Translate

หน้าเว็บ

17 สิงหาคม 2563

การลูกเสือ



การลูกเสือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทั่วโลกยกย่อง และยอมรับว่า สามารถฝึกฝนคนให้รู้จัก การเป็นประชาธิปไตย อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นความสำคัญ ของกระบวนการลูกเสือ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งกองเสือป่า เพื่อให้ชาวไทยทั้งหลายรวมพลังสามัคคี มีความรักชาติ และเสียสละเพื่อชาติ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นที่ฝึกซ้อมของเหล่า เสือป่า พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย และตั้งกองลูกเสือขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เพื่อฝึกอบรมเด็กให้มีความกล้าหาญ อดทน รู้จักดูแลตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ ความสำคัญของกระบวนการลูกเสือที่มีต่อการพัฒนาเยาวชนของชาตินั้น ก็ได้เป็นที่ประจักษ์ตลอดมา ดังจะเห็นได้จากพระบรมราโชวาท และพระราโชวาทที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวพระราชทาน ธงประจำกองลูกเสือมณฑลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ว่า
“...เจ้าต้องรู้สึกว่า การที่เจ้าเป็นลูกเสือ ย่อมมีความประพฤติแปลกกว่าเด็กกลางถนน เจ้าจะประพฤติตนอย่างเด็กกลางถนนไม่ได้ เพราะเจ้าเป็นคนที่พระเจ้าแผ่นดินรู้จักเสียแล้ว หวังใจว่าเจ้าจะเป็นกำลังของชาติและเชิดชูให้ชาติถึงซึ่งความเจริญในภายหน้า...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 9 ทรงมีพระบรมราโชวาท ในพิธีสวนสนามเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ เมื่อวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ว่า
“...การลูกเสือ เป็นกิจการที่ผู้ใหญ่จัดขึ้นสำหรับเด็ก คือผู้ใหญ่มีความเสียสละมีความมุ่งดี มุ่งเจริญต่ออนาคตของเด็ก มาร่วมมือกันอุทิศกำลังกาย กำลังความคิด อุทิศเวลาและ ประโยชน์ส่วนตัว จัดกิจการลูกเสือขึ้น ทำตัวเป็นผู้นำ ผู้ฝึกสอน พร้อมทั้งผู้อุปถัมภ์แก่เด็ก ช่วยกันฝึกอบรมเด็กให้มีความรู้ดี มีความเข้มแข็ง บึกบืนและมีความเฉลียวฉลาด เพื่อให้ เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีค่าในสังคม และในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่จะทำให้สังคมเป็นสังคมที่มีค่าด้วย...”
และพระบรมราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามของเหล่าลูกเสือ เมื่อวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ความว่า
“...กิจการลูกเสือเป็นกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะทุก ๆ ด้านของเยาวชนให้เติบโต เป็น พลเมืองดีที่มีคุณภาพของชาติบ้านเมือง ผู้ที่อยู่ในคณะลูกเสือต่างยึดมั่นคำปฏิญาณและ ระเบียบ ปฏิบัติที่เสมอกันในอันที่จะเสริมสร้างความรู้ ความสามารถ คุณธรรมและ จริยธรรมในตนเองในหมู่คณะให้บริบูรณ์ขึ้นด้วย การกระทำจริง ปฏิบัติจริง ทำให้ลูกเสือ ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมครบถ้วนตามหลักการ และวิธีการของลูกเสือแล้วเป็นผู้เข้มแข็งและ สามารถมาในการบำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลืองานที่สำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมืองและส่วนรวม...”
กิจการลูกเสือโลกผ่านมาเป็นเวลา 113 ปี ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 กิจการลูกเสือไทยผ่านมา 109 ปี กำเนิดในปี 2454 ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ. ลูกเสือมาหลายฉบับ จนมาฉบับสุดท้าย ปี พ.ศ. 2551 มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในปัจจุบัน คือสำนักงานลูกเสือแห่ชาติและสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
