Translate

หน้าเว็บ

20 ตุลาคม 2561

จุดประสงค์แห่งการลูกเสือ

จุดประสงค์แห่งการลูกเสือ

จุดมุ่งหมาย
ตลอดวาระสุดท้ายของชีวิตอันยืนยาวของ  บี.พี. ท่านสรุปจุดมุ่งหมายของการลูกเสือไว้ว่า  
ในการฝึกอบรมเด็กชายนั้น  ขอให้ถือจุดมุ่งหมายอันสูงสุดนี้ไว้เหนือสิ่งอื่นใด  อย่างหลงไปกับขั้นตอน
หรือขบวนการฝึกอบรม
การฝึกอบรมนั้น  ขอให้เป็นเรื่องการพัฒนาเด็กชายในทางร่างกายความคิดและศีลธรรม
จุดมุ่งหมายของเรา  คือ การพัฒนาเยาวชนรุ่นต่อไป และให้เยาวชนตระหนักว่า  การที่ตน
ได้รับใช้ผู้อื่นนั้นเป็นการกระทำด้วยความรัก  ความศรัทธา เป็นการปฏิบัติเทิดทูนสถาบันของชาติ  
และโดยถือว่าเป็นหน้าที่ที่ตนมีต่อเพื่อนมนุษย์
อุปนิสัย
คำว่า  Character  เป็นคำหนึ่งที่  บี.พี. มักจะใช้กล่าวถึงจุดประสงค์  จุดมุ่งหมายของ
การลูกเสือ คำว่า Character นี้ท่านหมายถึงอะไรหรือ คำตอบมีคำอธิบายไว้ชัดเจนในข้อเขียนของท่าน
ที่เขียนไว้ในปี  ค.ศ. ๑๙๑๒ ที่ท่านกล่าวถึงหน้าที่ของลูกเสือในด้านการศึกษาว่า  ดังนี้
อุปนิสัย  (Character)  คือการศึกษาเรื่องอุดมคติอันสูง  การรู้จักพึ่งตนเอง ความสำนึก
ต่อหน้าที่  ความสุขุม คัมภีรภาพ  ความเชื่อมั่นในตนเอง และความเคารพผู้อื่น หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง
ก็คือ คุณลักษณะดังกล่าวประกอบกันขึ้นเป็น  Character
จุดประสงค์นี้  มิใช่สิ่งประหลาดสำหรับลูกเสือ  หากเราควรจดจำคุณลักษณะพิเศษ ที่ บี.พี. เจาะจงกล่าวไว้ด้วยความชื่นชม  การลูกเสือมีลักษณะเป็นหนึ่งไม่เหมือนใคร ก็ด้วยเรื่องและวิธีการพัฒนาอุปนิสัย

สปิริตในวิชาการลูกเสือ  (Scouting  Spirit)

