Translate

หน้าเว็บ

17 สิงหาคม 2563

งานชุมนุมลูกเสือโลก

งานชุมนุมลูกเสือโลก
World Scout Jamboree
การชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 ณ โอลิมเปีย ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 1 – 8 สิงหาคม 2463 มีลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 34 ประเทศ ประมาณ 8,000 คน รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยมี นายสวัสดิ์ สุมิตร เป็นหัวหน้าคณะ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกได้กำหนดคำว่า “ JAMBOREE ” หมายถึงการที่ลูกเสือได้มาร่วมชุมนุมกันโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.ได้อยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง ตามกฎของลูกเสือข้อ 4
2.ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันตามโครงการที่รับมอบหมาย หรือสมัครใจที่จะทำตามความถนัด ความสนใจของตนเอง เป็นการฝึกให้ลูกเสือได้ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
3.ได้มีโอกาสฝึกฝน อบรม มีประสบการณ์และได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
4.ได้ทดสอบความสามารถเฉพาะตน และส่วนรวม
การชุมนุมลูกเสือในระยะแรก สำหรับลูกเสือหมายถึงการมาพบปะกันที่แสนสนุกในระหว่างพวกเขา มีผ้าผูกสีต่าง ๆกัน ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม สวมกางเกงขาสั้นที่ทะมัดทะแมง พร้อมที่จะทำงานหรือผจญภัยกับสิ่งที่ท้าทายแปลก ๆ ใหม่ ๆ ในระยะหลังการชุมนุมลูกเสือดูเหมือนจะเป็นงานของผู้ใหญ่ที่ต้องเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะสนองความต้องการและความปรารถนาของลูกเสือ LORD ROWALLAN อดีตประมุขของคณะลูกเสืออังกฤษกล่าวว่า “ SCOUTING IS A GAME FOR BOYS BUT A JOB WORK FOR MEN ”
การชุมนุมลูกเสือมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. งานชุมนุมลูกเสือสำรอง เรียกว่า “ JOINT HOLIDAY ” หรือ “ CUB DAY ”ปัจจุบันเรียก “ Cuboree”
2. งานชุมนุมลูกเสือสามัญและสามัญรุ่นใหญ่ เรียกว่า “ JAMBOREE ” ปัจจุบันการชุมนุมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เรียกต่างออกไปว่า “ SENIOR SCOUT JAMBOREE ” หรือ “ VENTURE ” โดยต่อด้วยปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ชัด เช่น “VENTURE’84”
3. การชุมนุมลูกเสือวิสามัญ เรียกว่า “ MOOT ”
4. งานชุมนุมลูกเสือพิการ เรียก Agoonoree เป็นการชุมนุมของลูกเสือที่มีความพิการทางร่างกาย ตาบอด หูหนวก พิการทางร่างกายแขน ขา และพิการทางสมอง
การจัดงานชุมนุมลูกเสือแต่ละประเภทนั้น ย่อมมีกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามประเภทของลูกเสือ เช่น ลูกเสือสำรอง ซึ่งมีอายุระหว่าง 8 – 11 ปี จะให้มีการชุมนุมในระยะสั้น ๆ เพื่อให้ลูกเสือสำรองได้มีโอกาสมาพบปะสังสรรค์ เล่นเกมแข่งขันและมีการแสดงในกลางแจ้งที่สนุกสนาน เป็นการนำลูกเสือมาอยู่ร่วมกันและเพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมา หรือจัดกิจกรรมพิเศษขึ้น อาจเป็นเรื่องนิทานเกี่ยวกับป่าดงพงพีหรือมนุษย์วิเศษจากโลกต่างๆ ตามจินตนาการของเด็ก
