Translate

หน้าเว็บ

20 ตุลาคม 2561

การบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษา

การบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษา

ลักษณะของกองและหมู่
กองลูกเสือของโรงเรียน  จะมีลูกเสือประเภทต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามสภาพของโรงเรียน  เช่น โรงเรียนระดับประถมศึกษา ก็จะมีลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
จะมีลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  และในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาก็จะมีลูกเสือวิสามัญ   แต่อย่างไรก็ตาม กองลูกเสือของทุกโรงเรียนก็จะต้องประกอบด้วยหมู่ลูกเสือตั้งแต่  ๒ หมู่
ขึ้นไป  จึงจะตั้งเป็นกองลูกเสือได้  ยกเว้นลูกเสือวิสามัญต้องมีลูกเสือตั้งแต่  ๑๐ คนขึ้นไป จึงจะตั้งเป็นกองลูกเสือได้
หมู่ลูกเสือแต่ละประเภทอาจมีจำนวนไม่เท่ากัน  เช่น หมู่ลูกเสือสำรอง มีลูกเสือ ๔ – ๘ คน
หมู่ลูกเสือสามัญ และสามัญรุ่นใหญ่  มีจำนวนลูกเสือ ๖ – ๘ คน สำหรับลูกเสือวิสามัญแบ่งเป็นหมู่
หรือชุด  เพราะเป็นลูกเสือที่โตแล้ว ชุดละ  ๔ – ๖ คน ทุกหมู่จะต้องมีนายหมู่เป็นหัวหน้า และรองนายหมู่เป็นรองหัวหน้า  โดยแต่ละกองลูกเสือของทุกประเภท จะต้องมีผู้กำกับลูกเสือควบคุมดูแล กองละ ๑  คน และมีรองผู้กำกับลูกเสือ อย่างน้อยกองละ ๑ คนเป็นผู้ช่วย
การตั้งกองลูกเสือ
การขอตั้งกองลูกเสือนั้นเป็นหน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือ  ถ้ากองลูกเสืออยู่ในส่วนกลางจะต้อง
ขอตั้งกองจากสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ  แต่ถ้าอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้ขอตั้งกอง
ที่จังหวัดที่กองลูกเสือนั้น  ๆ ตั้งอยู่
การขอดำเนินการขอตั้งกองลูกเสือ
๑.  ผู้กำกับลูกเสือรวบรวมใบสมัครของลูกเสือ  (ลส. ๓) อย่างน้อย ๒ หมู่ ลงทะเบียน
(ลส. ๘) ไว้
๒.  ผู้กำกับลูกเสือและรองผู้กำกับลูกเสือ  เขียนใบสมัครเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ (ลส. ๒)
๓.  ผู้กำกับลูกเสือเขียนใบขอตั้งกองลูกเสือ  (ลส. ๑)
๔.  ผู้กำกับลูกเสือทำหนังสือราชการขอตั้งกองลูกเสือ  ถึงสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ หรือจังหวัด  แล้วแต่กรณี โดยแนบ ลส.๑ และ ลส. ๒ ไปด้วย ผู้บริหารโรงเรียน
เป็นผู้ลงนามในหนังสือ
๕.  เมื่อสำนักงานคณะกรรมการบริหารฯ หรือจังหวัด  อนุมัติให้จัดตั้งกองลูกเสือได้ ก็ จะส่งใบตั้งกองลูกเสือ  (ลส. ๑๒) และใบตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ (ลส. ๑๓) มาให้โรงเรียนก็เป็นอันว่าการตั้งกองลูกเสือเรียบร้อยแล้ว
การดำเนินการสอนวิชาลูกเสือ
เมื่อได้ขอตั้งกองลูกเสือเรียบร้อยแล้วผู้กำกับลูกเสือต้องดำเนินการสอนลูกเสือ  ดังนี้
๑.  นำหลักสูตรวิชาลูกเสือมาศึกษาว่า  ลูกเสือที่ตนจะทำการสอนและฝึกอบรมนั้น  
มีวิชาอะไรบ้าง  แต่ละขั้นตอนมีกี่วิชา  โดยทำโครงการสอนตลอดปีไว้   และกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบ
ไว้โดยเฉพาะ
