Translate

หน้าเว็บ

แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา แผนการสอนลูกเสือ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา แผนการสอนลูกเสือ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

24 กรกฎาคม 2565

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

 ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่


วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ผู้ช่วยการจราจร

การลูกเสือกับการศึกษา

การลูกเสือกับการศึกษา

ในโอกาสนี้ใคร่ขอนำบทความที่เขียนไว้หลายปีแล้วเสนอเป็นแนวทางเรื่องการลูกเสือกับการศึกษาให้ได้พิจารณา ในปีการศึกษา ๒๕๓๓   กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้วิชาลูกเสือเป็นวิชาบังคับในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นสำหรับโรงเรียนทั่วประเทศ โดยได้พิจารณาเห็นว่าวิชาจะสามารถสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีต่างๆ เช่นความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย และความเป็นพลเมืองดีแก่เยาวชนของชาติได้เป็นอย่างดี

ความหมายของการศึกษา

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า การศึกษาเป็นเรื่องของการพัฒนาคนในด้านความรู้ สติปัญญา ความสามารถ อาชีพ ค่านิยม อุดมการณ์ และการปรับตนเองให้เข้ากับสังคม แต่การจัดการศึกษาไทยในอดีตและปัจจุบันนั้น แม้อุดมการณ์การจัดการศึกษาจะกว้างและครอบคลุมวัตถุประสงค์ไว้หมดทุกประการแต่ในทางปฏิบัติจริงส่วนใหญ่ยังคงมุ่งที่จะแข่งขันกันสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในการศึกษาทุกระดับทำให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกมาแล้วกลับมาสร้างให้เกิดปัญญาต่อสังคมมากมาย และที่สำคัญคือการที่คนในปัจจุบันขาดความสำนึกในการยอมรับระเบียบกฎเกณฑ์และกติกาของสังคม ขาดความสำนึกในหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งถึงแม้ประเทศไทยของเราจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีความรู้มากมายก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปลูกฝังทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านความประพฤติแก่บุคคลในสังคม ในระดับการศึกษาที่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่ได้แก่ การกระทำในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเท่านั้น หากการจัดการศึกษาต้องการจะปูพื้นฐานและบรรจุอุดมการณ์หรือแนวทางที่ประสงค์จะให้คนในสังคมเป็นไปในแนวทางใดเมื่อได้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องกระทำในวัยนี้

การลูกเสือคืออะไร

การลูกเสือ คือ ขบวนการเยาวชนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี โดยไม่คำนึงถึงเชื่อชาติ ศาสนา ทั้งนี้เป็นไปตามความมุ่งหมาย หลักการและวิธีการซึ่ง ลอร์ด เบเดน- โพเอลล์ หมายถึงวิธีการฝึกอบรมการเป็นพลเมืองดีให้แก่เด็กชายและเด็กหญิงโดยใช้การเล่นเป็นเครื่องมือในการฝึกหัดที่เหมาะสมกับความต้องการและสัญชาตญาณของเด็กและในขณะเดียวกันก็เป็นการศึกษาไปในตัวด้วย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ โดยมีพระราชประสงค์อย่างยิ่งเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นกำลังสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมือง ทรงดำริว่า การใดๆที่ได้เริ่มจัดขึ้นแล้วและซึ่งจะได้จัดขึ้นอีกต่อไปก็ล้วนทำไปด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์นำความเจริญมาสู่ชาติอย่างน้อยก็เพียงไม่ต้อให้อายเพื่อนบ้านในการตั้งลูกเสือ ก็เพื่อให้คนไทยมีความรักชาติบ้านเมือง เป็นผู้นับถือศาสนา และมีความสามัคคี ไม่ทำลายซึ่งกันและกันเพื่อเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงของประเทศชาติและทรงให้ความหมายของคำว่าลูกเสือว่า

ลูกเสือ  บ่ใช้เสือสัตว์ไพร

เรายืมชื่อมาใช้  ด้วยใจกล้าหาญปานกัน

ใจกล้า  ใช่กล้าอาธรรม์

เช่นเสืออรัญสัญชาติ  ชนคนพาล

ใจกล้า  ต้องกล้าอย่างอย่างทหาร

กล้ากอปรกิจการ  แก่ชาติประเทศของตน ”

อุดมการณ์ของการลูกเสือ

อุดมการณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติเพื่อพัฒนาเยาวชนทั้งกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบช่วยสร้างสรรค์สังคมที่ตนอยู่อาศัยให้ดีมีความสุขประเทศชาติมีความมั่นคง กิจการลูกเสือนับเป็นพระราชมรดกอันล่ำค่าทั้งที่มิได้เป็นสิ่งของ สิ่งก่อสร้างหรือทรัพย์สินเงินทองตามความเข้าใจกันทั่วไป เมื่อกล่าวถึงคำว่ามรดกหรือทรัพย์สินเงินทองตามความเข้าใจกันทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่ามรดก พระราชมรดกนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญา เป็นอุดมการณ์ เป็นแนวทางแห่งชีวิต ซึ่งถ้าหากมีการปฏิบัติตามโดยสม่ำเสมอแล้วความเจริญก็จะเกิดขึ้นทั้งทางกายและทางใจ ทั้งในส่วนตน ส่วนชุมชน ส่วนบ้านเมือง ทุกส่วนของโลกและมนุษย์ อุดมการณ์นี้สรุปได้ในคำปฏิญาณตนของลูกเสือที่ว่าจะบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์เป็นเพียงคำไม่กี่คำ จำได้ง่าย กินความหมายลึกซึ้งและใช้ได้สำหรับทุกคนทุกชาติ การที่จะปฏิบัติให้ได้ตามอุดมการณ์นี้แต่ละคนจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนให้ตนเองมีคุณธรรมหลายประการอาทิ ต้องอยู่ในระเบียบวินัย ต้องมีศีลธรรม ปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนาโดยเคร่งครัด ต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ยอมเสียสละออกกำลังกาย กำลังทรัพย์ เวลา ตลอดจนความผาสุกส่วนตัว ใช้เวลาไปในการฝึกฝนคุณธรรมร่วมปฏิบัติกรณียกิจอันเกิดประโยชน์

การลูกเสือนับเป็นการปฏิวัติในทางการศึกษาเป็นความจริงที่ว่าการลูกเสือมุ่งที่จะอบรมเด็กในเรื่องที่โรงเรียนไม่สามารถฝึกสอนได้ การลูกเสือสอนให้เด็กรู้จักการดำรงชีวิตมิใช่เพียงเพื่อให้มีอาชีพ การสอนให้เด็กมีความทะเยอทะยานที่จะชิงทุนรางวัลและทุนเล่าเรียนตลอดจนการสอนให้เด็กเห็นว่าความสำเร็จคือการมีเงินเดือน ตำแหน่งและอำนาจนั้นมีอันตรายอยู่มากเว้นเสียแต่ว่าจะมีการสอนในเรื่องบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นพร้อมกันไปด้วย เด็กในปัจจุบันมีความเก่ง รอบรู้สารพัด เด็กในระดับประถมศึกษาสามารถรู้เรื่องราวรอบๆตัวเองมากมายเพราะได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆและมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่ทันสมัยแต่จุดอ่อนของตนปัจจุบันที่เห็นกันอยู่คือเป็นคนหนักไม่เอา เบาไม่สู้ ไม่ค่อยสู้งาน ขาดความสำนึกรับผิดชอบงานต่อส่วนรวมเพราะมุ่งที่จะเอาความสะดวกสบายของตนเองเป็นที่ตั้ง

โดยเหตุที่ความเห็นแกตัวฝังอยู่ในจิตใจของชนทุกชั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะได้รับผลคือ การแบ่งแยกภายในประเทศ กล่าวคือมีผู้เห็นแก่ตัวพยายามชิงดีชิงเด่นซึ่งกันและกันโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรม นอกจากนี้แล้วก็มีการแตกแยกเป็นคณะและพรรคการเมือง นิกายทางและการแบ่งชั้นในสังคม ทั้งนี้ย่อมเป็นอันตรายต่อส่วนได้ส่วนเสียของชาติและความสามัคคีในชาติ

ความมุ่งหมายในการฝึกอบรมลูกเสือ

การลูกเสือมีอุดมคติในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ก็เพื่อให้เอาเรื่อง “ส่วนรวม” มาแทน

ส่วนตัว” ต้องการให้เด็กแต่ละคนมีสมรรถภาพทั้งในทางใจและทางกาย เน้นการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมประจำวัน การฝึกอบรมลูกเสือใช้วิธีการฝึกตามระบบหมู่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กมีโอกาสแสดงออกเป็นส่วนรวม การให้ร่วมกันทำงานเป็นการทำให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบ

หลักสำคัญของการลูกเสือนั้น เพื่อการสร้างสรรค์ให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี โดยมีแนวการฝึก ๔ ประการ

