นิสัยที่ควรฝึก 7 ประการ
7 HABITS
ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดของโลกปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยก วุ่นวาย สับสน อย่างมากในหมู่มนุษย์ นักคิดชาวตะวันตก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีความวิตกร้อนใจในปัญหานี้ จึงได้พยายามแสวงหาแนวทางต่างๆเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้ได้ แนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นคือข้อเสนอของ สตีเฟน โควี่ ในหนังสือซึ่งพิมพ์ออกจำหน่ายในปี 2532 ชื่อ “ นิสัย 7 ประการของผู้ที่ประสบความสําเร็จ
อย่างสูง “
หนังสือเล่มนี้ เชื่อกันว่า ถ้าปฎิบัติตามวิธีการที่เสนอไว้แล้ว อาจแก้ปัญหาข้างต้นได้ จึงเป็นเหตุให้โควี่ และคณะของเขามีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์และบริษัท มีศูนย์ฝึกนิสัย 7 ประการกว่า 300 แห่งทั่วโลก
นิสัย 7 ประการที่โควี่เสนอได้แก่
1. นิสัยก้าวหน้าสร้างสรรค์ โดยเสนอให้สร้างความเชื่อว่า มนุษย์นั้นเลือกกำหนดชะตาชีวิตของตนเองให้มีความสำเร็จมีศักดิ์ศรีได้ ด้วยการฝึกนิสัยให้คิด พูดและทำเรื่องราวต่างๆ อย่างถูกหลักคุณธรรม ฝึกไม่ให้คิดโทษคนอื่น ให้เปลี่ยนนิสัยของตนเองให้เป็นคนดีเสียก่อนเพื่อที่จะได้มีอิทธิพลเหนือคนอื่น โดยฝึกให้รักษาคำพูด รักษาเกียรติเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อถือไว้วางใจ
2. นิสัยเป็นผู้กำหนดเป้าหมายแห่งชีวิตของตน โดยกำหนดว่า ในแต่ละบทบาท เช่น เป็นพนักงาน ผู้ปกครอง บุตร เพื่อน นั้น จะต้องมีพฤติกรรมอย่างไรจึงจะถูกทำนองคลองธรรมและเหมาะสมกับกาละเทศะ โดยกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งเป็นพันธกรณีที่ต้องถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นนิสัย
3. นิสัยเป็นนักบริหารเวลา โดยจัดทำรายการที่จะต้องทำในแต่ละวัน พร้อมทั้งระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการทำงานแต่ละรายการไว้ ทั้งนี้ให้จัดลำดับความสำคัญของงาน และให้ถือว่างานพัฒนานิสัย 7 ประการ เป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งต้องกินเวลาแต่ละวันไว้สำหรับใช้พัฒนาตนในเรื่องนี้
โควี่กล่าวว่า การพัฒนานิสัยประการที่ 1 2 3 เป็นการฝึกเพื่อให้มีชัยชนะต่อตนเอง และเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเอื้อให้พัฒนานิสัยอีก 4 ประการ อันจะทำให้มีชัยชนะหรือมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น
4. นิสัยนักคิดแบบชนะ/ชนะ โดยฝึกตนให้มีใจเมตตา เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ มีใจกว้างและให้เชื่อว่า ในความสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้น จะต้องแสวงหาช่องทางให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ประโยชน์ คือเป็นผู้ชนะทุกฝ่าย
5. นิสัยเป็นผู้แสวงหาความเข้าใจของผู้อื่นก่อน โดยพยายามทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในคำพูด ท่าทาง ความคิด ข้อมูล ความรู้สึก ความกลัว ความต้องการ สิทธิประโยชน์ ความวิตกกังวลและอารมณ์ของฝ่ายที่ติดต่อสัมพันธ์ด้วย แล้วจึงหาวิธีทำให้ฝ่ายเขาเข้าใจเรา
6. นิสัยนักสร้างพลังร่วม โดยสามารถดึงเอาพลังสร้างสรรค์หรือจุดแข็งของฝ่ายที่เราติดตามด้วยมาผสมผสานกับจุดอ่อนของเรา จนทำให้เกิดพลังร่วมที่เพิ่มพูนผล ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายได้เป็นอย่างดี
7. นิสัยนัก “ ลับเลื่อย” คือหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่องใน 4 ด้าน ได้แก่ด้านความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย ด้านความรู้ความเฉลียวฉลาด ด้านสมรรถภาพจิต และด้านทักษะเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์
ผู้ใดสามารถฝึกนิสัยตามที่โควี่แนะนำได้ ย่อมจะเกิดคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อตนเอง แก่ครอบครัว แก่ผู้ที่ติดต่อเกี่ยวข้องด้วย และโดยเฉพาะแก่องค์กรของเราอย่างแน่นอน
*เครดิต นายโสรัจ สุจริตกุล อดีตเลขาธิการ กพ.
Translate
หน้าเว็บ
- การบริหารในกองลูกเสือ
- ระเบียบข้อบังคับลูกเสือ
- ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
- หลักสูตรและการฝึกอบรม
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ตำแหน่งและคุณวุฒิผกก.ลส.
- หน่วยจิตอาสา
- หน่วยต้านภัยยาเสพติด
- หน่วยอาสา กกต.
- หน่วยพิทักษ์ป่า
- หน่วยมัคคุเทศน์
- หน่วยจราจร
- ลูกเสือดีเก่งสุข
- ลูกเสือมีจิตอาสา
- ลูกเสือมีเกียรติ
- ลูกเสือชาวบ้าน
- ชมรมลูกเสือ
- แผนจัดการเรียนรู้
- ขั้นตอนการสอนลูกเสือ
- พิธีเปิดประชุมกอง
- เพลง
- เกม
- วิธีและเทคนิคการฝึกอบรม10วิธี
- เรื่องสั้นที่เป็นคติ
- ระบบหมู่
- การจัดการค่าย
- SKILL
- การปฐมพยาบาล
- สังเกตจดจำ
- ระเบียบแถว
- กฏและคำปฏิญาณ
- นันทนาการ
- Gang Show
- พิธีรอบเสาธง
- ลูกเสือสำรอง
- ลูกเสือสามัญ
- ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
- ลูกเสือวิสามัญ
- ดาวดวงที่1
- ดาวดวงที่2
- ดาวดวงที่3
- ลูกเสือตรี
- ลูกเสือโท
- ลูกเสือเอก
- ลูกเสือโลก
- ลูกเสือชั้นพิเศษ
- ลูกเสือหลวง
- วิสามัญ1
- วิสามัญ2
- วิสามัญ3
- การตรวจประเมินขั้นที่5
- วันคล้ายวันสถาปนา
- วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
- คำกล่าวปราศัย
- บทความ
- เกี่ยวกับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เช...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น