Translate

หน้าเว็บ

23 ธันวาคม 2562

กิจกรรมระหว่างอยู่ค่ายพักแรม

บทที่  7

กิจกรรมระหว่างอยู่ค่ายพักแรม

                               
                                ในแต่ละปีของการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี        ของกองลูกเสือ-
เนตรนารี โรงเรียนต่าง          เป็นไปตามจุดประสงค์ของกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตร
มัธยมศึกษาตอนต้นนั้น  เพื่อให้การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี     บรรลุวัตถุประสงค์
ของกิจกรรมตามหลักสูตร ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี จะต้องจัดกิจกรรมให้ลูกเสือ-เนตรนารี
ได้ปฏิบัติ  คือ  กิจกรรมเดินทางไกลและแรมคืน  (พักแรม)  โดยมีวัตถุประสงค์   ดังนี้
1.             เพื่อเป็นการทบทวนวิชากิจกรรมลูกเสือที่ได้เรียนมาแล้ว
2.             เพื่อเป็นการเรียนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี เพิ่มเติม
3.             เพื่อเป็นการส่งเสริมให้รู้จักทำงานร่วมกัน มีความอดทน
4.             เพื่อให้ลูกเสือ-เนตรนารี รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น
ฉะนั้น  เพื่อให้การเรียนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะต้องเตรียมจัดเนื้อหาวิชากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี สำหรับทบทวนหรือ
ศึกษาเพิ่มเติม  วิชากิจกรรมต่อไปนี้เป็นแต่เพียงตัวอย่างที่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะจัดไว้ในตาราง
กิจกรรมประจำวัน  คือ วิชาเข็มทิศ  การผจญภัย  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น    การผูกเงื่อนต่าง ๆ
การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือฯลฯ
                                เนื้อหาและรายละเอียดวิชาต่าง ๆ ที่ได้เสนอมานี้เป็นแต่เพียงตัวอย่างที่ผู้บังคับ-บัญชาลูกเสือ-เนตรนารี พึงปฏิบัติ นำเอาไปสอนในขณะไปอยู่ค่ายพักแรม เพื่อให้ลูกเสือ-เนตรนารี
ได้รับการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ และนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  คือ


วิชา  คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

คำปฏิญาณของลูกเสือ

                                คำปฏิญาณของลูกเสือ เป็นถ้อยคำที่กล่าวออกมาด้วยความจริงใจ  เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวให้ลูกเสือปฏิบัติในสิ่งที่ดีและถูกต้อง  คำปฏิญาณของลูกเสือสามัญ คือ คำมั่นสัญญาที่ลูกเสือ
ให้ไว้แก่ผู้บังคับบัญชา  ต่อหน้าแถว   หรือในพิธีทางลูกเสือ     เป็นหลักสากลซึ่งลูกเสือทุกประเทศปฏิบัติเช่นเดียวกันหมด ลูกเสือจะเป็นพลเมืองดีของชาติบ้านเมืองก็โดยอาศัยหลักคำปฏิญาณเป็น
อุดมการณ์นำไปปฏิบัติในชีวิต



                                คำปฏิญาณข้อ  1    ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์    หมายถึง
ลูกเสือต้องมีความเคารพบูชา  เทิดทูนไว้ด้วยความซื่อสัตย์  จริงใจ  เพราะชาติ  หมายถึงผืนแผ่นดิน
และประชาชนที่อยู่ร่วมกัน มีธรรมเนียมประเพณีมีกฎหมายอันเดียวกันคุ้มครอง จึงควรปฏิบัติต่อชาติ    ดังนี้
1.             ประพฤติตนเป็นพลเมืองดี
2.             เคารพปฏิบัติตามคำสั่งและกฎหมายบ้านเมือง
3.             ประพฤติตนตามธรรมเนียมประเพณีนิยม
4.             รักคนในชาติและรักแผ่นดินถิ่นเกิดของตน
ศาสนา  มีพระคุณแก่เรา  คือ  ช่วยแนะนำสั่งสอนให้รู้ดีรู้ชอบ และเว้นความชั่ว ไม่ให้เบียด
เบียนกัน ประพฤติชอบทั้งกาย  วาจา  ใจ  ฉะนั้นลูกเสือจึงต้องเคารพและปฏิบัติต่อศาสนา  ดังนี้
1.             ประพฤติปฏิบัติต่อกิจกรรมของศาสนา
2.             เคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสอนโดยมิเลือกศาสนา
3.             ละเว้นการทำความชั่ว  กระทำแต่ความดี
4.             ทำบุญบ้างในเวลาหรือโอกาสที่สะดวก
พระมหากษัตริย์  ทรงเป็นประมุขของประเทศชาติ  ทรงเป็นพระประมุขของคณะลูกเสือ
แห่งชาติ   และทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทั้งชาติ  ลูกเสือต้องปฏิบัติดังนี้
1.             แสดงความเคารพสักการะต่อองค์พระประมุข  และพระบรมฉายาลักษณ์
2.             ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการกระทบกระเทือนเสื่อมเสียพระเกียรติคุณ
3.             ลูกเสือต้องช่วยป้องกันมิให้คนอื่นกระทำการนั้นด้วย

คำปฏิญาณข้อ  2  ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นเรื่อง
สำคัญของลูกเสือสามัญที่พึงปฏิบัติ  ลูกเสือพึงช่วยเหลือดูแล มีใจเมตตา  กรุณา  เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น
ลูกเสือกระทำได้ทุกโอกาส   เช่น  ช่วยพ่อแม่  ครู  อาจารย์  ช่วยเหลือโรงเรียนตลอดชุมชน

                คำปฏิญาณข้อ  3  ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ   คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเปรียบเสมือนศีลของลูกเสือที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวให้ลูกเสือประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามตามกฎของลูกเสือ  10 ข้อ  อย่างเคร่งครัด  โดยไม่หลีกเลี่ยง






กฎของลูกเสือมี  10  ข้อ  ดังนี้คือ

1.             ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
2.             ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ
3.             ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น
4.             ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
5.             ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
6.             ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
7.             ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา  มารดา  และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
8.             ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
9.             ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
10.      ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ

ข้อ  1  ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้   คือเป็นผู้มีเกียรติเป็นที่ไว้วางใจของผู้อื่นเชื่อถือได้  เมื่อ
กล่าวสิ่งใดออกไปแล้วต้องรักษาสัจจะ  ปฏิบัติเหมือนปากพูดเสมอ  เมื่อได้รับมอบหมาย  สิ่งใดต้องทำสิ่งนั้นให้เสร็จเรียบร้อย    ด้วยความตั้งใจจริงจนเต็มความสามารถ    ตามสติกำลังไม่เพิกเฉยหลีกเลี่ยง
                ข้อ  2  ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ
หมายความว่าจะต้องมีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของตน  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ด้วยใจจริง
ประพฤติตนเป็นพลเมืองดี  ปฏิบัติตามกฎหมาย  ระเบียบแบบแผน  ประเพณี  และมีความซื่อตรงต่อ
พ่อแม่  ครู  อาจารย์  ผู้บังคับบัญชา และผู้มีพระคุณ
                ข้อ  3   ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น     หมายความว่า 
จะต้องพยายามทำประโยชน์แก่ผู้อื่น  เตรียมพร้อมเสมอที่จะช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตราย
                ข้อ  4  ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก         หมายถึง 
ลูกเสือจะต้องเป็นผู้โอบอ้อมอารีแก่คนทั่วไปโดยไม่เลือกชาติหรือชั้นวรรณะ  โดยถือว่าเป็นพี่น้องกันทั่วโลก
                ข้อ  ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย    หมายความว่า  เป็นผู้มีกิริยาวาจาสุภาพแก่บุคคล
ทั่วไป  โดยเฉพาะเด็กและคนชรา
                ข้อ  6ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์  หมายถึง  เป็นผู้มีจิตใจเมตตา  กรุณา  ไม่ฆ่าไม่ทรมานสัตว์ เมื่อเจ็บป่วยต้องดูแลรักษา ถ้าเป็นสัตว์ที่ใช้งานก็พยายามใช้แต่พอสมควร  และให้สัตว์นั้นได้รับความสบายพอสมควร
                ข้อ  7  ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
หมายความว่า  ลูกเสือจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่ลังเลใจ กระทำด้วยความเต็มใจเข้มแข็ง
                ข้อ  8ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก   หมายถึง   เป็นผู้มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่บ่นไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก  แม้จะพบอุปสรรคก็ต้องฟันฝ่าและอดทน
                ข้อ  9  ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์  หมายความว่า  ลูกเสือจะต้องเป็นผู้รู้จักประหยัด  รู้จักเก็บหอมรอบริบ  ใช้จ่ายอย่างประหยัด  ไม่ปล่อยเวลาให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และรู้จักรักษาทรัพย์สิ่งของทั้งของตนเองผู้อื่น
                ข้อ  10   ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ     หมายความว่า    ลูกเสือจะต้องประพฤติตนดีงาม   วาจา    เรียบร้อย    มีจิตใจสะอาด    มีความสะอาดต่อบาปและเกรงกลัวต่อความชั่วมีสติเหนี่ยวรั้งไม่ยอมกระทำสิ่งผิด


