Translate

หน้าเว็บ

แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ลูกเสือช่อ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

2 พฤศจิกายน 2565

หลักสูตรและการฝึกอบรม

 


****************************
🌌หลักสูตรเงื่อนเชือก สพฐ.


*********************************************
🌌หลักสูตรหัวหน้าผู้ให้การฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ




13 สิงหาคม 2563

ปฐมนิเทศ ม.1

ปฐมนิเทศ

1. เปิดประชุมกอง (ชักธงข้ึน, สวดมนต์, สงบนิ่ง, ตรวจ, แยก)
2. เกม / เพลง
3. กิจกรรมการเรียนการสอน
     - ผู้กำกับปฐมนิเทศ ชี้แจงวัตถุประสงคก์ารจัดกิจกรรม
     - จัดหมู่ลูกเสือ แบ่งกลุ่ม กองให้เรียบร้อย
     - ชี้แจงแนวปฏิบตัิในการจัดกิจกรรม
     - ซักถามปัญหาและสรุปร่วมกัน
4. เล่าเรื่องส้ัน
5. ปิดประชุมกอง (นัดหมาย, ตรวจ, ชักธงลง, เลิก)

วัตถุประสงค์ หลักการสำคัญ และวิธีการของลูกเสือ
          การลูกเสือ เป็นขบวนการทางการศึกษาสำหรับเยาวชน ที่มีวัตถุประสงค์จะสร้างบุคลิกภาพ และพัฒนาการทางสังคมให้กับเยาวชนเพื่อให้เป็นพลเมืองดีของประเทศโดยใช้วิธีการของลูกเสือ 
- ยึดมั่นในกฎและคำปฏิญาณ (Scout Promise and Laws) 
- การเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by Doing)
- เน้นการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง  (Outdoor Activities) 
- การใช้ระบบหมู่  (Patrol System) 

- และความก้าวหน้าของบุคคล โดยใช้หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ (Proficiency Badges)

วัตถุประสงค์ลูกเสือของคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ

          เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้
          (1) ให้มีนิสัยในการสังเกตจดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
          (2) ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
          (3) ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
          (4) ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่างๆตามความเหมาะสม
          (5) ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ

เครื่องแบบลูกเสือ




การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ
กางเกง ชายกางเกงขาสั้น
ผ้าผูกคอ    ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด  (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เชียงราย,เชียงใหม่,น่าน,พะเยา,แพร่ 
 ,แม่ฮ่องสอน,ลำปางและลำพูน ใช้ผ้าผูกคอสีชมพูบานเย็น  
ด้านหลังใช้เป็นตราของจังหวัด  จังหวัดแพร่ รูปม้ายืนมีพระธาตุช่อแฮ่อยู่บนหลัง ข้อมูลผ้าผูกคอตามสังกัดเขตการศึกษาในอดีต,  ข้อมูลตราจังหวัดทั่วประเทศ ) 
     

หมวก
     ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สวมหมวกทรงอ่อน(เบเรต์) สีเลือดหมู
ป้ายชื่อ
     ทุกคนต้องติดป้ายชื่อที่เหนือกระเป๋าข้างขวาเมื่อแต่งเครื่องแบบครบ เขียนชื่อ-สกุล
เครื่องหมายหมู่ ใช้อนุโลมตามเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง  
     สำรอง  ใช้ผ้าสีเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ติดแขนซ้ายให้มุมแหลมอยู่ด้านบน  
     สามัญและผู้นำ  ใช้ริบบิ้นสีเป็นแถบยาว 
     สามัญรุ่นใหญ่   ใช้เครื่องหมายสี่เหลี่ยมแถบสีติดที่ไหล่