นิยามคำว่า  Spirit หรือ Character ว่าไว้อย่างไรก็ไม่ตรงต่อความหมาย อันความหมาย
ที่แท้จริงของสปิริตลูกเสือมีอยู่แล้วในคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
คำปฏิญาณของลูกเสือ
เด็กชายให้คำปฏิญาณ  ด้วยเกียรติและโดยสมัครใจ  ในอันที่จะปฏิบัติต่อมหากษัตริย์  รับใช้ประเทศชาติของตนและรับใช้เพื่อนร่วมชาติ การปฏิบัติรับใช้  บ่งไว้ในกฎของลูกเสือ
ข้อ  ๑ โปรดเข้าใจว่าการให้คำปฏิญาณนั้นกระทำโดยการสมัครใจ  ถ้าหากเด็กจะถูกบังคับ
ด้วยวิธีใด ๆ ให้เข้าเป็นลูกเสือ  คำปฏิญาณนั้นย่อมปลอดความผูกพันใด ๆ โดยชอบธรรม  และโดยที่
เด็กสมัครใจที่จะมีภาระผูกพัน  ในการรับใช้ดังกล่าวเด็กย่อมต้องมีภาระรับผิดชอบโดยส่วนตัว   อันภาระนี้ ย่อมทำให้เกิดอิทธิพลอันยิ่งใหญ่
ข้อ  ๒ โปรดพิจารณาคำของ บี.พี.  ตามคำปฏิญาณว่า “ด้วยเกียรติของข้า” ท่านพิจารณา
ถึงความงอกงามของความหมายของเกียรติของเด็กว่า  เป็นภาระที่สำคัญที่สุด ความหมายของเกียรติยศนั้น   ท่านกล่าวว่า “ความประพฤติและวินัยในอนาคตของลูกเสือ ขึ้นอยู่กับเกียรติของลูกเสือเอง”  
วิธีสอนพื้นฐานแห่งคุณธรรมข้อนี้มิใช่โดยการตั้งกฎแห่งความประพฤติ  แต่กระทำโดยให้เด็กมีความรับผิดชอบเป็นที่ไว้วางใจได้เมื่อเกิดความไว้วางใจย่อมกระตุ้น  ให้เด็กเกิดความไว้วางใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ข้อ  ๓ บี.พี. ได้ยกเอาประโยค “ข้า ฯ จะทำดีที่สุด”  ไว้เป็นคำขึ้นต้นปฏิญาณ  ท่านตระหนักว่า ทั้งคำปฏิญาณ  และกฎของลูกเสือ เป็นสิ่งท้าทายยิ่งใหญ่  ไม่เพียงพอสำหรับเด็ก แต่ท้าทายเรา
ทุกคนด้วย  ดังนั้น ท่านจึงเจตนามอบภาระผูกพันข้อนี้ให้แก่ผู้มาใหม่สำหรับลูกเสือ  ให้เขาเหล่านั้นสำนึกว่า หากแม้ว่าเขาจะทำดีที่สุดด้วยความลำบากยากอย่างยิ่งแล้วไซร้  เขาย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ชื่อตรงต่อคำปฏิญาณ
หน้าที่ปฏิบัติต่อศาสนา
หน้าที่นี้เป็นภาระผูกพันข้อแรกของลูกเสือทุกคน  ในขบวนการลูกเสือนี้ มีศรัทธาต่อศาสนา
ที่ลูกเสือเคารพบูชา  ย่อมได้รับการสนับสนุนให้ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา  ลูกเสือผู้ไม่มีศาสนา ย่อมได้รับ
การอบรมให้แสดงความคิดเรื่อง  โดยการอภิปรายกันในการประชุมกอง  ในการพบปะกัน หรือในโอกาสอื่น ๆ ทั่วไป  ผู้ไม่มีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าจะเป็นลูกเสือไม่ได้
ความจงรักภักดี
ลูกเสือทุกคนจักต้องจงภักดีต่อประเทศชาติของตนและรับใช้จนสุดความสามารถเท่าที่จะมีโอกาส  การลูกเสือ ไม่กำหนดศาสนาให้ลูกเสือนับถือ เช่นเดียวกับที่มิได้ส่งเสริมลัทธิการเมืองใด ๆ  
การอบรมคนให้เป็นพลเมืองดี  ไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง  ประชาชนที่เป็นผู้ใหญ่จะเป็นผู้วินิจฉัยว่า  ตนมีหน้าที่ต่อสังคมอย่างไร หาใช่กิจของลูกเสือไม่
กฎของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ  เป็นประมวลหลักแห่งความประพฤติ  อันลูกเสือจักต้องปฏิบัติตาม เพื่อยึดเป็นพื้นฐานของการเป็นพลเมืองดี  คุณธรรมและหน้าที่อันดีงามที่กำหนดไว้ในกฎของลูกเสือ เช่น เกียรติยศ ความจงรักภักดี  การให้ความช่วยเหลือมิตรภาพ ความสุภาพ ความเชื่อฟัง ความร่าเริง ความประหยัด ความกล้าหาญและความบริสุทธิ์ ทำให้เด็กมีอุปนิสัย  และบุคลิกเข้มแข็ง ชีวิตในหมู่ลูกเสือทำให้ลูกเสือปฏิบัติคุณธรรมเหล่านี้ได้จริง ดังนั้น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอันดีงามนี้เอง
ที่ทำให้เด็กรู้จักนึกห่วงใยคนอื่น
คติของลูกเสือ
คติของลูกเสือที่ว่า  “จงเตรียมพร้อม”  เป็นสิ่งเตือนลูกเสือว่า  กฎและคำปฏิญาณนั้นเป็นจริง
ในการฝึกอบรมลูกเสือ  เรียนรู้ที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
ความร่าเริง
ความร่าเริงเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของสปิริตลูกเสือ  บี.พี. เตือนเรามิให้จริงจังกับกับสิ่งใดเกินไป
ท่านว่า ถ้าไม่มีเสียงหัวเราะ  การลูกเสือย่อมขาดเสน่ห์ดึงดูดและไม่ประสบความสำเร็จ ท่านกล่าวว่า  
การลูกเสือเป็นเกมชนิดหนึ่ง
กิจกรรมนานาชนิด
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารจะให้ชื่อว่ากระไร  สิ่งนั้น บี.พี. กล่าวว่า เป็นความตื่นเต้นสด ๆ ร้อน ๆ ในการผจญภัยแบบใหม่  ความรักต่อความตื่นเต้นแปลก ๆ ใหม่ ๆ ในการผจญภัย เป็นลักษณะของลูกเสือที่แท้จริง  ท่านว่า สิ่งที่ต้องทำอยู่ประจำ หรืองานกิจวัตรในสำนักงานลูกเสือนั้น ได้ประโยชน์น้อย  และนี่คือเหตุผลที่ บี.พี. มักจะย้ำความสำคัญเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มีจินตนาการอันสดใส  มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ


กิจกรรมลูกเสือ

๑. วิธีการฝึกอบรมที่ดึงดูดใจ
วิธีการฝึกอบรมที่  บี.พี. เป็นผู้กำหนดแบบอย่างไว้นั้น  ถือเอาความต้องการของเด็ก
ที่เป็นไปตามธรรมชาติเป็นหลัก  ประสบการณ์ของ บี.พี. ในอินเดียและแอฟริกาสอน  บี.พี. ว่า
การฝึกอบรมของท่านให้รู้จักความคิดริเริ่ม  รู้จักพึ่งตนเอง และเป็นที่เชื่อถือนั้น มีส่วนทำให้บุคคล
มีลักษณะเข้มแข็ง  เพื่อเป็นการชี้นำผู้บังคับบัญชาลูกเสือให้รู้จักดึงดูดใจเด็ก  และเลี้ยงดูให้เด็ก
เป็นลูกเสืออยู่ต่อไป  ในเดือนเมษายน ปี ๑๙๒๒  ท่านเขียนไว้ว่า “ให้เด็กบอกหรือถามไถ่เด็กดู ให้รู้ว่าเด็กสนใจกิจกรรมใดมากที่สุด และพิจารณาว่า จะสามารถนำกิจกรรมนั้นมาให้เด็กปฏิบัติได้เพียงใด  
นั่นคือให้พิจารณาว่ากิจกรรมนั้น  จะเป็นประโยชน์แก่เด็กเพียงไร”  
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ต้องมีความรับผิดชอบต่อการคัดเลือกกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสม
กับจุดประสงค์ของการฝึกอบรมลูกเสือ ทั้งนี้  โดยเด็กได้มีส่วนรับรู้และให้เห็นชอบด้วย แม้ บี.พี. จะได้
ชี้ทางให้เราโดยหนังสือ  SCOUTING FOR BOYS ท่านก็มิได้ถือว่า หนังสือคู่มือเล่มนี้จะมีทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ครบถ้วน ท่านให้ความคิดเรื่องกิจกรรมใหม่อยู่เสมอ  ท่านหวังว่าผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะมีความตื่นตัวอยู่สม่ำเสมอต่อการหาสิ่งดึงดูดใจ และยึดเหนี่ยวเด็กให้อยู่กับการลูกเสือได้
สมัยปัจจุบัน  เปิดโอกาสให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจึงควรมีความรู้เรื่องพัฒนาการใหม่ ๆ ของโลกสมัยใหม่  (ปัจจุบันอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามผู้บังคับบัญชาลูกเสือไม่ควรเพิกเฉยต่อลักษณะอันเป็นเสน่ห์ดึงดูด ซึ่งมีประจำของการลูกเสือ)
๒.  เสน่ห์  ๓ ประการ  คือ
๒.๑  กิจกรรมกลางแจ้ง  การลูกเสือเป็นที่ดึงดูดใจนักผจญภัย นักบุกเบิก นักสำรวจเสมอ  อันลักษณะดังว่านี้ เป็นลักษณะนิสัยของมนุษย์ทุกคน และเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนในวัยเด็ก  ฉะนั้นพึงคำนึงถึงประโยคแรกของ บี.พี. ในบทที่กล่าวถึง EXPLANATION OF SCOUTING ในหนังสือ SCOUTING FOR BOYS  คำว่าการลูกเสือหมายถึงงานและลักษณะของการเป็นชาวป่า นักสำรวจ
และผู้คนที่อยู่แถบชายแดน  ลักษณะสำคัญของการลูกเสือ ก็คือลักษณะของกระบวนการที่จะปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง  แม้ว่าสภาวะบางอย่าง เช่น อากาศ ความมืดหรือความสะดวกสบายในเมือง จะทำให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องจำยอมอยู่ในร่ม  แต่จะต้องนึกให้ได้เสมอว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไม่สำคัญ อย่าได้นึกพิสมัยที่จะนำเอาเหตุนี้ไปทดแทนการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งที่แท้จริง  อาคารสำนักงานมีความสำคัญจำเป็นสำหรับจุดประสงค์หลายเรื่อง แต่การลูกเสือมิได้เริ่มต้นจากตึกราม สิ่งแวดล้อม
ที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับลูกเสือ คือ  กลางแจ้ง ในทุ่งนา ป่าละเมาะและตามชนบท
๒.๒  ความสำเร็จ  เด็กที่กำลังเจริญเติบโตจะพอใจกับความรู้สึกว่าตนมีความก้าวหน้าเพิ่มพูนทักษะ และความรู้เชิงปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ บี.พี.  ท่านทราบความปรารถนาของเด็กในเรื่องนี้ โดยใช้วิธีให้ตราเครื่องหมายเป็นรางวัลที่เป็นระบบหนึ่งที่การลูกเสือใช้ปฏิบัติมาตั้งแต่เดิม  ตราเครื่องหมาย ลูกเสือ ตรี โท เอก เครื่องหมายเหล่านี้ เป็นเครื่องหมายแสดงความรอบรู้ในวิชาลูกเสือ ตราเครื่องหมายอื่นช่วยส่งเสริมกำลังใจให้แด่เด็กใฝ่หาความรู้  อันเป็นประโยชน์แก่การบริการสาธารณะให้เด็กได้มีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งอย่างกว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้น และส่งเสริมเรื่องการทำงานอดิเรกและสิ่งที่น่าสนใจในยามว่าง
กิจกรรมนานาชนิดดังกล่าวมานี้  มิได้มุ่งส่งเสริมเรื่อง แพ้ ชนะ หรือการสะสมตราเครื่องหมายให้ได้มากๆ  หากแต่มุ่งเพื่อให้ได้สิ่งอันควรค่าแก่กาลเวลาท้าทายให้ปฏิบัติและน่าสนใจ  อันแม้เด็กที่ฉลาดน้อยที่สุดก็ปฏิบัติได้ ได้ช่วยให้เด็กรู้จักความสามารถของตนเอง  
๒.๓  การรับใช้ผู้อื่น  นอกจากการฝึกอบรมให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้มีอุปนิสัยดีงาม
มีสุขภาพดี  มีทักษะในวิชาลูกเสือและงานอดิเรกแล้ว  สิ่งต่างๆ ที่บี.พี. จัดไว้ให้ลูกเสือนั้นยังเปิดโอกาส
ให้เด็กลูกเสือได้รับชู้อื่นด้วย  โดยการบำเพ็ญประโยชน์เป็นประจำทุกวัน  และการปฏิบัติตนตามลำพังหรือเป็นกลุ่มเพื่อสนองคำขวัญ  “จงเตรียมพร้อม” เด็กลูกเสือได้พัฒนาตน  โดยการรับใช้ผู้อื่น อันเป็นบทเรียนเบื้องต้นของการฝึกเด็กให้เป็นพลเมืองดีของสังคมต่อไป
เพื่อให้เด็กได้เป็นผู้นำในทุกระดับ  จึงควรที่เด็กจะได้มีโอกาสอยู่ตลอดเวลา  เพื่อรับการอบรมให้มีทักษะในงานต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ในยามฉุกเฉิน  เพื่อเป็นการบริการสาธารณะและบริการชุมชนของเด็กเอง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะต้องหาทางแนะวิธีการในการขยับขยายขอบเขตของกิจกรรมลูกเสือให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  เพื่อที่ลูกเสือจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและกิจกรรมบริการสังคม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับใช้ประเทศชาติและเพื่อนร่วมชาติของตน

