รายวิชาที่ ๑.๖
ทักษะพื้นฐานของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
เวลา ๙๐ นาที
........................................................
ขอบข่ายวิชา
๑. การสำรวจความต้องการในการฝึกอบรมทักษะพื้นฐานของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
๒. การพัฒนาทักษะทางลูกเสือจิตอาสาเพื่อบริการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
๓. การพัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
๔. การพัฒนาทักษะทางวิชาการลูกเสือจิตอาสา
๕. การฝึกทบทวนและทดสอบทักษะพื้นฐานทางลูกเสือจิตอาสาด้านการพัฒนาการบริการ และการช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติ เหตุฉุกเฉิน
วัตถุประสงค์
๑. สำรวจความต้องการในการฝึกอบรมทักษะพื้นฐานของลูกเสือจิตอาสาได้
๒. ฝึกทบทวนและผ่านการทดสอบทักษะพื้นฐานทางลูกเสือจิตอาสา
๓. นำทักษะทางลูกเสือไปจัดกิจกรรมจิตอาสาในสถานศึกษาได้
ขั้นตอนการฝึกอบรม
ให้ลูกเสือผู้เข้ารับการฝึกอบรม ฝึกและปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนด
สำหรับรายวิชา ทักษะพื้นฐานของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ด้านการพัฒนา การบริการและช่วยเหลือ
ภัยพิบัติ มีขั้นตอนการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นที่ ๑. ขึ้นนำเข้าสู่บทเรียน
- บรรยายนำ แจ้งวัตถุประสงค์
ขั้นที่ ๒. การสะท้อนประสบการณ์เดิม
- วิทยากรตั้งประเด็นให้ลูกเสือผู้เข้ารับการฝึกอบรม ถามตอบแบบสุ่มรายบุคคล
เรื่อง “ทักษะพื้นฐานของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ด้านการพัฒนา การบริการและช่วยเหลือภัยพิบัติ”
- วิทยากรและลูกเสือช่วยกันสรุป
ขั้นที่ ๓ การฝึกอบรมและบทเรียนการเรียนรู้
- วิทยากรนำลูกเสือชมวีดีทัศน์ จำนวน ๑ เรื่อง คือ “การประยุกต์ใช้ทักษะลูกเสือ
เพื่อจัดกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน”
ขั้นที่ ๔ กิจกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง
๔.๑ วิทยากรจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการการบรรยายและสาธิตตามหลักการ
“จิตอาสาพระราชทาน” ๓ ประเภท คือ กรณีการพัฒนา กรณีการบริการ และกรณีภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ในพื้นที่ชุมชนของลูกเสือจิตอาสา โดยชี้ให้เห็นว่า ลูกเสือจิตอาสาจะสามารถสนับสนุนและช่วยเหลือเป็นทีม เพื่อให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ได้อย่างไร
โดยเชิญหน่วยกู้ภัย เจ้าหน้าที่ดับเพลิง มูลนิธิกู้ภัยต่าง ๆ มาเป็นวิทยากร และสาธิตบทบาท
ของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
กรณีภัยพิบัติ กรณีตัวอย่าง เหตุการณ์ไฟไหม้บ้านเรือน หรือชุมชน
- วิทยากร ชี้ให้เห็นบทบาทหน้าที่ของผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น ผู้บัญชาการเหตุ/
หน่วยดับเพลิง/ หน่วยกู้ชีพ/ หน่วยกู้ภัย/ หน่วยพยาบาล/ เจ้าหน้าที่ตำรวจ/ ผู้ประสบเหตุ/ ญาติผู้ประสบเหตุ/
ฝ่ายสนับสนุน อื่น ๆ
บทบาทหน้าที่ของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ต่อกรณีนี้ควรมีบทบาทอย่างไร
๑) การช่วยขนย้ายอุปกรณ์บางอย่าง
๒) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
๓) การกันประชาชนไม่ให้เข้าใกล้สถานที่เกิดเหตุ
๔) การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว
๕) การช่วยขนย้ายเครื่องอุปโภค บริโภค
๖) อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
กรณีการพัฒนา เช่น การพัฒนาสถานศึกษา ชุมชนและการช่วยเหลือประชาชน
