Translate

หน้าเว็บ

แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา แผนการสอนลูกเสือ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา แผนการสอนลูกเสือ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

20 ตุลาคม 2561

การพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้วิธีการของลูกเสือ

การพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้วิธีการของลูกเสือ

การพัฒนาโรงเรียน  คืออะไร
การพัฒนาโรงเรียน  คือ การทำให้โรงเรียนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  เจริญก้าวหน้าไปสู่
ทิศทางตามวัตถุประสงค์  และเป้าหมายที่วางไว้ด้วยมาตรการ หลักการ  และวิธีการที่โรงเรียนกำหนดไว้
ชัดเจนแล้ว
วิธีการของลูกเสือ  เป็นวิธีการที่โรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนให้เดินทางไปสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ได้  โรงเรียนบ้านแสลงโทนมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้นำวิธีการของลูกเสือ มาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนให้มากที่สุดเท่าที่สถานภาพของโรงเรียนจะอำนวย
ตามความรู้สึกของคนทั่วไปแล้ว  โรงเรียนคือสถานที่มีคนสามกลุ่มมาทำกิจกรรมร่วมกัน  
คน  ๓ กลุ่มนี้  ได้แก่
๑.  นักเรียน   มีจำนวนมากที่สุด
๒.  ครู มีจำนวนน้อยกว่านักเรียนมาก
๓.  ภารโรง มีจำนวนน้อยที่สุด
คนแต่ละคนของแต่ละกลุ่ม  จะทำกิจกรรมตามหน้าที่ของตนไปแบบที่เรียกว่าตัวใครตัวมัน
และยังแข่งขันชิงดีชิงเด่น เอาชนะกันชนิดที่ใครดีใครอยู่  ลักษณะของการแข่งขันดังกล่าวจะเห็นชัดเจนในกลุ่มที่ ๑ คือ  กลุ่มของนักเรียน นักเรียนแต่ละคนที่มาโรงเรียน แต่ละวันจะต่างคนต่างเรียน
เป็นส่วนใหญ่  นักเรียนคนไหนเรียนเก่งจะพยายามเรียนกันให้เอาชนะคนอื่นไว้เสมอ  โดยหวังว่า
จะได้เปรียบคนอื่น  ผู้ปกครองและครูเองก็พยามยามส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนที่เรียนไม่เก่งก็ถูกผลักดันให้แข่งให้ทันคนอื่นให้ได้  ผลที่ได้สุดท้ายก็คือ คนไม่เก่งต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน หรือเรียนไม่จบหลักสูตรในแต่ละโรงเรียน ปีละมาก ๆ
ในกลุ่มของครูเอง  ก็แข่งขันกันเพื่อให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน  ๒ ขั้น ไม่ว่าการแข่งขันนั้น
จะกระทำด้วยวิธีใด  คนที่ไม่สามารถจะแข่งขันได้ก็เกิดการท้อแท้  เบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นผลเสียต่อการทำงานโดยส่วนรวม
ในกลุ่มของภารโรงแม้จะมีจำนวนน้อย  แต่ก็เห็นได้ชัดว่าคนกลุ่มนี้ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตน  จะไม่พยายามเกี่ยวข้องช่วยเหลือกัน ใครได้รับมอบหมายความรับผิดชอบเช่นไร  จะพยายามทำอยู่ในกรอบที่ตนได้รับผิดชอบ บางครั้งเมื่อได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือกัน  จะพยายามหลีกเลี่ยง
นี่คือสภาพของ  “โรงเรียน”  ในอดีตและปัจจุบัน  นักเรียนแต่ละคนมุ่งมาเอาความรู้และครู
แต่ละคนก็มุ่งจะให้ความรู้  ภารโรงแต่ละคนมุ่งหาความสบาย  แต่ละคนแต่ละกลุ่มมุ่งเพื่อให้ได้เปรียบ
คนอื่นทั้งสิ้น
ทุกวันนี้คนเรากลัวการเสียเปรียบทันที  ความร่วมมือเป็นหนทางแห่งความสำเร็จโดยสมบูรณ์และก้าวหน้าได้  ดังนั้นการสั่งสอนอบรมให้คนรู้จักร่วมมือกัน  จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จแห่งงานทั้งปวง
ด้วยเหตุนี้เอง   ดร. โกวิท วรพิพัฒน์  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ปรารภถึง “โรงเรียน
โรงสอน”  ไว้ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่ง  อธิบดีกรมสามัญศึกษา ไว้อย่างน่าสนใจว่า
เดิมทีเดียวโรงเรียนแบบที่เราเห็นและรู้จักกันอยู่นี้ ชื่อว่า  “โรงสกูล” คือ เรียกชื่อทับศัพท์
ตามฝรั่ง  ต่อมาเรียนเป็นคำไทยว่า “โรงสอน”  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๕ พระปิยมหาราช ได้ทรงเปลี่ยนจาก “โรงสอน” เป็น “โรงเรียน”
สันนิษฐานว่า  พระองค์คงทรงเห็นว่า  การเรียนการสอนที่เชื่อกันว่าดีที่สุดนั้น  คือ การเรียนการสอนที่ผู้เรียนทำจริง ปฏิบัติจริง  เรียนโดยประสบการณ์ การเรียนโดยประสบการณ์นี้ ผู้เรียนจะได้เป็นกอบเป็นกำ  เป็นเลือดเป็นเนื้อ เป็นชีวิตจิตใจ ไม่เป็นประเภทไส้ติ่ง แต่ผสมผสานเป็นตัวเป็นตนของผู้เรียน  การเรียนสถานศึกษาว่า “โรงสอน” จะเน้นไปที่ตัวครู  ยิ่งสอนภาษาอังกฤษนาน ครูจะยิ่งเก่งภาษาอังกฤษ  ครูจะเหนื่อยเพราะครูกลายเป็นผู้เรียน ออกเสียงมาก ๆ เข้า ครูก็จะพูดเก่งขึ้น  พูดเพราะขึ้น สำเนียงดีขึ้นแต่หากให้ชื่อสถานศึกษาว่า “โรงเรียน” แล้ว  คงทรงหวังว่า  การเรียนการสอนจะเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง  ให้เด็กเป็นผู้กระทำ เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นผู้คิดเอง  วางแผนเอง แก้ปัญหาเอง
เป็นส่วนใหญ่  ครูเพียงแต่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้เร้าใจนักเรียน  ทำนายนักเรียน ให้นักเรียนกระเสือกกระสนหาคำตอบ ให้นักเรียนพิสูจน์ให้เห็นจริงจังว่า  ตนสามารถเป็นที่พึ่งของตนเองได้ สามารถเป็นที่พึ่งของผู้อื่นของหมู่คณะได้ สามารถทำงานกับคนอื่นกับกลุ่มได้  ฯลฯ ครูเก่ง ๆ จะท้า
จะยั่วยุ  จะซุกคำตอบ  ไม่ให้ยากเกินไป  และไม่ให้ง่ายเกินไป  สำหรับเด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่ม  เพราะหากง่ายเกินไป ก็จะไม่ท้าทาย  ไม่น่าสนใจ ยากเกินไปผู้เรียนก็จะท้อแท้  ครูที่จัดการเรียนการสอนเก่ง ครูที่สามารถเมื่อมาทำงานที่โรงเรียนแล้วครูจะสนุก  ครูจะภูมิใจ ครูเองจะอิ่มเอิบใจ และครูจะไม่เหนื่อย เพราะครูเองจะไม่ต้องทำอะไรมาก  ครูอาจเพียงแต่มอง เพียงแต่ยิ้ม เพียงแต่พยักหน้า เพียงแต่วางแผนที่จะให้เด็กได้คิด ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และในที่สุดแม้การวางแผน การยั่วยุ
การคิดโครงการ  การตรวจโครงการ เด็กอาจรับไปทำกันเองแทนครูมากขึ้น ๆ ครูอาจไม่ต้องทำอะไรมาก  อาจเป็นเพียงดูแลกำกับอยู่เบื้องหลังก็ได้ เด็กผู้เรียนควรจะสนุก ควรจะเหนื่อย  ควรจะหมดแรงเมื่อโรงเรียนเลิก หากครูอาจารย์ท่านใดสอนเด็กแล้วเสียงแห้ง สอนเด็กพอถึงช่วงบ่ายโรงเรียนเลิกแล้ว ครูเองเป็นฝ่ายหมดแรง  อาจสันนิษฐานได้ว่าตนเองอาจทำผิดหลักวิชาครูแล้วกระมัง อาจจะต้องหาทางปรับตัว ปรับวิธีสอน วิธีเรียน หากสอนแล้ว โรงเรียนเลิกแล้ว รู้สึกว่าไม่เหนื่อย  ยังอยากจะตามเด็กไปสอนอีก อาจจะชมตัวเองว่าเป็นครูที่สอนเป็น เป็นครูที่เก่ง สามารถไว้ก่อนได้
หากถามว่า สถาบันการศึกษาของเราเปลี่ยนชื่อจาก โรงสอน เป็น โรงเรียน  กว่า ๑๐๐ ปีแล้ว โรงเรียนเราเปลี่ยนวิธีเรียน วิธีสอนให้เสอดคล้องกับชื่อโรงเรียนหรือยัง  ผมเองยังเห็นว่าโรงเรียนเรา
ยังเป็น “โรงสอน”  มากกว่าเป็น “โรงเรียน”  หากพวกเรามั่นใจว่าแนวทางที่เราร่วมกันจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนากับเด็กของเราและประเทศชาติ  โดยมุ่งให้นักเรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ให้เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ ให้มีศีลธรรม มีความซื่อสัตย์  อดทน มีวินัย มีความมั่นใจ
ในตนเอง  รู้จักตนเอง  สามารถทำงานเป็นกลุ่ม  สามารถพึ่งตนเองได้และสามารถช่วยหรือเป็นที่พึ่ง
ของผู้อื่นได้  มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแล้ว เราคงต้องช่วยกันปรับโรงเรียนที่ยังมีลักษณะ
เป็นโรงสอนให้เป็นโรงเรียนให้ได้
กรมสามัญศึกษาเคยประกาศ  เรื่อง “ทิศทางในการจัดการศึกษาของกรมสามัญศึกษา”  
“จุดเน้น”  และ “สิ่งละอันพันละน้อย”  นั้น เห็นว่าที่เราร่วมกันตั้งปณิธานและกำหนดทิศทาง
จุดเน้นไว้  ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓  ยังเหมาะสมอยู่ ขอให้เรามาร่วมกันทำให้ชัดเจน  เป็นประโยชน์แก่นักเรียนและชุมชนให้มากยิ่งขึ้น ส่วน “สิ่งละอัน พันละน้อย” ขอเพิ่มอีก ๒ ข้อ  คือเรื่องการปลูกผักสวนครัว
ในโรงเรียน  และการออกกำลังกาย  ตามนโยบายของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  
พลเอกเทียนชัย  ศิริสัมพันธ์ นอกนั้นคงเดิม  คงจะชัดเจนมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน  และบ้านเมืองมากยิ่งขึ้น พวกเราทั้งผู้บริหาร ครู  อาจารย์ พนักงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา
คงจะมีความอิ่มเอิบใจ  มีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาอันยิ่งใหญ่นี้  โดยทั่วกัน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ท่านต้องการให้พวกเราจัดโรงเรียน  ให้เป็นโรงเรียนอย่างแท้จริง ให้มีบรรยากาศของความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  มีบรรยากาศของความร่วมมือ ท่านได้เล็งเห็นว่าวิธีการของลูกเสือเป็นวิธีการที่ดีวิธีการหนึ่ง  ที่จะนำมาสร้างบรรยากาศของการร่วมมือช่วยเหลือกันให้เกิดขึ้น
ในโรงเรียน  จึงได้กล่าวไว้ในสิ่งละอันพันละน้อยที่กรมสามัญศึกษามุ่งดำเนินการ ข้อ ๕ ว่า “เราจะพัฒนาการลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี  และผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากยิ่งขึ้น” นี่เป็น
ความมุ่งมั่นประการหนึ่งของกรมสามัญศึกษา  ซึ่งท่านอธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ยึดถือเป็นแนวทางต่อมา  และมีคำสั่งให้หน่วยศึกษานิเทศก์ และสำนักงานคณะกรรมการการประสานงานกิจการลูกเสือ เนตรนารี  ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร กรมสามัญศึกษาร่วมกันจัดทำแนวทาง
การพัฒนาโรงเรียนโดยใช้วิธีการทางลูกเสือ

