10. การอภิปรายเป็นคณะ (PANEL METHOD)
วิธีการให้การฝึกอบรมวิธีนี้ คือ การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีจำนวนตั้งแต่ 3-10 คน
ในหัวข้อที่กำหนดโดยผู้ที่ทรงคุณวุฒิทุกคนจะเสนอให้ความรู้ ข้อเท็จจริง และแนวความคิดเห็น
ตามทัศนะของตนของแก่ผู้ฟัง หรืออาจใช้กลวิธีนี้ในการเสนอความคิดเพื่อวิเคราะห์ปัญหา
เพื่อพิจารณาข้อดีข้อเสียทางปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็อาจเป็นไปได้
ในหัวข้อที่กำหนดโดยผู้ที่ทรงคุณวุฒิทุกคนจะเสนอให้ความรู้ ข้อเท็จจริง และแนวความคิดเห็น
ตามทัศนะของตนของแก่ผู้ฟัง หรืออาจใช้กลวิธีนี้ในการเสนอความคิดเพื่อวิเคราะห์ปัญหา
เพื่อพิจารณาข้อดีข้อเสียทางปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็อาจเป็นไปได้
วิธีการ
แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ
แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ
1.การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายเดียวกัน (A Panel Presentation)
2.การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิถามและโต้ตอบกัน (A Panel Discussion)
3.การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและสมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรม (ผู้ฟัง )
ร่วมซักถามและแสดงความคิดเห็นด้วย (A Panel Forum)
ร่วมซักถามและแสดงความคิดเห็นด้วย (A Panel Forum)
การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (A Panel Presentation)
คือการที่ผู้ทรงคุณวุฒิ 3-5 คน ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการในแต่ละสาขาวิชากอปรกับประธาน (Chairman)
ของกลุ่มและทำหน้าที่เป็นพิธีกร (Moderator) ในโอกาสเดียวกัน เริ่มจากการแนะนำผู้ทรงคุณวุฒิทีละคนอย่างย่อๆ
พร้อมทั้งจัดกำหนดเวลาพูดและเสนอแนวความรู้ของผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
ของกลุ่มและทำหน้าที่เป็นพิธีกร (Moderator) ในโอกาสเดียวกัน เริ่มจากการแนะนำผู้ทรงคุณวุฒิทีละคนอย่างย่อๆ
พร้อมทั้งจัดกำหนดเวลาพูดและเสนอแนวความรู้ของผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
ลักษณะการพูดหรือเสนอผลงานจะอยู่ในรูปของสื่อทางเดียว ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ไม่มีโอกาสที่จะได้แสดงความคิดเห็นของตน เมื่อมีความต้องการโต้แย้งหรือคับข้องใจ
ถ้าไม่ได้รับอนุณาตหรือเปิดโอกาสให้
ไม่มีโอกาสที่จะได้แสดงความคิดเห็นของตน เมื่อมีความต้องการโต้แย้งหรือคับข้องใจ
ถ้าไม่ได้รับอนุณาตหรือเปิดโอกาสให้
การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิถามและโต้ตอบกัน (A Panel Discussion)
คือการเสนอความรู้และความคิดเห็นแก่ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการอบรมในลักษณะเช่นเดียว
กับวิธีการแรกคงแตกต่างกันเพิ่มขึ้นก็ตรงที่ประธารของกลุ่มผู้ทรงคุฯวุฒินั้นจะเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
มีการซักถามและโต้แย้งระหว่างกันขึ้น (Discussion) ทำให้เกิดความรู้และแนวคิดแก่ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ได้กว้างขวางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ยังไม่ได้รับโอกาสโต้แย้งหรือ
ขจัดข้อสงสัยเมื่อต้องการถาม
กับวิธีการแรกคงแตกต่างกันเพิ่มขึ้นก็ตรงที่ประธารของกลุ่มผู้ทรงคุฯวุฒินั้นจะเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
มีการซักถามและโต้แย้งระหว่างกันขึ้น (Discussion) ทำให้เกิดความรู้และแนวคิดแก่ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ได้กว้างขวางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็ยังไม่ได้รับโอกาสโต้แย้งหรือ
