https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=9348
Translate
หน้าเว็บ
- การบริหารในกองลูกเสือ
- ระเบียบข้อบังคับลูกเสือ
- ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
- หลักสูตรและการฝึกอบรม
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ตำแหน่งและคุณวุฒิผกก.ลส.
- หน่วยจิตอาสา
- หน่วยต้านภัยยาเสพติด
- หน่วยอาสา กกต.
- หน่วยพิทักษ์ป่า
- หน่วยมัคคุเทศน์
- หน่วยจราจร
- ลูกเสือดีเก่งสุข
- ลูกเสือมีจิตอาสา
- ลูกเสือมีเกียรติ
- ลูกเสือชาวบ้าน
- ชมรมลูกเสือ
- แผนจัดการเรียนรู้
- ขั้นตอนการสอนลูกเสือ
- พิธีเปิดประชุมกอง
- เพลง
- เกม
- วิธีและเทคนิคการฝึกอบรม10วิธี
- เรื่องสั้นที่เป็นคติ
- ระบบหมู่
- การจัดการค่าย
- SKILL
- การปฐมพยาบาล
- สังเกตจดจำ
- ระเบียบแถว
- กฏและคำปฏิญาณ
- นันทนาการ
- Gang Show
- พิธีรอบเสาธง
- ลูกเสือสำรอง
- ลูกเสือสามัญ
- ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
- ลูกเสือวิสามัญ
- ดาวดวงที่1
- ดาวดวงที่2
- ดาวดวงที่3
- ลูกเสือตรี
- ลูกเสือโท
- ลูกเสือเอก
- ลูกเสือโลก
- ลูกเสือชั้นพิเศษ
- ลูกเสือหลวง
- วิสามัญ1
- วิสามัญ2
- วิสามัญ3
- การตรวจประเมินขั้นที่5
- วันคล้ายวันสถาปนา
- วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
- คำกล่าวปราศัย
- บทความ
- เกี่ยวกับ
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
30 กันยายน 2561
ลูกเสือช่อสะอาด
ลูกเสือช่อสะอาด
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง ความร่วมมือในกิจการลูกเสือเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2556 เพื่อดำเนินการจัดทำหลักสูตร คู่มือ เอกสารประกอบ พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรในสังกัดได้เข้ารับการฝึกอบรมในความรู้ขั้นต่างๆ โดยเฉพาะหลักสูตรลูกเสือช่อสะอาด เพื่อเพิ่มบุคลากรทางการลูกเสือให้มีศักยภาพ สนับสนุนและส่งเสริมให้สถานศึกษาทั่วประเทศนำกระบวนการลูกเสือช่อสะอาด เข้าไปจัดฝึกอบรมให้กับนักเรียน นักศึกษา โดยเป็นหลักสูตรวิชาพิเศษ และ/หรือ หลักสูตรเฉพาะทาง ทุกปีการศึกษา และพัฒนาไปสู่การจัดตั้งหน่วยลูกเสือช่อสะอาดภายในสถานศึกษาเพื่อเป็นแนวร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในอนาคตต่อไป จึงกำหนดให้มีการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือช่อสะอาดทั้ง 4 ประเภท ให้แก่ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรอง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิสามัญ จึงขอเชิญชวนผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วมการฝึกอบรม โดยสามารถกรอกใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ http://scoutnacc.blogspot.com (สโมสรลูกเสือสำนักงาน ป.ป.ช.) ด้านคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถดาวน์โหลดเอกสารด้านล่างนี้
https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=9348
https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=9348
23 ธันวาคม 2562
การเดินทางไกลและแรมคืน
บทที่ 3
การเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม)
ก่อนที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะนำลูกเสือ-เนตรนารี
ไปปฏิบัติการเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรจะได้มีการประกอบพิธีการเพื่อเป็นศิริมงคล
ให้กับกองลูกเสือ
ได้เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ให้ผู้บังคับบัญชาจัดทำพิธีถวายราชสดุดีพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 6
โดยจัดเตรียม ดังนี้
1.
สถานที่
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรจะจัดบริเวณหน้าเสาธงชาติ
2.