เครื่องหมายนายหมู่  
     สำรอง  ใช้แถบผ้าสีเหลือง กว้าง 1 ซม. ยาวรอบแขนเสื้อและรองนายหมู่ข้างซ้าย ให้แถบแรกห่าง
จากปลายแขนเสื้อ 5 ซม. แถบที่ 2 ห่างจากแถบแรก 1 ซม. นายหมู่ใช้ 2 แถบ รองนายหมู่ใช้  1 แถบ   
     สามัญและผู้นำ  ใช้แถบผ้าสีขาว กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  
     สามัญรุ่นใหญ่  ใช้แถบผ้าสีเลือดหมู่ กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  นายหมู่ 2 แถบ รองนายหมู่ 1 แถบ พลาธิการใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภทติดเช่นเดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย
     วิสามัญ    ใช้สีแดงลักษณะเช่นเดียวกับสามัญ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย นายหมู่ใช้ 2 แถบ
รองนายหมู่  ใช้  1 แถบ    (ดูกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ) 
เครื่องหมายพลาธิการ 
     ใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภท รูปสี่เหลี่ยมเช่น
เดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย


การตั้งชื่อหมู่และสีประจำหมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
1. หมู่ศรีอินทราทิตย์             สีน้ำเงินแก่ / สีเหลือง                     
2. หมู่รามคำแหง                   สีเขียว / สีขาว
3. หมู่อู่ทอง                            สีแดง / สีเหลือง
4. หมู่บรมไตรโลกนาถ         สีน้ำเงิน/สีแดง
5. หมู่พระมหาจักรพรรดิ      สีดำ / สีเหลือง
6. หมู่สุริโยทัย                        สีขาว/เขียว
7. หมู่นเรศวร                         สีน้ำตาล / สีเหลือง
8. หมู่เอกาทศรถ                   สีน้ำตาล / สีขาว
9. หมู่ปราสาททอง                สีฟ้า / สีเหลือง
10. หมู่พระนารายณ์             สีเหลือง / สีดำ
11. หมู่โกษาปาน                   สีเขียว/สีเหลือง
12. หมู่โกษาเหล็ก                 สีเขียวแก่/สีฟ้า
13. หมู่พันท้ายนรสิงห์          สีเหลือง / สีน้ำเงินแก่
14. หมู่พระเจ้าตาก                สีแดง / สีน้ำเงิน
15. หมู่พระพุทธยอดฟ้า       สีฟ้า / สีขาว
16. หมู่เทพกษัตรีย์                สีขาว/สีฟ้า
17.หมู่ศรีสุนทร                      สีเขียวแก่/สีแดง

บทบาหน้าที่ความรับผิดชอบภายในหมู่ คือ
     1.  นายหมู่
     2.  รองนายหมู่
     3.  พลาธิการ
     4.  คนครัว
     5.  ผู้ช่วยคนครัว
     6. คนหาน้ำ
     7.  คนหาฟืน
     8.  ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือทั่วไป

         ( อัตรากำลังของหมู่เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษ ฯลฯ   หมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จัด 4 – 8 คน  หมู่ลูกเสือวิสามัญ 4 – 6 คน   จัดกลุ่ม-กอง จัดกองละ 2-6 หมู่  ในหนึงกลุ่ม มี 4กองเป็นต้นไป)


รวบรวมโดย.... นายวีระชัย  จันทร์สุข
วุฒิทางลูกเสือ  L.T.