วิธีการกาง เก็บเต็นท์สำเร็จรูป

1.             นำเต็นท์สำเร็จรูป  และอุปกรณ์ออกจากถุงเก็บเต็นท์ และสำรวจสมอบก เชือก เสาหลัก ต่อกันแล้วได้ 2 ท่อน
2.             วางเต็นท์สำเร็จบนพื้นที่จะกางเต็นท์แล้วคลี่เต็นท์ออกจะเป็นผืนสี่เหลี่ยม ตามขนาดของเต็นท์
3.             ใช้สมอบกปักลงไปในห่วงที่มุมสี่เหลี่ยมนั้น ทั้ง 4 มุมของเต็นท์  (แต่บางเต็นท์ก็ไม่มี) หรือใช้สมอบกยึดกับเชือกที่มุมเต็นท์ทั้ง 4 มุม
4.             ใช้หลักที่ต่อแล้วให้ปลายหลักเสียบเข้าไปในรูตรงมุมของหน้าจั่วแล้วตั้งหลักขึ้นด้านใดด้านหนึ่งก่อน
5.             ใช้เชือกเส้นยาวหนึ่งเส้นผูกติดกับห่วงที่ปลายหลัก แล้วยึดกับสมอบกพอให้อยู่ก่อนตามแนวสันหลังคาเต็นท์  ให้เชือกเอียงทำมุมกับพื้นประมาณ 45 องศา
6.             เมื่อปักหลักยึดเชือกด้านหนึ่งซึ่งเป็นหัวเต็นท์เสร็จแล้วก็ปักหลักอีกด้านหนึ่งยึดเชือก เช่น  เดียวกันให้เป็นด้านท้ายเต็นท์
7.             ยึดเชือกด้านข้างขวาของเต็นท์กับสมอบก โดยจับคู่ด้านตรงข้ามกันทีละคู่ ให้ยึดคู่หัวและท้ายก่อนแล้วจึงยึดตรงกลาง
8.             ปรับกวัดเชือกหัวท้ายให้ตึง จัดรูปทรงของเต็นท์ให้สวยรูดซิปปิดประตูเรียบร้อยเป็นอันสำเร็จพร้อมที่จะนอนได้

การรื้อเต็นท์บุคคลสำเร็จรูป   มีขั้นตอน   ดังนี้

1.             เก็บสัมภาระภายในเต็นท์ออกให้หมด แล้วถอนสมอบกที่มีเชือกยึดออกจำนวน 8 อัน
รวมไว้ที่หนึ่ง
2.             นำเอาหลักค้ำหัวท้ายออกและถอดออกเป็นท่อน ๆ มัดรวมติดกัน
3.             เอาเชือกที่ผูกกับเต็นท์ออกทุกเส้นรวมกันไว้  ม้วนให้เรียบร้อย แล้วไล่ลมภายในเต็นท์ออกให้ผ้าเต็นท์ราบเรียบติดกับส่วนพื้น
4.             ถอนสมอบกที่มุมพื้นเต็นท์ทั้ง 4 อันออก  (ถ้ามี)  แล้วทำความสะอาดใต้เต็นท์ ซึ่งอาจจะติดดินหรือใบไม้ใบหญ้าบางทีอาจจะมีน้ำหรือความชื้นเปียกพื้นล่างของเต็นท์ ควรผึ่งแดดให้แห้งก่อนที่จะพับเต็นท์
การพับเต็นท์บุคคลสำเร็จรูป  มีลำดับขั้น ดังนี้
1.             นำเต็นท์สำเร็จรูป  ซึ่งทำความสะอาดใต้พื้นเต็นท์เรียบร้อยแล้ว วางบนพื้นสะอาด แผ่ออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตามขนาดพื้นเต็นท์
2.             แบ่งส่วนกว้างของเต็นท์ออกเป็น 4 ส่วน  แล้วพับส่วนข้างทั้งสองเข้าหากัน ให้ทับผ้าเต็นท์ที่เป็นส่วนของหลังคา ซึ่งได้กองแนบเรียบติดกับพื้นล่างของเต็นท์แล้ว
3.             เมื่อพับทางด้านข้างเข้าแล้วทั้ง 2 ข้าง ก็พับด้านกว้างนั้นตรงแนวกึ่งกลางที่แบ่งไว้นั้นทับกันจะได้เห็นเฉพาะผ้าพื้นล่างเต็นท์ซึ่งเป็นผ้าพลาสติกอย่างหนาเท่านั้นเป็นรูป
สี่เหลี่ยมยาวเท่าขนาดยาวของเต็นท์
4.             นำเอาค้ำยันและสมอบกที่รวมกันใส่ถุงเล็ก ๆ เรียบร้อยแล้วมาวางบนผ้าพื้นเต็นท์ที่พับ
แล้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวนั้น  โดยวางขวางกับด้านยาวตรงริมใดริมหนึ่ง แล้วม้วนเต็นท์ที่พับแล้วนั้นทับถุงค้ำยันสมอบกที่วางทับไว้                จนได้เป็นรูปกลมทรงกระบอก  (การม้วนนั้นควรจะม้วนจากด้านหัวเต็นท์ไปหาด้านประตูเต็นท์)
5.             นำเอาเต็นท์ที่ม้วนแล้วนั้นบรรจุถุงของเต็นท์ เพื่อเก็บรักษาต่อไป
วิธีเก็บรักษาเต็นท์
                เต็นท์กะแบะ และเต็นท์สำเร็จรูปล้วนเป็นวัสดุที่บอบบางจำเป็นที่จะต้องระวังรักษาเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน  ซึ่งอาจสรุปวิธีการบำรุงรักษาไว้ ดังนี้
1.              เต็นท์กะแบะ     และเต็นท์สำเร็จรูป        ทำด้วยผ้าที่ไวต่อการเผาไหม้จึงต้องระวังเรื่อง
เปลวไฟ ทั้งในขณะที่ใช้และเก็บรักษา
2.             ระวังของมีคมทิ่มแทง จะทำให้เต็นท์เป็นรูป้องกันน้ำหรือฝนไม่ได้ ถ้าเป็นรูหรือฉีกขาด
เล็กน้อย ควรรีบเย็บซ่อมทันที
3.             สมอบกมักจะชำรุดและหายได้ง่าย ดังนั้น การตอกสมออย่าใช้ของหนักตอกจนทำให้สมองอหรือหักเวลาเก็บก็อย่างัดควรดึงขึ้นตามทิศทางที่ตอกลงไป สำหรับพื้นที่ทรายสมอบกย่อมหักง่าย เวลาเก็บเชือกหรือแก้เชือก จะต้องถอนสมอบกออกก่อน
4.              เสาเต็นท์เวลาต่อกัน ต้องกดให้ถึงสลักหรือดึงข้อต่อให้ต่อกันอย่างมั่นคง
5.              สัตว์แมลงจำพวก มด ปลวก หนู จะชอบกัดกิน หรือทำรัง ดังนั้น ควรเก็บไว้ให้มิดชิด ป้องกันสัตว์และแมลงเหล่านั้น
6.              การพับผ้าเต็นท์ควรพับให้ถูกวิธีจะเป็นการป้องกันความเสียหายได้ เป็นการเพิ่มอายุการใช้งานอีกด้วย
7.              ผ้าเต็นท์ และอุปกรณ์ ก่อนที่จะพับเก็บจะต้องทำความสะอาดและผึ่งแดดให้แห้ง การเก็บควรเก็บในที่ไม่ชื้น วางรวบรวมไว้เป็นชุดเป็นหมู่ ง่ายแก่การตรวจรักษา อย่าให้สลับคู่สลับข้าง ถ้าเกิดการชำรุดเสียหายเพียงเล็กน้อย ควรรีบจัดอย่าปล่อยทิ้งไว้และการใช้ต้องใช้ด้วยความทะนุถนอม