การใช้วิธีการทางลูกเสือมาพัฒนาโรงเรียน ควรอยู่ในหลักการต่อไปนี้
๑. ต้องจัดกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี  ให้เป็นไปตามหลักการ วิธีการ นโยบาย ในการฝึกอบรม  รวมทั้งจัดระบบการบริหารงานของกลุ่มลูกเสือ – เนตรนารี  ให้เป็นไปตามข้อบังคับ
คณะลูกเสือแห่งชาติให้สมบูรณ์เสียก่อน
๒.  กิจกรรมที่จัดต้องสอดคล้องกับทิศทาง  จุดเน้นด้านนักเรียน
๓.  พยายามนำวิธีการทางลูกเสือเข้าไปใช้กับกิจกรรมต่าง ๆ ให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่สภาพ
ของโรงเรียนจะอำนวยให้ได้
๔.  ให้เน้นระบบหมู่  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นหลักสำคัญในการทำกิจกรรม  โดยถือว่าหมู่ลูกเสือเป็นหน่วยในการจัดกิจกรรมทั้งปวง
แนวปฏิบัติในการนำวิธีการทางลูกเสือมาใช้พัฒนาโรงเรียน
๑. จัดระบบการบริหารงานลูกเสือให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ  ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
๑.๑  การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ให้เป็นไปปัจจุบันอยู่เสมอ
๑.๒  การขออนุญาตตั้งกองและกลุ่มลูกเสือถูกต้อง
๑.๓  จัดหน่วยลูกเสือถูกต้อง  และมีผู้บังคับบัญชาควบคุมหน่วยลูกเสือครบถ้วน
และควรให้ควบคุมประจำตลอดไป  จนกว่าลูกเสือจะออกจากกองไป เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ย้ายสังกัดจึงควรเปลี่ยนหน่วยควบคุม
๑.๔  ดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือได้รับเครื่องหมายต่างๆ  ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๑.๕  จัดทำทะเบียนลูกเสือให้ถูกต้องครบถ้วน
๑.๖  จัดทำรายงานกิจกรรมลูกเสือ  รายงานการเงิน ให้เป็นปัจจุบัน
๒.  จัดทำแผนผู้บังคับบัญชาลูกเสือในเรื่องต่อไปนี้
๒.๑  การฝึกอบรมตามหลักสูตรระดับต่าง ๆ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรมีวุฒิทางลูกเสืออย่างน้อยขั้นความรู้ชั้นสูง
๒.๒  ควรจัดให้มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลูกเสือโดยส่งเสริมให้เข้ารับการฝึกอบรมขั้น  A.L.T.C. , L.T.C. หรือหลักสูตรเฉพาะต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่บังคับบัญชาลูกเสืออื่น  ในกรณีที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ
๒.๓  จัดการฝึกอบรมนายหมู่และรองนายหมู่ลูกเสือ  เพื่อให้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำของหมู่มากขึ้น
๓.  จัดให้มีห้องต่าง ๆ ต่อไปนี้
๓.๑  ห้องประชุมคณะกรรมการดำเนินงานของกอง  โดยจัดห้องให้มีบรรยากาศ
ของลูกเสือให้มากที่สุด
๓.๒  ห้องเก็บอุปกรณ์การฝึกอบรม  โดยมอบหมายให้มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือรับผิดชอบ  และจัดระบบการใช้อุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นแบบอย่างแก่ลูกเสือได้
๓.๓  ห้องเกียรติยศของลูกเสือ  เพื่อใช้เป็นที่แสดงผลงานดีเด่นของลูกเสือและผู้บังคับ
บัญชาลูกเสือ  อาจจัดรวมไว้ในห้องประชุมคณะกรรมการดำเนินงานของกองก็ได้
ห้องต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ควรเน้นเรื่องความสะอาด  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และความสวยงาม ตามแบบอย่างลูกเสือ
๔.  จัดทำแผนการจัดหาอุปกรณ์การฝึกอบรมที่จำเป็น  เช่น เชือก อุปกรณ์การเดินทางไกล อุปกรณ์การปฐมพยาบาล  อุปกรณ์การอยู่ค่ายพักแรม ฯลฯ ให้มีจำนวนเพียงพอแก่การฝึกอบรมโดยเร็ว
๕.  จัดทำรายการกิจกรรม   โครงการ ที่สอดคล้องกับทิศทาง  จุดเน้นและคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน  ให้การจัดทำรายการกิจกรรมและโครงการดังกล่าวนอกจากมีรายละเอียดอื่นแล้ว  
ให้กำหนดวิธีการที่จะนำวิธีการของลูกเสือเข้าไปใช้กับกิจกรรมนั้นไว้ด้วย
๖.  ส่งเสริมให้ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน  รวมทั้งจัดให้มีการ
ประกาศเกียรติคุณของลูกเสือ  ที่ประกอบคุณงามความดีเป็นประจำทุกปี  และส่งเสริมให้ลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีโอกาสได้รับเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์  เหรียญลูกเสือสดุดี หรือเหรียญลูกเสือสรรเสริญ แล้วแต่กรณี
๗.  อาจจัดให้มีการประกวดผลงานของแต่ละกลุ่ม หรือกองลูกเสือได้
มาตรการในการนำวิธีการของลูกเสือมาใช้พัฒนาโรงเรียน
๑.  ทำให้หมู่อยู่รวมกันได้
๒.  ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
ผู้ใดรักแล้วอย่า ดูถูก
ตีสม่ำเสมอผูก จิตได้
ไมตรีจุ่งเร่งปลูก อย่าเริศ  ร้างเลย
เพาะเมตตะจิตไว้ มั่นแล้ว จักสราญ  (พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่  ๖)