๒.  จัดหาอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ให้ครบ  เพื่อจะได้ฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หีบอุปกรณ์  
โดยมีอุปกรณ์ใส่ไว้ในหีบ
๓.  การสอนวิชาลูกเสือต้องคำนึ่งถึงการฝึกกลางแจ้งให้มากที่สุด  และฝึกแบบเรียน
โดยการปฏิบัติจริงเสมอ
๔.  การสอนวิชาพิเศษ  เนื่องจากวิชาลูกเสือเป็นวิชาที่ต้องการให้เด็กได้แสดงออกถึง
ความสามารถตามอัตภาพของตน  จึงส่งเสริมให้เด็กเรียนและสอบวิชาพิเศษตามขั้นตอน  เพื่อรับ
และประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถของตน  เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาจะต้องจัดสอนวิชาพิเศษ  เพื่อสนองความต้องการของลูกเสือให้มากที่สุด เพราะต้องให้เด็กมีโอกาสเลือกตามความถนัด
การจัดทำสมุดบันทึกการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือและสมุดบันทึกการประชุมนายหมู่ลูกเสือ
๑.  การประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ควรจะมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง  
เพื่อทบทวนและประเมินผลการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ของแต่ละคนตลอดทั้งเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง  ๆ ที่เกิดขึ้น การประชุมต้องมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ลงชื่อผู้เข้าร่วมประชุมไว้ด้วย  มติต่าง ๆ
ที่ได้กำหนดไว้ในที่ประชุมถือว่าเป็นข้อยุติดำเนินการตามนั้นทุกประการ  (การประชุมทุกครั้งต้องมีประธานและเลขานุการบันทึกการประชุม)
๒.  การประชุมนายหมู่ลูกเสือ  เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกเสือกล้าแสดงออกแบบประชาธิปไตย ช่วยกันแก้ปัญหา  และหาทางส่งเสริมลูกเสือด้วยกันเอง แต่เนื่องจากนายหมู่ยังเป็นเด็ก อาจทำอะไร
ไม่ถูกต้อง  จึงต้องมีผู้บังคับบัญชาลูกเสือเป็นที่ปรึกษา  คอยแนะนำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของ
คณะลูกเสือแห่งชาติ  แต่เวลาประชุมแสดงความคิดเป็น  ปล่อยให้ลูกเสือดำเนินการกันเอง  โดยมีการเลือกตั้งประธาน เลขาธิการ ตลอดทั้งการจัดที่ประชุม  และพิธีการเปิด – ปิดการประชุม ผู้บังคับบัญชาต้องแนะนำพิธีการทั้งหมดโดยตลอด  แล้วคอยเสนอแนะ เมื่อลูกเสือดำเนินการผิดต่อข้อบังคับ ฯ
หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เท่านั้น  และจะต้องมีสมุดบันทึกรายงานการประชุมของนายหมู่ลูกเสือ  เช่นเดียวกับของผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกประการ การประชุมของนายหมู่ลูกเสือ  ควรมีการประชุม
ทุกครั้งที่มีการเรียนวิชาลูกเสือ
บัตรประจำตัวลูกเสือ  (ลส.๑๕,๑๖และ๑๗)
ลูกเสือทุกคน  ควรมีบัตรประจำตัวจะบันทึกการสอบวิชาพิเศษไว้ทุกวิชาที่ลูกเสือผู้นั้นสอบผ่าน
จึงเท่ากับเป็นบัตรแสดงความสามารถ  ที่ลูกเสือผู้นั้นมีความภาคภูมิใจ ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องทำให้กับ
ลูกเสือทุกคน
ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติกำหนด  ให้นักเรียนระดับ ป.๑-๓ เป็นลูกเสือสำรอง  ป.๔-๖ เป็นลูกเสือสามัญ ม.๑-๓ เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