อุปกรณ์ที่จะทำพิธีถวายราชสดุดี
2.1
พระรูปหรือพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 6
2.2
ธูป 1 ดอก
2.3
เทียน 1 เล่ม
2.4
พวงมาลัย (ชายเดียว) 1 พวงหรือช่อดอกไม้ 1 ช่อ
2.5
พานสำหรับพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้
3.
ลำดับขั้นตอนพิธีการถวายสักการะ
3.1
ผู้กำกับลูกเสือที่ทำหน้าที่พิธีกร เรียกเข้าแถวตอนลึก หน้าพระบรมราชานุสรณ์
ห่างจากพระบรมราชานุสรณ์ 6 ก้าว
3.2
ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ เข้าแถวหน้ากระดาน
หน้าแถวลูกเสือ
3.3
พิธีกร เชิญผู้บังคับการค่ายจุดธูปเทียน ถวายสักการะ
พระบรมราชานุสรณ์
3.4
ผู้บังคับการค่ายเดินไปยืนหน้าพระบรมราชานุสรณ์ ถวายความเคารพ
(วันทยาหัตถ์)
3.5
ผู้บังคับการค่ายรับพวงมาลัย และนำพวงมาลัย หรือช่อดอกไม้ไปวางไว้บนพาน
และรับเทียนชนวน จุดธูปเทียน เสร็จแล้ว
ทำความเคารพ
(วันทยาหัตถ์) นั่งลงคุกเข่าถวายบังคม
3 ครั้ง แล้วยืนขึ้น ทำความเคารพ (วันทยาหัตถ์) แล้วนั่งคุกเข่าถวายราชสดุดี
3.6 พิธีกรสั่ง “เตรียมถวายราชสดุดี” ถอดหมวก “และถือหมวกด้วยมือซ้ายทุกคนก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าขวาลงกับพื้นตั้งเข่าซ้ายขึ้น นั่งลงบนส้นเท้าขวา
มือซ้ายที่ถือหมวกวางพาดบนเข่าซ้าย ลักษณะหงายมือขึ้น งอพับเข้าหาตัวให้หน้าเสือของหมวกหันไปทางด้านขวามือ
ก้มหน้า ลงเล็กน้อย มือขวาวางบนเข่าลักษณะคว่ำมือลง
3.7 พิธีกร นำร้องเพลงราชสดุดี “ข้าลูกเสือ” ทุกคนรับพร้อมกันว่า “เชื้อไทยใจเคารพ” เมื่อร้องเพลงจบแล้วให้เงยหน้าขึ้น
3.8
เมื่อร้องเพลงราชสดุดีจบแล้ว พิธีกรสั่ง “ลุก” ทุกคนยืนขึ้น
3.9 พิธีกรสั่ง “กอง
– แยก”
ผู้กำกับลูกเสือได้ทำพิธีถวายราชสดุดีเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ก็ให้ลูกเสือ-เนตรนารี ได้
ออกเดินทางไกล
โดยให้ปล่อยไปทีละหมู่ ส่วนหมู่ที่เหลือที่ยังไม่ได้ออกเดินทางไกล
ก็ให้ผู้กำกับได้เล่าเรื่องสั้นหรือให้ลูกเสือหมู่ที่จะออกเดินทางเป็นหมู่ที่
2 ให้ออกมานำร้องเพลงเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
หลังจากนั้นก็ให้ผู้กำกับได้ปล่อยลูกเสือได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับหมู่ที่ 1
– 2 โดยปล่อยออกเดินทางให้ห่างกันหมู่ละ
5 นาที
และให้ผู้กำกับลูกเสือได้กำชับให้ลูกเสือ – เนตรนารี
ได้ปฏิบัติ
ตามข้อควรปฏิบัติขณะเดินทางไกล ดังนี้
ข้อควรปฏิบัติขณะเดินทางไกล
1.
เดินเป็นระบบหมู่ตามตำแหน่งไม่ทิ้งระยะห่างเกินไป
2.
เดินตามกฎจราจร
3.
ขณะเดินไม่ส่งเสียงเอะอะ ไม่พูดจาหยาบคาย
4.
ไม่เก็บ เด็ด ทำลายพืช หรือยุแหย่สัตว์เลี้ยงของทางบ้าน
5.