วิชาเข็มทิศ

                เข็มทิศ คือ  เครื่องมือที่ใช้การหาแนวทางทิศเหนือ  (ทิศเหนือแม่เหล็ก) เข็มทิศจะมีปลายข้างหนึ่งชี้ไปทางทิศเหนือแม่เหล็กของโลกเสมอที่เป็นเช่นนั้น เพราะโลกมีคุณสมบัติเหมือนแท่งแม่เหล็กขนาดมหิมา  แม่เหล็กขั้วโลกเหนืออยู่ที่ชายฝั่งทางเหนือของเกาะ   Prince  of  wales  ในแคนาดาเหนือ   ซึ่งอยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือประมาณ  1,400  ไมล์  แต่ตำแหน่งของขั้วแม่เหล็กโลกเหนือนี้มิได้อยู่คงที่เสมอไป มันเคลื่อนที่ไปมาได้ในแต่ละปีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
                มุมที่ใช้กับเข็มทิศมี  2  ชนิด  คือ
1. มุมแอซิมัธ  (Azimuth)  คือ มุมต่างระดับจากแนวทิศเหนือหลักไปตามทางเดินของเข็มนาฬิกา (มุมแอซิมัธ  มีค่าไม่เกิน  360  องศา)
2. มุมแบริ่ง  (Bearing)  คือ  มุมต่างระดับนับจากแนวทิศเหนือหรือทิศใต้  ไปทางตะวันออกหรือตะวันตก  (มุมแบริ่ง มีค่าไม่เกิน  90   องศา)
ส่วนประกอบของเข็มทิศซิลวา
1.             แผ่นฐาน  (ทำด้วยพลาสติกแข็งใส)
2.             เลนส์ขยาย
3.             ลูกศรชี้ทิศทาง
4.             มาตราส่วน  (เป็นนิ้วและเซนติเมตร)
5.             ตัวเรือนเข็มทิศ (บนหน้าปัทม์ของตัวเรือนเข็มทิศจะแบ่งออกเป็น  360  องศา  มีขีดช่องเล็ก ๆ ช่องละ  2  องศา  และมี  อักษร  N  อยู่ตรงกับ      0  องศา  หรือ  360    องศา
   มี  อักษร  E  อยู่ตรงกับ      90   องศา
   มี  อักษร  S  อยู่ตรงกับ    180  องศา
                                                                                   มี  อักษร  W อยู่ตรงกับ    270 องศา

การใช้เข็มทิศแบบซิลวา

                ในการเดินทางไกลของลูกเสือ หรือการเดินทางสำรวจ มักจะทำแผนที่สังเขปประกอบการเดินทางด้วยเสมอ  ดังนั้น  ในระหว่างการเดินทางไกล  หรือเดินทางสำรวจจำเป็นจะต้องใช้เข็มทิศ
ประกอบการเดินทางด้วยเสมอ  เพื่อไม่ให้การเดินทางผิดไปจากเป้าหมายที่ต้องการจะไป
                การใช้เข็มทิศแบบซิลวาประกอบการเดินทาง  มีวิธีใช้ดังนี้
1.             การเดินทางไปยังจุดกำหนดหรือทราบค่ามุมแอซิมัธ  ให้ปฏิบัติดังนี้
1.1 ถือเข็มทิศบนฝ่ามือในแนวระดับ โดยให้เข็มแม่เหล็กแกว่งได้อิสระ
1.1          หมุนกรอบหน้าปัทม์ของตลับเข็มทิศให้เลขซึ่งตรงกับมุมที่กำหนดให้อยู่ตรงปลายลูกศรชี้ทิศทาง
1.2          หมุนตัวเข็มทิศทั้งฐานจนเข็มแม่เหล็กสีแดงชี้ตรงอักษร  N  บนกรอบหน้าปัทม์
1.3          เดินทางไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ทิศทางชี้ไป ควรสังเกตที่หมายที่เป็นจุดเด่นที่มีอยู่ในทิศทางนั้นไว้ แล้วเดินทางไปยังที่หมายนั้นจะช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้นโดยไม่ต้องกังวลกับการต้องเดินออกนอกเส้นทาง
2.             ในกรณีที่ต้องการจะหาค่ามุมแอซิมัธ  จากจุดที่เรายืนอยู่ไปยังจุดที่จะเดินทางไปให้ปฏิบัติดังนี้
a.              ถือเข็มทิศบนฝ่ามือในแนวระดับ
b.             หันลูกศรชี้ทิศทางไปยังจุดที่เราจะเดินทางไป
c.              หมุนกรอบหน้าปัทม์ของเข็มทิศไปจนกว่าอักษร  N  บนกรอบหน้าปัทม์อยู่ตรงปลายเข็มแม่เหล็กสีแดงในตลับ
d.             ตัวเลขบนกรอบหน้าปัทม์ที่อยู่ตรงปลายลูกศรชี้ทิศทาง  คือ  ค่าของมุมแอซิมัธที่ต้องการทราบการอ่านค่ามุมแอซิมัธต้องอ่านตามเข็มนาฬิกา

เกมเกี่ยวกับการหามุม

                1.   จากจุดเริ่มต้น  ทำมุมแอซิมัธ 20 องศา  เดิน 20 เมตร แล้วทำมุมแอซิมัธอีก 140 องศา เดิน 20 เมตร   และแล้วทำมุมแอซิมัธ  40  องศา เดินอีก 20 เมตร หากตั้งมุมและเดินระยะถูกจะพบของที่ซ่อนไว้
                2.   จากจุดเริ่มต้น  ทำมุมแอซิมัธ 40 องศา เดิน 15 เมตร แล้วทำมุมแอซิมัธอีก 160 องศา เดินต่อ 15 เมตร และแล้วทำมุมแอซิมัธ 280 องศา  เดินอีก 15 เมตร หากตั้งมุมและเดินระยะถูกจะพบของที่ซ่อนไว้
3.             จากจุดเริ่มต้น  ทำมุมแอซิมัธ 60 องศา เดิน 20 เมตร แล้วทำมุมแอซิมัธอีก 180 องศา
เดินต่อ 20 เมตร และแล้วทำมุมแอซิมัธ 300 องศา เดินอีก 20 เมตร หากตั้งมุมและเดินระยะถูกจะพบของที่ซ่อนไว้
4.             จากจุดเริ่มต้น  ทำมุมแอซิมัธ 80 องศา  เดิน 15 เมตร  แล้วทำมุมแอซิมัธ 200 องศา
เดินต่อ 15 เมตร และแล้วทำมุมแอซิมัธ 320 องศา เดินอีก 15 เมตร หากตั้งมุมและเดินระยะถูกจะพบของที่ซ่อนไว้
5.             จากจุดเริ่มต้น  ทำมุมแอซิมัธ 100 องศา เดิน 15 เมตร แล้วทำมุมแอซิมัธ 220 องศา
เดินต่อ 15 เมตร และแล้วทำมุมแอซิมัธ 340 องศา เดินอีก 15 เมตร หากตั้งมุมและเดินระยะถูกจะพบ
ของซ่อนไว้
6.             จากจุดเริ่มต้น ทำมุมแอซิมัธ 120 องศา เดิน 20 เมตร แล้วทำมุมแอซิมัธ 240 องศา
เดินต่อ 20 เมตร และแล้วทำมุมแอซิมัธ 360 องศา (0 องศา) เดินอีก 20 เมตร หากตั้งมุมและเดินระยะูกจะพบของที่ซ่อนไว้
7.             จากจุดเริ่มต้น  ทำมุมแอซิมัธ 20 องศา เดิน 20 เมตร แล้วทำมุมแอซิมัธอีก 90 องศา
เดินต่อ 20 เมตร แล้วทำมุมแอซิมัธ 200 องศา เดินอีก 20 เมตร และแล้วทำมุมแอซิมัธ 270 องศา เดินต่อ 20 เมตร หากตั้งมุมและเดินระยะถูกจะพบสิ่งของที่ซ่อนไว้
8.             จากจุดเริ่มต้น  ทำมุมแอซิมัธ 30 องศา เดิน 10 เมตร  แล้วทำมุมแอซิมัธอีก 150 องศา
เดินต่อ 20 เมตร ทำมุมแอซิมัธ 30 องศา เดิน 10 เมตร และแล้วทำมุมแอซิมัธ 270 องศา เดินอีก
20 เมตร  หากตั้งมุมและเดินระยะถูกจะพบของที่ซ่อนไว้