เท่าที่เคยทำงานลูกเสือตั้งแต่เป็นรองผู้กำกับลูกเสือ ผู้กำกับลูกเสือ จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นผุ้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ รองผู้ตรวจการลูกเสือ และผู้ตรวจการลูกเสือ ได้มีโอกาสเป็นศึกษานิเทศก์ ได้ทำวิจัยเรื่องการบริหารงานลูกเสือเพื่อพัฒนากิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา จึงใคร่จะเผยแพร่สรุปงานวิจัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาพี่น้องบุคลากรทางการลูกเสือ ได้มาช่วยการพัฒนากิจการลูกเสือไทยสืบไป เพราะปัจจุบันตั้งแต่มี พ.ร.บ. ฉบับ ปี พ.ศ. 2551 ยังไม่มีทั้งข้อบังคับฯ กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบฯ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ใหม่ ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ที่สำคัญๆ แก่ผู้ปฏิบัติงานลูกเสือ
สรุปปัญหาอุปสรรคที่สำคัญอันเป็นปัจจัยหลัก มีดังต่อไปนี้
1. ผู้บริหารและครู-อาจารย์ ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนื่องจากไม่ได้รับการอบรมหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งของลูกเสือมาก่อน
2. ขาดเอกสารคู่มือและสื่อในการดำเนินงานศึกษาค้นคว้า อันจะนำไปสู่การตั้งกองลูกเสือ
3. มีปัญหาในเรื่องงบประมาณ ไม่ทราบว่าจะนำเงินส่วนไหนมาใช้อย่างไร
4. ขาดการแนะนำจากศึกษานิเทศก์ และบุคลากรจากสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ไม่มีแผนภูมิการบริหารงานลูกเสือที่ชัดเจน
6. ไม่มีปฏิทินปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับกิจกรมลูกเสือ
7. ขาดแรงจูงใจ กระตุ้นให้มีการจัดกิจกรรมลูกเสือขึ้นในสถานศึกษา
หลังจากที่ได้รับการนิเทศปัญหาต่าง ๆ ก็จะสามารถแก้ไขได้เกือบทั้งหมด โดยทางสถานศึกษาได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ผู้บริหารจัดส่งครูเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน สำนักงานลูกเสือแห่งชาติและสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน กำหนด
2. เอกสารคู่มือ และสื่อ ในการตั้งกองลูกเสือ และทุก ๆ เรื่องที่มีในข้อบังคับของลูกเสือ ได้ศึกษาค้นคว้าจากคู่มือและสื่อวีดิทัศน์ที่ผู้รายงานจัดส่งไปให้
3. ศึกษาวิธีการได้มา และใช้จ่ายเงินลูกเสือ
4. ได้รับการแนะนำจากศึกษานิเทศก์ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษา
5. จัดทำแผนภูมิการบริหารงานลูกเสือ
6. จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานในกิจกรรมที่สำคัญ
7. กระตุ้นให้ครู-อาจารย์ มีความศรัทธาในกิจกรรมลูกเสือ เพื่อสร้างความสนใจให้เด็กสมัครเป็นลูกเสือ และชี้แจงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของลูกเสือ
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในกิจกรรมลูกเสือ ทั้งนี้รวมถึงครู อาจารย์ด้วย
2. ครู อาจารย์ รวมทั้งตัวผู้บริหารเอง ควรเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติกำหนด
3. จัดหาสื่อการเรียนการสอน โดยใช้เงินบำรุงลูกเสือ
4. จัดหาคู่มือที่เกี่ยวกับกิจกรรมลูกเสือไว้สำหรับศึกษาค้นคว้า
5. จัดให้นักเรียน นักศึกษา ได้ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในวันสำคัญ เพื่อเป็นการเผยแพร่กิจกรรมลูกเสือให้ปรากฏในสายตาประชาชนทั่วไป
6. สร้างให้ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เห็นความสำคัญของกิจกรรมลูกเสือ ซึ่งสามารถทำให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม นำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
7. ศึกษานิเทศก์ควรออกเยี่ยมเยียนให้บ่อยครั้ง เพื่อความมั่นใจของครู ที่ดำเนินการในเรื่องกิจกรรมลูกเสือ
8. ในสถานศึกษาควรมีการนิเทศภายในโดยผู้บริหาร หรือหัวหน้าหมวดกิจกรรม หรือหัวหน้ากิจกรรมลูกเสือ
9. สถานศึกษาหากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกองลูกเสือควรแจ้งให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติทราบ เพื่อเป็นข้อมูลให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติดำเนินการต่อไป

ข้อมูลจาก Sommart Sungkapun

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้