รักษาเวลาเดินสม่ำเสมอ ขนาด 4 กม./ชั่วโมง (นาทีละ 75 ก้าว)
6.
ผ่านหมู่บ้าน ฝูงชน ต้องระมัดระวังระเบียบวินัย
7.
ไม่รับประทานอาหารหรือขบเคี้ยวขณะเดิน
8.
จะหยุดหรือออกนอกแถวต้องขออนุญาตนายหมู่
9.
สำรวจอุปกรณ์ตนเองอยู่เสมอ
10.
ไม่สูบบุหรี่ขณะเดินทาง
11.
เหงื่อออกมากควรดื่มน้ำชา น้ำเกลือ
เมื่อลูกเสือ-เนตรนารี
เดินทางไกลถึงสถานที่ตั้งค่ายพักแรมแล้วให้ผู้กำกับ
ลูกเสือ-เนตรนารี
ได้ดำเนินการเปิดค่ายพักแรม ดังนี้
พิธีเปิดค่ายการเดินทางไกลและแรมคืนลูกเสือ
หลังจากลูกเสือเดินทางถึงที่ตั้งค่ายและพักผ่อนพอสมควรแล้ว
1.
ผู้กำกับลูกเสือที่ได้รับหมอบหมาย (พิธีกร) เรียกลูกเสือเข้าแถวเป็นรูปครึ่งวงกลมหน้าเสาธง
2.
พิธีกรเชิญผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ
เข้าแถวหลังเสาธง
3.
หมู่บริการเข้าประจำที่ เตรียมชักธง สวดมนต์
4.
พิธีกรสั่ง
“กองตรง เคารพธงชาติ วันทยาวุธ” ชักธงเสร็จแล้วหมู่บริการวิ่งเข้าประจำที่เดิมพิธีกรสั่ง “เรียบอาวุธ” แล้วหมู่บริการนำสวดมนต์
5.
พิธีกรสั่ง
“ตามระเบียบพัก”
แล้วเชิญผู้บังคับการค่ายให้โอวาท
6.
ผู้บังคับการค่ายออกมายืนหน้าเสาธง พิธีกรสั่ง “กองตรง – วันทยาวุธ” ผู้บังคับการต้องทำความเคารพตอบแล้ว
พิธีกรสั่ง “เรียบอาวุธ” “ตามระเบียบพัก”
7.
ผู้บังคับการค่ายให้โอวาทกล่าวเปิดค่ายจบแล้ว พิธีกรสั่ง “กองตรง –วันทยาวุธ”
ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว
พิธีกรสั่ง “เรียบอาวุธ” “ตามระเบียบพัก”
8. พิธีกรนัดหมาย เสร็จแล้วสั่ง “กองตรง” “กองแยก”
ถ้านายหมู่มีอาวุธคนเดียว
หมายเหตุ ให้พิธีกรสั่ง “เคารพธงชาติ ตรง” แล้วนายหมู่ที่มีพลองให้ทำวันทยาวุธ
คนอื่นให้
ยืนตรง ผู้บังคับบัญชาที่อยู่หลังเสาธงให้ทำความเคารพท่าวันทยาหัตถ์
หลังจากทำพิธีเปิดค่ายพักแรมแล้ว
ผู้กำกับลูกเสือได้ให้ลูกเสือ-เนตรนารี แต่ละหมู่ได้ดำเนินการสร้างค่ายพักแรม
โดยให้แต่ละหมู่เริ่มดำเนินการกางเต็นท์ ยิ่งในปัจจุบันนี้เป็นลักษณะเต็นท์สำเร็จรูป
ฉะนั้นผู้กำกับลูกเสือควรให้ลูกเสือ-เนตรนารี ได้รู้จักวิธีการกางเต็นท์และเก็บเต็นท์สำเร็จรูปดังนี้
พิธีปิดการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ
หลังจากลูกเสือได้รื้อเต็นท์
เก็บอุปกรณ์เครื่องหลังเสร็จเรียบร้อยแล้ว
พอถึงเวลา ผู้กำกับที่ได้รับมอบหมาย
(พิธีกร)
จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.