 


วิชาการผจญภัย

                การผจญภัย  หมายถึง  การต่อสู้กับอันตรายหรือหน้าที่ที่จะสู้รบกับสิ่งที่น่ากลัว  ดังนั้น การปฏิบัติกิจกรรมการผจญภัยเป็นการต่อสู้และแก้ปัญหา เพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรคและเครื่องกีดขวางต่าง ๆ ที่มากั้นขวางการปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุสำเร็จด้วยความราบรื่น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
                กิจกรรมการผจญภัยของลูกเสือ   หรือกิจกรรมการเสี่ยงภัย       จึงเป็นสิ่งสมมติหรือสร้างสถานการณ์ขึ้น เพื่อฝึกหัดให้ลูกเสือรู้จักวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ตนได้พบ ตามสถานการณ์ที่ถูกกำหนดเป็นการฝึกการใช้ความคิด การตัดสินใจ การใช้ระบบหมู่ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ให้ปลอดภัยจากอุปสรรคต่าง ๆ ประกอบกับนำไปใช้ดัดแปลงแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวันได้
การผจญภัยมีประโยชน์อย่างไร?
1.             ด้านร่างกาย  ทำให้เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง กระฉับกระเฉงว่องไว อวัยวะทุกส่วนได้ออกกำลังโดยเฉพาะกล้ามเนื้อแขนขา ผ่านการปีนป่าย จึงทำให้มีพลานามัยสมบูรณ์ ทำให้ร่างกายอดทนต่อสภาพการณ์ต่าง ๆ
2.             ด้านจิตใจ  มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความลำบาก กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวต่ออันตราย กล้าผจญภัยทั้งปวง จิตใจแน่วแน่มั่นคง มีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ มีความพร้อมที่จะผจญภัยต่าง ๆ หากลูกเสือได้ผ่านการผจญภัยแล้ว จะทำให้เกิดความภูมิใจและประทับใจในความสามารถของตนเอง
3.             ทางสังคม  เป็นการฝึกทำงานเป็นหมู่พวก ฝึกระเบียบวินัย ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ลดการเห็นแก่ตัว รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นฝึกในการเป็นผู้นำที่มีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมให้ความร่วมมือกับส่วนรวมด้วยดี
4.             ทางด้านสติปัญญา  เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีปฏิภาณในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
มีความเฉลียวฉลาดสามารถคิดและตัดสินใจในการแก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดประสบการณ์ใหม่ ๆ  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.   ทางคุณค่า  ลูกเสือเกิดความซาบซึ้ง   รักธรรมชาติ   หวงแหนในธรรมชาติ   เช่น                ป่าไม้
      ลำธารฯลฯ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เนื่องจากลูกเสือได้พบ กับกิจกรรมสัมผัสกับธรรมชาติมากที่สุด

เพื่อให้ลูกเสือได้ผจญภัยดังกล่าว การออกค่ายพักแรมควรจัดฐานผจญภัย ดังนี้

ตัวอย่างฐานผจญภัย
ฐานที่  1   เป่าลูกโป่ง
                คำสั่ง การที่ได้เข้ามาเป็นลูกเสือนั้น จะต้องมีร่างกายแข็งแรง  เพื่อเป็นการทดสอบว่าหมู่ของท่านทุกคนมีร่างกายแข็งแรงหรือไม่ ได้มีลูกเสือรุ่นพี่ได้นำเอาลูกโป่งมาให้ท่านเป่าจนแตกหากลูกโป่งแตก แสดงว่าท่านมีร่างกายแข็งแรง ซึ่งขณะนี้ลูกเสือรุ่นพี่ได้แอบดู  ขอให้ลูกเสือทุกคนเป่าลูกโป่งให้แตกภายใน  10  นาที
ฐานที่  2   โหนเชือกข้ามลำธาร
                สมมติว่า หมู่ของท่านเดินทางไกลไปอยู่ค่ายพักแรม บังเอิญมีลำธารลึกจะข้ามไปได้โดยง่าย บริเวณที่ท่านจะต้องข้ามไปมีต้นไม้แข็งแรงพอจะผูกเชือกโหนข้ามไปได้
                ให้หมู่ของท่านพิจารณาหาทางใช้เชือกที่เตรียมไปและวิชาเงื่อนที่ได้เรียนมาผูกและโหนข้ามไปให้เสร็จภายใน  10  วินาที
ฐานที่  3   เดินไม้สูง
                สมมติว่า ข้าศึกกำลังไล่ท่านมาทางนี้ ท่านและหมู่ของท่านจะต้องหนีข้ามธารน้ำกรดข้างหน้านี้ไปเท่านั้นโดยที่ท่านจะต้องใช้ไม้สูงที่พักบุกเบิกรุ่นก่อนได้ทำทิ้งไว้ให้หนีข้ามไปภายใน
10 นาที

ฐานที่  4   หาสมบัติโจร

                สมมติว่า ในบริเวณนี้มีโจรได้ซ่อนของมีค่าที่ปล้นมาได้ไว้  จำนวน  10  ชิ้น  ในรัศมีที่ท่านยืนอยู่  5  เมตร ให้ท่านหาของมีค่านั้นว่ามีอะไรบ้างแล้วเก็บไว้ที่เดิม  เพื่อที่จะดำเนินการจับกุมโจรต่อไปโปรดระวังโจรจะมาตรวจทุก  10  วินาที

ฐานที่  5   เดินขวด

                สมมติว่า  ทางข้างหน้าเป็นธารน้ำกรดและแร่ธาตุที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต ถ้าหากเดินลุยข้ามไปแต่มีที่พักบุกเบิกได้จัดทำทางเดินไว้ด้วยขวด โดยหยั่งขวดไว้ห่างกันพอที่จะก้าวเดินไปได้อย่างสบายแต่ควรระวังบางขวดอาจแตกและชำรุดได้ให้เดินไปภายใน  10  นาที



     บันทึกของผู้ประจำฐาน

ฐานที่………………………….(หมู่………………………)

หมู่
  ความเป็นผู้นำ    
         (10)
     ระบบหมู่
          (10)
     ความสำเร็จ 
           (20)
       รวม
        (40)
1………………..
2………………..
3………………..
4………………..
5………………..