ขจัดข้อสงสัยเมื่อต้องการถาม
การอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม (A Panel Forum)
คือลักษณะการจัดการอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ แบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 เช่นกัน
สำหรับรูปลักษณะในหัวข้อที่ให้นั้นจะเปิดโอกาสให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมเสนอแนวคิด
หรืออภิปรายร่วมกับกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นคณะหรือรายบุคคลด้วย
สำหรับรูปลักษณะในหัวข้อที่ให้นั้นจะเปิดโอกาสให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมเสนอแนวคิด
หรืออภิปรายร่วมกับกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นคณะหรือรายบุคคลด้วย
ขั้นดำเนินการ
1.ประธานหรือพิธีกร (Chairman/Moderator) แนะนำกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล
และหัวข้อการอภิปราย
2.-กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิอภิปรายเป็นรายบุคคลหรือเป็นคณะ ตามเนื้อหาวิชาที่กำหนด (A Panel Presentation)
-อาจจัดให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ซักถามระหว่างกันก็ได้ (A Panel Discussion)
-เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ถามข้อข้องใจและร่วมอภิปรายได้ (A Panel Forum)
3.ประธานจะปฏิบัติหน้าที่เสมือนพิธีกรคือ แสดงทัศนคติหรือความคิดของตนเองได้
จากนั้นประธานจะต้องสรุปแนวความคิดและผลการอภิปราย กล่าวขอบคุณและกล่าวจบ
จากนั้นประธานจะต้องสรุปแนวความคิดและผลการอภิปราย กล่าวขอบคุณและกล่าวจบ
ข้อดีข้อจำกัด
1.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆด้านในเวลาเดียวกัน
2.วิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนมากๆได้
ข้อควรคำนึง
1.ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องได้รับการคัดเลือกมาอย่างดีที่จะพูดในหัวข้อเดียวกับที่กำหนดให้
2.ประธานหรือพิธีกร จะต้องเตรียมการหรือขั้นตอน ตลอดจนแบ่งเวลาสำหรับผู้อภิปรายตามความเหมาะสม
บทสรุป
การอภิปรายเป็นคณะ อาจดำเนินการตามขั้นตอนลักษณะที่ 1,2 หรือ3 ในเวลาของการจัดการอภิปรายคณะ
ไปพร้อมกัน หรืออาจแยกจัดแต่ละลักษณะก็ได้เช่นกัน และในทางปฏิบัติก็นิยมกระทำทั้ง 3 รูปแบบไปพร้อมกัน
เพราะทำให้ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ไปพร้อมกัน หรืออาจแยกจัดแต่ละลักษณะก็ได้เช่นกัน และในทางปฏิบัติก็นิยมกระทำทั้ง 3 รูปแบบไปพร้อมกัน
เพราะทำให้ผู้ฟังหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ข้อเสนอแนะบางประการ
หน้าที่ผู้ดำเนินการอภิปราย
1.อารัมภบทเกี่ยวกับหัวข้อที่จะอภิปรายทั่วๆไป เพื่อปูพื้นฐานให้ผู้ฟังทราบว่าจะพูดเรื่องอะไร
2.กล่าวแนะนำผู้อภิปรายเป็นรายบุคคล โดยเน้นคุณสมบัติ คุณวุฒิและความชำนาญพิเศษ
เพื่อให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาในตัวผู้อภิปราย
เพื่อให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาในตัวผู้อภิปราย
3.เชิญผู้อภิปรายได้อภิปราย (โดยกำหนดเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า)
4.กล่าวสรุป กล่าวขอบคุณ ทั้งผู้อภิปรายและผู้ฟัง และกล่าวจบการอภิปรายเป็นลำดับสุดท้าย
หน้าที่ผู้อภิปราย
1.อธิบายขอบเขตและความรับผิดชอบของตน และโยงเข้าสู่ปัญหาหรือหัวข้ออภิปราย
2.กล่าวปัญหาตามหัวข้อที่กำหนดภายในขอบเขตของหัวข้ออภิปราย
3.เน้นการนำกิจการลูกเสือ ที่มีส่วนร่วมให้ประโยชน์ในหัวข้อที่กำหนด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น