ประการแรกคือ การสร้างลักษณะนิสัยให้เด็กเป็นผู้มีความยุติธรรม รู้จักการเสียสละไม่เห็นแก่ตัวและมีความสำนึกในหน้าที่ตนมีต่อผู้อื่นและที่สำคัญคือเป็นผู้มีวินัย ชาติที่จะเจริญรุ่งเรืองได้จะต้องมีวินัยดี เราจะให้ส่วนรวมมีวินัยดีได้ ก็โดยทำให้แต่ละบุคลมีวินัยดีเสียก่อน มีผู้กล่าวว่า “ประเทศใดละเลยไม่ฝึกอบรมระเบียบวินัยแก่อนุชนของตน ประเทศนั้นไม่เพียงแต่จะผลิตทหารที่เลวเท่านั้น แต่ยังผลิตพลเมืองที่มีชีวิตของพลเรือนที่ชั่วร้ายอีกด้วย”

ประการที่สองคือ ด้านพลานามัย การพยายามเร่งเร้าให้เด็กสนใจในการออกกำลังกายอยู่เสมอ ในฐานะที่อยู่ในขบวนการลูกเสือเรามีโอกาสอย่างมากที่จะฝึกอบรมเด็กในเรื่องสุขภาพและอนามัยส่วนบุคคลจะทำให้เด็กแต่ละคนรู้จักรับผิดชอบตัวเองต่อสุขภาพของตน รักษาอนามัยเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองดีที่มีสมรรถภาพ

ประการที่สาม ในด้านการฝีมือและทักษะเด็กที่มีความคิดริเริ่มมักจะได้รับเลือกให้เข้าทำงาน ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถทำให้เด็กสนใจในเรื่องการฝีมือ ความจริงงานอดิเรกมีประโยชน์มากเพราะช่วยให้เด็กรู้จักใช้มือและสมองอย่างมีประสิทธิภาพ

ประการสุดท้ายคือ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ปัจจุบันสำนักงานลูกเสือโลกเน้นในด้านการฝึกอบรมลูกเสือ ๓ ประการคือ   การฝึกอบรมต้องทันสมัยต่อความปรารถนาความต้องการของเด็กในปัจจุบัน   การฝึกอบรมต้องเน้นให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กเองและแก่ชุมชนที่เขาอยู่อาศัยและสิ่งที่สำคัญต้องฝึกให้เด็กยึดมั่นในอุดมการณ์ของผู้ที่ให้กำเนิดลูกเสือโลกคือ การบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นทุกเมื่อ ดังคำว่า

อันเสือดีค่าก็มีอยู่ที่ป่า

จะเทียบค่าคนได้คงไม่สม

ลูกเสือดีมีค่าแน่แก่สังคม

เพราอบรมให้ซึ้งถึงค่าคน ”

            ความมุ่งหมายทั้งหมดของการลูกเสือก็คือการนำลักษณะนิสัยเด็กที่อยู่ในวัยร้อนแรงไปด้วยความกระตือรือร้นมาหลอมให้ได้รูปที่ถูกต้องแล้วจึงส่งเสริมพัฒนาเอกัตภาพเพื่อให้เด็กศึกษาอบรมตัวของเขาเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีและเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าสำหรับประเทศชาติได้

สำหรับการศึกษานั้น มุ่งหวังที่จะให้มนุษย์ชาติอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขโดยการศึกษาหาความรู้ให้ทันต่อเหตุการณ์ของสังคมปัจจุบันฉะนั้น ความผูกพันการลูกเสือกับการศึกษาก็มุ่งที่จะให้มนุษย์ชาติอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและมั่นคงในชีวิต ซึ่งอาจแบ่งบทบาทของการศึกษาได้ดังนี้คือ

๑. พัฒนาความรู้และสติปัญญาของพลเมืองโดยส่วนรวมให้มีความรู้ความสามารถที่สูงขึ้น

๒. ช่วยให้คนสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

๓. ทำหน้าที่เตรียมพลเมืองดีให้แก่สังคมตามที่สังคมจะพึงปรารถนา

๔. ช่วยพัฒนาความสามารถในการประกอบอาชีพของบุคคลให้ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพทางอาชีพการงาน

๕. ช่วยในการเตรียมกำลังคนหรือกำลังแรงงานในสาขาต่างๆตามที่สังคมหรือประเทศชาติต้องการ

๖. เป็นการถ่ายทอดผลิตผลทางปัญญาประสบการณ์และมรดกทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นใหม่ต่อไป

๗. ปลูกฝังความคิด ความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมตามคามประสงค์ของสังคมนั้นๆ

๘. ทำหน้าที่ในการสร้างกลุ่มพลังทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมโดยเฉพาะการเลือกหรือสรรหาชนชั้นนำ ชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองประเทศ

๙. ทำหน้าที่ในลักษณะที่เป็นโปรแกรมหรือกิจกรรมซึ่งเป็นพาหนะในการสนับสนุนการดำเนินการสนับสนุนนโยบายบางอย่างของรัฐบาลในด้านต่างๆเช่นการส่งเสริมวิทยาการและเทคโนโลยีด้านเศรษฐกิจ การเมือง การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นต้น

            จึงจะเห็นได้ว่า การศึกษานั้นเป็นทางที่ทำให้เกิดการพัฒนาความรู้และความสามารถในด้านต่างๆส่วนการลูกเสือนั้นคือการนำความรู้ความสามารถจาการศึกษาไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามความต้องการของสังคมและประเทศชาติด้วยเหตุ การลูกเสือกับการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างชนิดที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงของประเทศชาติต้องอาศัยการศึกษากับการลูกเสือควบคู่กันไป     นอกจากนี้การลูกเสือยังมีกิจกรรมและข้อปฏิบัติที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๒๐  

            หมวดที่ ๑ ข้อที่ ๑ ความว่า “ให้มีความเคารพในสิทธิและหน้าที่ของตนเองและของผู้อื่น มีระเบียบวินัย มีความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ศาสนา และหลักวัฒนธรรม” กับหมวดที่ ๖ ข้อที่ ๕๓ ความว่า “รัฐพึงสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีบุคลิกภาพที่ดี มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีทัศนคคติที่ดีต่อวัฒนธรรมไทย ยึดมั่นร่วมมือกัน ธำรงรักษาและปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติที่เน้นให้ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทาง กาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ ตามแนวทางดังต่อไปนี้

            ๑. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง

๒. ให้ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

๓. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์สาธารณะ

๔. ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนให้ทำกิจกรรมต่างๆตามความเหมาะสม

๕. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใดๆ

            จากความหมายและเหตุผลต่างๆข้างต้นนี้ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการได้กล่าวไว้ว่า “วิชาลูกเสือคือ วิชาศีลธรรมภาคปฏิบัติที่เหมาะสมแก่สังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง”    และยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่ส่งเสริมให้ทุกคนในชาติเป็นคนที่มีวินัยอีกด้วย การลูกเสือมีเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่มีกิจกรรมอื่นสามารถที่จะกระทำได้คือ “ระบบหมู่” ได้แก่ การทำงานเป็นหมู่ มีความสมัครสมานสามัคคีภายในหมู่ของตน มีคามเคารพในหน้าที่ของแต่ละคนที่ได้รับมอบหมายโดยดุษณีภาพ การลูกเสือจึงเป็นที่ยอมรับของทุกประเทศในโลกที่เป็นประเทศเสรีภาพ สำนักงานลูกเสือโลกจึงได้มีประกาศออกมาอย่างภาคภูมิว่า “ไม่มีกระบวนการใดๆที่จะพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีวินัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่เท่ากับกระบวนการลูกเสือ”