ลงชื่อ………………………………….ผู้ประจำฐาน

                          



เงื่อนและการใช้

                การผูกเงื่อนเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับลูกเสือจำเป็นต้องใช้เงื่อนต่าง ๆ เพื่อ
1.             ต่อเชือกให้ยาว
2.             ร่นเชือกยาวให้สั้นเข้า หรือซ่อมเชือกที่ชำรุดให้แข็งแรงทนทานมีกำลังเท่าเดิม
3.             ผูกยึดสัตว์ สร้างหอคอย ที่พัก ทำสะพาน และอื่น ๆ
4.             ช่วยเหลือคนตกเหว หรือตกน้ำ ซึ่งว่ายน้ำอ่อนกำลัง
เงื่อนมีหลายชนิดสำหรับลูกเสือตรี ให้ผูกเงื่อนพิรอด และเงื่อนอื่น อีก 6 เงื่อนเท่านั้น
งื่อนและประโยชน์ของเงื่อนต่าง ๆ มีดังนี้
1.             เงื่อนพิรอด (Reef Knot or Square Knot) มีประโยชน์ใช้ต่อปลายเชือก  2  เส้น ที่มีขนาดเท่ากันเพื่อใช้ในการดึงแรง ๆ และผูกชายผ้าพันแผล ผูกปลายเชือกกากบาทญี่ปุ่นผูกปลายเชือกรัดหีบห่อสิ่งของ
2.             เงื่อนขัดสมาธิ  (Sheet bend) ใช้ต่อปลายเชือกที่มีขนาดต่างกัน การต่อต้องให้เส้นเล็กเป็นเส้นสอด เส้นใหญ่เป็นเส้นยืน
3.             เงื่อนบ่วงสายธนู  (Bowline Knot)  ใช้ทำบ่วงเพื่อช่วยชีวิตคนโดยหย่อนลงไปช่วยให้บ่วงคล้องตัวนั่งบนบ่วง เอามือจับเส้นเชือกดึงขึ้นมาเป็นระยะ หรือนำบ่วงโยนไปช่วยคนตกน้ำให้เกาะคล้องตัวให้คนบนฝั่งหรือบนเรือดึงขึ้นมา นอกจากนั้นยังช่วยพวกนักปีนเขาหรือผูกม้า ผูกเรือ ฯลฯ
4.             เงื่อนประมง (Fisherman Knot)  ชาวประมงใช้ต่อกันเป็นเกลียวหรือต่อเชือกใหญ่ ๆ ใช้ในการลากจูง และต่อเชือกด้วยทอผ้า ต่อสายเบ็ด
5.             เงื่อนผูกร่น  (Sheep shank)  ร่นเชือกที่ยาวให้สั้นตามต้องการ หรือผูกร่นตรงส่วนที่ชำรุดของเชือกเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เชือกมีกำลังเท่าเดิม
6.             ผูกตะกรุดเบ็ด  (Clove Hitch) ใช้ผูกยึดกับหลักหรือวัตถุให้แน่น ไม่เลื่อนไม่คลายได้ง่าย ใช้ผูกเรือ ผูกสัตว์ หรือช่วยในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท
7.             ผูกซุง (Timber Hitch) ใช้ผูกจูง หรือลากสิ่งของที่มีความยาว เช่น เสาหรือซุง (ถ้าเป็นไม้ท่อนใหญ่ยาว เพื่อลากจูงใช้ผูกเงื่อนเจ๊กลากซุง)
8.             ผูกกระหวัดไม้  (Two Half Hitch) ใช้ผูกกับหลักหรือต้นไม้ เพื่อล่ามสัตว์เลี้ยง ล่ามเรือ เป็นการผูกชั่วคราว เพื่อให้แก้ง่าย
9.             ผูกถังตั้ง  (Barrel Hitch or Vertscal)  ใช้ผูกถังที่แขวนอยู่หรือผูกวัตถุที่เป็นทรงกระบอก
10.      ผูกกระดาน  (Scaf fold Hitch) ใช้ผูกกระดานห้อง สำหรับหย่อนลงข้างฝาผนัง หรือข้างเรือเดินสมุทร  เพื่อทาสี เคาะสนิม หรือทำชิงช้า

ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างของการผูกเงื่อนต่าง ๆ ว่าใช้ประโยชน์อะไรบ้างและท่านสามารถผูกเงื่อนเหล่านี้ได้มากที่สุดกี่เงื่อน

ความสำคัญของเงื่อน และการผูกเงื่อนต่าง
                ในชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน จะต้องเกี่ยวข้องกับเชือกและเงื่อนเชือก มิได้ขาด จะมากหรือน้อยเท่านั้น การผูกเงื่อนเป็นสิ่งที่ลูกเสือ-เนตรนารี จำเป็นต้องใช้เงื่อนต่าง ๆ เพื่อ
1.             ต่อเชือกที่สั้นให้ยาว
2.             ร่น  หรือทบเชือกที่ยาวหรือชำรุดให้สั้นเข้า
3.             ผูกสิ่งของต่าง ๆ สร้างที่พัก สะพาน หอคอย แคร่ นั่งร้าน ฯลฯ
4.             ผูกทำบันไดต่าง ๆ

ข้อพึงระวังในการผูกเงื่อนหรือใช้เชือก
1.       ผูกให้แน่น แล้วแก้ได้ง่าย
2.       ใช้ให้ถูกกับวัตถุประสงค์ และพยายามใช้อยู่เสมอ
3.       ต้องใช้เชือกให้เหมาะกับขนาด และน้ำหนัก
4.       เชือกที่ใช้ดึง หรือรั้ง ต้องสามารถผ่อนคลายหรือดึงให้ตึงได้ตามแต่โอกาส
5.       พยายามอย่าให้เชือกบิดเกลียว หรือเป็นบ่วง
6.       เชือกที่เสื่อมคุณภาพแล้วอย่านำมาใช้ เชือกที่ชำรุดก่อนเก็บจะต้องซ่อมหรือทำเครื่องหมายไว้
7.       อย่าตากเชือกที่เปียกชื้นกลางแสงแดด











การปฐมพยาบาล
                                การปฐมพยาบาล  หมายถึง  การรักษาพยาบาลเบื้องต้น เป็นการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยโดยทันทีทันใดอย่างฉุกเฉิน  ทันทีที่เกิดการเจ็บป่วยขึ้น  เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นก่อนที่จะส่งไปให้แพทย์รักษา
หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
1.             เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
1.1      ช่วยการหายใจ  ให้ทางเดินของการหายใจเป็นไปโดยสะดวกและช่วยให้หัวใจเต้นต่อไป
1.2      ห้ามโลหิต
2.             ป้องกันไม่ให้คนไข้มีสภาพเลวลง
2.1      ปิดบาดแผล
2.2      ให้คนไข้นอนในท่าที่สบายและเหมาะสม  เช่น คนไข้ที่หมดสติ  อาจให้นอนคว่ำ  ตะแคงหน้า   เป็นต้น
2.3      ให้บริเวณที่กระดูกหัก หรือบาดแผลใหญ่ ๆ มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เช่น  การเข้าเฝือกชั่วคราว  เป็นต้น
3.             เพื่อช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
3.1      ให้กำลังใจ
3.2      ให้ยาแก้ปวด
3.3      ให้ความอบอุ่น
3.4      การขนย้ายผู้ป่วยไปสู่สถานที่รักษาที่แท้จริง
                                                  