ส่วนการชุมนุมลูกเสือสามัญลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เรียกว่า “ JAMBOREE “ และการชุมนุมลูกเสือวิสามัญที่เรียกว่า “ MOOT “ ซึ่งเป็นลูกเสือโตขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มีอายุระหว่าง 11 - 16 ปี และ 17 – 25 ปี เด็กในวัยนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ เด็กจะเริ่มรู้สึกมีความเชื่อมั่นต่อตนเอง รักการผจญภัย ชอบความเป็นอิสระมากขึ้น ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ AIDS TO SCOUT MASTERHIP ” ว่า “ ผู้กำกับลูกเสือจงทำตนเหมือนพี่ชายของเด็กและจงถามเด็ก ( ASK THE BOY ) เมื่อจะจัดทำแผนการฝึกอบรมทุกครั้ง ” ซึ่งหมายความว่า
- ผู้กำกับลูกเสือไม่ควรทำตนเป็นผู้บังคับบัญชาเยี่ยงทหาร
- ผู้กำกับลูกเสือต้องยอมรับสภาพของเด็กว่ามีความต้องการ ( NEED ) ตามวัยของตนอย่างไร จงเลี่ยงคำว่า “ YOU – BOY , I – BOSS ” ซึ่งทำตัวเหนือเด็กอยู่ตลอดเวลา
- การจัดทำแผนการฝึกอบรมควรกระทำร่วมกับเด็ก ซึ่งอาจจะใช้ที่ประชุมนายหมู่ COURT OF HONOUR เป็นเครื่องมือสำคัญ
ฉะนั้นการชุมนุมลูกเสือในปัจจุบัน จึงมีวิธีการหลายอย่าง เช่น ถ้ามุ่งเกี่ยวกับการทบทวนหรือการสอนในวิชาที่เรียนมาหรือวิชาพิเศษ เขาจะจัดแบบ “ SUMMER CAMP ” โดยจัดปีละ 1 ครั้ง เช่น ของสามาคมลูกเสืออเมริกา ได้จัด SUMMER CAMP ในลักษณะ “ INTERNATIONAL CAMP STAFF ” ทุกปี โดยนำลูกเสือทั้งกองหรือหลายกองหลายโรงเรียนไปอยู่ค่ายพักแรมร่วมกันใช้เวลาประมาณ 5 – 6 วัน ตามแต่แผนงานที่ผู้กำกับลูกเสือเตรียมงานไว้ สูงขึ้นไปอีกเรียกว่า CAMPOREE ซึ่งเป็นการนำลูกเสือมาอยู่ร่วมกัน เพื่อสังสรรค์และทำกิจกรรมร่วมกัน นิยมจัดในประเทศออสเตรเลีย
ในการจัดงานชุมนุมลูกเสืออาจจัดได้เป็น 3 ระดับคือ
1. การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับอำเภอ จังหวัด หรือ เขตการศึกษา ในต่างประเทศ เรียก “ JAMBORET ” เช่น HONG KONG JAMBORET ในฮ่องกง
2. การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับชาติ ( NATIONAL JAMBOREE ) นิยมจัด ทุก ๆ 4 ปี
การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับโลก ( WORLD JAMBOREE ) เกิดขึ้นมาจากเจ้าหน้าที่ลูกเสือ ที่ประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ( IMPERIAL HEADQUARTERS) โดยพิจารณาเห็นว่ากิจการลูกเสือ ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ในยามที่โลกสงบปราศจากสงครามเท่านั้น เมื่อมหายุทธสงครามเกิดขึ้นในยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2457 – 2461 ลูกเสือมีส่วนช่วยเหลือทหาร และประชาชนที่อพยพหนีสงครามมากมาย ลูกเสือช่วยสืบข่าวความเคลื่อนไหวในหน่วยสืบราชการลับ มีพฤติกรรมที่ดีเด่นมากมายในหลายประเทศที่เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยเหตุนี้คณะเจ้าหน้าที่ลูกเสือดังกล่าว จึงคิดกันว่าถ้าสงครามโลกยุติลงในปี พ.ศ. 2460 อันเป็นปีครบรอบ 10 ปี ของกิจการลูกเสือ ก็จะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นเป็นการใหญ่ แต่มหายุทธสงครามคงยืดเยื้อต่อไปถึง พ.