วิธีการฝึกอบรม

๑.  ระบบหมู่
วิธีการของเราในการฝึกอบรมลูกเสือนั้น คือ  ระบบหมู่  ตามคำของ บี.พี.  ระบบหมู่ หมายถึง “การเอาเด็กมารวมกลุ่มกัน  ให้คนหนึ่งเป็นหัวหน้า ให้อยู่กันเองตามธรรมชาติ จะซุกซนหรือสนุกสนานอย่างไรก็ตามขนาดจำนวนของกลุ่มระหว่าง  ๖ – ๘ คน กะทัดรัดพอเหมาะสมที่เด็กทุกคน
จะได้มีส่วนร่วมแสดงบทบาทของตนในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบงานส่วนรวมตามส่วนของตน ทั้งในยามอยู่ในคูหาที่อยู่ และเมื่ออยู่ในค่าย”
ถ้านายหมู่รับผิดชอบอยู่ตลอดเวลา  หมู่ลูกเสือก็จะเจริญก้าวหน้าด้วยดี  โดยการแข่งขันกัน
กับลูกเสือหมู่อื่น หมู่ลูกเสือก็จะเป็นเสมือนครอบครัวที่มีความซื่อสัตย์สุจริต  เป็นสายสัมพันธ์อันแข็งแรง เมื่ออภิปรายกันถึงมรรควิธี และวิธีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพนั้น  ลูกเสือได้เรียนรู้ศิลปะแห่งการอยู่ร่วมกันในชุมชน รู้ศิลปะแห่งการรับและการให้อันเป็นปัจจัยของการอยู่ร่วมกัน
ในการประชุมนายหมู่ เมื่อนายหมู่พบปะกันเพื่อปรึกษาหารือเรื่องของหมู่นั้น  ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการอบรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย การประชุมนายหมู่ลูกเสือนั้นจะบังเกิดผลในเรื่องการอยู่อย่างประชาธิปไตย (อันเป็นลักษณะของการเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ ) ด้วยอีกโสดหนึ่ง
จึงไม่น่าประหลาดเลยว่า  บี.พี. เห็นความจำเป็นที่จะพิจารณาความสำคัญของระบบหมู่ซ้ำแล้วซ้ำอีก  การฝึกอบรมตามธรรมดานั้น กระทำโดยการสนทนาและปาฐกถา ผู้ให้การอบรมก็ภูมิใจว่าได้ทำงานสำเร็จ คำถามที่ตามมาก็คือ  “ลูกเสือได้ปฏิบัติสิ่งใดบ้าง  แล้วลูกเสือได้เรียนรู้อะไรบ้าง  ในอันที่จะนำไปพัฒนาความสามารถ อุปนิสัย  ของตน”
ระบบหมู่ทำได้
การฝึกระเบียบแถวอย่างทหาร  เป็นการทำลายปัจเจกภาพในตัวลูกเสือ  อันตรงกันข้ามกับความประสงค์ของเราคือ  การพัฒนาอุปนิสัยที่มีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง  และเมื่อให้เด็กฝึกระเบียบแถวเข้าหนหนึ่งแล้ว ก็จะเกิดการเบื่อหน่าย  เพราะอยากทำอะไรอย่างอื่นมากกว่า และยังเป็นการกระทำให้เด็กที่กระฉับกระเฉง เฉื่อยชาลงอีกด้วย
เรามุ่งหมายจะให้เด็กลูกเสือได้เป็นอย่างหนุ่มชาวป่ามิใช่ทหาร  บี.พี. ทราบว่าการได้ฝึกระเบียบแถวนั้น ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกเสืออยู่บ้างแล้วทั้งนี้  เพื่อให้มั่นใจว่าลูกเสือจะรู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีอิริยาบถสง่างาม และรู้จักการอยู่ร่วมกันเมื่อถึงความจำเป็น  และนั่นย่อมแตกต่างจาก
การฝึกระเบียบแถว  ที่ถือเป็นปัจจัยของการฝึกอบรมตามปกติอย่างยิ่ง  ท่านกล่าวแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือว่า “ขอให้ย้ำเรื่องวินัยการปฏิบัติตนอย่างเข้มงวด ว่องไวอย่างถ้วนถี่  แต่ก็เป็นการดี ถ้าจะปล่อยให้เด็กได้ทำตามสบายบ้างบางโอกาส
ในการฝึกกายบริหาร บี.พี. เน้นว่า  “ให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเองรู้จักบริหารกายด้วยตนเองในยามว่าง”  กิจกรรมกลางแจ้งทำให้เด็กมีสุขภาพดี  มีพละกำลัง

