บทที่ 6
การประกอบอาหารภายในค่ายพักแรม
ก่อนที่ผู้กำกับลูกเสือจะนำลูกเสือ-เนตรนารี ไปอยู่ค่ายพักแรม ผู้กำกับควรจะได้มีการฝึกทำอาหาร
ภายในกองของตนเองเสียก่อน เพื่อให้ลูกเสือ-เนตรนารี ได้มีประสบการณ์ในการประกอบอาหาร
ถ้าลูกเสือ-เนตรนารี มีประสบการณ์ในการประกอบอาหารแล้ว ถ้าถึงเวลาเดินทางไกลและแรมคืน (พักแรม) จะได้ไม่มีปัญหาในการประกอบอาหารสำหรับหมู่ของตนเอง
การประกอบอาหารรับประทานระหว่างการอยู่ค่ายพักแรมควรจะได้คำนึงถึงคุณค่าของอาหารแต่ละอย่าง
เพื่อให้สุขภาพร่างกายมีอนามัยดี แต่การประกอบอาหารของลูกเสือ-เนตรนารีในขณะเดินทางไกลและแรมคืน
(พักแรม) นั้น อาจจะมีเครื่องปรุงไม่ครบตามตำราอาหารที่ประกอบขึ้นในครัวตามบ้านเรือน ฉะนั้น จึงได้เสนอแนะการปรุงอาหารชนิดต่าง
ๆ ทั้งประเภทอาหารคาวและอาหารประเภทของหวาน และจะใช้ประกอบอาหารภายในค่ายพักแรม โดยเสนอเป็นแต่เพียงตัวอย่างของการปรุงอาหารและชนิด ดังนี้
ประเภทอาหารคาว
ต้มยำปลาช่อน
เครื่องปรุง
ปลาช่อน 1 ตัว ตะไคร้
1 ต้น ใบมะกรูด
3 – 4 ใบ
น้ำพริกเผาชนิดไม่มีมันประมาณ
1
ช้อนโต๊ะ กระเทียมเจียวประมาณ
1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล น้ำปลา มะนาว ต้นหอม
ผักชี
ตามสมควร
วิธีปรุง
1. นำปลาช่อนขอดเกล็ด ตัดหางตัดครีบ ผ่าท้องเอาไส้ออก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นปลา
ออกเป็นแว่น
ๆ ขนาดพอสมควร
2. ตั้งน้ำให้เดือด แล้วนำเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในหม้อ ตามด้วยเนื้อปลาช่อน
ปลาช่อนเผากระบอกไม้ไผ่ (ไก่, เนื้อ,
หมู)
เครื่องปรุงและอุปกรณ์ ปลาช่อนขนาดกลาง 1 ตัว กระเทียม
2 หัว พริกแห้ง
10 - 15 เม็ด
กะปิ
1 ช้อนชา
เกลือปน 1 ช้อนชา ไม้ไผ่จำนวนที่ต้องการ
วิธีปรุง 1. ล้างปลาช่อน ขอดเกล็ดให้สะอาด
2. โขลกน้ำพริก ให้ละเอียดเล็กน้อย
3. นำเอาปลาช่อนมาคลุกเคล้ากับน้ำพริก และใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่
4. นำกระบอกไม้ไผ่ไปเผาไฟจนกระทั่งปลาช่อนสุก นำมารับประทานได้
ปลาเผา
เครื่องปรุง
ปลาช่อน 1 ตัว ตะไคร้
1 หัว ซอส 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียม
พอสมควร พริกไทยป่น
1
ช้อนชา
วิธีปรุง 1.
ล้างปลาให้สะอาด
2. โขลกกระเทียม พริกไทย
พร้อมซอสปรุงรส
ให้เข้ากันนำมาทาให้ทั่วตัวปลา
3. ทุบตะไคร้พอแหลก
ยัดใส่ปากปลาเพื่อชูกลิ่น และดับกลิ่นคาว
4. นำไปห่อด้วยใบตองหรือกระดาษฟรอยด์
5. เผาด้วยไผอ่อน ๆ ประมาณ 15
นาที จนสุก และนำมารับประทานได้
หมูทอดกระเทียมพริกไทย
เครื่องปรุง หมูเนื้อแดงครึ่งกิโลกรัม หั่นขนาด 5 X 7 ชม. หนาประมาณ 1 ชม. พริกไทย 25 เม็ด
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันหมูพอสมควร
วิธีปรุง
1. หมูหั่นแล้วสับเบา
ๆ ทั้ง 2 ข้าง อย่าให้ขาดจากกัน
2.
ตำพริกไทย เกลือให้ละเอียด แล้วเอาหมูลงไปคลุกพริกไทย เกลือให้ทั่วกัน แล้วใส่
น้ำปลาถ้ามีผงชูรสใส่ลงไปเล็กน้อยให้มีรสอร่อย
3.
