Translate

หน้าเว็บ

20 ตุลาคม 2561

สาระสำคัญของการลูกเสือ

สาระสำคัญของการลูกเสือ

ขบวนการลูกเสือคืออะไร
ขบวนการลูกเสือ  คือขบวนการเยาวชนมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมให้การศึกษาและพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ  ศาสนา ทั้งนี้ เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ หลักการ และวิธีการ ซึ่งผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกได้ให้ไว้ ขบวนการนี้เป็นขบวนการระดับโลก  มีประเทศสมาชิก ๑๖๑ ประเทศ กอปรด้วย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ประมาณ  ๓๐,๐๐,๐๐๐ คน
“ลูกเสือ” หมายความว่า เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งใน
สถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่า “เนตรนารี”
“บุคลากรทางการลูกเสือ” หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการ
ลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ
องค์ประกอบสำคัญของการลูกเสือ
๑.  ลูกเสือ
๒.  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
๓.  มีจุดหมาย หรือประสบการณ์
๔.  กิจกรรม  (โดยเฉพาะกิจกรรมกลางแจ้ง)
๕.  การบริหารงาน
จุดหมายหรืออุดมการณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
มาตรา ๘ คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์  “เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา
จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคี
และมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ”  ตามแนวทาง
ดังต่อไปนี้
๑. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
๒. ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
๓. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
๔. ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
๕. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ
ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
มาตรา ๔๕ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีลำดับ ดังต่อไปนี้
๑. ผู้อำนวยการใหญ่
๒. รองผู้อำนวยการใหญ่
๓. ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่
๔. ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
๕. รองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
๖. ผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
๗. ผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
๘. รองผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
๙. ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
๑๐. รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
๑๑.  ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
๑๒.  รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
๑๓. ผู้กำกับกองลูกเสือ
๑๔. รองผู้กำกับกองลูกเสือ
๑๕. นายหมู่ลูกเสือ
๑๖. รองนายหมู่ลูกเสือ
บทลงโทษตาม พ.ร.บ. ลูกเสือ
มาตรา ๖๙ ผู้ใดแต่งเครื่องแบบลูกเสือ หรือประดับเครื่องหมายลูกเสือโดยไม่มีสิทธิ  เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ หรือแต่งกายเลียนแบบหรือประดับเครื่องหมายเพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าตนเป็นลูกเสือหรือบุคลากรทางการลูกเสือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๐ ผู้ใดทำปลอมเข็มลูกเสือสมนาคุณ หรือเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ด้วยวิธีใด ๆ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หลักการสำคัญของการลูกเสือ
๑.  มีศาสนา
๒.  มีความจงรักภักดีในมิตรภาพและเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลก
๓.  มีความศรัทธาในมิตรภาพและเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลก
๔.  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
๕.  การยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
๖.  การเข้าเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ
๗.  มีความเป็นอิสระต่ออิทธิพลทางการเมือง
๘.  มีกำหนดการพิเศษสำหรับการฝึกอบรมรมโดยอาศัย
-  ระบบหมู่ -  การทดสอบเป็นขั้น ๆ
-  เครื่องหมายวิชาพิเศษ -  กิจกรรมกลางแจ้ง