17 สิงหาคม 2563

งานชุมนุมลูกเสือโลก

งานชุมนุมลูกเสือโลก
World Scout Jamboree
การชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 ณ โอลิมเปีย ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 1 – 8 สิงหาคม 2463 มีลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 34 ประเทศ ประมาณ 8,000 คน รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยมี นายสวัสดิ์ สุมิตร เป็นหัวหน้าคณะ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกได้กำหนดคำว่า “ JAMBOREE ” หมายถึงการที่ลูกเสือได้มาร่วมชุมนุมกันโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.ได้อยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง ตามกฎของลูกเสือข้อ 4
2.ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันตามโครงการที่รับมอบหมาย หรือสมัครใจที่จะทำตามความถนัด ความสนใจของตนเอง เป็นการฝึกให้ลูกเสือได้ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
3.ได้มีโอกาสฝึกฝน อบรม มีประสบการณ์และได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
4.ได้ทดสอบความสามารถเฉพาะตน และส่วนรวม
การชุมนุมลูกเสือในระยะแรก สำหรับลูกเสือหมายถึงการมาพบปะกันที่แสนสนุกในระหว่างพวกเขา มีผ้าผูกสีต่าง ๆกัน ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม สวมกางเกงขาสั้นที่ทะมัดทะแมง พร้อมที่จะทำงานหรือผจญภัยกับสิ่งที่ท้าทายแปลก ๆ ใหม่ ๆ ในระยะหลังการชุมนุมลูกเสือดูเหมือนจะเป็นงานของผู้ใหญ่ที่ต้องเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะสนองความต้องการและความปรารถนาของลูกเสือ LORD ROWALLAN อดีตประมุขของคณะลูกเสืออังกฤษกล่าวว่า “ SCOUTING IS A GAME FOR BOYS BUT A JOB WORK FOR MEN ”
การชุมนุมลูกเสือมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. งานชุมนุมลูกเสือสำรอง เรียกว่า “ JOINT HOLIDAY ” หรือ “ CUB DAY ”ปัจจุบันเรียก “ Cuboree”
2. งานชุมนุมลูกเสือสามัญและสามัญรุ่นใหญ่ เรียกว่า “ JAMBOREE ” ปัจจุบันการชุมนุมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เรียกต่างออกไปว่า “ SENIOR SCOUT JAMBOREE ” หรือ “ VENTURE ” โดยต่อด้วยปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ชัด เช่น “VENTURE’84”
3. การชุมนุมลูกเสือวิสามัญ เรียกว่า “ MOOT ”
4. งานชุมนุมลูกเสือพิการ เรียก Agoonoree เป็นการชุมนุมของลูกเสือที่มีความพิการทางร่างกาย ตาบอด หูหนวก พิการทางร่างกายแขน ขา และพิการทางสมอง
การจัดงานชุมนุมลูกเสือแต่ละประเภทนั้น ย่อมมีกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามประเภทของลูกเสือ เช่น ลูกเสือสำรอง ซึ่งมีอายุระหว่าง 8 – 11 ปี จะให้มีการชุมนุมในระยะสั้น ๆ เพื่อให้ลูกเสือสำรองได้มีโอกาสมาพบปะสังสรรค์ เล่นเกมแข่งขันและมีการแสดงในกลางแจ้งที่สนุกสนาน เป็นการนำลูกเสือมาอยู่ร่วมกันและเพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมา หรือจัดกิจกรรมพิเศษขึ้น อาจเป็นเรื่องนิทานเกี่ยวกับป่าดงพงพีหรือมนุษย์วิเศษจากโลกต่างๆ ตามจินตนาการของเด็ก
ส่วนการชุมนุมลูกเสือสามัญลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เรียกว่า “ JAMBOREE “ และการชุมนุมลูกเสือวิสามัญที่เรียกว่า “ MOOT “ ซึ่งเป็นลูกเสือโตขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มีอายุระหว่าง 11 - 16 ปี และ 17 – 25 ปี เด็กในวัยนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ เด็กจะเริ่มรู้สึกมีความเชื่อมั่นต่อตนเอง รักการผจญภัย ชอบความเป็นอิสระมากขึ้น ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ AIDS TO SCOUT MASTERHIP ” ว่า “ ผู้กำกับลูกเสือจงทำตนเหมือนพี่ชายของเด็กและจงถามเด็ก ( ASK THE BOY ) เมื่อจะจัดทำแผนการฝึกอบรมทุกครั้ง ” ซึ่งหมายความว่า
- ผู้กำกับลูกเสือไม่ควรทำตนเป็นผู้บังคับบัญชาเยี่ยงทหาร
- ผู้กำกับลูกเสือต้องยอมรับสภาพของเด็กว่ามีความต้องการ ( NEED ) ตามวัยของตนอย่างไร จงเลี่ยงคำว่า “ YOU – BOY , I – BOSS ” ซึ่งทำตัวเหนือเด็กอยู่ตลอดเวลา
- การจัดทำแผนการฝึกอบรมควรกระทำร่วมกับเด็ก ซึ่งอาจจะใช้ที่ประชุมนายหมู่ COURT OF HONOUR เป็นเครื่องมือสำคัญ
ฉะนั้นการชุมนุมลูกเสือในปัจจุบัน จึงมีวิธีการหลายอย่าง เช่น ถ้ามุ่งเกี่ยวกับการทบทวนหรือการสอนในวิชาที่เรียนมาหรือวิชาพิเศษ เขาจะจัดแบบ “ SUMMER CAMP ” โดยจัดปีละ 1 ครั้ง เช่น ของสามาคมลูกเสืออเมริกา ได้จัด SUMMER CAMP ในลักษณะ “ INTERNATIONAL CAMP STAFF ” ทุกปี โดยนำลูกเสือทั้งกองหรือหลายกองหลายโรงเรียนไปอยู่ค่ายพักแรมร่วมกันใช้เวลาประมาณ 5 – 6 วัน ตามแต่แผนงานที่ผู้กำกับลูกเสือเตรียมงานไว้ สูงขึ้นไปอีกเรียกว่า CAMPOREE ซึ่งเป็นการนำลูกเสือมาอยู่ร่วมกัน เพื่อสังสรรค์และทำกิจกรรมร่วมกัน นิยมจัดในประเทศออสเตรเลีย
ในการจัดงานชุมนุมลูกเสืออาจจัดได้เป็น 3 ระดับคือ
1. การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับอำเภอ จังหวัด หรือ เขตการศึกษา ในต่างประเทศ เรียก “ JAMBORET ” เช่น HONG KONG JAMBORET ในฮ่องกง
2. การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับชาติ ( NATIONAL JAMBOREE ) นิยมจัด ทุก ๆ 4 ปี
การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับโลก ( WORLD JAMBOREE ) เกิดขึ้นมาจากเจ้าหน้าที่ลูกเสือ ที่ประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ( IMPERIAL HEADQUARTERS) โดยพิจารณาเห็นว่ากิจการลูกเสือ ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ในยามที่โลกสงบปราศจากสงครามเท่านั้น เมื่อมหายุทธสงครามเกิดขึ้นในยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2457 – 2461 ลูกเสือมีส่วนช่วยเหลือทหาร และประชาชนที่อพยพหนีสงครามมากมาย ลูกเสือช่วยสืบข่าวความเคลื่อนไหวในหน่วยสืบราชการลับ มีพฤติกรรมที่ดีเด่นมากมายในหลายประเทศที่เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยเหตุนี้คณะเจ้าหน้าที่ลูกเสือดังกล่าว จึงคิดกันว่าถ้าสงครามโลกยุติลงในปี พ.ศ. 2460 อันเป็นปีครบรอบ 10 ปี ของกิจการลูกเสือ ก็จะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นเป็นการใหญ่ แต่มหายุทธสงครามคงยืดเยื้อต่อไปถึง พ.ศ. 2461 สภาพทางเศรษฐกิจและการคมนาคมโดยทั่วไป ยังไม่อยู่ในสภาพที่จะจัดงานเฉลิมฉลองได้ แต่คณะกรรมการแห่งกองอำนวยการการลูกเสือแห่งจักรภพอังกฤษ ซึ่งได้มีการประชุมกันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 ก็ตกลงกันว่าจะจัดงานเฉลิมฉลองได้ แต่คณะกรรมการแห่งกองอำนวยการลูกแห่งจักรภพอังกฤษ ซึ่งได้มีการประชุมกันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 ก็ตกลงกันว่าจะจัดงานฉลอง และ “ ชุมนุมลูกเสือแห่งจักรภพอังกฤษและนานาชาติ ” ขึ้น และผลงานนี้ต้องเลื่อนออกไปจนถึง พ.ศ. 2463 คือ หลังมหายุทธสงครามยุติลงแล้ว 2 ปีต่อมาปัญหาที่คณะกรรมการ ฯ ต้องขบคิดมากก็คือเกี่ยวกับการจัดงานครั้งนี้ จะจัดขึ้นที่ไหน ? ลูกเสือจะนอนที่ไหน ? ควรจะมีกิจกรรมอะไร ? มีหลายคนคิดว่า การจัดงานชุมนุมลูกเสือนานาชาติขึ้นตามความริเริ่มของ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ครั้งนี้ เป็นความทะเยอทะยานที่เกินกำลัง และวางเป้าหมายสูงเกินไป กลัวจะล้มลุกคลุกคลานเหมือนกับเด็กสอนเดินแต่ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ กำลังมีความเห็นว่า ข้อวิพากษ์เช่นนั้นดูออกจะเอาจริงเอาจังเกินไป การจัดงานทุกอย่างจะต้องเป็นไปอย่างนั้น แต่เป็นการล้มเพื่อจะลุกและก้าวไปข้างหน้าด้วยพลังที่เข้มแข็งที่มีอยู่ เพื่อจะทำงานต่อไป คือการส่งเสริมความเป็นพี่น้องกันในระดับนานาชาติ เรามีกำลังคนที่มีความปรารถนาและมีความตั้งใจที่จะทำงานนี้อยู่แล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงตกลงกันว่า สถานที่ใช้โอลิมเปีย ซึ่งเป็นอาคารหลังคากระจกโค้งเป็นรูปโดมมีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ ซึ่งเคยใช้เป็นที่จัดงานมหกรรมที่สำคัญ ๆ มามากแล้วอยู่ในลอนดอน โดยให้ผู้แทนลูกเสือชาติต่างๆ นอนที่โอลิมเปีย ส่วนที่เหลือจัดค่ายพักที่สวนสาธารณะที่ริชมอนด์ ซึ่งจุลูกเสือได้ประมาณ 5,000 คน
ส่วนกิจกรรมที่จัดให้มีกายบริหารการแสดงยืดหยุ่น การเต้นรำพื้นเมือง การดับเพลิง การปฐมพยาบาล มวยปล้ำ การแสดงประกอบดนตรี การสร้างสะพาน การสร้างค่าย หอคอย การส่งสัญญาณ การสะกดรอย และเมื่อถึงวันงานจริง ๆ ยังมีการแสดงพิเศษเพิ่มเติมเกี่ยวกับการละเล่นของชาวสก๊อต ชาวอาฟริกัน ชาวอินเดียนแดง ชีวิตในชนบท และเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมต่างๆ
เกี่ยวกับการแข่งขัน มีชักคะเย่อ การคาดคะเน การสื่อข่าวแมวมอง และการแข่งจักรยานแบบมาราธอน ใช้เวลาถึง 2 วัน
งานนิทรรศการ มีการแสดงเกี่ยวกับงานฝีมือ ช่างไม้ ช่างโลหะ วาดภาพแสตมป์ และหุ่นจำลองต่าง ๆโดยเฉพาะมีหุ่นจำลองของกิลเวลล์ ปาร์ค ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ในการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือและอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีความสำคัญและมีคนรู้จักมากนักนอกจากนั้นยังมีสัตว์ต่างๆ ที่ลูกเสือแต่ละประเทศนำมาแสดง เช่น ลูกสิงโต จากโรดิเซีย จระเข้ จากจาไมก้า ลิงจากสหภาพอาฟริกา ฯลฯจากการชุมนุมลูกเสือในครั้งแรกนี้ มีประเทศต่างๆ ส่งผู้แทนลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 34 ประเทศ ประะมาณ 8,000 คน ในวันพิธีเปิดมีประชาชนสนใจเข้าชมงานถึง 14,000 คน นับเป็นความสำเร็จก้าวแรกของการลูกเสือของลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ในลักษณะพิเศษแห่งความสำเร็จซึ่งทุกคนยอมรับว่าในระหว่างเยาวชนเหล่านั้น ผิว , เผ่าพันธุ์ , เชื้อชาติ , ศาสนา และสภาพทางภูมิศาสตร์ไม่มีสิ่งใดจะเป็นเครื่องกีดกันความเป็นพี่เป็นน้องของเขาได้เลยจุดสนใจของเด็กพุ่งไปที่ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ แต่ละวันที่งานผ่านพ้นไป ทุกคนก็แน่ใจยิ่งขึ้นว่า ไม่มีใครอื่นใดอีกแล้วที่เด็ก ๆ จาก 34 ประเทศ มาจากทุกมุมโลกที่มีน้ำใจจงรักภักดีอย่างแนบแน่นเช่นนี้ ทุกคนมีน้ำใจตรงกัน มีมติเป็นเอกฉันท์ เสนอให้ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ เป็นประมุขคณะลูกเสือโลก ซึ่งข้อเสนอนี้ไม่มีปรากฏในหมายกำหนดการมาก่อน