แล้วนำทอดในน้ำมันพอเหลือง (ระวังคอยกลับอย่าให้ไหม้)
ทอดเนื้อวัว
เครื่องปรุง
เนื้อสันครึ่งกิโลกรัม
หั่นขนาด 5 x 7 ชม. พริกไทย 30 เมล็ด (ใช้ดับคาวเนื้อ) เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำปลาดี
1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันตามสมควร
วิธีปรุง 1.
สับเนื้อที่หั่นไว้ให้ละเอียดทั้งสองข้าง
แต่ระวังอย่าให้ขาดออกจากกัน
2.
ตำพริกไทยกับเกลือ
(หรือจะใส่รากผักชีสัก 5 ราก กระเทียม
5–6 กลีบ ด้วยก็ได้)
โขลกให้ละเอียด
3.
เอาเนื้อที่สับลงไปคลุกพริกไทย เกลือให้ทั่วแล้วใส่น้ำปลา ถ้ามีผงชูรสใส่ลงไปสัก
1 ช้อนชา
4.
แล้วนำไปทอดน้ำมัน
พอเหลืองคอยกลับ
อย่าให้ไหม้
หมายเหตุ ใช้ไม้ทุบเนื้อเบา ๆ ให้นุ่มแทนการสับก็ได้
ไข่เจียว
เครื่องปรุง
ไข่เป็ด 2 ฟอง น้ำปลา ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
ถ้าต้องการเค็มให้ใส่มากกว่า 1 ช้อนโต๊ะ
หอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันหมู
วิธีปรุง
1. ตอกไข่ใส่ชาม เติมน้ำประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อให้ไข่นุ่ม เอาช้อนหรือส้อมตีไข่
ให้ฟูเป็นฟองใส่หอม และน้ำปลาลงไป ตีให้เข้ากัน
2. ตักน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้น้ำมันร้อนจัด
ใส่น้ำมันมากพอสมควร อย่าให้น้อย
เกินไป เทไข่ลงในกระทะ ไข่จะเดือดฟู ประมาณพอไข่ก้นกระทะสุก เอาตะหลิว
กลับไข่ไปเรื่อย ๆ จนสุกเหลืองทั้ง 2 ด้าน จึงตักใส่จาน (อย่าใส่น้ำมันน้อยไปจะ
ทำให้ไข่ฟู ทำให้ไม่น่ารับประทาน)
หมายเหตุ เครื่องปรุงสำหรับใส่ไข่ จะใช้หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศสุก เนื้อหมูสับ หรือกุนเชียง
หั่นใส่ลงไปด้วยก็ได้ สุดแต่ชอบ
ไข่ดาว
เครื่องปรุง ไข่ จำนวนฟองตามต้องการ น้ำมันหมู หรือน้ำมันพืช น้ำปลา
วิธีปรุง 1. เอาน้ำมันหมูหรือน้ำมันพืชใส่กระทะประมาณท่วมไข่ ตั้งไฟให้ร้อนจัด
2. ตอกไข่ใส่ชามทีละฟอง แล้วเทไข่ลงในน้ำมันในกระทะไข่จะสุก
พอประมาณ
ว่าไข่ขาวก้นกระทะสุกเหลือง เอาตะหลิวตักไข่กลับพลิกลงให้อีกข้างหนึ่งสุก
เหลือง ระวังอย่าให้ไข่แดงสุก รับตักขึ้นใส่จานสำหรับรับประทาน
3. เวลารับประทานต้องใส่น้ำปลาเค็มมากน้อยใส่น้ำปลาตามต้องการ
แกงจืดหมูหรือลูกชิ้นหมู
เครื่องปรุง ผักกาดขาว หมู กุ้ง
น้ำปลา พริกไทย กระเทียม
วิธีปรุง เอาน้ำใส่ภาชนะต้มให้เดือด เอาหมู กุ้ง ล้างน้ำสะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็ก
ๆ ใส่ไปใน
หม้อแกง ใส่น้ำปลา โขลกพริกไทย กระเทียมใส่ลงไป เอาผักล้างน้ำให้สะอาด พอน้ำเดือดอีกครั้ง ก็รีบหั่นผักใส่ลงไป คะแนนพอผักสุกก็รีบยกลงปิดฝาหม้อ
ตักรับประทานได้
หมายเหตุ ไม่ควรหั่นผักทิ้งรอไว้นาน
ๆ จะทำให้วิตามินหนีไปได้มาก ทำให้คุณภาพของผักเลื่อมลง ผักที่ใช้แกงจืดมีหลายชนิด เช่น ฟักเขียว ผักกาดขาว บวบ น้ำเต้า ฟักทอง ตำลึง ฯลฯ
ไข่ดาวน้ำ
เครื่องปรุง ไข่ 4 ฟอง เกลือ
½ ช้อนชา พริกไทยป่น ½ ช้อนชา น้ำตาลเล็กน้อย
วิธีปรุง เอาน้ำใส่กระทะก้นแบนประมาณท่วมไข่
ใส่เกลือตั้งไฟพอเดือดต่อยไข่ใส่ชาม
(ระวังอย่าให้ไข่แดงแตก) เทไข่ในชามลงในกระทะพอไข่สุกยกลงจากเตาเอาช้อน
เกลี่ยให้ไข่งาม
แล้วตักใส่จานเพื่อรับประทาส