20 ตุลาคม 2561

ผกก.ลูกเสือสำรอง

เครื่องแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรอง
(ชาย)เครื่องแบบ เครื่องแบบบังคับบัญชาลูกเสือ  ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ
และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ  เว้นแต่นายหมู่ลูกเสือและรองนายหมู่ลูกเสือ  ประกอบด้วย
ก. หมวกมี  2 แบบ คือ
หมวกปีกกว้างสีกากี มีหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีน้ำตาลแก่  กว้าง 3 ซม. พันรอบหมวก
มีหัวขัดสีน้ำตาลแก่ด้านซ้าย  ปีกหมวกสองข้างเจาะรู้สำหรับร้อยด้านหลังศีรษะ  สายรัดทำด้วยเชือก
สีเดียวกับหมวก  ผูกเป็นปมไว้ข้างหลัง  มีตราหน้าหมวกรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ  ทำด้วยโลหะสีทอง
หมวกทรงอ่อนสีเขียว  มีตราหน้ารูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ  ทำด้วยโลหะสีทอง เวลาสวมให้ตราหน้าหมวกอยู่เหนือคิ้วซ้าย
ข. เสื้อ  เสื้อคอพับสีกากี  แขนสั้นเหนือศอกผ่าอกตลอด  อกเสื้อทำเป็นสาปกว้าง 3.5  ซม.
มีดุมเหนือเข็มขัด  4 ดุม อกมีกระเป๋าปะข้างละ  1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง  
ปกรูปมนชายกลางแหลม  เจาะรังดุมกึ่งกลางกลางกระเป๋า  1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อ
อยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง  ด้านไหล่กว้าง 3.5 ซม. เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อด้านคอกว้าง  2.5 ซม.
ปลายมนมีดุมที่ปลายอินทรธนูทางด้านคอด้านละ  1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่
ให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
ค. ผ้าผูกคอ   ผ้าผูกคอสามเหลี่ยมหน้าจั่ว  ด้านฐาน 100 ซม. ด้านตั้ง 75  ซม.
สีตามสีประจำเขตการศึกษา  มีขลิบสีขาวขนาด 2 ซม. 2  ด้าน
ง. กางเกง    กางเกงสีกากี  ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ  5 ซม. ส่วนกว้างของขากางเกง  
เมื่อยืนตรงห่างจากขาตั้งแต่  8-12 ซม. ปลายขาพับเข้ากว้าง  5 ซม. ผ่าตรงส่วนหน้า
ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน  มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างและ 1 กระเป๋า  
และมีหูร้อยเข็มขัดยาวไม่เกิน  6 ซม. กว้าง 1 ซม.
               จ. เข็มขัด    เข็มขัดหนังสีน้ำตาล  กว้างไม่เกิน 4 ซม. หัวชนิดหัวขัด  ทำด้วยสีทอง
มีรอยดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์                ฉ. ถุงเท้า ถุงเท้ายาวสีกากี
พับขอบไว้ใต้เข่า  ใต้พับขอบมีสายรัดถุงเท้า  และติดพู่สีเขียวข้างละ 2 พู่
              ช. รองเท้า  รองเท้าหนังหรือผ้าใบสีน้ำตาลแก่  ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก

เครื่องแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือ (หญิง)
หมวก เช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชาลูกเสือชาย
ผ้าผูกคอ  ผ้าผูกคอเช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชาลูกเสือชาย
เสื้อ  เช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชาลูกเสือชาย


กระโปรง  กระโปรงสีกากี  ยาวครึ่งน่อง ไม่มีจีบ  ชายกระโปรงไม่บาน
เข็มขัด  เข็มขัดเช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชาลูกเสือชาย  แต่กว้าง 3 ซม
ถุงเท้า  ถุงเท้าสั้นสีกากี
รองเท้า รองเท้าเช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชาลูกเสือชาย


แหล่งอ้างอิง

4 พฤศจิกายน 2565

การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ

เครื่องแบบลูกเสือ



การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ
กางเกง ชายกางเกงขาสั้น
ผ้าผูกคอ    ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด  (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8 เชียงราย,เชียงใหม่,น่าน,พะเยา,แพร่ 
 ,แม่ฮ่องสอน,ลำปางและลำพูน ใช้ผ้าผูกคอสีชมพูบานเย็น  
ด้านหลังใช้เป็นตราของจังหวัด  จังหวัดแพร่ รูปม้ายืนมีพระธาตุช่อแฮ่อยู่บนหลัง ข้อมูลผ้าผูกคอตามสังกัดเขตการศึกษาในอดีต,  ข้อมูลตราจังหวัดทั่วประเทศ ) 
     