 สรุปได้ว่า การศึกษาเป็นเรื่องของการพัฒนาคนในด้านความรู้ สติปัญญา ความสามารถ ค่านิยมและอุดมการณ์ เป็นการแปรสภาพของคนจากภาวะหนึ่งไปสู่อีกภาวะหนึ่ง การแปรสภาพนี้เป็นการจงใจมีการเลือกสรรภาวะอันเป็นเป้าหมายว่าเป็นสิ่งมีค่าที่สุด โดยกระทำเป็นระบบผ่านองค์การของสังคม ส่วนการลูกเสือเป็นเรื่องของการนำความรู้ ความสามารถจากการศึกษาไปใช้อย่างถูกขั้นตอนและมีประสิทธิภาพทำให้เป็นคนที่มีคุณค่าและมีความรับผิดชอบต่อสังคม การศึกษากับการลูกเสือต้องมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น จะต่างคนต่างทำไม่ได้ต้องสอดคล้องต้องกันทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานแก่บรรดาลูกเสือในพิธีกราบบังคมทูลอัญเชิญให้ทรงรับตำแหน่งสภานายกกรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๖๘ ตอนหนึ่งว่า “ตามธรรมดาเด็กๆที่จะเรียนวิชาหนังสือเท่านั้นไม่พอ ถ้าจะเรียนแต่วิชาหนังสือก็ตรงสุภาษิตโบราณที่ว่า “วิชาท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”      เราต้องฝึกหัดอย่างอื่นด้วยคือ เราต้องฝึกหัดทั้งกาย วาจา ใจ ของเรา ต้องฝึกหัดให้มีกำลังกายแข็งแรงอดทนสามารถทนความตรากตรำต่อไปภายหน้าได้เราย่อมรู้อยู่ทุกคนว่า เมื่อเราโตขึ้นแล้วจะต้องทำการงานย่อมจะต้องทนตรากตรำเป็นครั้งคราวสม่ำเสมอเพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมฝึกหัดไว้ตั้งแต่เล็กจึงจะได้และต่อไปเมื่อถึงเวลาจะต้องรับราชการสำหรับรักษาบ้านเมืองเป็นต้น เราก็พร้อมอยู่เสมอที่จะทำได้ทันทีเพราะมีกำลังแข็งแรงอยู่แล้ว เราต้องฝึกหัดวาจาให้พูดจาอ่อนหวาน ไม่พูดมุสาวาท เพราะทำเช่นนั้นแล้วเราจะเข้ากับสมาคมกับเพื่อนฝูงได้ตลอดจนเมื่อจะทำราชการหรือค้าขายก็ดีความสัตย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด นอกจากนี้เราต้องฝึกหัดใจของเราอีกต้องเป็นผู้ซื่อตรงต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต้องซื่อตรงต่อเพื่อนฝูงของเราด้วย เมื่อได้ฝึกฝนอย่างนี้จะทำมาหากินหรือรับราชการหรือจะทำอะไรก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น โอกาสที่เด็กไทยจะได้ฝึก ๓ อย่างนี้ ย่อมจะได้รับอย่างดีที่สุดเมื่อได้เป็นลูกเสือ”

 

ที่มา  อ.สมมาตร  สังขพันธ์

#Sommart Sungkapun

#Scoutshare

#การลูกเสือกับการศึกษา

 

 

19 กันยายน 2563

บทบาทผู้บริหารในสถานศึกษา

บทบาทผู้บริหารในสถานศึกษา

          ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำในองค์กรที่สำคัญยิ่ง  เป็นต้นแบบในเรื่องต่างๆ ในสถานศึกษา   ถ้าผู้นำมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดี ในเรื่องใดในองค์กรแล้ว    เรื่องนั้นสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีคุณภาพงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนประสบผลสำเร็จที่เป็นเลิศได้   ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีบทบาทที่สำคัญดังต่อไปนี้  

          ผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดบทบาทให้ชัดเจนในเรื่องต่างๆ และเปิดโอกาสให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางนโยบายการจัดกิจกรรมและควรคำนึงถึงการนิเทศติดตามและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

          ผู้บริหารสถานศึกษา มอบหมายให้หัวหน้างานลูกเสือกำหนดงานกิจกรรม ระยะเวลาการดำเนินงานกิจกรรม ผู้รับผิดชอบและเครื่องมือประเมินชัดเจน  มีการสำรวจข้อมูลความพร้อมของบุคลากร  ความต้องการการฝึกอบรม สภาพความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อเปิดโอกาศให้ครูที่สอนลูกเสือเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น จัดทำแผนกิจกรรม แผนการเรียนรู้และให้ผู้เชี่ยวชาญด้านลูกเสือมาให้ความรู้แก่ครูผู้สอน พร้อมทั้งการกำกับ นิเทศติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

          สรุปได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญยิ่งในสถานศึกษาเป็นผู้นำเป็นตัวอย่างและเป็นต้นแบบในองค์กร

ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.      มีความตระหนักและให้ความสำคัญว่าท่านเป็นผู้นำทางด้านลูกเสือ

2.      เป็นผู้มีคุณวุฒิทางลูกเสือ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมลูกเสือ

3.      มีความมุ่งมั่นการในการพัฒนากิจกรรมลูกเสือให้มีคุณภาพ ทำงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนประสบผลสำเร็จที่เป็นเลิศได้

4.      กำหนดบทบาทตนเองและภาระงานให้ชัดเจนในเรื่องต่างๆ

5.      กระจายงานมอบหมายให้หัวหน้างานลูกเสือกำหนดงานกิจกรรม ระยะเวลาการดำเนินงานกิจกรรม ผู้รับผิดชอบและเครื่องมือประเมินชัดเจน

6.      เปิดโอกาสให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง นโยบายการแสดงความคิดเห็น การจัดทำแผนกิจกรรม

7.      กำหนดให้มีการสำรวจข้อมูลความพร้อมของบุคลากรและความต้องการการฝึกอบรม

8.      กำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างแรงบันดาลใจแก่ครูผู้สอน

9.      กำหนดให้มีตรวจประเมินสภาพความพร้อมวัสดุอุปกรณ์ สถานที่และความพร้อมสถานศึกษาในการจัดกิจกรรม

10.  กำหนดให้มีการนิเทศติดตามการดำเนินงาน การทำกิจกรรมและแผนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 