พิธีกรสั่งเข้าแถวเป็นรูปครึ่งวงกลมหน้าเสาธง
2.
พิธีกรเชิญ ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ
เข้าแถวหลังเสาธง
3.
พิธีกรเชิญผู้บังคับการค่ายให้โอวาทครั้งสุดท้ายก่อนเดินทางกลับ (ปัจฉิมโอวาท)
4.
ผู้บังคับการค่ายออกมายืนหน้าเสาธง พิธีกรสั่ง “กองตรง” “วันทยาวุธ” ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว
พิธีกรสั่ง “เรียบอาวุธ” “ตามระเบียบพัก”
5.
ผู้บังคับการค่ายให้โอวาท เสร็จแล้วพิธีกรสั่ง “กองตรง” “วันทยาวุธ” ผู้บังคับการค่ายทำความเคารพตอบแล้ว
พิธีกรสั่ง “เรียบอาวุธ” “เตรียมสวดมนต์” หมู่บริการนำสวดมนต์, สงบนิ่ง
6.
พิธีกรสั่ง
“หมู่บริการ ชักธงชาติลงจากยอดเสา” พิธีกรสั่ง “เคารพธงชาติ” (ไม่ต้องสั่งตรงเพราะลูกเสืออยู่ในลักษณะแถวตรงอยู่แล้ว)
7.
หมู่บริการชักธงชาติลงจากยอดเสาให้ชายธงอยู่เหนือศรีษะ (ไม่ต้องเป่านกหวีด เพราะทุกคนได้เห็นทั่วถึงกัน)
8.
พิธีกรเชิญผู้กำกับ รองผู้กำกับ เข้าแถวเป็นรูปวงกลมร่วมจับมือโดยเอามือขวาวางทับมือซ้าย
จับมือซ้าย
– ขวา กับเพื่อน
9.
พิธีกรนำร้องเพลงสามัคคีชุมนุม 1 จบ เมื่อร้องเพลงจบแล้ว
ปล่อยมือให้ลูกเสือกลับเข้าแถวเหมือนเดิม
10.
พิธีกรเชิญผู้กำกับ รองผู้กำกับ เดินไปจับมือกับลูกเสือและให้ลูกเสือคนอื่น
ๆ ช่วยร้องเพลง “ก่อนจะจากกันไป” และลูกเสือก็เดินจับมือตามผู้กำกับจนครบทุกคน
แล้วให้หมู่แรกมาเข้าแถวรูปครึ่งวงกลมเหมือนเดิม
11.
พิธีกรนำร้องเพลง “ลาก่อนเพื่อนที่รัก” และคณะ ให้ร้อง 3 จบ เที่ยวแรกให้ลูกเสือยืนอยู่กับที่
เที่ยวที่ 2 ให้ลูกเสือทุกคนเริ่มเดินถอยหลังช้า ๆ เที่ยวที่
3 ให้ลูกเสือทุกคนยกมือขึ้นโบกพร้อมเดินถอยหลังและแยกย้ายกันกลับ
12.
พิธีกรสั่งให้ลูกเสือแต่ละหมู่เดินทางกลับ
หนังสืออ้างอิง
-
คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, สำนักงาน. พลศึกษา, กรม. คระกรรมการฝ่ายฝึกอบรม
ลูกเสือแห่งชาติ. คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ
ขั้นความรู้ชั้นสูง.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,
พ.ศ.2522.
-
สวาท แดงประเสริฐ. คู่มือเตรียมลูกเสือ-เนตรนารี วิสามัญ 1-2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พรานนก
การพิมพ์, พ.ศ.2531
17 ตุลาคม 2561
ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ม.2
หลักสูตรลูกเสือชั้นพิเศษ (ม.2)
- ปฐมนิเทศลูกเสือ
- ฝึกทบทวนระเบียบแถว
- การฝึกเดินสวนสนาม
- หน้าที่พลเมือง
- สิ่งแวดล้อม
- การเดินทางสำรวจ
- การแสดงออกทางศิลปะ
- สมรรถภาพทางกาย
แนวการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
แนวการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
========================================================
จุดประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ
ช่วยสร้างสรรค์สังคม มีความเจริญก้าวหน้าความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติจึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฎิบัติตามคำปฎิญาณ กฎและคติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือ การแก้ปัญหาและทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความกล้าหาญอดทน เชื่อมั่นในตนเองมีระเบียบ มีวินัย มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณะประโยชน์ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ
หลักสูตรลูกเสือชั้นพิเศษ
มีวิชาพื้นฐาน 8 วิชา เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดด้านละ 3 ซม. พื้นสีกากี ภายในเป็นรูปช่อชัยพฤกษ์สีขาว 2 ช่อ โค้งเข้าหากัน ปลายช่อชัยพฤกษ์ มีตราเครื่องหมายหัวลูกศรสีขาว ระหว่างช่อชัยพฤกษ์มีหน้าเสือสีทอง เครื่องหมายนี้ติดที่กึ่งกลางกระเป๋าเสื้อข้างขวา ลูกเสือที่จะประดับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษจะต้อง โดยปกติลูกเสือจะสอบได้เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษภายใน
ระยะเวลา 1 ปี หลังจากได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลก
แผนการจัดกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และคาบเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิชา เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
========================================================
ภาคเรียนที่ 1 คาบ ภาคเรียนที่ 2 คาบ
ปฐมนิเทศ(เครื่องแบบ,การ ปฐมนิเทศ 1
ทำความเคารพ ,ระเบียบแถว) 1 นักแสดงการบันเทิง 2 – 3
หน้าที่พลเมือง 2 - 3 นักกรีฑา 4 – 5
สิ่งแวดล้อม 4 - 5 นักผจญภัย 6 – 7
การเดินทางสำรวจ 6 - 7 แผนที่ทหารและเข็มทิศ 8 – 10
การแสดงออกทางศิลปะ 8 - 9 นักดาราศาสตร์ 11 – 13
สมรรถภาพทางกาย 10 - 11 นักธรรมชาติวิทยา 14 – 15
กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ 12-13 นักสะกดรอย 16 – 17
อุดมคติ 14 - 15 สอบภาคทฤษฎี 18
บริการ 16 - 18
เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ 19 - 20
รวม 20 รวม 18
หมายเหตุ 1. การสอบภาคปฏิบัติใช้เวลานอกคาบเรียน
2. ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร และวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2528 หมวด 2 (เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ) ข้อ 2 กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าเกณฑ์ได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษจะต้องสอบวิชาพื้นฐานระดับลูกเสือชั้นพิเศษได้ 5 วิชา คือ วิชาการเดินทางสำรวจ วิชาบริการ และวิชาอื่นอีก 3 วิชา ซึ่งลูกเสือเป็นผู้เลือก
3. ระเบียบแถวเป็นการฝึกความพร้อมของลูกเสือ ไม่ใช่วิชาในหมวดวิชาลูกเสือชั้นพิเศษ
4. ภาคเรียนที่ 2 เป็นแผนการเรียนวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ตามข้อบังคับฯ 76 วิชา
การกำหนดการสอนหน่วยกิจกรรมลูกเสือ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สัปดาห์ที่