กลยุทธ์ในการฝึกอบรมลูกเสือ

หลักการสำคัญ  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกท่าน  ควรจะทราบว่า ประชาชนเป็นจำนวนมาก  (รวมทั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือบางท่านที่ยังไม่ได้ศึกษาถึงแก่นแท้ของการลูกเสือ)  ต้องการทราบว่าหลักการสำคัญของวิธีการฝึกอบรมลูกเสือคืออะไร บี.พี. ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกได้กล่าวอ้างว่า แต่เดิมนั้นการลูกเสือก่อกำเนิดขึ้นมาเพื่อการฝึกอบรมเด็กชายตั้งแต่อายุ  ๑๑ – ๑๗ ปี ต่อมาจึงได้มีการขยายแผนงานไปถึงเด็กชายที่มีอายุอ่อนกว่านี้ คือ ๘ – ๑๐ ½ ปี และรวมไปถึงชายหนุ่มอายุ ๑๗ – ๒๓ ปี อีกด้วย แผนงานส่วนที่ขยายออกมาจากแผนเดิมนั้น ไม่กระทบกระเทือนถึงความสำคัญแห่งความคิดริเริ่ม อันเป็นที่ก่อกำเนิดของกระบวนการลูกเสือ  
การดำเนินงานของกระบวนการลูกเสือดำเนินการมาอย่างไร  บี.พี. ต้องการให้กระจายงานออกไปทุกทิศทาง แบ่งแยกแจกจ่ายกำลังในการดำเนินงานลูกเสือออกไป  แทนที่จะรวบรวมกำลังไว้
ในที่แห่งเดียว  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
หลักการบางข้อของวิธีการฝึกอบรมลูกเสือ  คือ ฝึกกิจกรรมประจำวันของเด็กชายเป็นพื้นฐาน  และหลักการนี้เองที่ทำให้การลูกเสือมีลักษณะแตกต่างไปจากกระบวนการอื่น ๆ  เมื่อหลักการข้อใด
ขาดหายไปแม้เพียงข้อหนึ่ง  ก็ย่อมมีผลกระทบกระเทือนทำให้กระบวนการลูกเสือเสือผิดแผกไปจาก
สิ่งที่ควรจะเป็น  และย่อมไม่สอดคล้องกับอุดมคติของ บี.พี.  ที่แสดงไว้ในหนังสือ Scouting For Boys ตามคำอธิบาย และที่ปรากฏในข้อเขียนและปาฐกถาของท่าน  ในเวลาต่อมาท่านเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องชี้แจงและนำความคิดเหล่านี้ ไปประยุกต์ใช้ เพราะผู้บังคับบัญชาลูกเสือหลายท่านมิได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์แห่งหลักการเหล่านั้น  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือบางท่านมุ่งสนใจแต่เพียงหลักการข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียว และโดยไม่เข้าใจว่าหลักการทุกข้อนั้น เมื่อรวมกันแล้วจะเป็นหลักการที่สมบูรณ์
แม้ว่า  ในขณะนี้ท่านจะมิได้อยู่เพื่อให้คำอธิบาย  แต่ก็จำเป็นที่ต้องพูดถึงหลักการที่สมบูรณ์  แม้ว่า
ในขณะนี้ท่านจะมิได้อยู่เพื่อให้คำอธิบาย  แต่ก็จำเป็นต้องพูดถึงหลักการเหล่านั้นอยู่ต่อไป  คำสอน
ของท่าน  บี.พี. ยังคงปรากฏอยู่ในข้อเขียนของท่าน  และอยู่ในประสบการณ์ของสานุศิษย์รุ่นแรก
ของท่าน  บัดนี้ สานุศิษย์รุ่นใหม่ได้ก้าวออกไป  เพื่อจรรโลงงานของลูกเสือต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือในปัจจุบันจะได้เข้าใจคำสอนของ  บี.พี. อย่างถ่องแท้ด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้