ไข่ตุ๋น
เครื่องปรุง ไข่ 2 ฟอง หอมหัวเล็กซอย ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ต้นหอม
1 – 2 ต้น
ตัดเป็น
ท่อน
ๆ สั้น ๆ น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ(หรือน้ำสุก) พริกไทย
ป่นเล็กน้อย
วิธีปรุง 1. ต่อยไข่ใส่ชามที่จะนึ่ง ใส่หอมซอย
น้ำปลา ใส่น้ำ เอาส้อมตีไข่ให้ขึ้นฟู แล้ว
ใส่ต้นหอมโรยพริกไทย
2. ยกชามใส่รังถึง นึ่งให้สุก (ประมาณ 15 – 20 นาที)
หมายเหตุ อาจใส่หมูสับหรือกุ้งแห้งป่นลงไปด้วยก็ได้
ผัดผักบุ้งไฟแดง (ผักกระเฉด, คะน้า, กระหล่ำปลี)
เครื่องปรุง ผักบุ้ง 1 มัด กระเทียมพอสมควร เต้าเจี่ยว
1 ช้อนโต๊ะ ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนู 5 เม็ด น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา พริกไทยป่น
วิธีปรุง 1. ล้างผักให้สะอาด
2. โขลกกระเทียมพอแตกใส่ภาชนะที่ใส่ผัก
3. ทุบพริกขี้หนูพอแตกใส่ภาชนะที่ใส่ผัก
4. นำเต้าเจี่ยว ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย ใส่ในภาชนะที่ใส่ผัก
5. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอสมควร ตั้งไฟ รอให้ร้อนจัด
6. นำผักและเครื่องปรุงที่ผสมแล้ว ใส่ลงในกระทะที่ร้อนจัดพร้อมกัน
7. รีบกลับผักที่อยู่ในกระทะด้วยความเร็ว
อย่าให้นานจนเกินไปจะทำให้ผักไม่
กรอบ และสีไม่น่ารับประทาน โรยพริกไทยเล็กน้อย
8. นำมารับประทานขณะที่ยังร้อน ฯ
ไข่ผัดแหนม
เครื่องปรุง แหนม 1 ห่อ ไข่ไก่
2 ฟอง หอมหัวใหญ่
1 หัว พริกขี้หนู
10 เม็ด
กระเทียมพอสมควร น้ำมันพอสมควร
วิธีปรุง 1. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอสมควร ตั้งไฟ รอให้ร้อน
2. นำกระเทียมลงในกระทะ
3. ตีไข่ไก่ลงในกระทะที่มีกระเทียมเจียวอยู่
4. นำเอาแหนม หอมหัวใหญ่ เทลงในกระทะแล้วคนให้เข้ากัน
5. ใส่พริกขี้หนูลงไป
6. นำมารับประทานได้
ผัดผักคะน้ากับเนื้อวัว
เครื่องปรุง ผัดคะน้า 1 หรือ 2 ต้น สุดแต่ขนาดใหญ่หรือเล็ก เนื้อวัวหั่นประมาณครึ่งถ้วย
กระเทียมสับละเอียดประมาณ
4-5 กลีบ
น้ำปลาอย่างดีประมาณ 1 ช้อนโต๊ะครึ่ง
นำหมูหรือน้ำมันพืชประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลเล็กน้อย (หวานตามชอบ)
วิธีปรุง 1. ล้างต้นคะน้าให้สะอาด สะบัดน้ำให้สะเด็ด ใช้มีดคม ๆ ลิดใบออกจากก้าน
แล้วหั่นชิ้นโตประมาณ
1 นิ้ว ส่วนก้านทุบให้แตกแล้วหั่นเฉียง ๆ บาง ๆ
(ไม่ควรหั่นก่อนล้างจะทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร)
2. เอาเนื้อวัวที่ไม่มีพังผืด ล้างน้ำให้สะอาด หั่นขวางเนื้อให้บางพอสมควรอย่าให้
หนานัก
3. เอากระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันจนน้ำมันร้อนจัด
ใส่กระเทียมผัดกับน้ำมันให้หอม
ใส่เนื้อวัวและก้านผัดลงไปผัดสัก
1 นาที แล้วเร่งไฟให้ร้อน
ใส่ใบคะน้าลงไป
ผัดให้ทั่ว ใส่น้ำปลา น้ำตาล ผัดจนพอสุก ยกลงโรยพริกไทยป่น ตักใส่จาน
ประเภทของหวาน
ไข่หวาน
เครื่องปรุง ไข่เป็ดหรือไข่ไก่
น้ำตาลทราย ขิงหั่นเป็นแว่น ๆ
หรือทั้งแง่งทุบให้แตก
วิธีปรุง เอาน้ำใส่หม้อพอสมควร ตั้งไฟ เอาน้ำตาลทรายใส่ลงไป (มากน้อยตามความ
ต้องการหวานมากหรือน้อย) ต้มน้ำตาลจนเป็นน้ำเชื่อม ใส่ขิงลงไปต้มด้วยเพื่อ