และตำแหน่งนี้ก็ไม่เคยมีมาก่อนและเป็นตำแหน่งที่ไม่มีพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลใดจะแต่งตั้งได้ จึงถือว่าเป็นตำแหน่งที่ควรค่าสูงสุด สำหรับผลงาน บุคลิกภาพ สำหรับ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ตราบจนกระทั่งเมื่อถึงอสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2484 ทุกคนตกลงกันว่าตำแหน่งนี้จะไม่มีการเลือกใหม่ คงเป็นตำแหน่งที่ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ดำรงอยู่ตลอดเวลางานชุมนุมลูกเสือ ประวัติศาสตร์นับเป็นครั้งแรกในโลก ด้วยแนวความคิดของพลโท เซอร์ โรเบอร์ต เบเดน โพเอลล์ ( ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น ) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 และสิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พิธีปิดเริ่มต้นด้วยขบวนของลูกเสือแต่ละชาติ บ้างก็แต่งเครื่องแบบหรือไม่แต่งตัวตามธรรมเนียมท้องถิ่นของตนเป็นการอำลาและแสดงสัญญลักาณ์ของแต่ละชาติ มาร่วมชุมนุมกันต่อหน้าคณะกรรมการจัดงานชุมนุม แขกผู้มีเกียรติและเซอร์โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของแต่ละชาติดังกึกก้อง ประสานด้วยเสียงหัวเราะ ด้วยความสนุกสนานของเด็ก ๆ ซึ่งต่างกันด้วยอาหาร ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา เชื้อชาติ ถิ่นฐาน ดังเป็นระยะไม่ขาดเป็นเสียงแห่งความรัก สามัคคีจิตความสงบสุขของโลกที่ปราศจากสงคราม แขกผู้มีเกียรติ ผู้ปกครองของลูกเสือและประชาชนที่ไปชมงานน้ำตาไหลด้วยความปลาบปลื้มปิติ ที่ได้เห็นภาพเด็กเล็ก ๆ เดินเข้าแถวสวนสนามกันอย่างพร้อมเพรียง โดยมีผู้ใหญ่เดินนำหน้าทุกขบวน มันเป็นภาพที่ประทับใจสุดจะพรรณนา เพราะขณะนั้นสงครามโลกเพิ่งจะเสร็จสิ้นลง ใหม่ ๆ ใครจะคิดว่าโลกของเด็กจะรักกัน กอดคอกันสมัครสมานสามัคคีถึงขนาดนี้เมื่อท่านเซอร์ โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ กล่าวสุนทรพจน์จบลงแล้ว เสียงเพลงออลแลงจ์ซาย ก็ดังกระหึ่มขึ้น หลังจากนั้นลูกเสือต่างก็กรูเข้าไปหาท่านเซอร์โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ ช่วยกันแบกร่างของท่านเซอร์ ขึ้นบ่า แห่แหนไปรอบบริเวณงาน ท่ามกลางเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีต่อประมุขของคณะลูกเสือโลก ( CHIEF SCOUT OF THE WORLD ) และแล้วงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ก็สิ้นสุดลงด้วยความตื่นเต้น และอาลัยที่ต้องจากกัน และยังไม่รู้ว่าวันไหน ? เมื่อไรเขาจะได้พบกันอีก ?จากผลงานของงานชุมนุมคราวนั้น ทำให้ผู้ใหญ่ร่วมกันจัดตั้งสำนักงานลูกเสือโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานลูกเสือโลก และมีข้อตกลงกันว่าต่อไปนี้ทุก 4 ปี จะจัดให้มีการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นประจำ นอกจากมีอุปสรรคอันเป็นเหตุสุดวิสัยมาขัดขวางและไม่สามารถจะจัดขึ้นได้ ส่วนที่จะจัดขึ้นที่ไหนนั้นสุดแล้วแต่ประเทศใดจะสมัครใจรับเป็นเจ้าภาพและที่ประมุขสมัชชาลูกเสือโลกเห็นด้วยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมางานชุมนุมลูกเสือโลกก็ได้ถูกจัดขึ้นในแต่ละประเทศของโลกนับได้ 24 ครั้งแล้ว ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ 20 ครั้งที่ 21 ที่ประเทศอังกฤษ ฉลอง 100 ปี ลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ที่ประเทศสวีเดน ครั้งที่ 23 ที่ประเทศญี่ปุ่น ณ คิรารา ฮามา เมืองยามากูจิ ระหว่าง 1-7 สิงหาคม 2558 ครั้งที่ 24 จัดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเจ้าภาพ 3 ประเทศ คือแคนาดา สหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก เป็นเจ้าภาพร่วม ครั้งที่ 25 จะจัดที่ประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2566
กิจการลูกเสือ คือ วิธีการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป ( WAY OF LIFE ) การสอนวิชาลูกเสือ คือ การป้อนกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับเด็ก ให้แก่เด็กได้กระทำ หรือฝึกให้เด็กทำ เรียนด้วยการปฏิบัติจริง ทำจริง จึงจะไปสู่เป้าหมายอันแท้จริงของวิชาลูกเสือได้ วิชาการลูกเสือเป็นกระบวนการฝึกฝนไม่ใช่กระบวนการสอน อาจจะฝึกเป็นรายบุคคล หรือเป็นหมู่ก็ขึ้นกับกิจกรรมนั้น ๆ บางกิจกรรมสอนให้เด็กต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น คือสอนให้รู้จักคบเพื่อน ผูกมิตร ขณะเดียวกันก็ฝึกหัดให้เด็กรู้จักช่วยตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ แม้จะอยู่คนเดียวในป่าดงพงพี โดยลักษณะนิสัยทั่วไปของเด็กจะไม่กล้าในสิ่งที่ตนไม่เคยทำ และเมื่อทำได้สำเร็จก็รู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุข ด้วยเหตุนี้ ลอร์ด เบเดน- โพเอลล์ จึงได้กล่าวไว้กว้าง ๆ ว่า วิชาลูกเสือให้อะไรแก่ท่านบ้าง หรือในทำนองเดียวกันท่านได้อะไรจากการมาเป็นลูกเสือบ้าง ขอให้ท่านจงพิจารณาคำกล่าวที่ท่านอาจารย์อภัย จันทวิมล ถอดความมาจากคำภาษาอังกฤษเป็นคำคล้องจองกันว่า ผจญภัย (ADVENTURE)ได้เพื่อน(COMRADESHIP ) เถื่อนธาร ( OUTDOR LIFE ) การสนุก ( GOOD FUN ) และสุขสม ( ACHIEVEMENT )