ศ. 2461 สภาพทางเศรษฐกิจและการคมนาคมโดยทั่วไป ยังไม่อยู่ในสภาพที่จะจัดงานเฉลิมฉลองได้ แต่คณะกรรมการแห่งกองอำนวยการการลูกเสือแห่งจักรภพอังกฤษ ซึ่งได้มีการประชุมกันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 ก็ตกลงกันว่าจะจัดงานเฉลิมฉลองได้ แต่คณะกรรมการแห่งกองอำนวยการลูกแห่งจักรภพอังกฤษ ซึ่งได้มีการประชุมกันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 ก็ตกลงกันว่าจะจัดงานฉลอง และ “ ชุมนุมลูกเสือแห่งจักรภพอังกฤษและนานาชาติ ” ขึ้น และผลงานนี้ต้องเลื่อนออกไปจนถึง พ.ศ. 2463 คือ หลังมหายุทธสงครามยุติลงแล้ว 2 ปีต่อมาปัญหาที่คณะกรรมการ ฯ ต้องขบคิดมากก็คือเกี่ยวกับการจัดงานครั้งนี้ จะจัดขึ้นที่ไหน ? ลูกเสือจะนอนที่ไหน ? ควรจะมีกิจกรรมอะไร ? มีหลายคนคิดว่า การจัดงานชุมนุมลูกเสือนานาชาติขึ้นตามความริเริ่มของ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ครั้งนี้ เป็นความทะเยอทะยานที่เกินกำลัง และวางเป้าหมายสูงเกินไป กลัวจะล้มลุกคลุกคลานเหมือนกับเด็กสอนเดินแต่ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ กำลังมีความเห็นว่า ข้อวิพากษ์เช่นนั้นดูออกจะเอาจริงเอาจังเกินไป การจัดงานทุกอย่างจะต้องเป็นไปอย่างนั้น แต่เป็นการล้มเพื่อจะลุกและก้าวไปข้างหน้าด้วยพลังที่เข้มแข็งที่มีอยู่ เพื่อจะทำงานต่อไป คือการส่งเสริมความเป็นพี่น้องกันในระดับนานาชาติ เรามีกำลังคนที่มีความปรารถนาและมีความตั้งใจที่จะทำงานนี้อยู่แล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงตกลงกันว่า สถานที่ใช้โอลิมเปีย ซึ่งเป็นอาคารหลังคากระจกโค้งเป็นรูปโดมมีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ ซึ่งเคยใช้เป็นที่จัดงานมหกรรมที่สำคัญ ๆ มามากแล้วอยู่ในลอนดอน โดยให้ผู้แทนลูกเสือชาติต่างๆ นอนที่โอลิมเปีย ส่วนที่เหลือจัดค่ายพักที่สวนสาธารณะที่ริชมอนด์ ซึ่งจุลูกเสือได้ประมาณ 5,000 คน
ส่วนกิจกรรมที่จัดให้มีกายบริหารการแสดงยืดหยุ่น การเต้นรำพื้นเมือง การดับเพลิง การปฐมพยาบาล มวยปล้ำ การแสดงประกอบดนตรี การสร้างสะพาน การสร้างค่าย หอคอย การส่งสัญญาณ การสะกดรอย และเมื่อถึงวันงานจริง ๆ ยังมีการแสดงพิเศษเพิ่มเติมเกี่ยวกับการละเล่นของชาวสก๊อต ชาวอาฟริกัน ชาวอินเดียนแดง ชีวิตในชนบท และเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมต่างๆ
เกี่ยวกับการแข่งขัน มีชักคะเย่อ การคาดคะเน การสื่อข่าวแมวมอง และการแข่งจักรยานแบบมาราธอน ใช้เวลาถึง 2 วัน
งานนิทรรศการ มีการแสดงเกี่ยวกับงานฝีมือ ช่างไม้ ช่างโลหะ วาดภาพแสตมป์ และหุ่นจำลองต่าง ๆโดยเฉพาะมีหุ่นจำลองของกิลเวลล์ ปาร์ค ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ในการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือและอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีความสำคัญและมีคนรู้จักมากนักนอกจากนั้นยังมีสัตว์ต่างๆ ที่ลูกเสือแต่ละประเทศนำมาแสดง เช่น ลูกสิงโต จากโรดิเซีย จระเข้ จากจาไมก้า ลิงจากสหภาพอาฟริกา ฯลฯจากการชุมนุมลูกเสือในครั้งแรกนี้ มีประเทศต่างๆ ส่งผู้แทนลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 34 ประเทศ ประะมาณ 8,000 คน ในวันพิธีเปิดมีประชาชนสนใจเข้าชมงานถึง 14,000 คน นับเป็นความสำเร็จก้าวแรกของการลูกเสือของลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ในลักษณะพิเศษแห่งความสำเร็จซึ่งทุกคนยอมรับว่าในระหว่างเยาวชนเหล่านั้น ผิว , เผ่าพันธุ์ , เชื้อชาติ , ศาสนา และสภาพทางภูมิศาสตร์ไม่มีสิ่งใดจะเป็นเครื่องกีดกันความเป็นพี่เป็นน้องของเขาได้เลยจุดสนใจของเด็กพุ่งไปที่ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ แต่ละวันที่งานผ่านพ้นไป ทุกคนก็แน่ใจยิ่งขึ้นว่า ไม่มีใครอื่นใดอีกแล้วที่เด็ก ๆ จาก 34 ประเทศ มาจากทุกมุมโลกที่มีน้ำใจจงรักภักดีอย่างแนบแน่นเช่นนี้ ทุกคนมีน้ำใจตรงกัน มีมติเป็นเอกฉันท์ เสนอให้ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ เป็นประมุขคณะลูกเสือโลก ซึ่งข้อเสนอนี้ไม่มีปรากฏในหมายกำหนดการมาก่อน และตำแหน่งนี้ก็ไม่เคยมีมาก่อนและเป็นตำแหน่งที่ไม่มีพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลใดจะแต่งตั้งได้ จึงถือว่าเป็นตำแหน่งที่ควรค่าสูงสุด สำหรับผลงาน บุคลิกภาพ สำหรับ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ตราบจนกระทั่งเมื่อถึงอสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2484 ทุกคนตกลงกันว่าตำแหน่งนี้จะไม่มีการเลือกใหม่ คงเป็นตำแหน่งที่ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ดำรงอยู่ตลอดเวลางานชุมนุมลูกเสือ ประวัติศาสตร์นับเป็นครั้งแรกในโลก ด้วยแนวความคิดของพลโท เซอร์ โรเบอร์ต เบเดน โพเอลล์ ( ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น ) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 และสิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พิธีปิดเริ่มต้นด้วยขบวนของลูกเสือแต่ละชาติ บ้างก็แต่งเครื่องแบบหรือไม่แต่งตัวตามธรรมเนียมท้องถิ่นของตนเป็นการอำลาและแสดงสัญญลักาณ์ของแต่ละชาติ มาร่วมชุมนุมกันต่อหน้าคณะกรรมการจัดงานชุมนุม แขกผู้มีเกียรติและเซอร์โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของแต่ละชาติดังกึกก้อง ประสานด้วยเสียงหัวเราะ ด้วยความสนุกสนานของเด็ก ๆ ซึ่งต่างกันด้วยอาหาร ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา เชื้อชาติ ถิ่นฐาน ดังเป็นระยะไม่ขาดเป็นเสียงแห่งความรัก สามัคคีจิตความสงบสุขของโลกที่ปราศจากสงคราม แขกผู้มีเกียรติ ผู้ปกครองของลูกเสือและประชาชนที่ไปชมงานน้ำตาไหลด้วยความปลาบปลื้มปิติ ที่ได้เห็นภาพเด็กเล็ก ๆ เดินเข้าแถวสวนสนามกันอย่างพร้อมเพรียง โดยมีผู้ใหญ่เดินนำหน้าทุกขบวน มันเป็นภาพที่ประทับใจสุดจะพรรณนา เพราะขณะนั้นสงครามโลกเพิ่งจะเสร็จสิ้นลง ใหม่ ๆ ใครจะคิดว่าโลกของเด็กจะรักกัน กอดคอกันสมัครสมานสามัคคีถึงขนาดนี้เมื่อท่านเซอร์ โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ กล่าวสุนทรพจน์จบลงแล้ว เสียงเพลงออลแลงจ์ซาย ก็ดังกระหึ่มขึ้น หลังจากนั้นลูกเสือต่างก็กรูเข้าไปหาท่านเซอร์โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ ช่วยกันแบกร่างของท่านเซอร์ ขึ้นบ่า แห่แหนไปรอบบริเวณงาน ท่ามกลางเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีต่อประมุขของคณะลูกเสือโลก ( CHIEF SCOUT OF THE WORLD ) และแล้วงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ก็สิ้นสุดลงด้วยความตื่นเต้น และอาลัยที่ต้องจากกัน และยังไม่รู้ว่าวันไหน ? เมื่อไรเขาจะได้พบกันอีก ?