วิธีการ
วิธีการที่จะบรรลุถึงจุดหมาย  หรืออุดมการณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ คือการจัดให้มีการฝึกอบรมที่ก้าวหน้า   สนุกสนาน ดึงดูดใจ โดยอาศัยคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นบรรทัดฐาน
มีผู้ใหญ่เป็นผู้คอยให้คำแนะนำ
นโยบายในการฝึกอบรมลูกเสือ ใช้หลักสำคัญดังต่อไปนี้
๑.  เครื่องแบบลูกเสือ  ถือว่าเป็นเครื่องแบบที่มีเกียรติ เป็นเครื่องหมายแห่งความดี  ดังนั้นลูกเสือจะต้องพิถีพิถันในการแต่งเครื่องแบบลูกเสือที่ถูกต้องและสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ กับทั้งจะต้องประพฤติดีปฏิบัติตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือ เพื่อเป็นการรักษาชื่อเสียงของตนและของคณะลูกเสือแห่งชาติ  ส่วนเจ้าหน้าที่ทุกคนก็ควรแต่งลูกเสือในโอกาสอันควร และถือว่าเครื่องแบบลูกเสือเป็นเครื่องหมายแห่งความเสียสละ ในการที่ตนได้มีบทบาทในการฝึกอบรมเด็กให้เป็นพลเมืองดี
๒.  คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ  ผู้กำกับพึงหมั่นฝึกอบรมให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตาม
คำปฏิญาณและกฎของลูกเสืออยู่เสมอ  โดยเฉพาะในเรื่องความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเป็นพี่น้องของลูกเสือทั่วโลก    และการกระทำความดีต่าง ๆ โดยเน้นให้เห็นว่า
ผู้เป็นพลเมืองดีนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำความดี  และใช้ความดีนั้นให้เป็นประโยชน์ มิใช่เป็นคนดีอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไรเลย
๓.  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้กิจการลูกเสือมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป  รากฐานของคติพจน์ของลูกเสือทั้ง ๔ ประเภท เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ของลูกเสือ
ในการบำเพ็ญประโยชน์  ต่อผู้อื่น
ทำดีที่สุด”  คือ การทำเพื่อคนอื่นหรือเพื่อส่วนรวม  เป็นการกระทำที่ดีที่สุด
จงเตรียมพร้อม” คือ  พร้อมที่จะทำความดี  พร้อมเพื่อสร้าง พร้อมเพื่อส่วนรวม
มองไกล”  คือ มองให้เห็นเหตุผล มองให้เห็นคนอื่น  มองให้เห็นส่วนรวม มิใช่มองแต่ตัวเองหรือประโยชน์ของตนเอง
บริการ”  คือ การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น  แก่ส่วนรวม
นอกจากนี้  ในคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ  ก็ได้ระบุถึงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
โดยถือว่าสำคัญมาก  แหล่งหรือโอกาสที่ลูกเสือจะบำเพ็ญประโยชน์นั้น  ควรเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวก่อน แล้วขยายให้กว้างขวางออกไปตามวัยและความสามารถของเด็ก
๔.  การฝึกอบรมที่ต่อเนื่องกัน  และก้าวหน้าสูงขึ้น
๕.  ระบบหมู่  ฝึกความรับผิดชอบ  การเป็นผู้นำ ผู้ตาม  การปกครองระบอบประชาธิปไตย
๖.  ระบบเครื่องหมายวิชาพิเศษ  มีมากมายหลายอย่าง  ซึ่งลูกเสืออาจเลือกเรียนเรื่อง
ที่ตนสนใจได้ และเมื่อได้ผ่านการทดสอบแล้ว  ก็จะได้รับเครื่องหมายซึ่งนำมาประดับกับเครื่องแบบ
เป็นการเชิดชูเกียรติและแสดงสมรรถภาพของตนส่วนหนึ่ง
๗.  กิจกรรม  โดยเฉพาะกิจกรรมกลางแจ้ง  เช่น เดินทางไกล อยู่ค่าย  พักแรม ฯลฯ
๘.  การเล่น  ( เกมต่าง ๆ )
๙.  การร้องเพลงและการชุมนุมรอบกองไฟ
แนวการพัฒนาลูกเสือ  ๘ ประการ
๑.  พัฒนาทางกาย
๒.  พัฒนาทางสติปัญญา
๓.  พัฒนาทางจิตใจและศีลธรรม
๔.  พัฒนาในเรื่องค่านิยมและเจตคติ
๕.  พัฒนาทางสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
๖.  พัฒนาทางสัมพันธภาพทางสังคม
๗.  พัฒนาทางสัมพันธภาพทางชุมชน
๘.  พัฒนาทางด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
พลเมืองดีในทัศนคติของการลูกเสือ
๑.  มีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์
๒.  มีเกียรติเชื่อถือได้
๓.  มีระเบียบวินัย  สามารถบังคับใจตนเองได้
๔.  สามารถพึ่งตนเองได้
๕.  เต็มใจและสามารถช่วยเหลือชุมชน  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ทุกเมื่อ
ประโยชน์ของการลูกเสือ
๑.  เป็นการศึกษานอกแบบ
๒.  ช่วยเสริมการศึกษานอกโรงเรียนในด้าน
-  ความประพฤติ นิสัยใจคอ สติปัญญา
-  ความมีระเบียบวินัย
-  สุขภาพและพลัง
-  การมีฝีมือและทักษะ
-  หน้าที่พลเมืองและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
ท่านจะได้อะไรจากการลูกเสือ
๑.  ได้ผจญภัย (Adventure)
๒.  มีมิตรภาพ (Friendship)
๓.  มีชีวิตกลางแจ้ง (Outdoor life)
๔.  สนุก  (Enjoyment)
๕.  ความสัมฤทธิผล (Achievement)
(ผจญภัย – ได้เพื่อน – เถื่อนธาร – การสนุก – สุขสม)
กิจการลูกเสือต้องการอะไร
๑.  ต้องการเยาวชนมาสมัครเป็นลูกเสือมากขึ้น  ( พลเมืองดีมีคุณภาพจะมากขึ้น )
๒.  ต้องการผู้บังคับบัญชาที่มีสมรรถภาพในการฝึกอบรม
๓.  ต้องการเงินเพียงพอ  เพื่อนำมาใช้ในการฝึกอบรม  และบริหารกิจการลูกเสือ
โทษตนผิดให้เร่ง   รำพึง
เห็นชัดจัดแก้จึง ต้อง
อย่ามัวมุ่งคำนึง  โทษท่าน อื่นเลย
ความผิดจะพาดพ้อง   เพื่อค้นผิดเขา
  พระราชนิพนธ์  รัชกาลที่ ๖

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้