หมายเหตุ ๑. คำว่า “ลูกเสือ” ให้หมายถึงเนตรนารีด้วย
๒.  แบบ ลส. ต่าง ๆ ( ลส. ๑ – ลส. ๑๙ ) สั่งซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์

การจัดหน่วยลูกเสือ
ให้จัดแบ่งลูกเสือ  ดังนี้
กลุ่มลูกเสือ  ประกอบด้วยกองลูกเสือ  ๔ ประเภท ประเภทละ ๑  กอง เป็นอย่างน้อยคือ
-  ลูกเสือสำรอง
-  ลูกเสือสามัญ
-  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
-  ลูกเสือวิสามัญ
หรือประกอบด้วยลูกเสือประเภทเดียวตั้งแต่  ๔ กองขึ้นไป
หรือถ้ามีลูกเสือ ๒ – ๓ ประเภท  ต้องมีประเภทละ ๒ กองขึ้นไป

หมายเหตุ   กลุ่มลูกเสือที่ประกอบด้วยกองลูกเสือ  ๔ ประเภท เรียกว่า “กลุ่มลูกเสือที่สมบูรณ์”
กองลูกเสือ  ประกอบด้วยลูกเสือตั้งแต่  ๒ – ๖ หมู่
หมู่ลูกเสือ  สำรอง ๔-๖ คน  สามัญ ๖-๘ คน สามัญรุ่นใหญ่  ๔-๘ คน
ผู้บังคับบัญชา
๑. ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือ  ลูกเสือกองหนึ่ง ๆ มีผู้กำกับได้ ๑ คน  ส่วนรองผู้กำกับมีได้ตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป
๒. ผู้กำกับกลุ่มและรองผู้กำกับกลุ่ม  จำนวนเช่นเดียวกับข้อ ๑
๓. ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน และรองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน แต่งตั้งจากผูบริหารและรองผู้บริหารสถานศึกษา