โดยนายวีระชัย  จันทร์สุข

17 สิงหาคม 2563

งานชุมนุมลูกเสือโลก

งานชุมนุมลูกเสือโลก
World Scout Jamboree
การชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 ณ โอลิมเปีย ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 1 – 8 สิงหาคม 2463 มีลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 34 ประเทศ ประมาณ 8,000 คน รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยมี นายสวัสดิ์ สุมิตร เป็นหัวหน้าคณะ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกได้กำหนดคำว่า “ JAMBOREE ” หมายถึงการที่ลูกเสือได้มาร่วมชุมนุมกันโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.ได้อยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง ตามกฎของลูกเสือข้อ 4
2.ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันตามโครงการที่รับมอบหมาย หรือสมัครใจที่จะทำตามความถนัด ความสนใจของตนเอง เป็นการฝึกให้ลูกเสือได้ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
3.ได้มีโอกาสฝึกฝน อบรม มีประสบการณ์และได้ทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
4.ได้ทดสอบความสามารถเฉพาะตน และส่วนรวม
การชุมนุมลูกเสือในระยะแรก สำหรับลูกเสือหมายถึงการมาพบปะกันที่แสนสนุกในระหว่างพวกเขา มีผ้าผูกสีต่าง ๆกัน ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม สวมกางเกงขาสั้นที่ทะมัดทะแมง พร้อมที่จะทำงานหรือผจญภัยกับสิ่งที่ท้าทายแปลก ๆ ใหม่ ๆ ในระยะหลังการชุมนุมลูกเสือดูเหมือนจะเป็นงานของผู้ใหญ่ที่ต้องเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะสนองความต้องการและความปรารถนาของลูกเสือ LORD ROWALLAN อดีตประมุขของคณะลูกเสืออังกฤษกล่าวว่า “ SCOUTING IS A GAME FOR BOYS BUT A JOB WORK FOR MEN ”
การชุมนุมลูกเสือมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. งานชุมนุมลูกเสือสำรอง เรียกว่า “ JOINT HOLIDAY ” หรือ “ CUB DAY ”ปัจจุบันเรียก “ Cuboree”
2. งานชุมนุมลูกเสือสามัญและสามัญรุ่นใหญ่ เรียกว่า “ JAMBOREE ” ปัจจุบันการชุมนุมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เรียกต่างออกไปว่า “ SENIOR SCOUT JAMBOREE ” หรือ “ VENTURE ” โดยต่อด้วยปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่ชัด เช่น “VENTURE’84”
3. การชุมนุมลูกเสือวิสามัญ เรียกว่า “ MOOT ”
4. งานชุมนุมลูกเสือพิการ เรียก Agoonoree เป็นการชุมนุมของลูกเสือที่มีความพิการทางร่างกาย ตาบอด หูหนวก พิการทางร่างกายแขน ขา และพิการทางสมอง
การจัดงานชุมนุมลูกเสือแต่ละประเภทนั้น ย่อมมีกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามประเภทของลูกเสือ เช่น ลูกเสือสำรอง ซึ่งมีอายุระหว่าง 8 – 11 ปี จะให้มีการชุมนุมในระยะสั้น ๆ เพื่อให้ลูกเสือสำรองได้มีโอกาสมาพบปะสังสรรค์ เล่นเกมแข่งขันและมีการแสดงในกลางแจ้งที่สนุกสนาน เป็นการนำลูกเสือมาอยู่ร่วมกันและเพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมา หรือจัดกิจกรรมพิเศษขึ้น อาจเป็นเรื่องนิทานเกี่ยวกับป่าดงพงพีหรือมนุษย์วิเศษจากโลกต่างๆ ตามจินตนาการของเด็ก
ส่วนการชุมนุมลูกเสือสามัญลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เรียกว่า “ JAMBOREE “ และการชุมนุมลูกเสือวิสามัญที่เรียกว่า “ MOOT “ ซึ่งเป็นลูกเสือโตขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มีอายุระหว่าง 11 - 16 ปี และ 17 – 25 ปี เด็กในวัยนี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ เด็กจะเริ่มรู้สึกมีความเชื่อมั่นต่อตนเอง รักการผจญภัย ชอบความเป็นอิสระมากขึ้น ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ AIDS TO SCOUT MASTERHIP ” ว่า “ ผู้กำกับลูกเสือจงทำตนเหมือนพี่ชายของเด็กและจงถามเด็ก ( ASK THE BOY ) เมื่อจะจัดทำแผนการฝึกอบรมทุกครั้ง ” ซึ่งหมายความว่า
- ผู้กำกับลูกเสือไม่ควรทำตนเป็นผู้บังคับบัญชาเยี่ยงทหาร
- ผู้กำกับลูกเสือต้องยอมรับสภาพของเด็กว่ามีความต้องการ ( NEED ) ตามวัยของตนอย่างไร จงเลี่ยงคำว่า “ YOU – BOY , I – BOSS ” ซึ่งทำตัวเหนือเด็กอยู่ตลอดเวลา
- การจัดทำแผนการฝึกอบรมควรกระทำร่วมกับเด็ก ซึ่งอาจจะใช้ที่ประชุมนายหมู่ COURT OF HONOUR เป็นเครื่องมือสำคัญ
ฉะนั้นการชุมนุมลูกเสือในปัจจุบัน จึงมีวิธีการหลายอย่าง เช่น ถ้ามุ่งเกี่ยวกับการทบทวนหรือการสอนในวิชาที่เรียนมาหรือวิชาพิเศษ เขาจะจัดแบบ “ SUMMER CAMP ” โดยจัดปีละ 1 ครั้ง เช่น ของสามาคมลูกเสืออเมริกา ได้จัด SUMMER CAMP ในลักษณะ “ INTERNATIONAL CAMP STAFF ” ทุกปี โดยนำลูกเสือทั้งกองหรือหลายกองหลายโรงเรียนไปอยู่ค่ายพักแรมร่วมกันใช้เวลาประมาณ 5 – 6 วัน ตามแต่แผนงานที่ผู้กำกับลูกเสือเตรียมงานไว้ สูงขึ้นไปอีกเรียกว่า CAMPOREE ซึ่งเป็นการนำลูกเสือมาอยู่ร่วมกัน เพื่อสังสรรค์และทำกิจกรรมร่วมกัน นิยมจัดในประเทศออสเตรเลีย
ในการจัดงานชุมนุมลูกเสืออาจจัดได้เป็น 3 ระดับคือ
1. การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับอำเภอ จังหวัด หรือ เขตการศึกษา ในต่างประเทศ เรียก “ JAMBORET ” เช่น HONG KONG JAMBORET ในฮ่องกง
2. การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับชาติ ( NATIONAL JAMBOREE ) นิยมจัด ทุก ๆ 4 ปี
การจัดงานชุมนุมลูกเสือระดับโลก ( WORLD JAMBOREE ) เกิดขึ้นมาจากเจ้าหน้าที่ลูกเสือ ที่ประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ( IMPERIAL HEADQUARTERS) โดยพิจารณาเห็นว่ากิจการลูกเสือ ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ในยามที่โลกสงบปราศจากสงครามเท่านั้น เมื่อมหายุทธสงครามเกิดขึ้นในยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2457 – 2461 ลูกเสือมีส่วนช่วยเหลือทหาร และประชาชนที่อพยพหนีสงครามมากมาย ลูกเสือช่วยสืบข่าวความเคลื่อนไหวในหน่วยสืบราชการลับ มีพฤติกรรมที่ดีเด่นมากมายในหลายประเทศที่เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยเหตุนี้คณะเจ้าหน้าที่ลูกเสือดังกล่าว จึงคิดกันว่าถ้าสงครามโลกยุติลงในปี พ.ศ. 2460 อันเป็นปีครบรอบ 10 ปี ของกิจการลูกเสือ ก็จะจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นเป็นการใหญ่ แต่มหายุทธสงครามคงยืดเยื้อต่อไปถึง พ.ศ. 2461 สภาพทางเศรษฐกิจและการคมนาคมโดยทั่วไป ยังไม่อยู่ในสภาพที่จะจัดงานเฉลิมฉลองได้ แต่คณะกรรมการแห่งกองอำนวยการการลูกเสือแห่งจักรภพอังกฤษ ซึ่งได้มีการประชุมกันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 ก็ตกลงกันว่าจะจัดงานเฉลิมฉลองได้ แต่คณะกรรมการแห่งกองอำนวยการลูกแห่งจักรภพอังกฤษ ซึ่งได้มีการประชุมกันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2459 ก็ตกลงกันว่าจะจัดงานฉลอง และ “ ชุมนุมลูกเสือแห่งจักรภพอังกฤษและนานาชาติ ” ขึ้น และผลงานนี้ต้องเลื่อนออกไปจนถึง พ.ศ. 2463 คือ หลังมหายุทธสงครามยุติลงแล้ว 2 ปีต่อมาปัญหาที่คณะกรรมการ ฯ ต้องขบคิดมากก็คือเกี่ยวกับการจัดงานครั้งนี้ จะจัดขึ้นที่ไหน ? ลูกเสือจะนอนที่ไหน ? ควรจะมีกิจกรรมอะไร ? มีหลายคนคิดว่า การจัดงานชุมนุมลูกเสือนานาชาติขึ้นตามความริเริ่มของ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ครั้งนี้ เป็นความทะเยอทะยานที่เกินกำลัง และวางเป้าหมายสูงเกินไป กลัวจะล้มลุกคลุกคลานเหมือนกับเด็กสอนเดินแต่ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ กำลังมีความเห็นว่า ข้อวิพากษ์เช่นนั้นดูออกจะเอาจริงเอาจังเกินไป การจัดงานทุกอย่างจะต้องเป็นไปอย่างนั้น แต่เป็นการล้มเพื่อจะลุกและก้าวไปข้างหน้าด้วยพลังที่เข้มแข็งที่มีอยู่ เพื่อจะทำงานต่อไป คือการส่งเสริมความเป็นพี่น้องกันในระดับนานาชาติ เรามีกำลังคนที่มีความปรารถนาและมีความตั้งใจที่จะทำงานนี้อยู่แล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงตกลงกันว่า สถานที่ใช้โอลิมเปีย ซึ่งเป็นอาคารหลังคากระจกโค้งเป็นรูปโดมมีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ ซึ่งเคยใช้เป็นที่จัดงานมหกรรมที่สำคัญ ๆ มามากแล้วอยู่ในลอนดอน โดยให้ผู้แทนลูกเสือชาติต่างๆ นอนที่โอลิมเปีย ส่วนที่เหลือจัดค่ายพักที่สวนสาธารณะที่ริชมอนด์ ซึ่งจุลูกเสือได้ประมาณ 5,000 คน