ข้อมูลจาก Sommart Sungkapun

21 ตุลาคม 2561

แบบรายงานการตรวจ

แบบรายงานผลการปฏิบัติเกี่ยวกับลูกเสือ  การตรวจขั้นที่ 5

                                                                               สถานที่ ................................................

                                                                     วันที่ ............................................................

ข้าพเจ้า .............................................................. อาชีพ .............................
ตำแหน่งหรือที่อยู่ปัจจุบัน ......................................................................................................
ได้อบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ....................................................ขั้นความรู้ชั้นสูง รุ่นที่ .................
เมื่อวันที่ .................................................... ณ ค่ายลูกเสือ .....................................................
ขอรายงานผลการปฏิบัติเกี่ยวกับลูกเสือ เพื่อประกอบการพิจารณาแทนการตรวจขั้นที่ 5 ดังต่อไปนี้
1. ข้าพเจ้าได้ดำรงตำแหน่งทางลูกเสือ (ระบุตำแหน่ง).......................................
ตั้งแต่วันที่ ..................................................... จนถึงปัจจุบัน
2. งานด้านธุรการ .......................................................................................
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. 
3. งานด้านวิชาการและการฝึกอบรมลูกเสือ ....................................................
.............................................................................................................................................
4. เป็นคณะผู้ให้การฝึกอบรมประจำเขตการศึกษา/จังหวัด/สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ/หน่วยงานอื่น ๆ ( โปรดระบุ ) ....................................................
และได้ช่วยอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ขั้นความรู้ชั้นสูง ประเภท ....................................................
จำนวน ................ ครั้ง ขั้นความรู้ชั้นสูง ประเภท .................................. จำนวน ..................ครั้ง
การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จำนวน ............ ครั้ง การฝึกอบรมลูกเสือ จำนวน ............ ครั้ง
5. ได้ส่งเสริมการลูกเสือให้เจริญก้าวหน้าอย่างไรบ้าง.........................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
6. การช่วยเหลือในกิจการลูกเสือ.............................................................................
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................


7. ความสนใจทางลูกเสือ................................................................................
......................................................................................................................................................................................................................................................................................... 
8. อื่น ๆ .......................................................................................................
..............................................................................................................................................
ขอได้โปรดเสนอรายงานของข้าพเจ้าไปยังเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เพื่อพิจารณาต่อไปด้วย

ลงชื่อ ..............................................................
        ( ........................................................... )
  ผู้รายงาน


ความเห็นเจ้าหน้าที่ชั้นต้น
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................   
                                                              ลงชื่อ ..............................................................
        ( .......................................................... )
                                             ตำแหน่ง .............................................................


ความเห็นของผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด ผู้ตรวจการลูกเสือประจำเขตการศึกษา   หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการบริหาร
............................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ ..............................................................
        ( .......................................................... )
                                             ตำแหน่ง .............................................................


แบบรายงานผลการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล

ประวัติส่วนบุคคล

ชื่อ ( นาย นาง นางสาว ) .................................... นามสกุล ..................................................
วัน เดือน ปีเกิด วันที่ ......... เดือน ............................ พ.ศ. ..................... เชื้อชาติ ................
สัญชาติ ........................... ศาสนา ......................... อยู่บ้านเลขที่ ........................................
ถนน ................................ ตำบล ........................... เขต/อำเภอ ...........................................
จังหวัด ................................................... โทรศัพท์ ..............................................................
ตำแหน่งทางลูกเสือ ( ผู้กำกับ , รองผู้กำกับกองลูกเสือโรงเรียน ) .........................................
............................................................................................................................................
เขต/อำเภอ .................................................... จังหวัด ...........................................................
สถานที่ติดต่ออื่น (ถ้ามี) .........................................................................................................

การฝึกอบรมขั้นที่ 1 ได้เข้ารับการฝึกอบรม ขั้นความรู้ทั่วไป เมื่อ ...........................................
การฝึกอบรมขั้นที่ 2 ได้เข้ารับการฝึกอบรม ขั้นความรู้เบื้องต้น เมื่อ ........................................
ณ (ค่ายฝึกอบรม) ...............................................................จังหวัด ............................
การฝึกอบรมขั้นที่ 3  ...............................................................................................................
การฝึกอบรมขั้นที่ 4 ได้เข้ารับการฝึกอบรม ขั้นความรู้ชั้นสูง เมื่อ ............................................
ณ (ค่ายฝึกอบรม) ...............................................................จังหวัด ............................
ประเภทลูกเสือ .......................................................................................................................











แบบการตรวจที่ 1
บัญชีหลักฐานการบริหารงานในกองลูกเสือ


รายการ
มี
ไม่มี

     1.   หนังสือสำคัญการอนุญาตตั้งกองลูกเสือ ( ลส.12 )
          หนังสือสำคัญการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง (ลส.13) ตามประเภทที่ตรวจ 
     2.    ทะเบียนลูกเสือตามประเภทลูกเสือ ( ลส.6-9)
     3.    สมุดบันทึกการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
     4.   สมุดบันทึกการประชุมนายหมู่ลูกเสือหรือคณะกรรมการดำเนินงาน
           หรือคณะกรรมการประจำกอง ( ตามประเภทลูกเสือ )
     5.   สมุดบันทึกการเปิดประชุมกอง ( การเตรียมการสอน ) ตลอดตั้งแต่ต้น
           จนถึงวันตรวจ
     6.   สมุดบันทึกการวางแผนการฝึกอบรมลูกเสือ
     7.   ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือ ( ลส.3 )
     8.    หลักฐานการเงิน ( ลส. 6-9 )
     9.    เอกสารที่จำเป็นในกองลูกเสือ พ.ร.บ.ลูกเสือ , ข้อบังคับ , กฏกระทรวง
            ฯลฯ
    10.    สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก
    11.   อื่น ๆ ที่ผู้ตรวจเห็นสมควร



ข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


         (ลงชื่อ) ...............................................ผู้ตรวจ
                                                                      ( ...............................................)                          


แบบการตรวจที่ 2
ตรวจการสาธิตการเปิดประชุมกอง


หัวข้อพิจารณา
ผ่าน
ไม่ผ่าน

1.   การดำเนินการตามแผนการเปิดประชุมกอง
     2.    เครื่องแบบลูกเสือและผู้บังคับบัญชา
     3.    วิธีการในการจัดและการให้การฝึกอบรม
     4.    อุปกรณ์การสอน
     5.    บทบาทของผู้ตรวจ



ข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................