ดับกลิ่นคาว เมื่อน้ำเชื่อมเดือด แล้วต่อยไข่ใส่ถ้วยหรือชามครั้งละฟอง แล้วค่อย
เทใส่ลงในน้ำเชื่อม พอเดือดไข่ลอยก็ตักไว้รับประทาน
หมายเหตุ การทำน้ำเชื่อมใช้น้ำตาล
1 ถ้วย ต่อน้ำ 1 ½ - 2 ถ้วย ตั้งไฟให้เดือดละลาย
มันเทศต้มน้ำตาล (หรือถั่วเขียว)
เครื่องปรุง มันเทศ 2 หัวใหญ่ น้ำตาลทราย
1 ½ ถ้วย น้ำ 3 ถ้วย ขิงแห้งเท่าหัวแม่มือ
2
แง่ง
วิธีปรุง 1. ปอกมันเทศล้างให้สะอาด
2. เอาน้ำใส่หม้อ ใส่น้ำตาลตั้งให้เดือด น้ำตาลละลาย
3. เอามีดหั่นมันเทศเป็นชิ้น ๆ ใส่ลงในหม้อน้ำเชื่อมปิดฝาต้มให้สุกพร้อมกับขิง
กล้วยปิ้ง
เครื่องปรุง กล้วยน้ำว้า สุกหรือดิบ
วิธีปรุง 1. การปิ้งกล้วยน้ำว้าสุกให้นำกล้วยน้ำว้ามาวางบนเตาใช้ไฟอ่อน
ๆ ให้กลับไป
กลับมา จนกล้วยสุก นำมารับประทานได้
2. การปิ้งกล้วยดิบ ให้ปอกเปลือกเสียก่อนแล้วนำมาปิ้งบนเตาไฟ โดยใช้ไฟ
อ่อน ๆ ให้พลิกไป-พลิกมา จนสุก และนำมารับประทานได้
ชื่ออาหาร .............................................
เครื่องปรุง
1.
...........................................................................
2.
........................................................................................
3. ........................................................................................
4.
........................................................................................
5.
........................................................................................
วิธีปรุง 1.
………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………
ตารางการให้คะแนนการประกอบอาหาร
วันที่
............... เดือน..................................... พ.ศ.
.................................
( คะแนนมาตรฐาน 30
คะแนน )
ชื่อหมู่
|
คุณค่าทางอาหาร
|
การปรุงอาหาร
|
สุขลักษณะ
|
เตรียม-เก็บอุปกรณ์
|
รวม
|
คะแนน
|
10
|
10
|
10
|
10
|
40
|
กองที่
1
หมู่ 1……………………..
หมู่ 2……………………..
หมู่ 3……………………..
หมู่ 4……………………..
หมู่ 5……………………..
กองที่
2
หมู่ 1……………………..
หมู่ 2……………………..
หมู่ 3……………………..
หมู่ 4……………………..
หมู่ 5……………………..
|
|
|
|
|
|
…………………………………ผู้ตรวจ/ให้คะแนนคนที่
1
………………………………....ผู้ตรวจ/ให้คะแนนคนที่
2
………………………..………..ผู้ตรวจ/ให้คะแนนคนที่
3
หนังสืออ้างอิง
- ศึกษาธิการ, กระทรวง. วิชาการ, กรม. คู่มือการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5-6 (ลูกเสือสามัญ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. พ.ศ.2533
- คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ, สำนักงาน. คู่มือการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ
ขั้นความรู้ชั้นสูง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาสนา. พ.ศ.2522
-
ศึกษาธิการ,
กระทรวง. สามัญศึกษา, กรม. คู่มือครูวิชาอาหารและโภชนาการ. กรุงเทพฯ :
ห้างหุ่นส่วน จำกัด จงเจริญการพิมพ์. พ.ศ.2519
- วัฒนา ปทุมสินธ์. ตำราการถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน
จำกัด สำนักพิมพ์ประสานมิตร.
พ.ศ.2518
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น