จากผลงานของงานชุมนุมคราวนั้น ทำให้ผู้ใหญ่ร่วมกันจัดตั้งสำนักงานลูกเสือโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานลูกเสือโลก และมีข้อตกลงกันว่าต่อไปนี้ทุก 4 ปี จะจัดให้มีการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นประจำ นอกจากมีอุปสรรคอันเป็นเหตุสุดวิสัยมาขัดขวางและไม่สามารถจะจัดขึ้นได้ ส่วนที่จะจัดขึ้นที่ไหนนั้นสุดแล้วแต่ประเทศใดจะสมัครใจรับเป็นเจ้าภาพและที่ประมุขสมัชชาลูกเสือโลกเห็นด้วยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมางานชุมนุมลูกเสือโลกก็ได้ถูกจัดขึ้นในแต่ละประเทศของโลกนับได้ 24 ครั้งแล้ว ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ 20 ครั้งที่ 21 ที่ประเทศอังกฤษ ฉลอง 100 ปี ลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ที่ประเทศสวีเดน ครั้งที่ 23 ที่ประเทศญี่ปุ่น ณ คิรารา ฮามา เมืองยามากูจิ ระหว่าง 1-7 สิงหาคม 2558 ครั้งที่ 24 จัดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเจ้าภาพ 3 ประเทศ คือแคนาดา สหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก เป็นเจ้าภาพร่วม ครั้งที่ 25 จะจัดที่ประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2566
กิจการลูกเสือ คือ วิธีการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป ( WAY OF LIFE ) การสอนวิชาลูกเสือ คือ การป้อนกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับเด็ก ให้แก่เด็กได้กระทำ หรือฝึกให้เด็กทำ เรียนด้วยการปฏิบัติจริง ทำจริง จึงจะไปสู่เป้าหมายอันแท้จริงของวิชาลูกเสือได้ วิชาการลูกเสือเป็นกระบวนการฝึกฝนไม่ใช่กระบวนการสอน อาจจะฝึกเป็นรายบุคคล หรือเป็นหมู่ก็ขึ้นกับกิจกรรมนั้น ๆ บางกิจกรรมสอนให้เด็กต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น คือสอนให้รู้จักคบเพื่อน ผูกมิตร ขณะเดียวกันก็ฝึกหัดให้เด็กรู้จักช่วยตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ แม้จะอยู่คนเดียวในป่าดงพงพี โดยลักษณะนิสัยทั่วไปของเด็กจะไม่กล้าในสิ่งที่ตนไม่เคยทำ และเมื่อทำได้สำเร็จก็รู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุข ด้วยเหตุนี้ ลอร์ด เบเดน- โพเอลล์ จึงได้กล่าวไว้กว้าง ๆ ว่า วิชาลูกเสือให้อะไรแก่ท่านบ้าง หรือในทำนองเดียวกันท่านได้อะไรจากการมาเป็นลูกเสือบ้าง ขอให้ท่านจงพิจารณาคำกล่าวที่ท่านอาจารย์อภัย จันทวิมล ถอดความมาจากคำภาษาอังกฤษเป็นคำคล้องจองกันว่า ผจญภัย (ADVENTURE)ได้เพื่อน(COMRADESHIP ) เถื่อนธาร ( OUTDOR LIFE ) การสนุก ( GOOD FUN ) และสุขสม ( ACHIEVEMENT )

ข้อมูลจาก Sommart Sungkapun

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้