         (ลงชื่อ) ...............................................ผู้ตรวจ
                                                            ( ...............................................)   





    




แบบการตรวจที่ 3
การสาธิต การสวนสนาม


รายละเอียดของการสาธิต
ผ่าน
ไม่ผ่าน

1.   การจัดรูปขบวน
     2.   เครื่องแบบผู้กำกับ รองผู้กำกับ และลูกเสือ
     3.   ระเบียบวินัยของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และลูกเสือ
     4.   อุปกรณ์ที่ใช้
     5.   บทบาทและการปฏิบัติกิจกรรมของผู้รับตรวจ



ข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


         (ลงชื่อ) ...............................................ผู้ตรวจ
                                                           ( ...............................................)        











การสาธิตการประชุมนายหมู่หรือการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
หรือการประชุมคณะกรรมการประจำกองลูกเสือ


รายการข้อมูลการสาธิตการประชุม
ผ่าน
ไม่ผ่าน

1.   สถานที่ห้องประชุมหรือคูหา
     2.    อุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็น
               –   โต๊ะหมู่บูชา และอุปกรณ์ประกอบ
    • ธงชาติ พระบรมฉายาลักษณ์
    • พระบรมฉายาลักษณ์ หรือ พระรูป ร.6
    • รูป บี . พี.
    • โต๊ะประชุม
    • ที่ลงนาม ที่วางอาวุธและหมวก
        3.   ขั้นตอนดำเนินการ
                 –   พิธีเปิด
    • การเชิญประชุมที่ปรึกษา และหารือ
    • การอภิปรายและหน้าที่ผู้ร่วมดำเนินการ
    • การปิดประชุม
    • การบันทึกการประชุม



ข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


         (ลงชื่อ) ...............................................ผู้ตรวจ
                                                            ( ...............................................)        



การสัมภาษณ์ความรู้ ความเข้าใจในกิจการลูกเสือ


ข้อมูล
ผ่าน
ไม่ผ่าน

1.   แนวความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ         
       2.    การฝึกอบรม ( A.T.C. ) ที่ผ่านมา ( เอกสารเพิ่มเติมฉบับที่ 3 )
       3.    กิจกรรมที่เคยได้กระทำหรนือร่วมกระทำ อันยังประโยชน์แก่กอง
              ลูกเสือของโรงเรียน
       4.    การประพฤติและปฏิบัติตามคำปฏิญาณ – กฏของลูกเสือ ระเบียบ
                    สำนักงานพระราชบัญญัติ และข้อบังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ
   



ข้อเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


         (ลงชื่อ) ...............................................ผู้ตรวจ
                                                              ( ...............................................)        









สรุปผลการประเมินการตรวจขั้นที่ 5

ผู้รับประเมิน ..................................................................................... ครั้งที่ ...........................

ผู้ประเมิน ............................................................................... คำสั่งที่....................................



เนื้อหา
ผ่าน
ไม่ผ่าน

1.   การบริหาร และธุรการของกองลูกเสือ
     2.    ขบวนการทางวิชาการฝึกอบรมลูกเสือ
     3.    กิจกรรมภาคปฏิบัติของผู้กำกับลูกเสือ
     4.    การสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้ และความเข้าใจในกิจการลูกเสือ
   




ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า
       ผ่าน
                     ผ่านโดยให้ข้อเสนอแนะ
      ไม่ผ่าน นัดครั้งต่อไป      
                               ไม่ผ่าน



                                                                        ( ลงชื่อ) ...............................................ผู้ตรวจ
                                                    ( ...............................................)       








บัญชีสัมภาษณ์ประกอบการรายงานผลงาน แทนการตรวจขั้นที่ 5

ของ..................................................................................................................................
สังกัด ................................................................................................................................
ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับ ...............................ขั้น ............................เมื่อวันที่ .................
ณ ค่ายลูกเสือ ........................................ อำเภอ ............................. จังหวัด ........................


ข้อที่
ถามความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติ
คะแนนข้อละ 10
หมายเหตุ
1

2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
เรื่องเกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการบริหาร ฯ หรือกองลูกเสือ กรมพลศึกษา
พระราชบัญญัติลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ
กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ
การฝึกอบรม
เกี่ยวกับระบบหมู่
การประชุมนายหมู่
คำปฏิญาณและกฏ
การลูกเสือโลก
การบำเพ็ญประโยชน์และการบริการ
การจัดกิจกรรมลูกเสือ
ความร่วมมือในกิจกรรมลูกเสือ
ศูนย์ฝึกกิลเวลล์ปาร์ค
การประชุมต่าง ๆ
การปฏิบัติตามระเบียบบริหารดีเพียงไร
ความร่วมมือจากบุคคล หน่วยงาน องค์การต่าง ๆ
การอยู่ค่ายพักแรมและการเยี่ยมเยียนลูกเสือกองอื่น ๆ
การปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนา
ความเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือที่ตนรับผิดชอบ
อื่น ๆ แล้วแต่ผู้สัมภาษณ์จะเห็นสมควร



รวมคะแนน



ความเห็นของผู้สัมภาษณ์ ........................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ ................................................ผู้สัมภาษณ์


หมายเหตุ      เลือกถาม   10  ข้อ   ข้อ 1 , 2 , 3 , 4 , 8    เป็นข้อบังคับ






















ใบให้คะแนนการสอบระเบียบแถวและการสวรสนามภาคปฏิบัติการสอบวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ เพื่อขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์
คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน

สอบเมื่อวันที่ ................ เดือน ................................... พ.ศ. ...................
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
  1. การจัดขบวนสวนสนาม ระดับใดระดับหนึ่ง ดังต่อไปนี้
๑.๑  ระดับชาติ ถูกต้องหรือไม่  ๕ คะแนน ( ..................................... )
๑.๑  ระดับจังหวัด ถูกต้องหรือไม่  ๕ คะแนน ( ..................................... )
๑.๑  ระดับอำเภอ ถูกต้องหรือไม่  ๕ คะแนน ( ..................................... )
  1. เครื่องแบบ         ๑๕ คะแนน
๒.๑  ความเรียบร้อย   ๕ คะแนน  ( ..................................... )
๒.๒  ความสะอาด   ๕ คะแนน  ( ..................................... )
๒.๓  ความถูกต้องตามกฎกระทรวง ๕ คะแนน ( ..................................... )
  1. ระเบียบวินัย ๒๐ คะแนน
๓.๑  การปฏิบัติตามคำสั่งทั้งในเวลาอยู่กับที่และการเคลื่อนที่ ๕ คะแนน    ( ................ )
๓.๒ การทำความเคารพด้วยท่าธง ทั้งในขณะอยู่กับที่และขณะเดิน ๕ คะแนน  ( .......... )
๓.๓ การถือป้าย    ๕ คะแนน ( ..................................... )
๓.๔ การถือธง    ๕ คะแนน  ( ..................................... )
      ๔.  การสั่งแถว ใช้คำพูดถูกต้องหรือไม่  ๕ คะแนน  ( ..................................... )
  1. ความสง่าผ่าเผย องอาจ แข็งแรง    ๓๕ คะแนน
๕.๑  ท่าเดิน    ๕ คะแนน ( ..................................... )
๕.๒  การแกว่งแขน   ๕ คะแนน ( ..................................... )
๕.๓  การก้าวเท้า   ๕ คะแนน   ( ..................................... )
๕.๔  การรักษาระยะต่อ ระยะเคียง ๕ คะแนน  ( ..................................... )
๕.๕  จังหวะการเดิน   ๕ คะแนน  ( ..................................... )
๕.๖  การปฏิบัติในขณะเดินผ่านธงที่ ๑ ธงที่ ๒ และธงที่ ๓  ๕ คะแนน    ( .................... )
๕.๗  ลักษณะอื่น ๆ ที่แสดงออก (หมายถึงความสุภาพเรียบร้อยความพร้อมเพรียงกัน
ทั้งโรงเรียน   ๕ คะแนน   ( ..................................... )

           .....................................
ลงชื่อ ........................................ ผู้ให้คะแนน


ใบให้คะแนนการสาธิตการประชุมนายหมู่ COURT OF HONOUR ประเภทลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ใช้เวลา ................................. นาที   คะแนนเต็ม ๘๐ คะแนน
รับการตรวจกองเมื่อวันที่ .......... เดือน ........................... พ.ศ. .............