การปฐมพยาบาลบาดแผล
1.             แผลช้ำ  โดยที่ใต้ผิวหนังมีเลือดออก จึงควรประคบบริเวณนั้น ด้วยความเย็น เพื่อให้เส้นเลือดตีบไม่มีเลือดไหลออกมาอีก แล้วจึงพันผ้าให้แน่นพอสมควรให้บริเวณที่มีแผลช้ำอยู่ยิ่งเพราะการเคลื่อนไหวมาก ๆ จะทำให้เลือดออกอีกได้  24  ชั่วโมงต่อมา  เมื่อเลือดหยุดแล้วให้ใช้ความร้อนประคบเพื่อให้เส้นเลือดขยายตัว นำเลือดมาสู่บริเวณบาดแผลได้มาก จะได้ช่วยดูดซึมอาการช้ำจากเลือดให้น้อยลง
2.             บาดแผล  การแต่งบาดแผลแต่ละชนิดคล้ายกัน โดยเฉพาะน้ำสะอาดและสบู่ มีความสำคัญมากแต่มีแตกต่างบ้าง  ดังนี้
2.1         แผลถลอก  ชะล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด ใช้ยาฆ่าเชื้อทาแผลและปิดแผลด้วยผ้าสะอาด
2.2         แผลลึก  แผลชนิดนี้จะมีเลือดออกมาก ฉะนั้น ต้องห้ามเลือดก่อน โดยใช้ผ้ากดลงบนแผลจนเลือดหยุดและพันแผลไว้ ในการปฐมพยาบาลอย่าพยายามเช็ดเอาเลือดก้อนออก เพราะจะทำให้มีเลือดออกขึ้นใหม่อีก และไม่ควรล้างบาดแผลเพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น และเกิดเป็นแผลติดเชื้อได้ง่าย ถ้าทำโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง
2.3         บาดแผลต่าง ๆ ให้ฉีดยาป้องกันบาดทะยักทุกราย

การเป็นลม  (FAINTING)
                การเป็นลม  เป็นอาการที่เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอชั่วคราว ทำให้คนไข้ไม่รู้สึกตัวระยะหนึ่ง มีสาเหตุและอาการคล้ายช็อค แต่รุนแรงน้อยกว่า
สาเหตุ
1.             เนื่องจากร่างกายอ่อนเพลียมาก  เช่น  อดนอน  ตรากตรำหนัก
2.             ขาดอากาศที่บริสุทธิ์  เช่น  ผู้คนหนาแน่นในห้องที่มีอากาศไม่พอ  หรืออากาศร้อนจัดเกินไป  เช่น  คนแน่นในโรงภาพยนต์
3.             จากอารมณ์  เช่น  ตื่นเต้น  ตกใจกลัวมากเกินไป
อาการ
                คนไข้จะหน้ามืด  เวียนศรีษะ  ใจสั่น  หน้าซีด  มือเย็น  เหงื่อออกตามฝามือ  ฝาเท้าและ
หน้าผาก  ชีพจรเบาเร็ว  อาจล้มลงหมดสติ  (แต่ไม่มีอาการชัก)
การปฐมพยาบาล
1.             ให้นอนราบ
2.             อากาศบริสุทธิ์  อย่าให้คนมุง  พัดให้ผู้ป่วย
3.             ให้ยากระตุ้น  เช่น  ดมแอมโมเนียมหอม
4.             รีบปรึกษาแพทย์  หรือนำส่งโรงพยาบาล
ลมแดด -  ลมร้อน  และตะคริว
                ลมแดด ลมร้อน (Sunstroke-Keatstroke)
                ลมแดดเกิดขึ้น เนื่องจากร่างกายอยู่กลางแจ้ง  และได้รับแสงแดดกล้าเป็นเวลานานเกินไป ส่วนลมร้อนเนื่องจากทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากเกินไป
อาการ    ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหัวมาก  คลื่นไส้  อาเจียน  กระหายน้ำมาก  ผิวหนังจะแห้งตัวจะร้อน อาจมีไข้ถึง  42  องศา  ชีพจรเบาเร็ว หน้ามืดเป็นลม  อาจหมดสติได้




การปฐมพยาบาล
1.             ให้คนไข้นอนราบ และพาไปอยู่ในที่ที่ร่ม และเย็นพอสมควร
2.             ให้ความเย็นเพื่อลดความร้อนในร่างกาย  เช่น  เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นตามร่างกายแล้วพัดให้อย่าเช็ดให้ความร้อนลดต่ำกว่า 38 องศา  โดยรวดเร็ว  เพราะจะทำให้เกิดภาวะร่างกายเย็นต่ำผิดปกติ  (Hypothermta)
3.             ให้ดื่มน้ำจำนวนมากปนเกลือเล็กน้อย  เช่น  น้ำ  1  แก้ว  ปนเกลือ  ½  ช้อนกาแฟ
บ่อย ๆ หรือถ้าเป็นมากให้น้ำเกลือเข้าเส้น

ตะคริว   (Cramp)
                เป็นการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ  ในขณะที่กล้ามเนื้อนั้นกำลังทำงานหนัก หรือหลังจากที่กล้ามเนื้อนั้นทำงานอย่างหนักมานานแล้ว  เช่น  เล่นกีฬาฟุตบอล    อาจเป็นขณะเล่น  มักเป็นระยะท้ายของการเล่น  หรือเมื่อเล่นเสร็จแล้ว พอหยุดเล่นก็เริ่มเป็น
                การเป็นตะคริวนี้  ส่วนมากเป็นในขณะออกกำลังกายในอากาศร้อน และร่างกายมีเหงื่อออกมาก   แต่ก็อาจเป็นตะคริวได้เนื่องจากความเย็น  เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นไม่สะดวก และประกอบกับกล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานมากจนเกินภาวะเหนื่อยล้า  เช่น  ตะคริวขณะว่ายน้ำ  เป็นต้น
สาเหตุ
                การที่เป็นเช่นนี้  เนื่องจากร่างกายขาดแร่ธาตุ  เกลือ  (เนื่องจากเหงื่อออกมาก)  และกล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานหนักจนเกิดภาวะเหนื่อยล้า
อาการ
1.             มีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ  จนบางครั้งเกิดเป็นปม  ส่วนใหญ่เป็นที่กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อท้อง กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวแข็งนานรวม 1 – 2 นาที แล้วคลายตัว แล้วเกร็งใหม่สลับกันไป
2.             ปวดมากขณะที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว
3.             ผิวหนังจะชื้นและเย็น
การปฐมพยาบาล
1.             นวดเบา ๆ บริเวณที่เป็นตะคริว
2.             ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เกร็งตัว  เช่น  ถ้าเป็นที่น่อง  ให้ยืดกล้ามเนื้อน่อง   โดยจับปลายเท้าดึงขึ้นมาทางหน้าแข้ง ถ้าเป็นที่ต้นขา ให้เหยียดขาให้ตรง  (เข่าไม่งอ) และยกต้นขาขึ้น  ถ้าเป็นที่นิ้วมือ ให้เหยียดนิ้วมือที่งอให้ตรงออก
3.             ให้ดื่มน้ำจำนวนมากปนเกลือ เช่น น้ำ 1 แก้ว ปนเกลือ ½  ช้อนกาแฟจำนวนหลาย ๆ
แก้ว  หรือถ้าคนไข้มีอาการมาก  อาจต้องใช้น้ำเกลือเข้าเส้น
การป้องกัน
                เพื่อป้องกันมิให้ตะคริวเกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับนักกีฬา  อาหารมื้อก่อนที่จะแข่งขันควรจะใส่เกลือให้เค็มเป็นพิเศษ  ทั้งก่อนเล่น  ระหว่างการเล่น และหลังการเล่น  ควรดื่มน้ำปนเกลือ
                จาก  The Rule of Thumb  ซึ่งทีมนักกีฬาในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ใช้  คือ น้ำ  1 ลิตรผสมเกลือ  1  ช้อนกาแฟ  (หรือเกลือทำเป็นเม็ด ๆ  ละ  325 มิลลิกรัม  จำนวน  4  เม็ด)  และชั่งน้ำหนักนักกีฬา ถ้าน้ำหนักลดลงไป  1 กิโลกรัม  ก็ค่อย ๆ ให้ดื่มน้ำผสมเกลือจนครบจำนวน 1 ลิตร  เป็นต้น
ถ้าเป็นไปได้ น้ำผสมเกลือผสมน้ำตาลเล็กน้อย เหมาะสมที่สุดสำหรับให้นักกีฬา

