนี้สามารถได้มอบให้ทั้งสองคน ( ต้อยติ่งและสมศักดิ์ ) ทำงานอยู่ที่โต๊ะเดียวกันไปก่อน ต่อมาทั้งสองคนเกิดความขัดแย้งกันขึ้น
ลักษณะนิสัยของตัวละคร
สามารถ เป็นหัวหน้าที่ไม่สนใจกับงานและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
ต้อยติ่ง เป็นคนจู้จี้ อารมณ์อ่อนไหว ทะเยอทะยาน
สมศักดิ์ เป็นใหม่ที่ขยันขันแข็ง รู้งานแต่เป็นคนโผงผาง
ดำเนินเรื่อง
วันหนึ่งระหว่างพักกลางวันภายในห้องทำงาน สมศักดิ์ได้เสนอแนวความคิดและความต้องการของตนกับสามารถผู้เป็นหัวหน้าสำนักงานฯ
สมศักดิ์ “ทำไมท่านไม่จัดโต๊ะของกระผมและคุณต้อยติ่ง แยกออกจากกันสักทีครับ”
สามารถ “ทำไมหรือ ? ก็ดีอยู่แล้วนี่”
สมศักดิ์ “กระผมคิดว่า ถ้าเราได้แยกโต๊ะทำงานกันเป็นสัดส่วน การปฏิบัติงานของกระผมก็จะดีและสะดวกขึ้น และทำงานได้มากกว่านี้อีกมากครับ ”
สามารถ หันไปพูดกับต้อยติ่ง โดยไม่สนใจกับคำพูดของสมศักดิ์เลย “คุณต้อยติ่ง คุณทำงานที่นี่มาก็ 15 ปีแล้วนะ สำนักงานเรารู้สึกภูมิใจมาก คุณจะไม่เสนอแนะอะไรบ้างหรือที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์กับสำนักงานของเรา”
ต้อยติ่งนั่งฟังอย่างสนใจ และสามารถพูดต่อ
“คุณต้อยติ่ง คุณเห็นว่า สมศักดิ์เป็นคนดีไหม ดูเหมือนว่าเขาทำงานตามที่คุณสั่งทุกอย่างเลยนะ”
หันไปพูดกับสมศักดิ์
“คุณสมศักดิ์ คุณนึกอย่างไรในความทะเยอทะยานของคุณต้อยติ่ง คุณคงจะเคยได้ยินว่าคุณต้อยติ่งเฝ้าแต่บ่นแล้วบ่นเล่า เรื่องต่างๆมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสำนักงานเรา ”
สมศักดิ์ หันไปคุยกับต้อยติ่ง
“คุณต้อยติ่ง”
“คุณทำงานที่นี่มาตั้งนานถึง 15 ปี แล้วนะ เงินเดือนคุณก็มากและคุณเองก็ทำงานดี ยิ่งกว่านั้นคุณกับหัวหน้าก็เข้ากันได้ดีตลอดมา”
“เอ....”
“ ผมคิดว่า... ”
“ คุณไม่เคยสนใจและเอาใจใส่การบริหารงานของหัวหน้าเลยเพราะเขาเอาแต่สั่งๆแล้วก็ไป คุณก็ทำๆๆ ทำตามสั่งอยู่คนเดียวตลอด ”
ต้อยติ่ง “ นี่นี่ คุณสมศักดิ์ ”
“ คุณทำงานที่นี่มา 6 อาทิตย์แล้วนะ ”
“ คุณจะคิดปรับปรุงานของหัวหน้าของดิฉันและสำนักงานเชี่ยวหรือ ”
สมศักดิ์ “ ครับ ”
ต้อยติ่ง “ นี่ คุณออกจากงานเดิม เพราะภรรยาของคุณใช่ไหม ”
สมศักดิ์ “ ทำท่างง ”
ต้อยติ่ง “ คุณจะสนุกกับงานเก่า ของคุณมากสินะ แล้วคุณก็คงจะคิดว่างานใหม่ที่นี่คงจะให้คุณมาคิกปรับปรุงอีกนะสิ ”
ลักษณะการพูดประโยคนี้กระทบกระทั่ง
“ ถ้าคุณทำได้ ก็คงจะเป็นประโยชน์อย่างมากเชียวนะ แก่สำนักงานเรา ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น