โรงเรียน ......................................................................................
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
  1. มีคูหาหรือห้องประชุมของลูกเสือหรือไม่    ๒๐ คะแนน      ( ..................................... )
  2. อุปกรณ์ภายในห้องประชุม  ๘๐ คะแนน       ( ..................................... )
๒.๑  โต๊ะหมู่บูชา   ๕ คะแนน       ( ..................................... )
๒.๒  ธงชาติ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.๙ ,ร.๖ , หรือรูป บี.พี
๕ คะแนน          ( ..................................... )
๒.๓  โต๊ะประชุม พร้อมด้วยป้ายประธาน , เลขานุการ , สมาชิก
๕ คะแนน           ( ..................................... )
๒.๔  แผนภูมิต่าง ๆ มีหรือไม่  ๕ คะแนน           ( ..................................... )
๒.๕  มีโต๊ะลงนามผู้เข้าร่วมประชุมหรือไม่ ๕ คะแนน           ( ..................................... )
๒.๖  มีที่วางหมวก ที่วางไม้ง่ามหรือไม้พลองหรือไม่    ๕ คะแนน            ( .................... )
๒.๗  การเข้าห้องประชุม สมาชิกปฏิบัติได้ถูกต้องหรือไม่ ๕ คะแนน     ( ........................)
๒.๘  ก่อนเปิดประชุมมีการเชิญผู้กำกับหรือที่ปรึกษาหรือไม่  ๕ คะแนน    ( .................. )
๒.๙  พิธีเปิดการประชุมทำได้ถูกต้องเพียงไร    ๑๐ คะแนน        ( ...................................)
๒.๑๐  การอภิปรายปัญหาปฏิบัติได้ถูกต้องเพียงไร  ๕ คะแนน    ( ............................... )
๒.๑๑  การรักษามารยาทในระหว่างการประชุมดีหรือไม่ ๕ คะแนน     ( ........................)
๒.๑๒  ก่อนปิดการประชุมมีการหารือผู้กำกับในฐานะที่ปรึกษาหรือไม่                                              ๕ คะแนน   ( ............................. )
๒.๑๓  การปิดการประชุมได้ปฏิบัติได้ถูกต้องหรือไม่ ๕ คะแนน   ( ............................. )
๒.๑๔  การออกจากห้องประชุมได้ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่  ๑๐ คะแนน   ( ....................... )

                               ........................................
       ลงชื่อ .............................................. ผู้ให้คะแนน
                                             ........... / ........... / ........... 
ใบให้คะแนนการสาธิตการประชุมกองลูกเสือ.................................................

ครั้งที่ ................... เวลา ............... นาที    คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน

๑. พิธีเปิด (ชื่อผู้กำกับ) ............................................................ เวลา ๑๐ นาที ๒๐  คะแนน
     - การเรียกลูกเสือ  ๑  คะแนน      - การตรวจ       ๑๐  คะแนน
     - การเชิญธงขึ้น  ๒  คะแนน     
     - การสวดมนต์ สงบนิ่ง ๒  คะแนน    
    หมู่ที่ ๑ ..............................   ๒  คะแนน   หมู่ที่ ๒ ..............................   ๒  คะแนน
    หมู่ที่ ๓ ..............................   ๒  คะแนน   หมู่ที่ ๔ ..............................   ๒  คะแนน
    หมู่ที่ ๕ ..............................   ๒  คะแนน   หมู่ที่ ๖ ..............................   ๒  คะแนน

.......................................

๒. เกมเพื่อบริหารร่างกาย (ผู้นำเล่น) ...........................................เวลา  ๕ นาที ๑๐  คะแนน
     - การเรียกลูกเสือ  ๑  คะแนน     - การบอกชื่อเกม                ๑  คะแนน
     - วิธีการเล่น   ๒  คะแนน        - กติกาการเล่น          ๒  คะแนน    
     - การควบคุมการเล่น  ๑  คะแนน        - การสรุปข้อบกพร่อง         ๒  คะแนน    

     - การสั่งแยก   ๑  คะแนน                             .........................................

๓. สอนวิชาในหลักสูตรหรือวิชาพิเศษ(ชื่อผู้สอน) ...............................เวลา ๓๐ นาที ๔๐ คะแนน
     - วิชาที่นำมาสอน  ๕  คะแนน        - อุปกรณ์การสอนพร้อมหรือไม่ ๕    คะแนน
     - วิธีสอน   ๕  คะแนน        - เวลาทำการสอน         ๓๐  คะแนน  
    ฐานที่ ๑ ..............................   ๒  คะแนน   ฐานที่ ๒ ..............................    ๒  คะแนน
    ฐานที่ ๓ ..............................   ๒  คะแนน   ฐานที่ ๔ ..............................    ๒  คะแนน
    ฐานที่ ๕ ..............................   ๒  คะแนน   ฐานที่ ๖ ..............................    ๒  คะแนน
     - การทดสอบวิชาที่เรียนมาแล้ว     ๒๐ นาที    ๕  คะแนน        - ถูกต้อง           ๓  คะแนน    

     - การควบคุมเวลา          ๒  คะแนน                       -             ๒  คะแนน  
    - การสั่งแยกแถว                             ๔  คะแนน                           .........................................
๔. การเล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์  (ชื่อผู้เล่า) .................................... เวลา  ๕ นาที ๑๐  คะแนน
     - เรื่ององที่เล่า  ๓  คะแนน                - เล่าได้ดีเพียงไร      ๓  คะแนน
     - การควบคุมเด็ก  ๒  คะแนน        - การรักษาเวลา     ๑  คะแนน    
     - การสั่งแยก   ๑  คะแนน                                .........................................
๕. พิธีปิด (ชื่อผู้ปิด) ................................................................ เวลา ๑๐ นาที ๒๐  คะแนน
     - การเรียกแถว  ๒  คะแนน      - การนัดหมาย       ๒  คะแนน
     - การตรวจ         คะแนน     
    หมู่ที่ ๑ ..............................   ๒  คะแนน   หมู่ที่ ๒ ..............................   ๒  คะแนน
    หมู่ที่ ๓ ..............................   ๒  คะแนน   หมู่ที่ ๔ ..............................   ๒  คะแนน
    หมู่ที่ ๕ ..............................   ๒  คะแนน   หมู่ที่ ๖ ..............................   ๒  คะแนน

    -  การสั่งแยก                 ๒  คะแนน       - การรักษาเวลา                     ๒ คะแนน                                                                                       .........................................




เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้