ส่วนกิจกรรมที่จัดให้มีกายบริหารการแสดงยืดหยุ่น การเต้นรำพื้นเมือง การดับเพลิง การปฐมพยาบาล มวยปล้ำ การแสดงประกอบดนตรี การสร้างสะพาน การสร้างค่าย หอคอย การส่งสัญญาณ การสะกดรอย และเมื่อถึงวันงานจริง ๆ ยังมีการแสดงพิเศษเพิ่มเติมเกี่ยวกับการละเล่นของชาวสก๊อต ชาวอาฟริกัน ชาวอินเดียนแดง ชีวิตในชนบท และเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมต่างๆ
เกี่ยวกับการแข่งขัน มีชักคะเย่อ การคาดคะเน การสื่อข่าวแมวมอง และการแข่งจักรยานแบบมาราธอน ใช้เวลาถึง 2 วัน
งานนิทรรศการ มีการแสดงเกี่ยวกับงานฝีมือ ช่างไม้ ช่างโลหะ วาดภาพแสตมป์ และหุ่นจำลองต่าง ๆโดยเฉพาะมีหุ่นจำลองของกิลเวลล์ ปาร์ค ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ในการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือและอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีความสำคัญและมีคนรู้จักมากนักนอกจากนั้นยังมีสัตว์ต่างๆ ที่ลูกเสือแต่ละประเทศนำมาแสดง เช่น ลูกสิงโต จากโรดิเซีย จระเข้ จากจาไมก้า ลิงจากสหภาพอาฟริกา ฯลฯจากการชุมนุมลูกเสือในครั้งแรกนี้ มีประเทศต่างๆ ส่งผู้แทนลูกเสือเข้าร่วมชุมนุม 34 ประเทศ ประะมาณ 8,000 คน ในวันพิธีเปิดมีประชาชนสนใจเข้าชมงานถึง 14,000 คน นับเป็นความสำเร็จก้าวแรกของการลูกเสือของลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ในลักษณะพิเศษแห่งความสำเร็จซึ่งทุกคนยอมรับว่าในระหว่างเยาวชนเหล่านั้น ผิว , เผ่าพันธุ์ , เชื้อชาติ , ศาสนา และสภาพทางภูมิศาสตร์ไม่มีสิ่งใดจะเป็นเครื่องกีดกันความเป็นพี่เป็นน้องของเขาได้เลยจุดสนใจของเด็กพุ่งไปที่ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ แต่ละวันที่งานผ่านพ้นไป ทุกคนก็แน่ใจยิ่งขึ้นว่า ไม่มีใครอื่นใดอีกแล้วที่เด็ก ๆ จาก 34 ประเทศ มาจากทุกมุมโลกที่มีน้ำใจจงรักภักดีอย่างแนบแน่นเช่นนี้ ทุกคนมีน้ำใจตรงกัน มีมติเป็นเอกฉันท์ เสนอให้ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ เป็นประมุขคณะลูกเสือโลก ซึ่งข้อเสนอนี้ไม่มีปรากฏในหมายกำหนดการมาก่อน และตำแหน่งนี้ก็ไม่เคยมีมาก่อนและเป็นตำแหน่งที่ไม่มีพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลใดจะแต่งตั้งได้ จึงถือว่าเป็นตำแหน่งที่ควรค่าสูงสุด สำหรับผลงาน บุคลิกภาพ สำหรับ ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ตราบจนกระทั่งเมื่อถึงอสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2484 ทุกคนตกลงกันว่าตำแหน่งนี้จะไม่มีการเลือกใหม่ คงเป็นตำแหน่งที่ลอร์ด เบเดน - โพเอลล์ ดำรงอยู่ตลอดเวลางานชุมนุมลูกเสือ ประวัติศาสตร์นับเป็นครั้งแรกในโลก ด้วยแนวความคิดของพลโท เซอร์ โรเบอร์ต เบเดน โพเอลล์ ( ยศและบรรดาศักดิ์ขณะนั้น ) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 และสิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พิธีปิดเริ่มต้นด้วยขบวนของลูกเสือแต่ละชาติ บ้างก็แต่งเครื่องแบบหรือไม่แต่งตัวตามธรรมเนียมท้องถิ่นของตนเป็นการอำลาและแสดงสัญญลักาณ์ของแต่ละชาติ มาร่วมชุมนุมกันต่อหน้าคณะกรรมการจัดงานชุมนุม แขกผู้มีเกียรติและเซอร์โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของแต่ละชาติดังกึกก้อง ประสานด้วยเสียงหัวเราะ ด้วยความสนุกสนานของเด็ก ๆ ซึ่งต่างกันด้วยอาหาร ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา เชื้อชาติ ถิ่นฐาน ดังเป็นระยะไม่ขาดเป็นเสียงแห่งความรัก สามัคคีจิตความสงบสุขของโลกที่ปราศจากสงคราม แขกผู้มีเกียรติ ผู้ปกครองของลูกเสือและประชาชนที่ไปชมงานน้ำตาไหลด้วยความปลาบปลื้มปิติ ที่ได้เห็นภาพเด็กเล็ก ๆ เดินเข้าแถวสวนสนามกันอย่างพร้อมเพรียง โดยมีผู้ใหญ่เดินนำหน้าทุกขบวน มันเป็นภาพที่ประทับใจสุดจะพรรณนา เพราะขณะนั้นสงครามโลกเพิ่งจะเสร็จสิ้นลง ใหม่ ๆ ใครจะคิดว่าโลกของเด็กจะรักกัน กอดคอกันสมัครสมานสามัคคีถึงขนาดนี้เมื่อท่านเซอร์ โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ กล่าวสุนทรพจน์จบลงแล้ว เสียงเพลงออลแลงจ์ซาย ก็ดังกระหึ่มขึ้น หลังจากนั้นลูกเสือต่างก็กรูเข้าไปหาท่านเซอร์โรเบอร์ต เบเดน- โพเอลล์ ช่วยกันแบกร่างของท่านเซอร์ ขึ้นบ่า แห่แหนไปรอบบริเวณงาน ท่ามกลางเสียงโห่ร้องแสดงความยินดีต่อประมุขของคณะลูกเสือโลก ( CHIEF SCOUT OF THE WORLD ) และแล้วงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ก็สิ้นสุดลงด้วยความตื่นเต้น และอาลัยที่ต้องจากกัน และยังไม่รู้ว่าวันไหน ? เมื่อไรเขาจะได้พบกันอีก ?จากผลงานของงานชุมนุมคราวนั้น ทำให้ผู้ใหญ่ร่วมกันจัดตั้งสำนักงานลูกเสือโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานลูกเสือโลก และมีข้อตกลงกันว่าต่อไปนี้ทุก 4 ปี จะจัดให้มีการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นประจำ นอกจากมีอุปสรรคอันเป็นเหตุสุดวิสัยมาขัดขวางและไม่สามารถจะจัดขึ้นได้ ส่วนที่จะจัดขึ้นที่ไหนนั้นสุดแล้วแต่ประเทศใดจะสมัครใจรับเป็นเจ้าภาพและที่ประมุขสมัชชาลูกเสือโลกเห็นด้วยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมางานชุมนุมลูกเสือโลกก็ได้ถูกจัดขึ้นในแต่ละประเทศของโลกนับได้ 24 ครั้งแล้ว ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ 20 ครั้งที่ 21 ที่ประเทศอังกฤษ ฉลอง 100 ปี ลูกเสือโลก ครั้งที่ 22 ที่ประเทศสวีเดน ครั้งที่ 23 ที่ประเทศญี่ปุ่น ณ คิรารา ฮามา เมืองยามากูจิ ระหว่าง 1-7 สิงหาคม 2558 ครั้งที่ 24 จัดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเจ้าภาพ 3 ประเทศ คือแคนาดา สหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก เป็นเจ้าภาพร่วม ครั้งที่ 25 จะจัดที่ประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2566
กิจการลูกเสือ คือ วิธีการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป ( WAY OF LIFE ) การสอนวิชาลูกเสือ คือ การป้อนกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับเด็ก ให้แก่เด็กได้กระทำ หรือฝึกให้เด็กทำ เรียนด้วยการปฏิบัติจริง ทำจริง จึงจะไปสู่เป้าหมายอันแท้จริงของวิชาลูกเสือได้ วิชาการลูกเสือเป็นกระบวนการฝึกฝนไม่ใช่กระบวนการสอน อาจจะฝึกเป็นรายบุคคล หรือเป็นหมู่ก็ขึ้นกับกิจกรรมนั้น ๆ บางกิจกรรมสอนให้เด็กต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น คือสอนให้รู้จักคบเพื่อน ผูกมิตร ขณะเดียวกันก็ฝึกหัดให้เด็กรู้จักช่วยตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ แม้จะอยู่คนเดียวในป่าดงพงพี โดยลักษณะนิสัยทั่วไปของเด็กจะไม่กล้าในสิ่งที่ตนไม่เคยทำ และเมื่อทำได้สำเร็จก็รู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุข ด้วยเหตุนี้ ลอร์ด เบเดน- โพเอลล์ จึงได้กล่าวไว้กว้าง ๆ ว่า วิชาลูกเสือให้อะไรแก่ท่านบ้าง หรือในทำนองเดียวกันท่านได้อะไรจากการมาเป็นลูกเสือบ้าง ขอให้ท่านจงพิจารณาคำกล่าวที่ท่านอาจารย์อภัย จันทวิมล ถอดความมาจากคำภาษาอังกฤษเป็นคำคล้องจองกันว่า ผจญภัย (ADVENTURE)ได้เพื่อน(COMRADESHIP ) เถื่อนธาร ( OUTDOR LIFE ) การสนุก ( GOOD FUN ) และสุขสม ( ACHIEVEMENT )