คุณสมบัติของผู้ที่จะขอแต่งตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ  ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
พ.ศ. ๒๕๕๓  กำหนดกรแต่งตั้งไว้ดังนี้
ข้อ  ๔ “ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ”  หมายความว่า ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนโรงเรียน  รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ  รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ ผู้กำกับกองลูกเสือ รองผู้กำกับกองลูกเสือ  นายหมู่ลูกเสือและรองนายหมู่ลูกเสือ
ข้อ  ๕ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องมีคุณสมบัตร  ดังต่อไปนี้
๑.  เป็นผู้สุภาพเรียบร้อย  มีความประพฤติดี สมควรเป็นแบบอย่างที่ดีกับเด็ก
๒.  เป็นผู้มีศาสนา
๓.  เป็นผู้ซึ่งไม่มีโรคเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
๔.  เป็นผู้มีสัญชาติไทย  หรือไม่มีสัญชาติไทยต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
๕.  เป็นผู้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์  หลักการและวิธีการของลูกเสือ
๖.  เป็นผู้มีอาชีพเป็นหลักฐานไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
๗.  มีอายุและผ่านการฝึกอบรม  ดังนี้
๗.๑  ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน  ให้แต่งตั้งจากผู้อำนวยการสถานศึกษานั้นและต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์  รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน ให้แต่งตั้งจากผู้อำนวยการสถานศึกษานั้นและต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์
ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ยังไม่ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์  ให้รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนไปก่อน และต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ภายในหนึ่งปี  นับจากวันที่ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
๗.๒  ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ  มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๘ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ  มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์
๗.๓  ผู้กำกับกองลูกเสือวิสามัญ  มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือวิสามัญ  รองผู้กำกับกองลูกเสือวิสามัญ มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๓ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ขั้นความรู้เบื้อต้น
๗.๔  ผู้กำกับกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๓ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  รองผู้กำกับกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๑ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ขั้นความรู้เบื้อต้น
๗.๕  ผู้กำกับกองลูกเสือสามัญ  มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือสามัญ  รองผู้กำกับกองลูกเสือสามัญ มีอายุไม่น้อยกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นความรู้เบื้อต้น
๗.๖  ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง  มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือสำรอง  รองผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง มีอายุไม่น้อยกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์  และต้องได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้เบื้อต้น
๗.๗  นายหมู่ลูกเสือ  อายุขงนายหมู่ลูกเสือและรองนายหมู่ลูกเสือเป็นไปตามประเภทลูกเสือนั้นๆ
การตั้งนายหมู่และรองนายหมู่ลูกเสือ
๑.  ผู้กำกับลูกเสือสำรองเป็นผู้แต่งตั้งนายหมู่ลูกเสือ  เพื่อทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหมู่
ส่วนรองนายหมู่ลูกเสือให้ผู้กำกับแต่งตั้งโดยหารือนายหมู่ลูกเสือของหมู่นั้น
รองนายหมู่ลูกเสือทำหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่ลูกเสือและทำหน้าที่แทนเมื่อนายหมู่ลูกเสือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
๒.  ผู้กำกับลูกเสือสามัญ  เป็นผู้แต่งตั้งนายหมู่ลูกเสือ  โดยหารือลูกเสือนายหมู่นั้น หรือผู้กำกับลูกเสือเลือกนายหมู่ลูกเสือเองโดยหารือที่ประชุมนายหมู่
ส่วนรองนายหมู่ให้ผู้กำกับแต่งตั้ง  โดยหารือนายหมู่ของหมู่นั้น
ในกรณีที่ยังไม่มีที่ประชุมนายหมู่  (ตั้งกองใหม่) ให้ผู้กำกับหารือลูกเสือในหมู่นั้น  เพื่อแต่งตั้ง
นายหมู่ขึ้น