โรคลมชัก  (ลมบ้าหมู)  Epilepsy
โรคลมชัก  หรือลมบ้าหมู
                เป็นโรคของระบบประสาทที่มีอาการชัก มักจะมีประวัติว่าเคยชักมาหลายครั้งแล้ว
อาการ
                ก่อนชักผู้ป่วยมักจะร้องเอ็ดขึ้นทันที  แล้วหมดสติล้มลงและชัก  การชักเป็นไปตามลำดับ  ดังนี้    
1.             ระยะชักตัวเกร็ง  ผู้ป่วยจะชักตัวแข็ง แขนขาเหยียด  มือกำ  หยุดหายใน  หน้าเขียว  ระยะนี้นานราว  30  วินาที
2.             ระยะชักกระตุก  กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะกระตุกหมด  แขนขากระตุก
ส้นเท้าจะกระตุกฟาดกับพื้นเป็นจังหวะ  น้ำลายฟูมปาก  อาจกัดลิ้นตนเองเป็นแผล  อุจจาระปัสสาวะราด  ระยะนี้นานราว 2 – 3 นาที  แต่บางรายอาจนานกว่านี้
3.             ระยะหลักชัก  ภายหลังหยุดชัก ผู้ป่วยส่วนมากหลับสนิท กรนเสียงดัง  อาจนานครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงและเมื่อรู้สติหรือตื่นแล้ว  บางรายฟื้นเป็นปกติเลย  แต่ส่วนมากมักซึมและอ่อนเพลียอยู่พักหนึ่ง

การปฐมพยาบาล
1.             พาผู้ป่วยออกจากที่อันตราย เพราะเวลาล้มลงชักอาจอยู่ใกล้ไฟ หรือใกล้อันตรายอื่น ๆ 
เช่น  บ่อน้ำ
2.             ระวังอย่าให้ศรีษะหรือหน้ากระแทกกับพื้น  เช่น   ใช้ผ้าหรือหมอนรองศรีษะหรือคอยพยุงไว้
3.             หาด้ามช้อน หรือไม้  เช่น  ดินสอ  พยายามสอดเข้าไปในปากระหว่างฟันบนและฟันล่าง  เพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้นตนเอง
4.             ระยะหลับหลังชัก  ควรเฝ้าดูจนกว่าจะฟื้นดี
5.             แนะนำผู้ป่วยด้วยโรคนี้  อย่าขับรถยนต์  ว่ายน้ำ  หรือทำงานที่อาจเสี่ยงอันตราย  เพราะการชักอาจเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้
6.             แนะนำให้ไปหาแพทย์เพื่อรักษา
7.             ถ้าชักติดต่อกันเป็นเวลานาน ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

ตัวต่อและผึ้งต่อย
                แมลงชนิดที่มีเหล็กไน เมื่อต่อยแล้วเหล็กไนจะติดอยู่ ถ้าถูกต่อยหลาย ๆ แห่งจะทำให้ช็อคและหมดสติได้
การปฐมพยาบาล
1.             พยายามเอาเหล็กไนออก  เช่น  ใช้กุญแจที่มีรูกดตรงบริเวณที่ถูกต่อยเหล็กไนจะโผล่ออกมาและคีบออกได้
พิษของสัตว์พวกนี้มีฤทธิ์เป็นกรด  ควรเอาน้ำยาที่มีฤทธิ์ต่างอ่อน ๆ ทา เช่น  น้ำแอมโมเนียหอม  น้ำโซดา  ชุบปิดแผล
2.             รักษาตามอาการ  เช่น  ปวด ให้ยาแก้ปวด  หรือใช้น้ำแข็งวางบริเวณที่ปวด  ถ้าช็อคต้องรีบรักษาและรีบนำส่งแพทย์
3.             ถ้ามีอาการมาก แพทย์อาจสั่งให้แอดรีนาลีน  (Adrenaline)  1 ต่อ  1000  จำนวน 0.2-0.4 ซี.ซี.  เข้ากล้าม ยาพวกแอนติฮิสตามิน  10 % แคลเซียมกลูโคเนท  เข้าเส้นช้า ๆ และยาพวกคอร์ติโคลเตอรอย  เช่น  เพร็ตโซโลน

แผลจากแมลงป่องและตะขาบ
                ผิวหนังที่ถูกแมลงป่องและตะขาบต่อยจะบวมแดง อักเสบและปวดมาก ถ้ามีอาการมากอาจมีการเกร็งของกล้ามเนื้อ  จนถึงกับชักได้
การปฐมพยาบาล
1.             ใช้สำลีชุบแอมโมเนียหอมทาที่แผล
2.             ถ้าปวดมาก ให้ใช้ผ้าเย็นจัด หรือน้ำแข็งวางที่แผล  เพื่อลดอาการปวดและการดูดซึมของพิษ เป็นไปอย่างช้า ๆ ให้ยาแก้ปวด   (และถ้ายังไม่หายปวด แพทย์อาจฉีดยาชา    เช่น  โซโลเคน  (Xylocaine)  2%   เข้าบริเวณแผลก็ได้
3.             ถ้ามีอาการมาก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล  แพทย์อาจให้การรักษาตามอาการต่าง ๆ เช่น
ให้ 10%  แคลเซียมกลูโคเนท  10 ซี.ซ๊. เข้าเส้นช้า ๆ  เพื่อแก้การกระตุกของกล้ามเนื้อ



ข้อต่อเคล็ด  (Sprain)
                หมายถึง  การที่ข้อต่อต่าง ๆ ได้รับการเคลื่อนไหวมากเกินไป ทำให้เนื้ออ่อน  เยื่อหุ้มข้อ  เอ็นรอบ ๆ ข้อหรือกล้ามเนื้อบริเวณข้อมีอาการฉีกขาดหรือช้ำ  ทำให้เกิดความเจ็บป่วย    เรียกว่า
ข้อต่อเคล็ดหรือแพลง  บริเวณที่พบมากได้แก่  ข้อเท้า  ข้อมือ  หัวเข่า  และหัวไหล่  เป็นต้น
สาเหตุ
                เนื่องจากข้อต่อส่วนนั้นเกิดกระทบกระเทือน  ถูกชน  ถูกบิด  พลิกหรือแพลงอย่างรุนแรง  หรือตกจากที่สูงทำให้เยื่อหุ้มหรือเอ็นรอบ ๆ ข้อต่อพลิกหรือแพลง ทำให้ข้อต่อเคล็ดหรือแพลงได้
อาการ
1.             บริเวณข้อส่วนนั้นจะบวม และมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2.             มีอาการเจ็บป่วย  ถ้าเคลื่อนไหวหรือใช้มือกดดูจะยิ่งเจ็บมากขึ้น
3.             ในรายที่มีอาการรุนแรง  ไม่สามารถกระทำการเคลื่อนไหวส่วนนั้นได้เลย  เพราะจะเจ็บมาก
4.             มีอาการชาทั่วบริเวณนั้น  ซึ่งแสดงว่า  อาจมีเส้นประสาทส่วนนั้นถูกฉีกขาดไปด้วย
การปฐมพยาบาล
1.             ให้ข้อต่อส่วนนั้นพักผ่อนให้อยู่นิ่ง ๆ
2.             ยกข้อต่อส่วนนั้นให้สูงขึ้น  ถ้าเป็นข้อมือควรห้อยแขนด้วยผ้าคล้องคอ
3.             ให้ความร้อนแก่บริเวณนั้น  โดยใช้น้ำอุ่นประคบ  จะเป็นถุงน้ำร้อนหรือขวดน้ำร้อนก็ได้
4.             นวดเบา ๆ โดยใช้น้ำมันสะโต๊ก หรือน้ำมันระกำ  หรือขี้ผึ้งปาล์มต่าง ๆ ก็ได้ เพื่อให้เกิดความร้อนทั่วบริเวณนั้น แต่ต้องกระทำเบา ๆ อย่ารุนแรง  แล้วพันส่วนนั้นให้แน่น
5.             อาจต้องเข้าเฝือกเพื่อให้ส่วนนั้นพักผ่อนนิ่งที่สุดจะทำให้หายเร็ว
6.             ควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจฉายรังสีดูว่า มีกระดูกหักด้วยหรือไม่