ข้อมูลจาก Sommart Sungkapun

การดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการลูกเสือไทย

การดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการลูกเสือไทย
                    เราท่านทั้งหลายที่อาสาสมัครเข้ามาเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือนี้ เคยถามตัวเองบ้างหรือไม่ว่าเราเข้ามาทำอะไร เรามีหน้าที่อย่างไรในกิจการลูกเสือมีบางท่านคงตอบคำถามนี้ได้โดยไม่ลำบากใจนักหน้าที่หลักของท่านที่เป็นผู้กำกับลูกเสือ เป็นผู้กำกับกลุ่มลูกเสือนั้น คือ การพัฒนาลูกเสือให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
หน้าที่หลักของท่านที่เป็นผู้ตรวจการ และผู้อำนวยการลูกเสือนั้น คือให้การสนับสนุนผู้กำกับลูกเสือและบริหารกิจการลูกเสือในเขตรับผิดชอบของแต่ละท่าน เพื่อให้กิจการลูกเสือเดินไปสู่วัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
ท่านจำได้ไหมว่า วัตถุประสงค์ของลุกเสือแห่งชาติมีว่าอย่างไร
ถ้าท่านตอบคำถามนี้ไม่ได้ ท่านจะพัฒนาหรือบริหารกิจการลูกเสือไปทางใด
จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่สุด สำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกคนท่านต้องจำได้ว่าวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติมีว่าอย่างไร
    วัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘ กำหนดไว้ว่า
คณะลูกเสือแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบและช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ ตามแนวทางดังต่อไปนี้
           ๑. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
       ๒. ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    ๓. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
๔. ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
๕. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ
มาตรา ๙ ให้กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานของคณะลูกเสือแห่งชาติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ สำนักงานลูกเสือจังหวัด สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดกิจกรรมลูกเสือเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
ธรรมนูญขององค์การแห่งโลกว่าด้วยขบวนการลูกเสือ ( The World Organization of the Scout Movement ) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือไว้ดังต่อไปนี้
“จุดมุ่งประสงค์ของขบวนการลูกเสือ คือการสนับสนุนการพัฒนาอย่างเต็มที่ซึ่งศักยภาพทางกาย สติปัญญา สังคม จิตใจและศีลธรรมให้แก่เยาวชนเป็นรายบุคคล เพื่อให้เขาเป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบ ในฐานะที่เป็นสมาชิกของชุมชนในท้องถิ่นในชาติและในชุมชนระหว่างนานาชาติ”
หนังสือคู่มือการฝึกอบรมนานาชาติ ( Internationl Training Handbook ) ปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ซึ่ง The World Training Committee ได้จัดทำขึ้น มีบทความอยู่บทหนึ่งให้ชื่อว่า “จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของกิจการลูกเสือได้อย่างไร” ( How to Achieve the purpose of Scouting )
การที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังที่กำหนดไว้นี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาที่ยากมากถ้าเราพิจารณาถึงปัจจัย และสิ่งต่างๆที่เข้ามามีส่วนในการที่จะชี้ว่า ความเพียรพยายามของเราที่จะฝึกอบรมลูกเสือนั้นประสบผลสำเร็จ หรือล้มเหลวอย่างไร ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปที่จัดทำไว้แล้วในเอกสารฉบับนี้
แต่เราจะพยายามรวบรวมข้อความต่างๆที่เราเห็นว่าเป็นเงื่อนไขของความสำเร็จเป็นบัญชีขึ้นไว้ ถ้าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ได้ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ก็หวังได้ว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จนั้นอาจพึงหวังได้ แม้ว่าจะไม่มีการรับประกันก็ตาม แต่ถ้าใครละทิ้งข้อเงื่อนไขที่ได้รวบรวมไว้นั้นไปเพียงข้อหนึ่งข้อใด ความล้มเหลวในการพัฒนาลูกเสือให้ถึงวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาตินั้นอาจเกิดขึ้นได้ ข้อนี้เราเชื่อว่าเรารับประกันได้
ในขบวนการลูกเสือไม่ว่าในระดับใดจะเป็นกองลูกเสือ กลุ่มลูกเสือ จังหวัด หรือในคณะลูกเสือแห่งชาติหรือในองค์กรของโลกก็ตามที เพื่อที่จะได้รับความสำเร็จ คือบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของกิจการลูกเสือเราต้องมีสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
ก. กำหนดการที่ดี ( Good Programme ) สำหรับเยาวชนที่เป็นสมาชิก
ข. การฝึกอบรมที่ดีสำหรับผู้กำกับลูกเสือ ( Good Training )
ค. อย่างสนับสนุนอย่างเพียงพอ ( Good Support )
จะได้อธิบายหัวข้อทั้ง ๓ นี้ ทีละข้อตามลำดับต่อไปนี้ดังนี้
กำหนดการที่ดี ( Good Programme )
สอดคล้องกันตามความต้องการและความปรารถนาของเยาวชนกิจการลูกเสือเป็นขบวนการทางการศึกษา มุ่งประสงค์ที่จะช่วยเยาวชนให้พัฒนาศักยภาพต่างๆ กล่าวคือศักยภาพทางกาย , ทางสติปัญญา , ทางสังคม , ทางจิตใจ , และทางศีลธรรมของเขาเอง กิจการลูกเสือจะทำการพัฒนาดังกล่าวนี้ได้ เมื่อกิจการลูกเสือได้จัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่เยาวชนใหสอดคล้องกับความต้องการ และความปรารถนาของเยาวชน ในลักษณะที่จะช่วยการพัฒนาทางกายสติปัญญา สังคม จิตใจ และศีลธรรมของเยาวชนความต้องการเหล่านี้จะแตกต่างกันออกไปด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น
อายุของแต่ละบุคคล ความต้องการของเด็กอายุ ๘ ขวบ ย่อมแตกต่างไปจากเด็กชายอายุ ๑๓ ปี และย่อมแตกต่างไปจากความต้องการของเยาวชนวัยรุ่นหนุ่มอายุ ๑๙ และ ๒๐ ปีด้วยขบวนการลูกเสือได้คำนึงถึงปัจจัยข้อนี้มาหลายปีมาแล้ว จึงได้จำแนกลูกเสือออกเป็นประเภทต่างๆ คือ สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญแล้วก็พัฒนาเยาวชนไปตามประเภทนั้นๆ อย่างไรก็ดี เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่ากำหนดการ ( Good Programme ) ที่ได้จัดให้เยาวชนนั้น เหมาะสมกับกลุ่มอายุของเยาวชนตามที่ตั้งใจไว้แล้ว แม้ว่านี่เป็นเรื่องจำเป็นก็ตามที แต่เรามักจะไม่ค่อยได้ทำกันสถานที่ เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ทุกคนเข้าใจดีว่า ความต้องการของเด็กในประเทศซาอุดิอารเบีย ย่อมแตกต่างกับความต้องการของเด็กอายุเดียวกันที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือในประเทศบราซิล เป็นตัวอย่าง โดยเหตุผลดังกล่าวนี้ แม้ว่าเราจะรักษาและปฏิบัติตามหลักการขั้นพื้นฐานเดียวกันและใช้วิธีการของลูกเสือเดียวกัน แต่การใช้ในภาคปฏิบัติหรือเงื่อนไขในการนำไปใช้ นั้นคงจะแตกต่างกันไป ในแต่ละประเทศเวลา เป็นปัจจัยสำคัญอันที่สาม สภาพเป็นอยู่ของชีวิตที่เราดำรงชิวิตอยู่ย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อเวลาได้ผ่านไป ทำนองเดียวกันปัญหาต่างๆ ซึ่งเยาวชนต้องเผชิญอยู่ หรือโอกาสที่เยาวชนได้รับย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้กิจกรรมต่างๆ ที่ได้รวมไว้ในหลักสูตรลูกเสือ ( Scout Programme ) เมื่อห้าสิบปีมาแล้วหรือเมื่อ ๑๐ ปีมาแล้ว ก็ตามที อาจจะไม่เป็นเรื่องที่เหมาะสมและไม่อยู่ในประเด็นสำหรับกาลปัจจุบันนี้เสียแล้วปัญหาที่มีอยู่ขณะนี้ มีว่าเราในฐานะผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องแน่ใจ เข้าใจกิจกรรมลูกเสือหรือเทคนิคต่างๆ ที่นำมาใช้ในกิจการลูกเสือนั้นมีจุดมุ่งหมายอย่างไร และพึงมีประโยชน์แก่เยาวชนอย่างไร เราจึงจำเป็นต้องมองหาวิธีการใหม่และกิจกรรมใหม่ที่เยาวชน ในปัจจุบันสามารถจะยอมรับและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันขออย่าให้เราทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสักแต่ว่า ให้มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ขอให้เราเปลี่ยนแปลงเพื่อให้กิจการลูกเสือดีขึ้นเมื่อพิจารณาปัจจัยสามประการดังกล่าวข้างต้น และ ความจริงที่ว่า กำหนดการ (Programme) ของเราต้องตอบสนองความต้องการและความปรารถนาของเยาวชนแล้ว จึงเป็นธุรกิจของคณะลูกเสือแห่งชาติของแต่ละประเทศที่จะต้องจัดทำกำหนดการ ( Programme ) ของตนเองขึ้นเพื่อให้สนองความต้องการ และความปรารถนาของเยาวชนในประเทศตน ในขณะเดียวกัน แต่ละประเทศมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการขั้นพื้นฐาน และวิธีการของกิจการลุกเสือ ซึ่งมีมาเป็นเวลาช้านานและยอมรับกันทั่วไปแล้วด้วยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