นายหมู่ควรมีความสามารถในการเป็นผู้นำ  และสอบไล่ได้วิชาลูกเสือเอก ส่วนรองนายหมู่
สอบไล่ได้วิชาลูกเสือโท
๓.  ผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เป็นผู้แต่งตั้งนายหมู่โดยหารือลูกเสือในหมู่นั้น  หรือผู้กำกับ
ลูกเสือเลือกนายหมู่ลูกเสือเองโดยหารือที่ประชุมนายหมู่
ส่วนรองนายหมู่ให้ผู้กำกับแต่งตั้ง  โดยหารือนายหมู่ของหมู่นั้น
ในกรณีที่ยังไม่มีการประชุมนายหมู่  (ตั้งกองใหม่) ให้ผู้กำกับหารือลูกเสือในหมู่นั้นเพื่อแต่งตั้งนายหมู่ขึ้น
นายหมู่ควรมีความสามารถในการเป็นผู้นำ  และสอบไล่วิชาลูกเสือเอก ส่วนรองนายหมู่สอบไล่ได้วิชาลูกเสือโท
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
๑.  ผู้กำกับลูกเสือ
๑.๑  บังคับบัญชาฝึกอบรมและรับผิดชอบกิจการในกองลูกเสือของตน  ทั้งต้องปฏิบัติ
ตามคำแนะนำของผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
๑.๒  เป็นที่ปรึกษาในการประชุมนายหมู่ลูกเสือ
๑.๓  รับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับวินัย  และการรับจ่ายเงินในกองลูกเสือ
๑.๔  ฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือ
๒.  รองผู้กำกับลูกเสือ
มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยและทำหน้าที่แทน  เมื่อผู้กำกับลูกเสือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
๓.  ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
๓.๑  ปรับปรุงกลุ่มลูกเสือให้เป็นกลุ่มลูกเสือที่สมบูรณ์  เว้นแต่มีความจำเป็นที่ไม่อาจทำเช่นนั้นได้
๓.๒  ดูแลแนะนำและประสานงานของกลุ่มลูกเสือทุกประเภท
๓.๓  ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมกลุ่ม
๓.๔  เสนอแต่งตั้งกรรมการกลุ่ม  และตนเองเป็นกรรมการร่วมด้วย
๔.  รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
มีหน้าที่เป็นผู้ช่วย และทำหน้าที่แทนเมื่อผู้กำกับกลุ่มลูกเสือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
๕.  ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
มีหน้าที่อำนวยการลูกเสือทั่วไปในโรงเรียน
๖.  รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
มีหน้าที่เป็นผู้ช่วย และทำหน้าที่แทนเมื่อผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
๗.  นายหมู่ลูกเสือ
มีหน้าที่วางแผนปฏิบัติกิจกรรมของหมู่  รวมทั้งการไปอยู่ค่ายพักแรมโดยมีรองนายหมู่
เป็นผู้ช่วยผู้กำกับลูกเสือเป็นผู้ให้คำแนะนำ
การโอนทะเบียน
เมื่อลูกเสือผู้ใดจะย้ายจากกองหนึ่งไปเข้าอีกกองหนึ่งให้กองลูกเสือกองเดิมลงรายการในใบโอนทะเบียน  แล้วให้มอบให้แก่ลูกเสือผู้นั้นนำไปยังกองใหม่พร้อมกับบัตรประจำตัวลูกเสือ
การจำหน่ายทะเบียน
การจำหน่ายลูกเสือออกจากทะเบียนย่อมทำได้  ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งต่อไปนี้
๑. ลาออก
๒. ตาย
๓. โอนทะเบียน
๔. ถูกลงโทษคัดชื่อออกจากทะเบียน
การทดสอบของลูกเสือ
๑.  การทดสอบเพื่อเลื่อนชั้นตามปรกติ  ให้เป็นหน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือ  เป็นผู้ดำเนิน
การสอบ
๒  การทดสอบวิชาพิเศษลูกเสือ  การสอบวิชาลูกเสือ  ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบโดยแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นกรรมการสอบ  ให้รายงานผลการสอบต่อเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ (ในส่วนกลาง) หรือผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด (ในส่วนภูมิภาค)  เพื่อพิจารณาอนุมัติผลการสอบและประดับเครื่องหมายนั้น ๆ ในการทำรายงาน ให้แนบผลการสอบและสำเนาข้อสอบ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปด้วย
๓. การทอสอบเพื่อเลื่อนชั้นหรือวิชาพิเศษลูกเสือ  อาจทำในขณะที่ไปอยู่ค่ายพักแรม  
และจะจัดให้มีขึ้นปีละกี่ครั้งก็ได้
๔  การทดสอบให้ดำเนินตามรายละเอียดที่กำหนด  ไว้แต่ละวิชาโดยมุ่งถึงคุณภาพ
และการปฏิบัติได้จริงจังเป็นสำคัญเมื่อลูกเสือคนใดสอบได้  ก็ให้กรรมการสอบลงนามรับรอง
ในสมุดประจำตัวลูกเสือ  และเมื่อเสร็จการสอบแล้วให้ผู้กำกับกรอกผลการสอบลงในทะเบียนลูกเสือ
ให้ตรงกันด้วย
๕  การทดสอบเพื่อเลื่อนชั้น  เมื่อมีการสอบได้วิชาใดแล้วให้เก็บผลการสอบวิชานั้นไว้  
เมื่อได้ครบทุกวิชาก็ให้เลื่อนชั้นได้
ส่วนวิชาพิเศษลูกเสือนั้นไม่มีการเก็บผลไว้ถ้าสอบไม่ได้ก็ให้สอบใหม่ทุกคราว
๕.  ต้องมีความรู้อย่างดีก่อน  ผู้กำกับลูกเสือต้องการฝึกสอนลูกเสือให้เด็กตามหลักสูตร
และมั่นใจว่าลูกเสือผู้นั้นมีความรู้ความสามารถในวิชานั้น ๆ เป็นอย่างดีแล้ว  จึงอนุญาตให้เข้าทดสอบ