            การอนุรักษ์ธรรมชาติ
ธรรมชาติ  ในที่นี้หมายถึง  ทรัพยากรธรรมชาติ  คือสิ่งต่าง ๆ  ที่ธรรมชาติบันดาลให้มีขึ้น และสิ่งต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
                ทรัพยากรธรรมชาติ  แบ่งออกได้  5  ชนิด
1.               พื้นดิน
2.               น้ำ
3.               ป่าไม้
4.               แร่ธาตุ
5.               สัตว์ป่า
ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้  เป็นสิ่งที่ลูกเสือ-เนตรนารี  จะต้องปะทะสัมผัสในระหว่างการ
อยู่ค่ายพักแรมในฐานที่ลูกเสือ-เนตรนารีมีบทบาทในการอนุรักษ์ธรรมชาติ  จึงควรระมัดระวังและพึงกระทำในระหว่างการอยู่ค่ายพักแรมเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ  ดังต่อไปนี้
                พื้นดิน
                ลูกเสือ-เนตรนารี ไม่ควรขุดดินเพื่อตกแต่งค่ายจนทำให้พื้นดินนั้นอาจจะเสียหาย เมื่อเกิดฝนตกหรือน้ำท่วม  คือดินจะพังทลายไปกับน้ำ และดินที่ชายฝั่งชายตลิ่งของแม่น้ำลำธารควรจะต้องป้องกันการพังทลายเมื่อลูกเสือ-เนตรนารีไปใช้ถานที่นั้น  เช่น  การเดินขึ้นลงเพื่อตักน้ำหรืออาบน้ำ  ควรจะทำสะพานไม้ป้องกันตลิ่งพัง  การประกอบอาหารลูกเสือ-เนตรนารีจะต้องระมัดระวังอย่าให้หน้าดินต้องเสียสิ่งปกคลุม  เช่น    ต้นหญ้าไปมากนัก   เพราะจะทำให้ดินถูกชะล้าง    ละลายไปเมื่อฝนตก 
น้ำท่วม   การขุดหลุมเปียกหลุมแห้งและหลุมส้อมเมื่อเสร็จสิ้นการพักแรมแล้ว         ต้องกลบให้แน่น และหาพืชมาปกคลุมพื้นดินในที่นั้นให้เหมือนกับสภาพเดิม  เช่น  ขุดเอาหญ้าในบางแห่งมาปลูกบนที่ขุดกลบนั้น  เป็นต้น
                น้ำ
                เป็นสิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์  สิ่งที่ลูกเสือ-เนตรนารีควรจะระมัดระวังเพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ เมื่อไปอยู่ค่ายพักแรม     ก็คือการทำให้น้ำสกปรกเป็นโคลนตมหรือทิ้งสิ่งสกปรกลงน้ำ  การใช้น้ำมากเกินความจำเป็น    และการทำลายต้นไม้น้ำในแม่น้ำลำคลอง    หนอง  บึง  และลำธาร  เพราะต้นไม้น้ำจะช่วยลดการไหลของน้ำให้ช้าลงป้องกันอุทกภัย  และน้ำเหือดแห้งเร็วเกินไป   ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำนั้น   ลูกเสือ-เนตรนารีควรได้มีบทบาทรณรงค์การปลูกต้นไม้และป้องกันการตัดไม้ในแหล่งต้นน้ำลำธาร การทิ้งสิ่งของลงในลำน้ำทำให้น้ำเสีย      เช่น        โรงงาน-อุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป      และการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำให้แก่ประชาชน
ทั่วไป


ป่าไม้
                หมายถึง  ต้นไม้และของป่า   เช่น   หวาย   ไม้ดอก   เปลือกไม้   เถาวัลย์   รังผึ้ง   รังนก ฯลฯ  เมื่อลูกเสือ-เนตรนารีไปพักแรมในป่าเขาลำเนาไพร          ย่อมจะต้องเกี่ยงข้องกับป่าไม้อย่างแน่นอน
ดังนั้น   จึงจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังไม่ให้การพักแรมนั้นเป็นการทำลายป่า  เช่น  ไม่ตัดต้นไม้กิ่งไม้
ไม่สุ่มไฟใกล้ต้นไม้  ไม่ทำลายไม้ดอกในป่า  ซึ่งเห็นว่าสวยงามมักอยากได้  ไม่ตัดเถาวัลย์เป็นอันขาด
ไม่ทำลายรังผึ้งรังนก และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือต้องระวังป้องกันไม่ให้ไฟฟืนที่เราใช้กลายเป็น
ต้นเพลิงของไฟป่า  ซึ่งจะเป็นการทำลายป่าไม้อย่างมาก
                แร่ธาตุ
                ได้แก่  แร่โลหะ  แร่อโลหะ  แร่เชื้อเพลิง  การที่ลูกเสือ-เนตรนารี  ไปพักแรมอาจจะมีการทำลายทรัพยากรแร่ธาตุได้เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์     เช่น   แร่อโลหะ   จำพวกดินขาว    แร่ใยหิน
ลูกเสือ-เนตรนารี อาจทำลายได้โดยไม่รู้  ดังนั้นลูกเสือ-เนตรนารีอาจจะมีบทบาทอนุรักษ์แร่ธาตุได้โดยการศึกษาหาความรู้เรื่อแร่ธาตุพอประมาณ  และพยายามใช้ของเก่าที่ทำจากแร่ธาตุให้นานที่สุด
เพื่อการอนุรักษ์ไว้ซึ่งแร่ธาตุใหม่ ๆ
                สัตว์ป่า
                หมายถึง  สัตว์บกทุกชนิดในป่าที่คนไม่ได้เลี้ยงรวมถึงสัตว์ที่มีชีวิตอิสระ ไม่เชื่อง  หรือใช้ชีวิตเถื่อน  นกต่าง ๆ  และสัตว์น้ำตามแม่น้ำลำคลองด้วย สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมายและมนุษย์ก็ชอบล่าสัตว์ป่าเอาเนื้อเป็นอาหาร   การค้าและการกีฬาอีกด้วย   แต่ถ้าไม่อนุรักษ์ไว้บ้างแล้ว สัตว์ป่าก็คงจะสูญพันธ์  นั่นหมายถึง  เกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ  ผลร้ายก็เกิดแก่มนุษย์เช่นกันเช่น  แมลงทำลายพืชผล  มนุษย์ก็ได้นกทำลายแมลงนั้น การปลูกไม้ผลแมลงจำพวกผึ้ง  แมลงภู่ก็ช่วยผสมเกสรไม้ผลนั้น หนอนทำลายต้นผลไม้   นกหัวขวาน นำกระไนก็เจาะต้นไม้เพื่อกินหนอนเหล่านั้น  สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติ  ดังนั้นเมื่อขาดสัตว์ป่าแล้ว  ธรรมชาติก็เสียสมดุลไป ลูกเสือ-เนตรนารีที่ไปพักแรมเมื่อพบปะสัตว์ป่าต่าง ๆ ควรจะต้องเว้นจากการทำลายสัตว์ป่าอย่างเด็ดขาด  เพื่อเป็นการอนุรักษ์สัตว์ป่า




 





หนังสืออ้างอิง

·       นพ.ประเวศ  วะสี และคณะ.  คู่มือการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับประชาชน .  กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์.  ..2519
·       คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ,สำนักงาน.พลศึกษา,กรม.  คู่มือการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ วิชาแผนที่-เข็มทิศ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ลาดพร้าว,.. 2539
·       อดุล  สุวรรณพล. การเดินทางไกลและแรมคืนของลูกเสือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ลาดพร้าว,
.. 2528
·       ศึกษาธิการ, กระทรวง. วิชาการ, กรม. คู่มือการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ( ลูกเสือสามัญ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,.. 2533
·       บุญส่ง  เอี่ยมละออ. คู่มือครูผู้สอนวิชาลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ   (สามัญรุ่นใหญ่)      ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 2 – 3. บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิชจำกัด (แผนกโรงงาน),
 .. 2529

ไม่มีความคิดเห็น:

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้