การฝึกอบรมเยาวชนเพื่อให้เป็นพลเมืองดีของชาตินั้น เป็นประเด็นสำคัญของกิจการลูกเสือ แต่วิธีการฝึกอบรมย่อมแตกต่างกันไปตามส่วนต่างๆ และประเทศต่างๆ ของโลก ฉะนั้นในการจัดทำหรือนำเอากำหนดการ ( Programme ) ของประเทศอื่นมาปรับปรุงขึ้นเพื่อใช้เป็นกำหนดการของเยาวชน ( Youth Programme ) ในประเทศตน จึงไม่สมควร คณะลูกเสือแห่งชาติควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ถึงความต้องการของสังคมด้วย เพราะกิจการลูกเสือเป็นส่วนของสังคมนั้นด้วยในประเทศสมาชิกหลายประเทศ กิจการลูกเสือจะไม่เพียงแต่เพียงหน่วยงานที่จัดทำกิจกรรมยามว่างให้เยาวชนเท่านั้น สังคมมีสิทธิ์หวังจะได้รับบางสิ่งบางอย่างจากเยาวชนผู้เป็นลูกเสือสมาชิกของสังคมด้วย ในหลายประเทศกิจการลูกเสือได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมคือ มีส่วนร่วมในขบวนการสร้างชาติเป็นประจักษ์ชัดว่า การฝึกอบรมเยาวชนเพื่อให้เป็นพลเมืองดีนั้น ไม่ควรพิจารณาจากมุมแคบอย่างเดียว แต่ควรจะมองจากมุมกว้าง คือมองไปถึงโลกอันกว้างใหญ่ด้วย กิจการลูกเสือควรจะส่งเสริมให้เยาวชนได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจกว้างขวาง มีน้ำใจเป็นมิตร ไม่รังเกียจและมีความลำเอียง สามารถจะเข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมและค่านิยมของผู้อื่น พร้อมที่จะเข้าร่วมทำงานกับผู้อื่นได้ด้วยนี่คือมติใหม่ระหว่างนานาชาติในขบวนการลูกเสือโลก และเป็นวิธีการที่จำเป็นของบวนการลูกเสือด้วยเป็นการก้าวหน้าและเร้าใจกำหนดการที่ดี ( Good Programme ) ต้องเป็นสิ่งที่ท้าทายลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ กับทั้งต้องให้โอกาสเพื่อเป็นการพัฒนาส่วนตัว และมีการเจริญก้าวหน้าสำหรับลูกเสือทุกคนด้วย ถ้าจะให้ลูกเสือกระทำกิจกรรมอย่างเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการประชุมกองลูกเสือแต่ละครั้ง กิจกรรมนั้นจะไม่ให้การท้าทายแก่ลูกเสือเลย ทั้งไม่มีการก้าวหน้า เมือเป็นเช่นนี้ลูกเสือก็จะไม่สนใจ ไม่ช้าไม่นานเด็กก็จะออกจากการเป็นลูกเสือไปเพราะเบื่อการจัดทำกำหนดการ ( Programme ) นั้น ควรเป็นไปในทางที่จะให้เกิดประสบการณ์ใหม่ และเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจแก่ลูกเสือ กับทั้งควรให้มีการเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะด้วย นอกจากนั้นควรเป็นการสร้างเจตคติใหม่ เจตคติที่ดีกว่าเดิมต่อบุคคลอื่น หรือต่อความคิดเห็นใหม่ๆ ที่ได้ค้นพบ และสังคมได้ยอมรับกันแล้วไม่ว่าคณะลุกเสือแห่งชาติจะเน้นหนักในประการหนึ่งประการใดก็ตามที ควรจะได้คำนึงถึงความได้สัดส่วนสมดุลกัน ระหว่างกิจกรรมต่อไปนี้ด้วยคือ ระหว่างการเล่น , ทักษะที่มีประโยชน์ การให้บริการแก่ชุมชน และกิจกรรมกลางแจ้งนำกำหนดการไปใช้ตามวิธีของกิจการลูกเสือกำหนดการที่ดี ( Good Programme ) ควรจะสนับสนุนการค้นพบที่ก้าวหน้าและต่อเนื่องกันในเรื่องค่านิยม อันมีอยู่ในคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ในเวลาเดียวกันควรยึดถือว่า “คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ” เป็นกติกาของกิจกรรมทุกอย่างวิธีการทางการศึกษา ถึงแม้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ แต่วิธีการนั้นไม่ใช่วิธีการของลูกเสือ กองลูกเสือไม่ใช่ห้องเรียน ทั้งสำนักงานที่ตั้งกองลูกเสือก็ไม่ใช่ชั้นเรียน เราไม่สอนการปฐมพยาบาลไม่สอนหน้าที่พลเมืองด้วยสมุดโน้ต , กระดานดำ และชอล์ก ในกิจการลูกเสือวิชาเหล่านี้และวิชาอื่นอีกด้วยจะได้เรียนได้สอนกันด้วยการปฏิบัติ โดยการใช้เล่นเกม การอยู่ค่ายพักแรม การทำงานตามโครงการ กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมอื่น ๆ การเรียนรู้ด้วยการกระทำเป็นหัวใจสำคัญของวิธีการลูกเสือโดยปกติลูกเสืออยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ การกระทำเช่นนี้เราเรียกว่าระบบหมู่ อันเป็นลักษณะที่ได้ริเริ่มมีขึ้นมาเป็นครั้งแรก ลักษณะหนึ่งในระบบหมู่นั้นได้มีสมาชิกจำนวน ๖ – ๘ คน มีกลุ่มอายุเดียวกัน เขาช่วยกันทำการตัดสินใจ จัด และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ นำกำหนดการ ( Programme ) ไปใช้ในการปฏิบัติเขาจะเลือกผู้นำหมู่ของเขาเอง นายหมู่และลูกหมู่จะร่วมกันรับผิดชอบและร่วมทำธุรกิจด้วยกันตามความเหมาะสม เพื่อว่าการดำเนินงานของหมู่จะได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ภายใต้แนวความคิดอันนี้บทบาทของผู้กำกับลุกเสือจึงเป็นบทบาทที่ให้การสนับสนุนแนะแนว ไม่ใช่การควบคุมและบอกสั่ง บทบาทของผู้กำกับลูกเสือคือการจัดให้มีสภาวการณ์อันดีที่สุดที่ลูกเสือทั้งหลาย ผู้ซึ่งรับผิดชอบต่อความเจริญเติบโตและก้าวหน้าของตนสามารถพัฒนาคุณภาพและความสามารถของเขาเองได้ตามวิธีการของกิจการลูกเสือนั้น ผู้กำกับลูกเสือส่วนใหญ่จะทำหน้าที่อย่างเดียวกับคนทำสวน คือมีหน้าที่ดูแลพืชผลที่เขาปลูก รดน้ำ เก็บวัชพืชที่ไม่พึงประสงค์ทิ้งไปเสีย และคอยเฝ้าดูความเจริญงอกงามของพืชผลที่เขาได้ปลูกไว้ ต้นไม้จะไม่เติบโตเร็วขึ้น โตใหญ่ขึ้น หรือดีขึ้น เพราะชาวบ้านได้ดึงมันขึ้นมาความสัมพันธ์ระหว่างผู้กำกับลูกเสือกับลูกเสือซึ่งเป็นเยาวชนวัยรุ่นนั้น ควรเป็นไปในลักษณะเช่นว่านี้ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเงื่อนไขสำหรับกำหนดการที่ดี ( Good Programme ) กำหนดการที่ดีเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการลูกเสือ แต่ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าการมีกำหนดการที่ดีอย่างเดียว ยังไม่เป็นการเพียงพอกำหนดการที่ดีเคยได้ประสบความล้มเหลวมาแล้ว เพราะความขาดตกบกพร่องของผู้กำกับลูกเสือ ซึ่งมีภารกิจที่จะนำกำหนดการที่ดีไปใช้กับลูกเสือ คุณภาพที่ดีของผู้กำกับลูกเสือจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดการไปใช้ด้วยวิธีการอันถูกต้องจากข้อความนี้จึงนำเราไปสู่เรื่องการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือการฝึกอบรมที่ดีสำหรับผู้กำกับ ( Good Training )ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้กำกับลูกเสือแผนการฝึกอบรมผู้กำกับลุกเสือ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ อาจจะกำหนดขึ้นได้ภายหลังที่ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงเรื่องบทบาทและภารกิจ ( Role and Functions ) ของผู้กำกับลูกเสือ และจำแนกความต้องการของผู้กำกับออกมาได้ว่ามีอะไรบ้างที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับลักษณะของการฝึกอบรม เพราะเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอยู่แล้วว่าการฝึกอบรมนั้น มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการนำกำหนดการที่ดีไปใช้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมความต้องการของผู้กำกับดังกล่าวนี้มีหลายอย่างแตกต่างกัน แต่ถ้าจะสรุปเข้าแล้วความต้องการดังกล่าวนั้นจะสรุปลงได้เป็นข้อใหญ่ ๓ ประการ คือ ความต้องการในเรื่องความรู้หนึ่ง ทักษะหนึ่ง และเจตคติหนึ่งสำหรับความต้องการข้อแรก คือ ความรู้นั้นเกี่ยวพันไปถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้กำกับควรรู้ เพื่อว่าจะได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนให้ได้ผลดีที่สุดสำหรับความต้องการข้อสอง คือ ทักษะนั้นเกี่ยวพันไปถึงสิ่งต่างๆ ที่ผู้กำกับควรสามารถจะทำได้เพื่อที่จะให้ประสบผลสำเร็จของงานในหน้าที่ของตนสำหรับความต้องการข้อสาม คือ เจตคตินั้นเกี่ยวพันไปถึงการพัฒนาเจตคติที่ดีให้มีขึ้นต่องาน เพื่อที่จะให้นำกำหนดการไปใช้ได้ประสบผลถึงที่สุดการฝึกอบรมแล้วตลอดเวลา เว้นแต่ว่าเพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่า ผู้กำกับจะได้นำภารกิจของผู้กำกับไปใช้กับกองลูกเสือของเขาอย่างถูกต้องเรียบร้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกวัยรุ่นในขบวนการลูกเสือ จึงควรใส่เทคนิคลงไปด้วยขึ้นอยู่กับความต้องการของคณะลุกเสือแห่งชาติถึงแม้นว่าการพัฒนาส่วนบุคคล จะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ซึ่งมีความรับผิดชอบในขบวนการลูกเสือก็ตามทีแต่นั่นยังมิใช่เป็นจุดหมายอันเริ่มแรกของการฝึกอบรม ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ประเด็นที่ควรจะเน้นให้หนักนั้น คือการอบรมเชิงปฏิบัติงาน เพื่อก่อให้เกิดภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดีสำหรับคณะลูกเสือแห่งชาติ และเพื่อให้ได้มีกิจการลูกเสือที่ดียิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่จำนวนเยาวชนลูกเสือมากยิ่งขึ้นด้วยเวลาเดียวกัน การฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือในลักษณะเฉพาะนั้น ก็จำต้องรักษาให้คงมีอยู่ตลอดไปด้วยต้องก้าวหน้าและเป็นที่เร้าใจแผนการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ต้องเป็นไปในลักษณะที่ก้าวหน้า แต่ละขั้นตอนได้เสริมเพิ่มสูงขึ้นมาจากขั้นที่แล้วมา การจัดทำแผนการฝึกอบรมควรจัดทำด้วยความระมัดระวังเพื่อมิให้มีการซ้ำซ้อนกันขึ้นได้ประสบการณ์เดิมและการฝึกอบรมที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีมาแล้ว ควรคำนึงด้วยถ้าตอนใดของการฝึกอบรมพอจะนำสิ่งทั้งสองประการนี้มาไว้ เพื่อประโยชน์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมคนอื่น ก็ควรนำมาใช้ประสบการณ์ในการฝึกอบรมควรเป็นการท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นทางกาย , สติปัญญา หรือกำลังใจหลักการที่ว่า “การเรียนรู้ด้วยการกระทำ” ควรจะนำมาใช้แทนหลักการที่ว่า “ความเบื่อหน่ายเกิดจากการฟังการบรรยาย” ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังนิยมใช้กันอยู่อย่างมากต้องค้นหาวิธีการใหม่แล้วนำมาใช้ เพื่อที่จะเร่งเร้าความสนใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อก่อให้เกิดผลการเรียนรู้อย่างมากมาย และยั่งยืนอยู่ได้นานสอดคล้องกับหลักการศึกษาของผู้ใหญ่โดยปกติผู้ใหญ่มักจะไม่สู้เต็มใจที่จะเข้าการฝึกอบรม ก็เพราะว่าผู้ใหญ่ไม่ประสงค์จะกลับไปสู่บรรยายของสภาวะในห้องเรียนอีก การศึกษาของผู้ใหญ่จึงจำต้องพัฒนาให้ผิดแผกไปจากหลักการเรียนรู้ของเด็ก ส่วนวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ก็ต้องให้แตกต่างกันออกไปด้วยความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ได้เรียนไปจากการฝึกอบรม กับการปฏิบัติงานในหน้าที่ เมื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมกลับไปยังถิ่นฐานของตนแล้วนั้น ควรพูดให้เห็นชัดแจ้งเพราะผู้ใหญ่ส่วนมากจะแสดงความสนใจน้อยใจ ถ้าเขายังไม่เห็นความจำเป็นในเรื่องนี้ผู้ใหญ่โดยปกติเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบ จึงควรทำให้เขามีความเข้าใจอย่างดีกับคำจำกัดความของวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ และการพัฒนาเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้ วิธีการที่นำมาใช้ ควรเป็นวิธีการที่จะให้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีส่วนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างจริงจัง ไม่ควรปล่อยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้นั่งฟัง นั่งดู แต่อย่างเดียวการฝึกอบรมผู้ใหญ่ควรจะมีในสถานที่ ในสิ่งแวดล้อมที่จะให้ความสุขสบายพอสมควร เพื่อสมาชิกทุกคนมีความรู้สึกว่าตนได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และเป็นที่รู้จักของทุกคนอย่างดี สามารถที่จะให้ความรู้ความคิดเห็นแก่กระบวนการฝึกอบรมครั้งนั้นได้เงื่อนไขต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ควรจะส่งเสริมบำรุงคุณภาพของภาวการณ์เป็นผู้นำในคณะลูกเสือแห่งชาติให้ดียิ่งขึ้น อันเป็นเหตุที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการที่จะทำกำหนดที่ดี ( Good Programme ) ไปสู่ลูกเสือ แม้กระนั้นก็ดีเท่าที่กล่าวมานี้ก็ยังไม่เป็นการเพียงพอ เพราะเขายังขาดหลักการสำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การสนับสนุนอย่างเพียงพอการสนับสนุนอย่างเพียงพอ ( Good support )ด้วยวิธีการจัดตั้งตำแหน่งงานอย่างเหมาะสมในคณะลูกเสือแห่งชาติ
การจัดให้มีการสนับสนุนอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งจำเป็น และควรจะมีให้ทั่วถึงด้วยวิธีการต่างๆ กันภายในคณะลูกเสือแห่งชาติ วิธีการเช่นว่านี้อาจจะเป็นในรูปคณะกรรมการต่างๆ รูปกลุ่มทำงาน และหรือรูปกลุ่มเฉพาะกิจ
ในระดับชาติ คณะลูกเสือแห่งชาติควรมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถรับผิดชอบในเรื่องสำคัญๆ เช่น เรื่องกำหนดการ ( Programme ) , เรื่องการฝึกอบรม , เรื่องการเงิน , เรื่องการประชาสัมพันธ์ , เรื่องการบริหาร ฯลฯ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของคณะลูกเสือแห่งชาตินั้น ๆ งานในตำแหน่งที่กล่าวมานั้น จะมอบแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ทำได้ แต่บุคคลเหล่านั้นควรเป็นผู้เชี่ยวชาญงานนั้น ๆ และมีความรอบรู้เรื่องกิจการลูกเสือในประการต่าง ๆ อีกด้วย นอกเหนือไปจากความรู้และความเชี่ยวชาญในงานของตนในระดับจังหวัด – ระดับอำเภอหรือระดับกลุ่มลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องคุณภาพ และการพัฒนากิจการลูกเสือในจังหวัด ในอำเภอในกลุ่มลูกเสือของตน ผู้ตรวจการลูกเสือควรจะให้เป็นที่แน่ใจว่าผู้กำกับลูกเสือทั้งหลายได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านเทคนิค และสนับสนุนส่วนบุคคลด้วย เมื่อมีความจำเป็น ผู้ตรวจการลูกเสือควรจะให้มีคณะผู้ช่วย ซึ่งได้คัดเลือกจากบุคคลที่มีทักษะ ในเรื่องต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ( เช่น กำหนดการ , การฝึกอบรม , การเงิน , การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ )จะเป็นกรณีใดก็ตาม การจัดรูปการให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอนั้น ควรจะเป็นไปในรูปที่จะสนองความต้องการอันจำเป็น ที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งแล้วเท่านั้น ไม่ควรที่จะถกเถียงกัน เพื่อจะบรรจุบุคคลเข้าให้เต็มตำแหน่งที่เขียนไว้ในรูปแผนบริหารงาน ( Organization chart ) แต่ควรจัดให้มีบุคคลดังกล่าว เพื่อสนองความต้องการและสามารถให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอในตำแหน่งนั้น ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีการสนับสนุนอย่างเพียงพอแล้ว งานการจะไม่เกิดขึ้นเลยผู้กำกับลูกเสือก็คงว้าเหว่อยู่ต่อไปจุดมุ่งหมายประสงค์ของบทความนี้ คือการจัดให้มีการกำหนดข้อทดสอบขึ้นไว้ เพื่อท่านจะได้ใช้วิจารญาณของท่านเอง ในสถานการณ์ของท่าน บางทีท่านอาจจะพบเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไปนั้นดีที่สุดแล้ว แต่บางทีอาจจะไม่เห็นเช่นนั้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ได้ ขอให้ท่านใช้แนวคิดเพื่อเข้าสู่ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในทางบวก จงพยายามหลีกเลี่ยง การพิพากษ์วิจารณ์ในทางลบทางทำลาย จงมองหาวิธีแก้ไขปัญหาของท่านในทางที่เหมาะสม และเกี่ยวกับการใช้ปฏิบัติได้ หวังว่าบทความนี้คงช่วยท่านได้บ้าง

ที่มาจาก Sommart Sungkapun

เครื่องแบบลูกเสือ การแต่งเครื่องแบบลูกเสือ กางเกง  ชายกางเกงขาสั้น ผ้าผูกคอ     ใช้ผ้าผูกคอตามสังกัด   (เช่น ลูกเสือเขตการศึกษา 8  เช...

ค้นหาบล็อกนี้