วินัยลูกเสือ
๑.  บรรดาลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และหน้าที่ลูกเสือพึงปฏิบัติตามวินัยและแบบธรรมเนียมของลูกเสือ
๒.  โทษผิดวินัยที่ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน  รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือรองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ จะลงโทษแก่ลูกเสือมี  ๓ สถาน คือ
(๑)  ตักเตือน
(๒)  ทำโทษ
(๓)  คัดชื่อออกจากทะเบียน
ตักเตือน  คือ การว่ากล่าวให้รู้สึกผิดและชอบ  ในการนี้จะบันทึกรวมเรื่องไว้ด้วยก็ได้
ทำโทษ  คือ การทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ที่สมควรแก่ความผิด และวัยของผู้รับโทษ
เฉพาะ เป็นการปลูกนิสัยที่ดี  ในการนี้จะบันทึกรวมเรื่องไว้ด้วยก็ได้
คัดชื่อออกจากทะเบียน  คือ การสั่งให้ขาดจากากรเป็นลูกเสือ
๓.  โทษผิดวินัยที่จะลงแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือสถานใดนั้น  ให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม
โทษ “ คัดชื่อออกจากทะเบียน ”  จะลงแก่ลูกเสือผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
จะอบรมลูกเสือไปสู่จุดไหน
ในการฝึกอบรมลูกเสือผู้กำกับลูกเสือจะต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนโดยมุ่งให้เยาวชนพัฒนา
ทางกายสติปัญญา  จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี  มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า  มีความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้
๑.  ให้ลูกเสือมีความรู้ ความเข้าใจ  และสามารถปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
๒.  ให้ลูกเสือมีทักษะการสังเกต  จดจำ การใช้เครื่องมือ การแก้ปัญหา  และทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
๓.  ให้ลูกเสือมีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความกล้าหาญ อดทน เชื่อมั่นในตนเอง  มีระเบียบวินัย มีความสามัคคีเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  มีความเสียสละ บำเพ็ญตน เพื่อสาธารณประโยชน์
๔.  ให้ลูกเสือมีการพัฒนาอยู่เสมอ  สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจ และพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ
การสอนลูกเสือจะให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายดังกล่าวนี้   ผู้กำกับลูกเสือควรจะได้นำลูกเสือ
ออกบริการชุมชน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะเมื่อมีโอกาส  และเทศกาลต่าง ๆ
ทั้งนี้ ผู้กำกับลูกเสือจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี โดยเฉพาะการสร้างระเบียบวินัย
ให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก
สิ่งที่จะช่วยส่งเสริมระเบียบวินัย
๑.  การแต่งเครื่องแบบลูกเสือที่ถูกต้อง  ผู้กำกับต้องกวดขันและเคร่งครัดในเรื่องนี้
๓.  พิธีการต่าง ๆ เช่น พิธีเข้าประจำกอง  พิธีประชุมรอบเสาธงตอนเช้า พิธีเปิดประชุมกอง พิธีสวนสนาม การฝึกระเบียบแถว  เป็นต้น
ในการปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีการต่าง ๆ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอน  ความสำรวม
เป็นสิ่งจำเป็นในขณะทำพิธีจะต้องให้เด็กอยู่ในความสงบ
ผู้บริหารจะสนับสนุนกิจการลูกเสืออย่างไร
๑.  ควรเข้ารับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสืออย่างน้อยขั้นความรู้ชั้นสูง
๒.  ส่งเสริมให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้ารับการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือทุกคน
๓.  จัดหาเงิน  อุปกรณ์ในการฝึกอบรม
๔.  ชั่วโมงหรือคาบที่มีการสอนลูกเสือให้นับเป็นชั่วโมง การสอนเหมือนวิชาอื่น ๆ
๕.  สร้างขวัญ และกำลังใจแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  โดยพิจารณาความดีความชอบสำหรับ
ผู้ที่ทุ่มเทในกิจการลูกเสือ และไปเยี่ยมเยียน  เมื่อมีการนำลูกเสือไปอยู่ค่ายพักแรม
จงอย่าเคียดขึ้งแก่ ผู้มิตร
แม้ว่าเห็นสิ่งผิด เตือนตอบ
อย่ามัวแต่เกรงจิต เสียประโยชน์
แม้ว่าเห็นสิ่งชอบ ช่วยซร้องสรรยอ
                        พระราชนิพนธ์  รัชกาลที่ ๖

การพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาด้านลูกเสือ

๑.  ความหมายของคุณภาพการศึกษา
การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมโดยใช้กระบวนการลูกเสือที่ทำให้ลูกเสือเกิดการพัฒนาตนเอง มีคุณธรรม  จริยธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม มีความเคารพในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ระบอบประชาธิปไตย และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
ในส่วนของการจัดการศึกษาด้านลูกเสือก็เช่นกัน  ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของคุณภาพ
จากปัจจัยด้านหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตร ความเอาใจใส่จากผู้บริหารและผู้สอน  ความพร้อม
ของผู้เรียนกระบวนการจัดการเรียนการสอน  และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอน
คุณภาพของเยาวชนไทยยังไม่เป็นที่พอใจ
บุคคลทั่วไปและผู้ปกครองส่วนหนึ่ง  ได้ประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทย
โดยประเมินจากพฤติกรรมของเยาวชนไทย อันเป็นผลผลิตของกระบวนการจัดการศึกษา  และได้เสนอด้านคุณภาพ ซึ่งรอการปรับปรุงพัฒนาไว้อย่างน่าสนใจ
เยาวชนไทยยุคใหม่  มีจุดอ่อนในคุณลักษณะดังนี้
๑.  รู้แต่ทฤษฎี  แต่ทำไม่เป็น ขาดการฝึกปฏิบัติจริง
๒.  ไม่มีเหตุผล  จึงใช้ความรู้สึกตนเองเป็นจุดยืน
๓.  ขาดความเชื่อมั่นไม่กล้าแสดงออก
๔.  โลกทัศน์แคบ  สนใจตัวเอง
๕.  ขาดความรับผิดชอบ
๖.  ขาดความคิดริเริ่ม
๗.  ไม่มีความอดทนอดกลั้น
๘.  ทำงานเป็นทีมไม่ได้  ไม่เคยฝึกทำงานร่วมกัน  จึงตัดสินด้วยอารมณ์
๙.  ใช้ภาษาไม่ถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
๑๐.  ขาดความกระตือรือร้น
๑๑.  ขาดทักษะการทำงาน
๑๒.  ขาดการพัฒนาบุคลิกภาพ จึงไม่รู้จักเคารพผู้อาวุโส  ไม่มีความอดทนในการทำงาน
๑๒.  ย่อหย่อนในคุณธรรม

เมื่อประเมินจากคุณภาพาของเยาวชนไทย จากคุณลักษณะดังกล่าวแล้วจะพบข้อสังเกตที่น่าสนใจมากกว่าปัญหาพฤติกรรมไม่พึงปรารถนาหลายประการ  สามารถแก้ไขและปรับปรุงได้ หากใช้กระบวนการลูกเสือเสือซึ่งเน้นการฝึกอบรมในเรื่องการทำงานกลุ่ม การพัฒนาศักยภาพของตนเอง
การเคารพกฎกติกาของสังคมและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากผลการวิจัยของกรมวิชาการ ซึ่งประเมินการใช้หลักสูตรของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  พบว่า “กิจกรรมเสริมหลักสูตรในโรงเรียนที่ได้ผลดีในการสอนเด็กนักเรียนไทย คือ กิจกรรมลูกเสือ เนื่องจากมีการจัดระบบแผนการฝึกอบรมที่เป็นเอกลักษณ์และเป็น
กิจกรรมที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน”
ดัชนีและมาตรการในการจัดการศึกษาด้านการลูกเสือ
ในการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาด้านลูกเสือ  หากจะให้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม นามธรรมจะได้กำหนดดัชนีเพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการศึกษา  และวางแนวทางอันเป็นมาตรการในการดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ ดังตัวอย่างต่อไปนี้





















ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้