วิทยากร ชี้ให้เห็นบทบาทหน้าที่ของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ต่อกรณีนี้ ดังนี้
๑) การร่วมกันช่วยเหลือพัฒนาห้องเรียน โรงเรียน สถานศึกษา
๒) การช่วยเหลือในการซ่อมแซมบ้าน หรือที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ยากไร้
(ตามความสามารถ ทักษะของลูกเสือที่มีแต่ละคน)
๓) การช่วยเหลือในการพัฒนาสถานที่ของชุมชน เช่น วัด ศาลาประชาคม
๔) การออกหน่วยรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย
๕) การบรรจุถุงยังชีพ
๖) การช่วยเหลือพาผู้ไม่สามารถช่วยตัวเองได้กลับเคหะสถาน
๗) อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
กรณีการบริการ เช่น การให้บริการในสถานศึกษา หน่วยงานระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด
วิทยากร ชี้ให้เห็นบทบาทหน้าที่ของลูกเสือจิตอาสาพระราชทานด้านบริการ ดังนี้
๑) การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในงานออกร้านกาชาด
๒) การออกหน่วยรับบริจาคสิ่งของ
๓) การบรรจุถุงบริจาค
๔) การออกหน่วยบริการของโรงเรียน/สถานศึกษา และชุมชนต่าง ๆ
๕) การช่วยเหลืองานจราจรของสถานศึกษาและตำรวจจราจร
๖) อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
๔.๒ วิทยากรมอบหมายให้หมู่ลูกเสือดำเนินกิจกรรม Gang Show จากตัวอย่างเพิ่มเติม
ดังต่อไปนี้
- กรณีลูกเสือจิตอาสาออกปฏิบัติกิจกรรมในโรงพยาบาล เช่น “การช่วยเหลือผู้ป่วย
ในโรงพยาบาล” ให้วิทยากรถามความเห็นว่า ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานสามารถทำบทบาทนี้ในเรื่องใดได้บ้าง
- กรณีงานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพระ วันเข้าพรรษา งานทอดกฐิน
เป็นต้น ให้วิทยากรถามความเห็นว่า ลูกเสือจิตอาสาพระราชทานสามารถทำบทบาทนี้ ในเรื่องใดได้บ้าง
- กรณีอื่น ๆ ตามที่หมู่ลูกเสือได้พิจารณาเห็นว่ามีความต้องการในการจัดการแสดงแบบ
Gang Show
๔.๓ ลูกเสือผู้เข้ารับการฝึกอบรมแสดง Gang Show โดยวิทยากรและลูกเสือหมู่ต่าง ๆ ร่วมกัน
สรุปผลการแสดง (ตามตารางที่กำหนด)
ขั้นที่ ๕ สรุป การเรียนรู้
- วิทยากรให้ข้อเสนอแนะสรุป อภิปราย ซักถาม
สื่อการฝึกอบรม
- วิดีทัศน์เรื่อง “การประยุกต์ใช้ทักษะลูกเสือเพื่อจัดกิจกรรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน”
- อุปกรณ์จริงตามสถานการณ์ที่มี
- คอมพิวเตอร์ หรือ Computer Notebook
- เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ /จอโปรเจคเตอร์
- โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน หรือ แท็บแล็ต (Tablet)
- Internet หรือ Wifi
- ชุดเครื่องเสียงและลำโพง
ขั้นการประเมินผล
๑. ประเมินจากการมีส่วนร่วมและการสะท้อนความคิดเห็นของลูกเสือรายบุคคล
๒. ประเมินจากการรายงานผลงานหมู่
สื่อประกอบและแหล่งอ้างอิง
Drive : คู่มือดำเนินงานการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
Drive : การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรม
Drive : สื่อการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน.PPT
Drive : ใบงานและกิจกรรม.Doc
Drive1 : สื่อการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน สพป.แพร่๑
Drive2 : สื่อการฝึกอบรมลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน สพป.แพร่๑
Clip VDO ทักษะพื้นฐานของลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน
รวบรวมและเรียบเรียงโดย…นายวีระชัย จันทร์สุข
รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์
วุฒิทางลูกเสือ L.T.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น