|
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
|
เวลา/คาบ
|
1
|
1.ปฐมนิเทศ
1.1 การจัดการเรียนการสอน
1.2 การแต่งกาย
|
1
|
2-3
|
2.หน้าที่พลเมือง
2.1 ประวัติการลูกเสือไทย
2.2 วิธีดำเนินการของขบวนการลูกเสือ
|
2
|
4-5
|
3.สิ่งแวดล้อม
3.1 ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
3.2 วิธีการอนุรักษ์สัตว์ – พืช
3.3 การอนุรักษ์ธรรมชาติ
|
2
|
6-7
|
4.การเดินทางสำรวจ
4.1 หลักในการเดินทางสำรวจด้วยการเดินเท้า
4.2 การจัดอาหารและอุปกรณ์เวชภัณฑ์
4.3 การทำแบบรายงานสำรวจ
|
2
|
8-9
|
5.การแสดงออกทางศิลปะ
5.1 ศิลปการแสดง
5.2 ทัศนศิลป์และการวาดภาพ
5.3 การปั้น
5.4 การถ่ายภาพ
5.5 การประดิษฐ์ – การแกะสลัก
5.6 การช่าง
5.7 ศิลปทางอักษรศาสตร์ศิลปการวิจารณ์
|
2
|
สัปดาห์ที่
|
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
|
เวลา/คาบ
|
10-11
|
6. สมรรถภาพทางกาย
6.1 มาตรฐานการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
6.2 ความหมายชนิดและโทษของสิ่งเสพย์ติด
|
2
|
12-13
|
7. กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ
7.1 แนวทางในการเลือกปฏิบัติกิจกรรม
7.2 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติกิจกรรม
|
2
|
14-15
|
8.อุดมคติ
8.1 คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
8.2 ศีล 5 และศีล 8
8.3 อาราธนาศีล-ธรรม-พระปริตร
8.4 หลักสำคัญในพระพุทธศาสนา
8.5 กิจกรรมที่ใช้สติปัญญา
8.6 กิจกรรมวิทยาการ
|
2
|
16-18
|
9.บริการ
9.1 ความหมายของชุมชน การบริการและการพัฒนาชุมชน
9.2 กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน
9.3 การบริการชุมชนตามกฎของลูกเสือ
9.4 การปฐมพยาบาล
|
3
|
19-20
|
การประดับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
|
2
|
รวม
|
20
|
กำหนดการสอนหน่วยกิจกรรมลูกเสือ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สัปดาห์ที่
|
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
|
เวลา/คาบ
|
21
|
1.ปฐมนิเทศ
1.1 การเรียนเพื่อรับเครื่องหมายวิชาพิเศษ
1.2 การเรียนเพื่อรับเครื่องหมายสายยศ
|
1
|
22-23
|
2.วิชานักแสดงบันเทิง
2.1 วางแผนจัดการบันเทิง
2.2 เตรียมจัดโปรแกรมบันเทิง
|
2
|
24 - 25
|
3.นักกรีฑา
3.1 ออกกำลังกาย้วยวิธีต่างๆได้
- วิ่งระยะสั้น
- วิ่งระยะกลาง
- วิ่งกระโดดสูง
|
2
|
26 - 27
|
4.วิชานักผจญภัย
- การเดินทางไกลแรมคืน
- ว่ายน้ำ
- กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
- การไต่เชือก
|
2
|
สัปดาห์ที่
|
หน่วยการเรียนรู้/หน่วยย่อยกิจกรรม
|
เวลา/คาบ
|
28 - 30
|
5. แผนที่ทหาร /เข็มทิศ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่
กำหนดที่ตั้งลงบนแผนที่ด้วยพิกัด
การใช้เข็มทิศ
|
3
|
31 - 33
|
6.วิชานักดาราศาสตร์
- ดาวและกลุ่มดาว
- เครื่องมือ,หอดูดาว
- กิจกรรมมนุษย์ในอวกาศ
|
3
|
34 - 35
|
7. นักธรรมชาติวิทยา
ความรู้เรื่องธรรมชาติ
โครงงานธรรมชาติศึกษา
|
2
|
36 - 37
|
8. นักสะกดรอย
การสะกดรอย
นักสะกดรอย
|
2
|
38 - 39
|
ทดสอบความรู้วิชาพิเศษ
|
2
|
รวม
|
40
|
ได้ได้รับเครื่องหมายสายยงยศลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ในภาคเรียนที่ 2 ของปีที่ 1 (ชั้น ม.1) ลูกเสืออาจได้รับสายยงยศได้ โดยจะต้อง
1. สอบได้เครื่องหมายลูกเสือโลก
2. สอบได้วิชาพิเศษ “นักผจญภัย”
3. สอบได้วิชาพิเศษวิชาต่อไปนี้ อีก 2 วิชา คือ นักดาราศาสตร์, นักอุตุนิยมวิทยา, การจัดการค่าย พักแรม, ผู้พิทักษ์ป่า, นักเดินทางไกล, หัวหน้าคนครัว, นักบุกเบิก, นักสะกดรอย, นักธรรมชาติวิทยา
4. ต้องถักสายยงยศ (สายหนัง) ได้ด้วยตัวเอง
Google Doc
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เช...