หมวก
     ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สวมหมวกทรงอ่อน(เบเรต์) สีเลือดหมู
ป้ายชื่อ
     ทุกคนต้องติดป้ายชื่อที่เหนือกระเป๋าข้างขวาเมื่อแต่งเครื่องแบบครบ เขียนชื่อ-สกุล
เครื่องหมายหมู่ ใช้อนุโลมตามเครื่องแบบลูกเสือตามกฎกระทรวง  
     สำรอง  ใช้ผ้าสีเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ติดแขนซ้ายให้มุมแหลมอยู่ด้านบน  
     สามัญและผู้นำ  ใช้ริบบิ้นสีเป็นแถบยาว 
     สามัญรุ่นใหญ่   ใช้เครื่องหมายสี่เหลี่ยมแถบสีติดที่ไหล่

เครื่องหมายนายหมู่  
     สำรอง  ใช้แถบผ้าสีเหลือง กว้าง 1 ซม. ยาวรอบแขนเสื้อและรองนายหมู่ข้างซ้าย ให้แถบแรกห่าง
จากปลายแขนเสื้อ 5 ซม. แถบที่ 2 ห่างจากแถบแรก 1 ซม. นายหมู่ใช้ 2 แถบ รองนายหมู่ใช้  1 แถบ   
     สามัญและผู้นำ  ใช้แถบผ้าสีขาว กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  
     สามัญรุ่นใหญ่  ใช้แถบผ้าสีเลือดหมู่ กว้าง 1.5 ซม.  ยาวตามกระเป๋ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  นายหมู่ 2 แถบ รองนายหมู่ 1 แถบ พลาธิการใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภทติดเช่นเดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย
     วิสามัญ    ใช้สีแดงลักษณะเช่นเดียวกับสามัญ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย นายหมู่ใช้ 2 แถบ
รองนายหมู่  ใช้  1 แถบ    (ดูกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ) 
เครื่องหมายพลาธิการ 
     ใช้แถบผ้ามีอักษร "พ"  สีตามประเภท รูปสี่เหลี่ยมเช่น
เดียวกับเครื่องหมายนายหมู่ลูกเสือ ติดที่กระเป๋าเสื้อข้างซ้าย


การตั้งชื่อหมู่และสีประจำหมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
1. หมู่ศรีอินทราทิตย์             สีน้ำเงินแก่ / สีเหลือง                     
2. หมู่รามคำแหง                   สีเขียว / สีขาว
3. หมู่อู่ทอง                            สีแดง / สีเหลือง
4. หมู่บรมไตรโลกนาถ         สีน้ำเงิน/สีแดง
5. หมู่พระมหาจักรพรรดิ      สีดำ / สีเหลือง
6. หมู่สุริโยทัย                        สีขาว/เขียว
7. หมู่นเรศวร                         สีน้ำตาล / สีเหลือง
8. หมู่เอกาทศรถ                   สีน้ำตาล / สีขาว
9. หมู่ปราสาททอง                สีฟ้า / สีเหลือง
10. หมู่พระนารายณ์             สีเหลือง / สีดำ
11. หมู่โกษาปาน                   สีเขียว/สีเหลือง
12. หมู่โกษาเหล็ก                 สีเขียวแก่/สีฟ้า
13. หมู่พันท้ายนรสิงห์          สีเหลือง / สีน้ำเงินแก่
14. หมู่พระเจ้าตาก                สีแดง / สีน้ำเงิน
15. หมู่พระพุทธยอดฟ้า       สีฟ้า / สีขาว
16. หมู่เทพกษัตรีย์                สีขาว/สีฟ้า
17.หมู่ศรีสุนทร                      สีเขียวแก่/สีแดง

บทบาหน้าที่ความรับผิดชอบภายในหมู่ คือ
     1.  นายหมู่
     2.  รองนายหมู่
     3.  พลาธิการ
     4.  คนครัว
     5.  ผู้ช่วยคนครัว
     6. คนหาน้ำ
     7.  คนหาฟืน
     8.  ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือทั่วไป

         ( อัตรากำลังของหมู่เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษ ฯลฯ   หมู่ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จัด 4 – 8 คน  หมู่ลูกเสือวิสามัญ 4 – 6 คน   จัดกลุ่ม-กอง จัดกองละ 2-6 หมู่  ในหนึงกลุ่ม มี 4กองเป็นต้นไป)

รวบรวมโดย.... นายวีระชัย  จันทร์สุข
วุฒิทางลูกเสือ  L.T.

20 ตุลาคม 2561

ลูกเสือสามัญ

ลูกเสือสามัญ








ลูกเสือสมุทร
ลูกเสืออากาศ

“ เครื่องแบบลูกเสือ    เป็นเครื่องแบบที่มีเกียรติยิ่ง    มีประวัติความเป็นมาที่น่าภาคภูมิใจสำหรับผู้สวมใส่  ลูกเสือที่จะแต่งเครื่องแบบทุกครั้งควรที่จะแต่งให้ถูกต้องเนื่อง ”

จากเครื่องแบบลูกเสือเป็นเครื่องแบบที่ได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลูกเสือ  พ.ศ. 2507
ตามความในมาตรา 4  และมาตรา42 แห่งพระราชบัญญัติลูกเสือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการได้ออกเป็นกฎกระทรวง  รายละเอียดดังนี้
หมวก     หมวกปีกกว้างสีกากี   พับปีกข้างขวาขึ้น ประดับด้วยดอกจันชั้นเดียวทำด้วยผ้าสีตามสี
ประจำภาคศึกษาตามใบแนบ   1 ท้ายกฎกระทรวง กลางดอกจันมีรูปตรา
คณะลูกเสือแห่งชาติทำด้วยโลหะสีทอง     มีหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีน้ำตาลแก่กว้าง    2 เซนติเมตร
พันรอบหมวก    มีหัวขัดสีน้ำตาลแก่ด้านซ้ายปีกหมวกสองข้างเจาะรูสำหรับร้อย
สายรัดด้านหลังศีรษะ  สายรัดทำด้วยเชือกถักสีเดียวกับหมวกผูกเป็นปมไว้ข้างหลัง
ผ้าผูกคอ  รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว    ด้านฐาน 100 เซนติเมตร   ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร
สีตามสีประจำภาคการศึกษา    และมีห่วงซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์     สวมผ้าผูกคอ
เสื้อ    เสื้อคอพับสีกากี   แขนสั้นเหนือศอกผ่าอกตลอด   อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร   
มีดุมเหนือเข็มขัด  5 ดุม อกมีกระเป๋าข้างละ  1 กระเป๋า มีแถบตรง
กลางตามทางดิ่ง   ปกรูปมนชายกลางแหลม   เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า  1 ดุม
มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง   ด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร
เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ   ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร  ปลายมน
มีดุมที่อินทรธนูทางด้านคอด้านละ  1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่
ให้สอดชายเสื้ออยู่ในกางเกง
กางเกง      กางเกงสีกากี ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ  5 เซนติเมตร ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืนตรง   
ห่างจากขาตั้งแต่    8 - 12 เซนติเมตร ปลายขาพับเข้ากว้าง  5
เซนติเมตร    ผ่าตรงส่วนหน้ามีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ  1 กระเป๋า และมีหูร้อยเข็มขัดยาว
ไม่เกิน   6 เซนติเมตร   กว้าง 1 เซนติเมตร
เข็มขัด  เข็มขัดหนังสีน้ำตาล      กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร  หัวชนิดหัวขัดทำด้วยโลหะสีทอง
มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
ถุงเท้า     ถุงเท้ายาวสีกากี  พับขอบไว้ใต้เข่า ใต้พับขอบมีรอยรัดถุง
รองเท้า     รองเท้าหนังหรือผ้าใบสีน้ำตาลแก่ไม่มีลวดลาย   หุ้มส้นชนิดผูก

แหล่งอ้างอิง
- https://docs.google.com/document/d/1b9RcjRNLRueDSAjEtqHlPzZucgGFpIM3pTc0-5U_3so

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้